ตำแหน่งราชวงศ์อียิปต์โบราณ

ตำแหน่งราชวงศ์อียิปต์โบราณ เป็นหลักการขนานพระนามโดยมาตรฐานของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจในทางโลกและพระราขอำนาจศักดิ์สิทธิ์และยังทำหน้าที่เป็นพันธกิจในช่วงรัชสมัยของผู้ปกครอง (ถึงแม้ว่าบางครั้งจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในรัชสมัยก็ตาม)

ตำแหน่งราชวงศ์ที่สมบูรณ์นั้นจะต้องประกอบด้วยพระนามจำนวนห้าพระนาม ซึ่งเพิ่งได้นำมาใช้เป็นประเพณีนิยมเมื่ออียิปต์เข้าสู่ช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง และยังคงใช้ตำแหน่งราชวงศ์จนถึงสมัยจักรวรรดิโรมัน

ที่มาของตำแหน่งราชวงศ์อียิปต์โบราณ

แก้

เพื่อให้ฟาโรห์ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งอันศักดิ์สิทธิ์ที่ทรงสามารถเชื่อมโยงกับผู้คนและเทพเจ้าได้ จึงมีการสร้างคำคุณศัพท์พิเศษสำหรับผู้ปกครองในการขึ้นครองพระราชบัลลังก์ พระนามดังกล่าวยังใช้เพื่อแสดงคุณสมบัติและเชื่อมโยงไปยังดินแดนทางโลก โดยที่พระนามทั้งห้าพระนามได้รับการพัฒนามาหลายช่วงศตวรรษโดยเริ่มจากพระนามฮอรัส[1][2] ซึ่งเป็นพระนามที่ระบุว่าผู้ปกครองพระองค์นั้น ๆ ทรงเป็นตัวแทนของเทพเจ้าฮอรัส[3] พระนามเนบติเป็นส่วนที่สองของตำแหน่งราชวงศ์[4][3] ของอียิปต์บนและล่าง[2] ซึ่งเป็นพระนามผู้ปกครองทรงอยู่ภายใต้การคุ้มครองของเทพสตรีสองพระองค์คือ เทพีเนคเบต และเทพีวาดเจต และเป็นพระนามที่เริ่มใช้ขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์ที่หนึ่งโดยอ้างอิงถึง "ผู้ที่เป็นของอียิปต์บนและล่าง" พร้อมกับการกล่าวถึง สองสตรี[2] พระนามเหยี่ยวทองคำ (บางครั้งก็เรียกว่า พระนามฮอรัสแแห่งทอง) เป็นพระนามที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงราชวงศ์ที่สี่[5] พระนามสองพระนามสุดท้ายของผู้ปกครอง คือ พระนามนำหน้า และพระนามส่วนพระองค์ โดยทั่วไปจะปรากฎอยู่ในคาร์ทูชรูปวงกลมที่ผูกเชือกของผู้ปกครอง (ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว คาร์ทูชจะปรากฏพระนามของผู้ปกครองทั้งหมด รวมทั้งพระราชินีและพระราชโอรส) และเป็นที่รู้จักในพระนามครองบัลลังก์ และพระนามโอรสแห่งรา[5]

พระนามฮอรัส

แก้

𓅃𓊁

 
เชเรคที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์ดเจต ซึ่งความเกี่ยวข้องกับเทพีวาดเจต จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์

พระนามฮอรัสเป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของพระนามของฟาโรห์ ซึ่งมีการใช้พระนามดังกล่าวตั้งแต่ในสมัยอียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ฟาโรห์อียิปต์ที่เก่าแก่ที่สุดหลายพระองค์เป็นที่ทราบกันในพระนามนี้เท่านั้น[6]

พระนามฮอรัสมักจะเขียนด้วยสัญลักษณ์เซเรค ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนส่วนหน้าของพระราชวัง พระนามของฟาโรห์จะเขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณภายในสัญลักษณ์ดังกล่าว โดยปกติแล้วสัญลักษณ์ของเทพเจ้าเหยี่ยวฮอรัสจะตั้งอยู่ด้านบนหรือด้านข้าง[6]

