ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ
ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ |
เขียนบท | นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ |
อำนวยการสร้าง | นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | นิรมล รอสส์ |
ตัดต่อ | ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต |
ดนตรีประกอบ | ใจเทพ ร่าเริงใจ |
บริษัทผู้สร้าง | เวรี่ แซด พิคเจอร์ส แฮปปี้ เอนดิ้ง ฟิล์ม |
ผู้จัดจำหน่าย | จีดีเอช ห้าห้าเก้า |
วันฉาย | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 |
ความยาว | 115 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ทำเงิน | 57 ล้านบาท |
ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไร..ไม่ให้เหลือเธอ (อังกฤษ: Happy old Year)[1] เป็นภาพยนตร์ไทยแนวโรแมนติก-ดราม่า ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2562 เขียนบท อำนวยการสร้าง และกำกับโดยนวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ นำแสดงโดยชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง, ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์, ษริกา สารทศิลป์ศุภา, อาภาศิริ จันทรัศมี, ถิรวัฒน์ โงสว่าง และพัดชา กิจชัยเจริญ ผลิตโดยเวรี่ แซด พิคเจอร์ส และแฮปปี้ เอนดิ้ง ฟิล์ม จัดจำหน่ายโดยจีดีเอช ห้าห้าเก้า[2] มีเพลงประกอบภาพยนตร์คือ "ทิ้งแต่เก็บ" ร้องโดยเดอะทอยส์[3] ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ จีน (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง) ที่ต้องการเคลียร์บ้านเพื่อรีโนเวต แต่ก็มาเจอบางอย่างที่เป็นของเอ็ม แฟนเก่าของเธอ (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) โดยทำรายได้ 57 ล้านบาท[4]
นักแสดง
- ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ รับบท เอ็ม
- ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง รับบท จีน
- อาภาศิริ นิติพน รับบท แม่ของจีนและเจย์
- ษริกา สารทศิลป์ศุภา รับบท มี่
- ถิรวัฒน์ โงสว่าง รับบท เจย์
- พัดชา กิจชัยเจริญ รับบท พิงค์
งานสร้าง
นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ผู้เขียนบทซึ่งชอบจัดบ้านในช่วงวันปีใหม่ และได้เริ่มทำสตอรีบอร์ดในช่วงนี้ด้วย[5] จุดเริ่มต้นของบทมาจากตอนเก็บของทำให้นึกถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับของนั้นหรือคนที่เกี่ยวข้องกับของนั้น จากจุดนี้คิดว่ามีความน่าสนใจพอที่จะทำหนังได้ ในตอนเขียนบทไม่ได้นึกถึงใครมาแสดง นักแสดงนำทั้ง 2 คน ก็ผ่านการทดสอบบทตามปกติ โดยพิจารณาจากคนที่ดูใกล้เคียงกับบท สำหรับบทของซันนี่ ที่รับบทเป็นแฟนเก่า เป็นตัวละครที่มีความคลุมเครือประมาณหนึ่ง นวพลเห็นว่าซันนี่ดูเหมาะสมกับบทนี้ และคิดว่าชีวิตจริงเขาเป็นแบบนั้นเหมือนกัน ส่วนบทของชุติมณฑน์ เป็นบทผู้หญิงที่แข็ง และเคยเห็นชุติมณฑน์แสดงใน ฉลาดเกมส์โกง คิดว่าเหมาะสมกับบุคลิกนี้[6]
การถ่ายทำ ใช้อัตราส่วนภาพ 3:2 ทำให้เห็นขอบดำซ้ายขวาตลอดทั้งเรื่อง เหตุผลคือต้องการให้หนังโฟกัสที่คนและหน้าคนเป็นส่วนใหญ่[7]
การตอบรับ
คำวิจารณ์
อะเดย์ พูดถึงหนังเรื่องนี้ว่า "นวพลก็ยังคงประทับลายเซ็นของตัวเองไว้อย่างชัดเจน ทั้งจังหวะการแช่ภาพเพื่อดึงอารมณ์ การตัดต่อสุดกวน บทสนทนาที่เหมือนเราได้แอบฟังตัวละครคุยกัน และการลงไปสำรวจความสัมพันธ์ที่ครั้งนี้ร้าวลึกยิ่งกว่าเรื่องก่อนหน้า"[8] เดลินิวส์ อธิบายหนังว่า "หนังที่เล่นกับความรู้สึกแบบสุดโต่ง ไม่ว่าจะเป็นดนตรีประกอบสันสันโทนสีหม่นหมอง สิ่งของแต่ละชิ้นสะท้อนภาพในอดีตออกมา"[7]
ด้านการแสดง มติชน วิจารณ์นักแสดงนำทั้งสองว่า "ชุติมณฑน์ ที่นำเสนอตัวจีนออกมาได้อย่างพอดี ไม่มาก ไม่น้อย ซึ่งความเป็นตรงกลางนี่หละที่หายากที่สุด แต่ต้องชื่นชมที่เธอหาจนเจอ เธอรับบทได้หนักหน่วง นับว่าแบกไว้ทั้งเรื่องก็ได้...ส่วน ซันนี่ เรียกได้ว่าน้อยแต่มากของจริง อาจไม่มีบทเยอะ การแสดงของเขานำเราไปสู่อารมณ์เดียวกับตัวละครได้ไม่ยาก"[9]
รางวัล
ผู้มอบรางวัล | สาขารางวัล | ผล |
---|---|---|
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 16[10][11] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (จีดีเอช, เวรี่ แซด พิคเจอร์ส, แฮปปี้ เอนดิ้ง ฟิล์ม) | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) | ชนะ | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง) | ชนะ | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ษริกา สารทศิลป์ศุภา) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (อาภาศิริ จันทรัศมี) | ชนะ | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 28[12] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (จีดีเอช, เวรี่ แซด พิคเจอร์ส, แฮปปี้ เอนดิ้ง ฟิล์ม) | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ษริกา สารทศิลป์ศุภา) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
