ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชัดรัค เมชาค และอาเบดเนโก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วณิพก (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{short description|ตัวละครในหนังสือดาเนียล}} {{infobox saint | name = ชัดรัค เมชาค และอาเบดเนโก<br /><small>ฮานันยาห์ มิชาเอล และอาซาริยาห์</small> | image = File:Roslin5.jpg | imagesize = 250px | caption = ''เตาที่ไฟลุกอยู่'' (ค.ศ. 1266) โดย Toros Rosl...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:12, 8 กันยายน 2567

ชัดรัค เมชาค และอาเบดเนโก
ฮานันยาห์ มิชาเอล และอาซาริยาห์
เตาที่ไฟลุกอยู่ (ค.ศ. 1266) โดย Toros Roslin.
สามชายหนุ่มศักดิ์สิทธิ์
นับถือ ในศาสนายูดาห์
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
สักการสถานหลักสุสานดาเนียล เมืองซูซา
วันฉลอง16 ธันวาคม (โรมันคาทอลิก)
17 ธันวาคม (ไบแซนไทน์)
วันอังคารหลังวันอาทิตย์ที่ 4 ของเทศกาลเพนเทคอสต์ (อาร์มีเนีย)
24 มกราคม (โมซารับ)[1]
สัญลักษณ์ชายสามคนในเตาที่ไฟลุกอยู่
Franz Joseph Hermann, "เตาที่ไฟลุกอยู่; จากหนังสือดาเนีบล, 3"; St. Pankratius, Wiggensbach, ประเทศเยอรมนี กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ (ซ้าย) ทอดพระเนตรชายหนุ่มสามคนและทูตสวรรค์ในเตา (ขวา) โดยมีปฏิมากรขนาดใหญ่ของกษัตริย์อยู่ด้านหลัง (ตรงกลาง)

ชัดรัค เมชาค และอาเบดเนโก (อังกฤษ: Shadrach, Meshach, and Abednego) ชื่อฮีบรูคือ ฮานันยาห์ มิชาเอล และอาซาริยาห์ (อังกฤษ: Hananiah, Mishael, and Azariah) เป็นตัวละครจากบทที่ 3 ของหนังสือดาเนียลในคัมภีร์ไบเบิล ในเรื่องเล่า ทั้งสามเป็นเด็กหนุ่มชาวยิวที่ถูกจับโยนเข้าเตาที่ไฟลุกอยู่โดยรับสั่งของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 กษัตริย์แห่งบาบิโลน ในข้อหาที่ทั้งสามปฏิเสธที่จะนมัสการต่อปฏิมากรของกษัตริย์ ทั้งสามได้รับการปกป้องจากอันตรายในเตา และกษัตริย์ก็ทรงเห็นชายสี่คนเดินอยู่ในกองไฟ "คนที่สี่นั้นดูเหมือนองค์เทพบุตร" ทั้งสามถูกกล่าวถึงครั้งแรกในดาเนียล 1 เมื่อทั้งสามถูกพาตัวไปยังบาบิโลนพร้อมกับดาเนียลเพื่อศึกษาภาษาเคลเดียและวรรณคดีเคลเดีย เพื่อจะให้มารับใช้ในราชสำนักของกษัตริย์ และชื่อในภาษาฮีบรูของถูกสามถูกเปลี่ยนเป็นชื่อในภาษาเคลเดียหรือภาษาของชาวบาบิโลน[2]

หกบทแรกของหนังาสือดาเนียลเป็นเรื่องราวที่ปรากฏมีการเล่าในช่วงปลายสมัยเปอร์เซีย/ต้นสมัยเฮลเลนิสต์ และการทีดาเนียลไม่ปรากฏในเรื่องราวของสามเด็กหนุ่มฮีบรูในเตาที่มีไฟลุกนั้น คาดว่าเดิมทีเรื่องราวนี้กับเรื่องราวของดาเนียลอาจเป็นเรื่องราวที่เป็นอิสระต่อกัน[3] เรื่องราวนี้คู่กับเรื่องราวของดาเนียลในถ้ำสิงโตบ่งชี้ว่าพระเจ้าของชาวยิวจะทรงช่วยเหลือผู้ที่สัตย์ซื่อต่อพระองค์[4]

อ้างอิง

  1. "Calendarium Hispano".
  2. Levine 2010, p. 1239-1241.
  3. Levine 2010, p. 1233, 1239 footnote 3.1–7.
  4. Seow 2003, p. 87.

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น