ผู้ปกครองอียิปต์อย่างน้อยหนึ่งพระองค์ คือ ฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน จากราชวงศ์ที่สอง พระองค์ทรงใช้สัญลักษณ์เทพเซธแทนรูปสัญลักษณ์ของเทพเจ้าฮอรัส ซึ่งอาจจะบ่งบอกถึงการแบ่งแยกศาสนาภายในพระราชอาณาจักร ซึ่งผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์ คือ ฟาโรห์คาเซคเอมวี โดยพระนามของพระองค์ที่ปรากฏสัญลักษณ์ของทั้งเทพเซธและเทพฮอรัส ซึ่งวางไว้เหนือพระนามของเขา และหลังจากนั้นสัญลักษณ์ของเทพฮอรัสจึงจะปรากฏคู่กับพระนามของฟาโรห์เสมอ[6]

ในสมัยราชอาณาจักรใหม่ พระนามฮอรัสมักจะเขียนโดยไม่มีเซเรคล้อมรอบแล้ว

พระนามเนบติ ("สองสตรี")

แก้
G16

พระนามเนบติ (แปลว่า "สองสตรี") เป็นพระนามที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพีที่เรียกว่า "มุทราศาสตร์" ของอียิปต์บนและล่าง ดังนี้

ฟาโรห์เซเมอร์เคตแห่งราชวงศ์ที่หนึ่งทรงใช้พระนามดังกล่าวอย่างแน่ชัดเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่าจะกลายมาเป็นพระนามอิสระในเฉพาะช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง

พระนามดังกล่าวเขียนได้โดยไม่ต้องถูกล้อมรอบด้วยคาร์ทูชหรือเชเรค แต่มักจะเริ่มต้นด้วยอักษรอียิปต์โบราณสัญลักษณ์นกแร้งและงูเห่าที่วางอยู่บนตะกร้าสองใบ ซึ่ง "เนบติ" เป็นคำนามพหูพจน์

พระนามฮอรัสแห่งทอง

แก้
G8

ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ พระนามฮอรัสทองคำ ซึ่งเป็นรูปแบบของพระนามฟาโรห์ โดยทั่วไปจะมีรูปสัญลักษณ์นกเหยี่ยวฮอรัสเกาะอยู่บนหรือข้างอักษรอียิปต์โบราณที่มีความหมายว่า ทองคำ

ความหมายของพระนามดังกล่าวยังคงมีการโต้แย้งกัน ซึ่งความเชื่ออย่างหนึ่งคือสัญลักษณ์ดังกล่าวแสดงถึงชัยชนะของเทพฮอรัสเหนือเทพเซธ ซึ่งเป็นพระปิตุลาของพระอค์ เนื่องจากสัญลักษณ์ทองคำอาจจะหมายถึงว่า เทพฮอรัส "ทรงอยู่เหนือกว่าศัตรูของพระองค์" และทองคำก็ยังมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับความคิดของชาวอียิปต์โบราณที่เกี่ยวกับความเป็นชั่วนิรันดร์ ดังนั้น พระนามดังกล่าวอาจจะตั้งใจสื่อถึงพระนามฮอรัสอันเป็นนิรันดร์ของฟาโรห์

พระนามฮอรัสแห่งทองมีลักษณะคล้ายกับพระนามเนบติ โดยทั่วไปแล้วพระนามจะไม่ได้ถูกล้อมโดยคาร์ทูธหรือเชเรค

พระนามครองราชย์ (พระนามนำหน้า)

แก้
 
คาร์ทูชของพระนามนำหน้าของฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ซึ่งได้นำหน้าด้วยสัญลักษณ์ต้นกกและผึ้ง, จากวิหารฮัปเชปซุตที่ลักซอร์
M23
t
L2
t