กำกับภาพยอดเยี่ยม (นิรมล รอสส์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม (พัชรนันต์ ตาลานนท์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ใจเทพ ร่าเริงใจ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
เพลงจากภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ("ทิ้งแต่เก็บ" ประพันธ์โดย ธันวา บุญสูงเนิน) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 17[13] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (จีดีเอช, เวรี่ แซด พิคเจอร์ส, แฮปปี้ เอนดิ้ง ฟิล์ม) | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) | ชนะ | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง) | ชนะ | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ษริกา สารทศิลป์ศุภา) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (อาภาศิริ จันทรัศมี) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
กำกับภาพยอดเยี่ยม (นิรมล รอสส์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต) | ชนะ | |
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม (พัชรนันต์ ตาลานนท์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ใจเทพ ร่าเริงใจ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 10[14] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (จีดีเอช, เวรี่ แซด พิคเจอร์ส, แฮปปี้ เอนดิ้ง ฟิล์ม) | Runner-up |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) | Runner-up | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) | Runner-up | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ษริกา สารทศิลป์ศุภา) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (อาภาศิริ จันทรัศมี) | Runner-up | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) | ชนะ | |
กำกับภาพยอดเยี่ยม (นิรมล รอสส์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต) | Runner-up | |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ใจเทพ ร่าเริงใจ) | ชนะ | |
Osaka Asian Film Festival 2020 (15th) [1] | Grand Prix | ชนะ |
Beijing International Film Festival | Best Film | เสนอชื่อเข้าชิง |
14th Asian Film Awards | Best Actress[ลิงก์เสีย] | เสนอชื่อเข้าชิง |
Best CostumeDesign | ชนะ |
อ้างอิง
- ↑ ""ฮาวทูทิ้ง.." เปิดภาพแรกหนังรักเรื่องใหม่ของ เต๋อ-นวพล". ประชาชาติธุรกิจ. 20 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ เก้า มีนานนท์ (20 พฤศจิกายน 2562). "GDH ทิ้งภาพชุดแรกของ 'ฮาวทูทิ้ง.. ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ' ภาพยนตร์ส่งท้ายปลายปีของ เต๋อ นวพล". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ตัวอย่างแรก "ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ" ประโยคจี๊ดเพียบจนน้ำตาซึม". สนุก.คอม. 9 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "GDH ครองตลาดหนังไทย รายได้ 471 ล้าน เปิดกลยุทธ์ 2020 ลุยหนัง-ซีรีส์-ปั้นศิลปินใหม่ฅ". โพซิชันนิงแม็ก. 31 มกราคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ, กฤตนัย จงไกรจักร (15 ธันวาคม 2562). "ไวรัลและเรื่องราวกับเต๋อ นวพล และ "ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ"". อะเดย์บูลเลติน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-18. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ฮาวทูทิ้ง หนังเรื่องที่ 7 ของ เต๋อ นวพล". คมชัดลึก. 25 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 7.0 7.1 "How to Ting ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ". เดลินิวส์. 27 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ พัฒนา ค้าขาย (26 ธันวาคม 2562). "ฮาวทูทิ้ง : ถ้าโดนทิ้งแล้วเริ่มใหม่ได้ทันที โลกนี้คงไม่มีคนอกหัก". อะเดย์. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ฮาว ทู ทิ้ง เมื่อทั้งเก็บและทิ้ง ต่างเป็นสองสิ่งที่สัมผัสความรู้สึก". มติชน. 25 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "โผเข้าชิง 'คมชัดลึก อวอร์ดครั้งที่ 16' เพลงไทยสากล-หนัง-ละคร รางวัลกิตติมศักดิ์ ด้านส่งเสริมการแสดงดีเด่น (ใหม่ เจริญปุระ)". คมชัดลึก. 29 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ "ผลรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 16". กรุงเทพธุรกิจ. 4 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สรุปผู้เข้าชิงรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 28 Where We Belong และฮาวทูทิ้ง ชิงสูงสุด 11 รางวัล". เดอะสแตนดาร์ด. 18 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล Starpics Thai Film Awards#17". สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ https://www.facebook.com/thaifilmdirectorpage/?epa=SEARCH_BOX