เบอรินเจีย
เบอรินเจีย (อังกฤษ: Beringia) หรือ สะพานแผ่นดินเบริง (Bering Land Bridge) เป็นพื้นที่ที่ได้รับการนิยามว่าเริ่มตั้งแต่แม่น้ำลีนา ประเทศรัสเซีย ทางด้านตะวันตก ไปจนถึงแม่น้ำแมกเคนซี ประเทศแคนาดา ทางด้านตะวันออก และเริ่มตั้งแต่เส้นขนานที่ 72 องศาเหนือในทะเลชุกชีทางด้านเหนือ ไปจนถึงปลายคาบสมุทรคัมชัตคาทางด้านใต้[1] ครอบคลุมพื้นที่ทะเลชุกชี ทะเลเบริง ช่องแคบเบริง คาบสมุทรชุกชี คาบสมุทรคัมชัตคา อะแลสกา และยูคอนในปัจจุบัน
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์สะพานแผ่นดินนี้เป็นสะพานแผ่นดินที่มีขนาดใหญ่มาก ในช่วงเวลาหนึ่งในยุคก่อนประวัติศาสตร์อาจกว้างถึง 1,000 กิโลเมตรและครอบคลุมพื้นที่ประมาณรัฐบริติชโคลัมเบียและรัฐแอลเบอร์ตารวมกัน[2] (ราว 1,600,000 ตารางกิโลเมตร) ปัจจุบันมีส่วนที่หลงเหลืออยู่ของสะพานแผ่นดินเพียงเล็กน้อย เช่น หมู่เกาะไดออมีด เกาะเซนต์พอลและเกาะเซนต์จอร์จในหมู่เกาะพริบิลอฟ เกาะเซนต์ลอว์เรนซ์ เกาะเซนต์แมตทิว เกาะคิง เป็นต้น[1]
ศัพท์ เบอรินเจีย เป็นศัพท์ที่เอริก ฮัลเตน นักพฤกษศาสตร์และนักชีวภูมิศาสตร์ชาวสวีเดนบัญญัติขึ้นใน ค.ศ. 1937 จากชื่อของไวทัส เบริง นักสำรวจชาวเดนมาร์ก[3] ในยุคน้ำแข็งนั้น เบอรินเจียมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์ที่ไม่มีน้ำแข็งหรือธารน้ำแข็งปกคลุม เนื่องจากมีหิมะตกน้อย เช่นเดียวกับในไซบีเรียและทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของจีนในช่วงเวลาเดียวกัน[4]
เชื่อกันว่ามีมนุษย์กลุ่มเล็ก ๆ ราวสองถึงสามพันคนเดินทางจากไซบีเรียตะวันออกมาถึงเบอรินเจียในช่วงยุคน้ำแข็งใหญ่สุดครั้งสุดท้าย กลายเป็นจุดเริ่มต้นการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในทวีปอเมริกาในช่วง 16,500 ปีก่อน[5] การเข้าไปตั้งถิ่งฐานน่าจะเริ่มขึ้นหลังจากที่ธารน้ำแข็งอเมริกาที่ขวางทางลงใต้ละลาย[6][7][8][9][10] และก่อนที่แผ่นดินจะถูกตัดขาดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในช่วง 11,000 ปีก่อน[11][12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dr Barbara Winter (2005). "A Journey to a New Land". www.sfu.museum. virtualmuseum.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2015. สืบค้นเมื่อ 19 May 2015.
- ↑ John F. Hoffecker; Scott A. Elias (2007). Human Ecology of Beringia. Columbia University Press. p. 3. ISBN 978-0-231-13060-8. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
- ↑ Karel Hendrik Voous (1973). Proceedings of the 15th International Ornithological Congress, The Hague, The Netherlands 30 August–5 September 1970. Brill Archive. p. 33. ISBN 978-90-04-03551-5. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
- ↑ "The first people who populated the Americas".
- ↑ Wang, Sijia; Lewis, C. M. Jr.; Jakobsson, M.; Ramachandran, S.; Ray, N.; และคณะ (2007). "Genetic Variation and Population Structure in Native Americans". PLOS Genetics. 3 (11): e185. doi:10.1371/journal.pgen.0030185. PMC 2082466. PMID 18039031.
- ↑ Goebel, Ted; Waters, Michael R.; O'Rourke, Dennis H. (2008). "The Late Pleistocene Dispersal of Modern Humans in the Americas". Science. 319 (5869): 1497–1502. Bibcode:2008Sci...319.1497G. CiteSeerX 10.1.1.398.9315. doi:10.1126/science.1153569. PMID 18339930. S2CID 36149744.
- ↑ Fagundes, Nelson J. R.; และคณะ (2008). "Mitochondrial Population Genomics Supports a Single Pre-Clovis Origin with a Coastal Route for the Peopling of the Americas". American Journal of Human Genetics. 82 (3): 583–92. doi:10.1016/j.ajhg.2007.11.013. PMC 2427228. PMID 18313026.
- ↑ Tamm, Erika; และคณะ (2007). Carter, Dee (บ.ก.). "Beringian Standstill and Spread of Native American Founders". PLoS ONE. 2 (9): e829. Bibcode:2007PLoSO...2..829T. doi:10.1371/journal.pone.0000829. PMC 1952074. PMID 17786201.
- ↑ Achilli, A.; และคณะ (2008). MacAulay, Vincent (บ.ก.). "The Phylogeny of the Four Pan-American MtDNA Haplogroups: Implications for Evolutionary and Disease Studies". PLOS ONE. 3 (3): e1764. Bibcode:2008PLoSO...3.1764A. doi:10.1371/journal.pone.0001764. PMC 2258150. PMID 18335039.
- ↑ Elias, Scott A.; Short, Susan K.; Nelson, C. Hans; Birks, Hilary H. (1996). "Life and times of the Bering land bridge". Nature. 382 (6586): 60. Bibcode:1996Natur.382...60E. doi:10.1038/382060a0. S2CID 4347413.
- ↑ Jakobsson, Martin; Pearce, Christof; Cronin, Thomas M.; Backman, Jan; Anderson, Leif G.; Barrientos, Natalia; Björk, Göran; Coxall, Helen; De Boer, Agatha; Mayer, Larry A.; Mörth, Carl-Magnus; Nilsson, Johan; Rattray, Jayne E.; Stranne, Christian; Semilietov, Igor; O'Regan, Matt (2017). "Post-glacial flooding of the Beringia Land Bridge dated to 11,000 cal yrs YBP based on new geophysical and sediment records". Climate of the Past Discussions: 1–22. doi:10.5194/cp-2017-11.