พระนามครองราชย์ของฟาโรห์ ซึ่งเป็นพระนามแรกจากสองพระนามที่เขียนในคาร์ทูช มักจะมาพร้อมกับพระนาม เนซู-บิติ (nsw(t)-bjt(j)) ซึ่งแปลว่า "[พระองค์] แห่งต้นกก[และ]ผึ้ง" และมักจะแปลเพื่อความสะดวกว่า "กษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่าง" (ต้นกกและผึ้งเป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์บนและอียิปต์ล่างล่างตามลำดับ[7][8] ถึงแม้ว่าการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้จะส่งผลให้การตีความดังกล่าวกลายเป็นข้อสงสัยก็ตาม[9][10]))

พระนามฉายา เนบทาวี (nb tꜣwy) ซึ่งแปลว่า "เจ้าแห่งสองแผ่นดิน" ซึ่งหมายถึงบริเวณที่ลุ่มและบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ของอียิปต์ ซึ่งมักจะถูกใช้เช่นเดียวกัน[โปรดขยายความ]

พระนามส่วนพระองค์ (พระนามประสูติ)

แก้
G39N5
 

เป็นพระนามที่ถูกขนานตั้งขึ้นเมื่อแรกประสูติ พระนามดังกล่าวนำหน้าด้วยพระนาม "พระโอรสแห่งรา" ซึ่งเขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณสัญลักษณ์รูปเป็ด (za) ซึ่งเป็นคำพ้องเสียงสำหรับคำว่า "บุตร" (za) ซึ่งอยู่ติดกับรูปดวงอาทิตย์ โดยเป็นอักษรอียิปต์โบราณที่เป็นสัญลักษณ์แทนสุริยเทพรา พระนามส่วนพระองค์ถูกใช้เป็นครั้งแรกในชุดพระนามของฟาโรห์อียิปต์โบราณในราชวงศ์ที่สี่ และได้เน้นย้ำถึงบทบาทของผู้ปกครองในฐานะทรงเป็นตัวแทนของสุริยเทพรา สำหรับสตรีที่ขึ้นเป็นฟาโรห์ คำนำหน้าก็แปลว่า "ธิดา" เช่นกัน

นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มักจะอ้างถึงผู้ปกครองอียิปต์โบราณด้วยพระนามดังกล่าว โดยเพิ่มลำดับ (เช่น "ที่ 2", "ที่ 3") เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างผู้ปกครองต่างๆ ที่ทรงมีพระนามเดียวกัน

อ้างอิง

แก้
  1. Toby A.H. Wilkinson (11 September 2002). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 172. ISBN 978-1-134-66420-7.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ronald J. Leprohon (30 April 2013). The Great Name: Ancient Egyptian Royal Titulary. SBL Press. pp. 1–15. ISBN 978-1-58983-736-2.
  3. 3.0 3.1 Günther Hölbl (1 February 2013). A History of the Ptolemaic Empire. Routledge. p. 79. ISBN 978-1-135-11983-6.
  4. Paul D. LeBlanc (1 December 2017). Deciphering the Proto-Sinaitic Script: Making Sense of the Wadi el-Hol and Serabit el-Khadim Early Alphabetic Inscriptions. Subclass Press. p. 47. ISBN 978-0-9952844-0-1.
  5. 5.0 5.1 James P. Allen (2000). Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs. Cambridge University Press. pp. 64–66. ISBN 978-0-521-77483-3.
  6. 6.0 6.1 6.2 Toby A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt. Routledge, London/New York 1999, ISBN 0-415-18633-1, p. 74-75.
  7. Sethe, Kurt (1911) “Das Wort für König von Oberägypten” in Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde, vol. 42, issue 1-2
  8. Ewa Wasilewska, Creation Stories of the Middle East, 2000, 130f.
  9. Peust, Carsten (2007) “Zur Bedeutung und Etymologie von nzw ‘König’” in Göttinger Miszellen, 213, pp. 59-62.
  10. Schenkel, Wolfgang (1986) “Das Wort für König (von Oberägypten)” in Göttinger Miszellen, 94, pp. 57-73.