ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาคาไรม์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาคาไรม์
къарай тили, karaj tili, Karay dili
ประเทศที่มีการพูดไครเมีย, ลิทัวเนีย, โปแลนด์
จำนวนผู้พูดน้อยกว่า 50 คนในลิธัวเนีย[1]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
อัลไต?
รหัสภาษา
ISO 639-2tut
ISO 639-3kdr

ภาษาคาไรม์ (Karaim language) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮีบรูในทำนองเดียวกับภาษายิดดิชหรือภาษาลาดิโน พูดโดยชาวคาไรต์ในไครเมียซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนายูดายในไครเมีย ลิธัวเนีย โปแลนด์และยูเครนตะวันตกเหลือผู้พูดอยู่เพียง 6 คน ภาษาคาไรม์สำเนียงลิธัวเนียเคยใช้พูดในกลุ่มชุมชนขนาดเล็กบริเวณเมืองตราไก ชาวคาไรต์เหล่านี้ถูกซื้อมาโดยแกรนด์ดุ๊กเวียเตาตัสแห่งลิธัวเนียเมื่อราว พ.ศ. 1944 - 1945 ซึ่งเป็นโอกาสให้ภาษานี้เหลือรอดอยู่ในตราไก ซึ่งเป็นผลมาจากการสนับสนุนของทางราชการ ในปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์ในตราไกแสดงเกี่ยวกับชุมชนคาไรต์และร้านอาหารคาไรต์

ประวัติ

จุดกำเนิดของชาวคาไรต์ที่นับถือศาสนายูดาย

ศาสนายูดายของชาวคาไรต์ต่างจากศาสนายูดายของชาวยิว เพราะไม่ได้ใช้คัมภีร์มิซนะห์และทัลมุด คำว่าคาไรม์มาจากศัพท์ภาษาฮีบรู קרא แปลว่าอ่าน ส่วนคำว่าคาไรต์มาจากภาษากลุ่มเตอร์กิก หมายถึงกลับ

ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะแพร่หลายเข้ามา ชุมชนชาวยิวอยู่แยกจากกันเนื่องจากการเมือง สภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม แต่เมื่อศาสนาอิสลามแพร่เข้ามา ชาวยิวส่วนใหญ่รวมเป็นกลุ่มก้อนภายใต้การปกครองชองชาวมุสลิม ชุมชนชาวยิวเหล่านี้เป็นชุมชนที่แข็งแกร่ง พยายามตั้งกฎของตนเอง กฎของมุสลิมไม่ได้มีผลต่อกิจกรรมทางศาสนาแต่มีผลต่อสังคม ทำให้เปลี่ยนมาใช้ภาษาอาหรับและรับวัฒนธรรมอิสลามทางด้านอาหาร การแต่งกายและการติดต่อทางสังคม ภายในสังคมของชาวยิวเอง แรบไบต่างๆพยายามโน้มน้าวให้ชาวยิวยอมรับทัลมุดเป็นกฎของสังคม ในขณะที่ชาวยิวบางส่วนไม่ยอมรับ จึงเกิดความหลากหลายภายในศาสนายูดายขึ้น ศาสนายูดายของชาวคาไรต์เริ่มต้นในเมโสโปเตเมียเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 -14

ชาวคาไรต์ในไครเมียและลิธัวเนีย

จุดกำเนิดของชาวคาไรต์ที่มาอยู่ในไครเมียยังไม่แน่นอน เพราะขาดหลักฐานที่แน่ชัด เอกสารส่วนใหญ่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวคาไรต์กับชุมชนอื่นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22-24 เอกสารส่วนใหญ่ระบุถึงชุมชนชาวคาไรต์ที่ถูกเผาเมื่อพ.ศ. 2279 ระหว่างที่รัสเซียรุกรานรัฐข่านตาตาร์[2] นักวิชาการบางส่วนเสนอว่าชาวคาไรต์เป็นลูกหลานของพ่อค้าที่เข้ามาในไครเมียตั้งแต่สมัยจักรวรรดิไบแซนไทน์[3]และได้พัฒนาภาษาของตนที่เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกในช่วงที่อยู่ในไครเมียนี้เองมีเอกสารเกี่ยวกับการอพยพของชาวคาไรต์จากอิสตันบูลไปยังไครเมียซึ่งบันทึกโดยชาวยิวในอิสตันบูลเมื่อ พ.ศ. 1746[4] การก่อตั้งชุมชนพ่อค้าในไครเมียน่าจะเริ่มต้นขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-19โดยกลุ่มพ่อค้าที่ติดต่อระหว่างไครเมีย เอเชียกลางและจีน[5]

