ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
Saparachinee Trang School
ตราประจำโรงเรียน อักษรย่อ ส.ภ. ภายใต้ มงกุฎ ด้านล่าง มีมงคลนาม "สภาราชินี" หมายถึง "สภาราชินี" เป็นมงคลนาม ที่ได้รับพระราชทานจาก องค์สมเด็จพระราชินี หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ภ. / SP
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสพฐ. - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
สถาปนา20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
ผู้ก่อตั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1004920102
ผู้อำนวยการดร.ฉวีวรรณ รักษ์แก้ว
สี   น้ำเงิน-ขาว
เพลงมาร์ชสภาราชินี
เว็บไซต์spa.ac.th

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง เป็นโรงเรียนรัฐในจังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย รับนักเรียนแบบสหศึกษาทั้งชายและหญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีทั้งหมด 13 ห้อง ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีทั้งหมด 15 ห้อง

ประวัติ

[แก้]
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ในปี พ.ศ. 2455 วโรกาสที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยเสด็จจังหวัดตรัง ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานทุนทรัพย์เป็นเงิน 4,000 บาท สำหรับจัดสร้างโรงเรียนวิเชียรมาตุ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชาย ณ ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง ประชาชนได้ส่งบุตรหลานเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก ทำให้อาคารเรียนคับแคบ ดังนั้นใน พ.ศ. 2459 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนทรัพย์อีก เป็นจำนวนเงิน 6,000 บาท เพื่อก่อสร้างโรงเรียนเรียนเพิ่มเติม เพื่อรองรับนักเรียนที่มีจำนวนมากขึ้นทุก ๆ ปี พร้อมทั้งพระราชทานนามอาคารหลังใหม่ ว่าอาคาร "สภาราชินี" [1]

ต่อมาข้าหลวงประจำจังหวัด มีความคิดที่จะตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดบ้าง จึงรวบรวมนักเรียนหญิงได้จำนวนหนึ่ง แต่ขณะนั้นยังไม่มีที่เรียน จึงให้ไปเรียนที่อาคารสภาราชินี พ.ศ. 2474 ได้มีคณะบุคคลผู้มีจิตศรัทธา ประกอบด้วย

  • พระยาอาณาจักรบริบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดตรัง
  • หลวงยวดประศาสน์ นายอำเภอเมืองตรัง
  • หลวงพิชิตปฏิภาณ ผู้พิพากษาจังหวัดตรัง
  • ขุนจรรยาวิทูร ศึกษาธิการจังหวัดตรัง
  • หลวงทวีทรัพย์ราช คลังจังหวัดตรัง

โดยการนำของข้าหลวงประจำจังหวัดตรัง จัดหาทุนก่อสร้างโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง ณ เลขที่ 142 ถนนวิเศษกุล อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ในพื้นที่ 8 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา อันเป็นสถานที่ปัจจุบัน

ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 ย้ายนักเรียนหญิงจากอาคารสภาราชินีมาเรียนที่โรงเรียนใหม่นี้โดยใช้นาม โรงเรียนว่า "โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง" และนับเอาวันอันเป็นสิริมงคลนี้เป็นวันกำเนิดโรงเรียนสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2494 ได้เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก "โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง" เป็น โรงเรียนสตรีตรัง"สภาราชินี"

และในปี พ.ศ. 2506 โรงเรียนเปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนกศิลปะรับนักเรียนสหศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงขออนุญาตสำนักราชเลขาธิการผ่านทางกระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง เป็นชื่อ "โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง" และได้ใช้มงคลนามนี้มาตราบจนปัจจุบัน [2]

บริเวณหน้าเสาธง

ในปัจจุบัน โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 2 พันกว่าคน ประกอบด้วยอาคารถาวร 6 หลัง ได้แก่ อาคารเรียน 3 หลัง หอประชุมโรงอาหาร 1 หลัง อาคารอเนกประสงค์ 2 หลัง มีทั้งหมด 79 ห้อง ใช้เป็นห้องเรียน ห้องฝึกปฏิบัติ ห้องบริการและห้องพิเศษอื่น ๆ โรงเรียนเคยอยู่ในโครงการ คมช.รุ่นที่ 7

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรังได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2524, ปีการศึกษา 2532, ปีการศึกษา 2541, ปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2559 ตามลำดับ [3] [4]

เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 วงโยธวาทิตโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทเดินพาเหรด พ.ศ. 2559 ถ้วยเกียรติยศกรมพลศึกษา ในการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 35 และนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2559 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ สนามศุภชลาศัย และชนะเลิศการประกวดวงโยธวาทิต ชิงแชมป์ภาคใต้ ประจำปี พ.ศ. 2559 ในประเภทการเดินขบวนพาเหรด ระหว่างวันที่ 23 เมษายน - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นตัวแทนภาคใต้เข้าร่วมการแข่งขัน ในระดับประเทศ

รายนามผู้บริหาร

[แก้]
โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นางจงกล ทองศรีสุข พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2486
โรงเรียนสตรีตรัง"สภาราชินี"
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
2. นางสาวเจียมจิตต์ บุญญานุรักษ์ พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2510
โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
3. นางสาวพรรณี ควรประเสริฐ พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2515
4. นางสาวยุพิณ ดุษิยามี พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2523
5. นางสาวสุภางค์ เขียวหวาน พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2530
6. นางสาววิมล สุวรรณเวลา พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536
7. นางสาวประภาพรรณ ภูมิสิงหราช พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537
8. นายเจตน์ กุลบุญ พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538
9. นายมิตร ศรีชาย พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2539
10. นายถาวร อุทัยรัตน์ พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540
11. นายปิ่น สุวรรณะ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544
12. นายสมพงษ์ แคนยุกต์ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2553
13. นายอำนาจ แก้วรักษ์ พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2559
14. นายสุรศักดิ์ ยี่หลัก พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562
นางสาวนวลจันทร์ ช่องดารากุล (รักษาการ) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562
15. ดร.สุมิตร สามห้วย 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562
16. ดร.ฉวีวรรณ รักษ์แก้ว 10 ตุลาคม พ.ศ.2567-ปัจจุบัน

