ในประเทศญี่ปุ่น อนเซ็ง หรือ อนเซ็น (ญี่ปุ่น: 温泉โรมาจิonsen) เป็นบ่อน้ำร้อนและสิ่งอำนวยความสะดวกในการอาบน้ำกับที่พักขนาดเล็กแบบดั้งเดิมรอบ ๆ บ่อ มีแหล่งบ่อน้ำพุประมาณ 25,000 ทั่วญี่ปุ่น และ อนเซ็ง ประมาณ 3,000 แห่งที่ใช้น้ำร้อนตามธรรมชาติจากน้ำพุที่มีพลังงานความร้อนใต้พิภพ[1]

อนเซ็งกลางแจ้ง
อนเซ็งในร่ม

อนเซ็ง อาจเป็นอ่างน้ำกลางแจ้ง (ญี่ปุ่น: 露天風呂 หรือ 野天風呂โรมาจิroten-buro / noten-buro) หรืออ่างน้ำในอาคาร (ญี่ปุ่น: 内湯โรมาจิuchiyu) อนเซ็งแบบดั้งเดิมอยู่กลางแจ้ง แม้ว่าที่พักในปัจจุบันหลายแห่งจะมีห้องอาบน้ำในอาคารเช่นกัน ในปัจจุบัน เนื่องจากครัวเรือนส่วนใหญ่มีห้องอาบน้ำส่วนตัว ทำให้จำนวนอ่างน้ำสาธารณะแบบดั้งเดิมมีจำนวนลดลง[2] แต่จำนวนและความนิยมของเมืองรีสอร์ทอนเซ็ง (温泉街, onsen-gai) เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง[3]

บริเวณที่มี อนเซ็ง มักระบุบนป้ายและแผนที่ด้วยสัญลักษณ์ ♨ อักษรคันจิ (yu หมายถึง "น้ำร้อน") หรือถอดเสียงด้วยอักษรฮิรางานะเป็น ゆ (yu)

คำนิยาม

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Erikson, August; Masui, Anette (2014). Sacred Waters: A Guide to Japanese Hot Springs. Karlstad, Sweden: Votum Forlag AB. p. 88. ISBN 978-91-87283-33-8.
  2. "Public Baths in Japan". www.japan-guide.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 October 2018.
  3. "温泉の歴史(現代)※第二次世界大戦後 | 日本温泉協会". 一般社団法人 日本温泉協会 ~温泉名人~ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2024-07-25.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Hotta, Anne, and Yoko Ishiguro. A Guide to Japanese Hot Springs. New York: Kodansha America, 1986. ISBN 0-87011-720-3.
  • Fujinami, Kōichi. Hot Springs in Japan. Tokyo: Board of Tourist Industry, Japanese Government Railways; Maruzen Company, Ltd., 1936.
  • Neff, Robert. Japan's Hidden Hot Springs. Rutland, Vermont: Charles E. Tuttle, 1995. ISBN 0-8048-1949-1.
  • Seki, Akihiko, and Elizabeth Heilman Brooke. The Japanese Spa: A Guide to Japan's Finest Ryokan and Onsen. Boston: Tuttle Publishing, 2005. ISBN 0-8048-3671-X. Reprinted as Ryokan: Japan's Finest Spas and Inns, 2007. ISBN 0-8048-3839-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้