ในอีกทางหนึ่งมีทฤษฎีว่าชาวคาไรต์ในไครเมียเป็นลูกหลานของเผ่าคาซาร์ที่เปลี่ยนมาใช้ภาษาคาไรม์ สมมติฐานที่สามกล่าวว่า ชาวคาไรต์เป็นลูกหลานของเผ่าอิสราเอลจากยุคแรกของการอพยพหลบหนีกษัตริย์อัสซีเรีย โดยเป็นเผ่าที่อพยพไปสู่เทือกเขาคอเคซัสเหนือแล้วจึงเข้าสู่คาบสมุทรไครเมีย

จุดกำเนิดของชาวคาไรต์ในลิธัวเนียมีความชัดเจนกว่า โดยกลุ่มชนนี้มาจากไครเมีย ใน พ.ศ. 1935 แกรนด์ดุ๊กเวียตาตุสแห่งลิทัวเนียปราบชาวตาตาร์ไครเมียได้ และอพยพชาวคาไรต์ในไครเมีย 330 ครอบครัวไปสู่ลิทัวเนีย ชาวคาไรต์ในลิทัวเนียแยกกันอยู่อย่างเป็นอิสระ และรักษาลักษณะเฉพาะของตนไว้ได้ โดยยังคงใช้ภาษากลุ่มเตอร์กิก แทนที่จะใช้ภาษาท้องถิ่นอื่นๆในบริเวณนั้น

การจัดจำแนก

ภาษาคาไรม์เป็นสมาชิกของตระกูลภาษาอัลไตอิกซึ่งเป็นภาษาที่แพร่หลายในหมู่ชาวนอร์มานในยูเรเชีย ภายในตระกูลภาษานี้ ภาษาคาไรม์จัดอยู่ในภาษษกลุ่มเคียปชาก ซึ่งเป็นสาขาตะวันตกของภาษากลุ่มเตอร์กิก ภายในกลุ่มตะวันตก ภาษาคาไรม์เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มปอนโต-บัลการ์ในรัสเซียและภาษาคาลมึกซ์ในรัสเซีย ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างภาษาคาไรม์กับภาษาเคียปชากและภาษาตาตาร์ไครเมีย จึงมีทฤษฎีหนึ่งอธิบายว่าชาวคาซาร์เปลี่ยนไปเป็นชาวคาไรต์ที่นับถือศาสนายูดายในพุทธศตวรรษที่ 13-14

ลักษณะทั่วไปของภาษาในตระกูลอัลไตอิกคือเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา รูปคำติดต่อ และมีการเปลี่ยนเสียงสระ ภาษาคาไรต์มีลักษณะรูปคำติดต่อและมีการเปลี่ยนเสียงสระ จึงเป็นไปได้ที่จัดให้ภาษาคาไรม์อยู่ในกลุ่มนี้

ภาษาคาไรม์ในลิธัวเนียยังคงรักษาลักษณะที่มาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิกไว้ได้ แม้จะมาอยู่ในบริเวณที่แวดล้อมด้วยภาษาลิธัวเนีย ภาษารัสเซียและภาษาโปแลนด์มากกว่า 600 ปี คำศัพท์ทางศาสนาในภาษาคาไรม์เป็นภาษาอาหรับ แสดงว่าจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมอยู่ในตะวันออกกลาง[6] คำศัพท์ทางศาสนาอีกส่วนหนึ่งเป็นภาษาฮีบรู ภาษาที่มีอิทธิพลต่อรากศัพท์ภาษาคาไรม์ได้แก่ภาษาอาหรับ ภาษาฮีบรู และภาษาเปอร์เซียในระยะแรก และระยะต่อมาได้แก่ ภาษารัสเซีย ภาษายูเครน ภาษาโปแลนด์ สำหรับชาวยิวคาไรม์ที่อยู่ในรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์และลิธัวเนีย

