ข้ามไปเนื้อหา

ตั๋งโห

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตั๋งโห (ต่ง เหอ)
董和
รูปปั้นของตั๋งโหในนครจือเจียง มณฑลหูเป่ย์
ขุนพลราชองครักษ์และผู้จัดการกองทัพ
(掌軍中郎將)
(ภายใต้เล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 214 (214) – ค.ศ. 221 (221)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้ / เล่าปี่ (ตั้งแต่ ค.ศ. 219)
เจ้าเมืองเอ๊กจิ๋ว (益州太守)
(ภายใต้เล่าเจี้ยง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 214 (214)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
นายอำเภอเซงโต๋ (成都令)
(ภายใต้เล่าเจี้ยง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครจือเจียง มณฑลหูเป่ย์
เสียชีวิตต้นปี ค.ศ. 221[a]
บุตรตั๋งอุ๋น
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองโยฺ่วไจ่ (幼宰)

ตั๋งโห (เสียชีวิตต้นปี ค.ศ. 221)[a] มีชื่อภาษาจีนกลางว่า ต่ง เหอ (จีน: 董和; พินอิน: Dǒng Hé) ชื่อรอง โยฺ่วไจ่ (จีน: 幼宰; พินอิน: Yòuzǎi) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เดิมเป็นขุนนางของขุนศึกเล่าเจี้ยงก่อนจะมาเป็นขุนนางของเล่าปี่ (จักรพรรดิผู้สถาปนารัฐจ๊กก๊ก) หลังเล่าเจี้ยงยอมจำนนต่อเล่าปี่ในปี ค.ศ. 214 โดยตั๋งโหรับราชการในสำนักของเล่าปี่ร่วมกับจูกัดเหลียงจนกระทั่งตั๋งโหเสียชีวิตในอีกเจ็ดปีถัดมา ตั๋งโหมีชื่อเสียงในเรื่องความมัธยัธถ์และคุณธรรมจึงได้รับความนับถือจากผู้คนในจ๊กก๊ก[1]

ประวัติช่วงต้น

ตั๋งโหเป็นชาวอำเภอจือเจียง (枝江) เมืองลำกุ๋น (南郡 หนานจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคือนครจือเจียง มณฑลหูเป่ย์ บ้านเกิดของบรรพบุรุษของตั๋งโหคือในอำเภอกังจิว (江州 เจียงโจฺว) เมืองปากุ๋น (巴郡 ปาจฺวิ้น) ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ในปี ค.ศ. 196 ตั๋งโหนำครอบครัวย้ายกลับไปทางตะวันตกเข้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว เล่าเจี้ยงตั้งให้ตั๋งโหเป็นนายอำเภอ (長 จ่าง) ของอำเภอหนิวปี้ (牛鞞) และอำเภอเจียงยฺเหวียน (江原) ตั๋งโหยังได้รับการแต่งตั้งให้มีตำแหน่งนายอำเภอเซงโต๋ (成都令 เฉิงตูลิ่ง)[2]

รับราชการกับเล่าเจี้ยง

รับราชการกับเล่าปี่

จูกัดเหลียงยกย่องตั๋งโหและคนอื่น ๆ

คำวิจารณ์

ดูเพิ่ม

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

หมายเหตุ

  1. 1.0 1.1 ชีวประวัติตั๋งโหในจดหมายเหตุสามก๊กเล่มที่ 38 บันทึกว่าจูกัดเหลียงขึ้นเป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กหลังตั๋งโหเสียชีวิตไปแล้ว (死之日家無儋石之財。亮後為丞相) ชีวประวัติยังบันทึกว่าตั๋งโหรับราชการในสำนักของจูกัดเหลียงเป็นเวลาเจ็ดปี (又董幼宰參署七年) ดังนั้นตั๋งโหจึงต้องเสียชีวิตเมื่อต้นปี ค.ศ. 221 ก่อนที่เล่าปี่จะสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิและตั้งจูกัดเหลียงเป็นอัครมหาเสนาบดีในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 221

อ้างอิง

  1. de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23-220 AD). Brill Publishing. pp. 150–151. ISBN 978-90-04-15605-0.
  2. (董和字幼宰,南郡枝江人也,其先本巴郡江州人。漢末,和率宗族西遷,益州牧劉璋以為牛鞞、〈音髀。〉江原長、成都令。) Sanguozhi vol. 39.