ครูและบุคลากร

[แก้]
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1]
[แก้]
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ [2]
[แก้]
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ [3]
[แก้]
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย [4]
[แก้]
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม [5]
[แก้]
กลุ่มสาระการเรียนรู้ดนตรี ศิลปะ นาฏศิลป์ [6]
[แก้]
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ [7]
[แก้]
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา [8]
[แก้]
งานห้องสมุด [9]
[แก้]
งานแนะแนว [10]
[แก้]

การเรียนการสอน

[แก้]

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

[แก้]
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
  • ห้องเรียนพิเศษภาษาจีน
  • ห้องเรียนพิเศษดนตรี-นาฏศิลป์
  • ห้องเรียนพิเศษการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)
  • ห้องเรียนทั่วไป
  • ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศภาษาญี่ปุ่น
  • ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

[แก้]
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (โครงการพิเศษ)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
  • ห้องเรียนพิเศษการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)
  • ห้องเรียนพิเศษดนตรี-นาฏศิลป์
  • ห้องเรียนพิเศษภาษาจีน
  • ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศภาษาญี่ปุ่น
  • ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
  • ห้องเรียน Pre-Engineering (เตรียมวิศวะฯ)
  • ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (ทั่วไป)
  • ห้องเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์ (ศิลป์คำนวณ)
  • ห้องเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

อาคารเรียน

[แก้]

อาคาร 1

[แก้]

มี 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 ห้องเรียนแนะแนว/ห้องกลุ่มงานแนะแนว/ห้องเกียรติยศจอมทองศิลาสุนาเสวีนนท์/ห้องวัฒนธรรมโรงเรียน
  • ชั้น 2 ห้องกลุ่มบริหารงานวิชาการ/ห้องกลุ่มบริหารงานงบประมาณ/ห้องผลิตเอกสาร/ห้องผู้อำนวยการ/ห้องประชุม (อาจารย์)
  • ชั้น 3 ห้องพระโรงเรียน/ห้องเรียน
  • ชั้น 4 ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม/ห้องเรียน

อาคาร 2

[แก้]

มี 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 ห้องพยาบาล/ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ/ห้องสมุดสารานุกรม/สำนักงานคณะกรรมการสภานักเรียน
  • ชั้น 2 ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย/ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ/ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ (งานศิลปะ)
  • ชั้น 3 ห้องกลุ่มงานภาษาจีน/ห้องเรียน
  • ชั้น 4 ห้องเรียน

อาคาร 3

[แก้]

มี 5 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 ใต้ถุนอาคาร บริเวณให้นักเรียนนั่งพักผ่อนหรืออ่านหนังสือ
  • ชั้น 2 ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ (งานนาฏศิลป์)/ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์/ห้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียน/ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (งานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ)
  • ชั้น 3 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์/ห้องเรียน
  • ชั้น 4 ห้องเรียนนักเรียนโครงการ No paper
  • ชั้น 5 ห้องเรียนนักเรียนโครงการ English program

อาคาร 4

[แก้]

มี 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 ห้องนักเรียนวงโยธวาทิต
  • ชั้น 2 ห้องเรียนดนตรี
  • ชั้น 3 ห้องเรียนและห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ (งานดนตรี)
  • ชั้น 4 ห้อง TOT

อาคาร 5

[แก้]

มี 8 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 ลานจอดรถยนต์ของคณะอาจารย์/ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
  • ชั้น 2 ลานจอดรถยนต์ของคณะอาจารย์/ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล
  • ชั้น 3 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป/ห้องเรียนและปฏิบัติการทางเคมี/ห้องเรียนและปฏิบัติการทางฟิสิกส์/ห้องเรียนและปฏิบัติการทางชีววิทยา/ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ชั้น 4 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป/ห้องเรียนและปฏิบัติการทางเคมี/ห้องเรียนและปฏิบัติการทางฟิสิกส์/ห้องเรียนและปฏิบัติการทางชีววิทยา/ห้องเก็บสารเคมี/ห้องหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ห้องกลุ่มบริหารงานทั่วไป
  • ชั้น 5 ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ
  • ชั้น 6 ห้องเรียนคณิตศาสตร์/ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์/ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • ชั้น 7 ห้องเรียน/ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานธุรกิจ)/ห้องโสตทัศนูปกรณ์
  • ชั้น 8 ห้องประชุม

อาคารหอประชุมและโรงอาหาร

[แก้]

มี 2 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 โรงอาหารครู นักเรียนและบุคลากรอื่นๆ
  • ชั้น 2 หอประชุมขนาดใหญ่

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา ,แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมศึกษาธิการ เรื่อง สร้างสภาราชินีจังหวัดตรัง มณฑลภูเก็ต ,29 ธันวาคม พ.ศ. 2461
  2. "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-03. สืบค้นเมื่อ 2016-11-22.
  3. วารสารราชินีศรีตรัง 2558
  4. รางวัลพระราชทาน สถานศึกษารางวัลพระราชทาน 2559[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]