การแพร่กระจาย

ในปัจจุบันมีผู็พูดภาษาคาไรม์อยู่ในไครเมีย ลิธัวเนีย โปแลนด์ อิสราเอลและสหรัฐ แม้ว่าจะมีชาวคาไรม์ 200 คนในลิธัวเนียแต่มีเพียง 1 ใน 4 ที่พูดภาษาคาไรม์

ภาษาคาไรม์แบ่งย่อยได้เป็น 3 สำเนียงคือ

  • สำเนียงตะวันออกหรือภาษาคาไรม์ไครเมียซึ่งเคยใช้พูดในไครเมียจนถึงราว พ.ศ. 2443 ปัจจุบันเป็นภาษาตาย
  • สำเนียงตะวันตกเฉียงเหนือหรือตราไก ปัจจุบันใช้พูดในเมืองตราไกและวิลเนียส
  • สำเนียงตะวันตกเฉียงใต้หรือฮาลิช ใช้พูดในยูเครนเป็นสำเนียงที่ใกล้ตายเหลือผู้พูดเพียง 6 คนใน พ.ศ. 2544[7]

ความสัมพันธ์กับภาษาอื่น

ภาษาคาไรม์มีความเกี่ยวข้องกับภาษาอื่นๆมากมาย รากฐานที่มีต้นกำเนิดในเมโสโปเตเมียทำให้มีความเกี่ยวข้องกับภาษาอาหรับ ภาษาคาไรม์ใช้พูดในไครเมียในช่วงจักรวรรดิออตโตมันจึงมีความเกี่ยวข้องกับภาษาตุรกี และการที่ผู้พูดภาษาคาไรม์มักอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆกระจัดกระจายไปจึงมีความเกี่ยวข้องกับภาษาที่อยูู่รอบๆเช่น ภาษาลิธัวเนีย ภาษาโปแลนด์ ภาษายูเครนและภาษารัสเซีย จึงมีการลอกเลียนรากศัพท์และไวยากรณ์ของภาษาข้างเคียงมาใช้ในภาษาของตน ผู้พูดภาษาคาไรม์มักพูดได้หลายภาษาโดยจะพูดภาษาหลักในบริเวณนั้นๆได้ด้วย บางส่วนที่มีความรู้ทางศาสนาจะรู้ภาษาฮ๊บรู

สถานะของภาษา

สำเนียงส่วนใหญ่ของภาษาคาไรม์เป็นภาษาที่ตายแล้ว การเหลืออยู่ของภาษาคาไรม์ในลิธัวเนีย ปัจจุบันอยู่ในภาวะเสี่ยงเพราะการแพร่กระจายของชาวคาไรม์ในยุคโซเวียตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีคนสูงอายุที่ยังพูดภาษาคาไรม์อยู่ คนรุ่นใหม่ หันไปพูดภาษาลิธัวเนีย ภาษารัสเซีย หรือภาษาโปแลนด์แทน

ไวยากรณ์

ภาษาคาไรม์เป็นภาษาที่ใช้ปัจจัยและมีลักษณะรูปคำติดต่อมาก ไม่มีคำอุปสรรคและใช้ปรบท คำนามผันได้ 7 การก แต่เดิมภาษาคาไรม์เรียงประโรคแบบกลุ่มภาษาเตอร์กิกคือประธาน-กรรม-กริยา แต่ได้ปรับเปลี่ยนเพราะต้องสื่อสารกับผู้พูดภาษาอื่นๆ ปัจจุบันเป็นแบบ ประธาน-กริยา-กรรม[8]

ในไครเมียและยูเครน ภาษาคาไรม์เขียนด้วยอักษรซีริลลิก ในลิธัวเนียและโปแลนด์ เขียนด้วยอักษรละติน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24 เขียนด้วยอักษรฮีบรู

อ้างอิง

  1. http://www.unesco.org/culture/ich/index.php?pg=00140
  2. Akhiezer 2003
  3. Schur 1995
  4. Tsoffar 2006
  5. Schur 1995
  6. Zajaczkowski 1961
  7. Csató 2001
  8. Csató 2001

แหล่งข้อมูลอื่น