มัสยิดมักกะฮ์ (ไฮเดอราบาด)

มัสยิดมักกะฮ์ (อังกฤษ: Makkah Masjid) เป็นมัสยิดวันศุกร์ในไฮเดอราบาด เป็นหนึ่งในมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย ด้วยความจุ 10,000 คน[2] มัสยิดสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17 และปัจจุบันได้รับสถานะอนุสรณ์ภายใต้การคุ้มครอง และเป็นมัสยิดหลักสำหรับพื้นที่เมืองเก่าไฮเดอราบาด[3] มุฮัมมัด กุตับ ชะฮ์ ผู้นำคนที่หกของจักรวรรดิกุตับชาฮี ได้รับสั่งให้ผลิตอิฐขึ้นมาจากดินที่นำมาจากมักกะฮ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาอิสลาม เพื่อมาใช้สร้างเป็นส่วนโค้งกลางของมัสยิด อิฐจากดินมักกะฮ์นี้เป็นที่มาของชื่อมัสยิด

มัสยิดมักกะฮ์
ศาสนา
ศาสนาซุนนี
สถานะองค์กรมัสยิด
ที่ตั้ง
ที่ตั้งไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย
รัฐรัฐเตลังคานา
ประเทศอินเดีย[1]
พิกัดภูมิศาสตร์17°21′37″N 78°28′24″E / 17.360305°N 78.473416°E / 17.360305; 78.473416
สถาปัตยกรรม
รูปแบบอินโด-อิสลาม
เสร็จสมบูรณ์1693
ลักษณะจำเพาะ
ความจุ10,000
ความยาว67 m
ความกว้าง54 m
ความสูงสูงสุด23 m
วัสดุแกรนิต

หมู่อาคารของมัสยิดได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเบื้องต้นของยูเนสโกในปี 2014 ร่วมกับสิ่งปลูกสร้างอื่นในบริเวณ ภายใต้ชื่อหมู่อนุสรณ์และป้อมปราการแห่งรัฐสุลต่านเดกกัน[4]

การก่อสร้างมัสยิดเริ่มมีขึ้นในปี 1617 รัชสมัยของสุลต่านมุฮัมมัด กุตับ ชะฮ์ สุลต่านที่หกแห่งกุตับชาฮี แห่งกอลคอนดา ที่ซึ่งในปัจจุบันคือไฮเดอราบาด มัสยิดสร้างขึ้นโดยแรงงานราว 8,000 คน มัสยิดสร้างแล้วเสร็จโดย จักรพรรดิโมกุล เอารังเซบ ในปี 1693[5][2]

อ้างอิง

แก้
  1. "Location of Makkah Masjid". Google Maps. สืบค้นเมื่อ 24 September 2013.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 Dayakar, G (2019). Qutb Shahi Architecture in Hyderabad- A Special Study. p. 28. ISBN 9788193828243.
  3. Burton-Page, John (2008). Indian Islamic Architecture: Forms and Typologies, Sites and Monuments (PDF). Brill. p. 146. ISBN 9789047423652.
  4. UNESCO "tentative list"
  5. Khalidi, Omar (2009). A Guide to Architecture in Hyderabad, Deccan, India. Aga Khan Program for Islamic Architecture & MIT Libraries. p. 41.