ข้ามไปเนื้อหา

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
โลโก้อย่างเป็นทางการของสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู เวอร์ชัน 3
เครื่องหมายการค้าของกนู

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991). สัญญาอนุญาตจีพีแอลในปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 3 นอกจากนี้มี สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู หรือ แอลจีพีแอล (GNU Lesser General Public License, LGPL) ที่พัฒนาแยกออกมาจากจีพีแอลเพื่อใช้สำหรับไลบรารีซอฟต์แวร์

ลักษณะของสัญญาอนุญาตจีพีแอลมีลักษณะ "เสรี" (free) ที่หมายถึงเสรีภาพสำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์สี่ประการดังนี้

  • เสรีภาพในการใช้งาน ไม่ว่าใช้สำหรับจุดประสงค์ใด
  • เสรีภาพในการศึกษาการทำงานของโปรแกรม และแก้ไขโค้ด การเข้าถึงซอร์สโค้ดจำเป็นสำหรับเสรีภาพข้อนี้ (โอเพนซอร์ซ)
  • เสรีภาพในการจำหน่ายแจกจ่ายโปรแกรม
  • เสรีภาพในการปรับปรุงและเปิดให้บุคคลทั่วไปใช้และพัฒนาต่อไป การเข้าถึงซอร์สโค้ดจำเป็นสำหรับเสรีภาพข้อนี้

โดยมีเพียงเงื่อนไขว่า การนำไปใช้หรือนำไปพัฒนาต่อ จำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน

สัญญาอนุญาตจีพีแอลเป็นสัญญาอนุญาตที่มีการใช้มากที่สุดในซอฟต์แวร์เสรีและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ โดยมีการใช้สัญญาอนุญาตจีพีแอล 75% จาก 23,479 ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาใน Freshmeat เมื่อเมษายน พ.ศ. 2547 และประมาณ 68% ของซอฟต์แวร์ที่พัฒนาใน SourceForge

ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่ใช้สัญญาอนุญาตจีพีแอล ได้แก่ มีเดียวิกิ ไฟร์ฟอกซ์ และ phpBB

ประวัติ

[แก้]

ริชาร์ด สตอลแมนได้เขียนสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (GPL) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1989 เพื่อนำไปใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการกนู ต้นแบบของจีพีแอลมาจากสัญญาที่คล้ายกัน ที่เคยใช้กับโปรแกรมนำไปใช้ได้กับทุกโปรแกรม

รุ่น

[แก้]

รุ่น 1

[แก้]

รุ่น 2

[แก้]

รุ่น 3

[แก้]

ภายหลังจากที่สัญญาอนุญาตรุ่น 3 ของจีพีแอลได้มีการเสนอนโยบายออกมา โดยมีข้อจำกัดในการใช้ซอฟต์แวร์มากขึ้นสำหรับบริษัทคอมพิวเตอร์ที่นำไปใช้ และจะมีประกาศใช้ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2550 ส่งผลให้มีเหตุการณ์ขัดแย้งระหว่าง ลีนุส ทอร์วัลส์ผู้คิดค้นระบบลินุกซ์ และ ริชาร์ด สตอลแมนผู้เริ่มต้นสัญญาอนุญาตจีพีแอล โดยทางลีนุสยังต้องการให้ระบบลินุกซ์ใช้สัญญารุ่นเดิมคือรุ่น 2 ในขณะที่สตอลแมนต้องการผลักดันไปสู่รุ่น 3 ที่จำกัดการใช้งานของโปรแกรมให้มากขึ้น ส่งผลให้ทางบริษัทใหญ่หลายแห่ง รวมถึง ไอบีเอ็ม เอชพี เรดแฮต และบริษัทอื่น ไม่กล้าลงทุนในส่วนของลินุกซ์[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากเกรงว่าสตอลแมนจะผลักดันให้ลิขสิทธิ์เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้งและมาฟ้องร้องบริษัทในภายหลัง เหมือนที่ผ่านมาได้ทำกับ เอ็นวิเดีย (เท่าที่ทราบคนที่ฟ้องเอ็นวิเดีย คือฝั่ง ลินุกซ์ ไม่ใช่ FSF และเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยลอกซอร์สโค้ดไปใช้และไม่เกี่ยวกับ GPL3 แต่เป็นการละเมิด GPL2 ซึ่งลีนุสเองก็เห็นชอบและเลือกไลเซนส์นี้ด้วยตัวเอง จึงไม่แน่ใจว่าความคิดเห็นข้างต้นเข้าใจภาพรวมของสถานการณ์และกฎหมายลิขสิทธิ์ จึงควรอ่านภาคภาษาอังกฤษประกอบหากต้องการเนื้อหาที่ถูกต้อง) และ ทีโว[ต้องการอ้างอิง] (สตอลแมนเรียกการที่ผู้ผลิตสร้างฮาร์ดแวร์ที่ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขซอฟต์แวร์ว่า Tivoization FSF จึงออกแบบ GPL3 มามีเนื้อหาต่อต้านแนวคิดดังกล่าวซึ่งลีนุสไม่เห็นด้วยที่จะใช้ GPL3 กับ ลินุกซ์เคอร์เนล (ซึ่งก็ไม่ได้ถูกบังคับให้ใช้เพราะบังคับไม่ได้อยู่แล้วตามกฎหมาย)) อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์ที่ใช้ GPL2 และ GPL2หรือมากกว่า อยู่จะไม่ได้รับผลกระทบนี้ และสัญญานี้จะส่งผลกระทบเมื่อผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้สัญญารุ่น GPL3 ล้วนๆเท่านั้น (ทีโวจึงไม่ได้ทำผิดลิขสิทธิ์และไม่ได้ถูกฟ้อง) โดยทั่วไปแล้วแนวคิดอุดมคติของสตอลแมนที่ต้องการรักษาเสรีภาพของซอฟต์แวร์จากมุมมองของผู้ใช้ (แนวคิดแบบซอฟต์แวร์เสรี) โดยเน้นเพิ่มข้อจำกัดเกี่ยวกับสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ ขัดแย้งกับความคิดของลีนุสที่อยากให้สิทธิ์กับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้น (แนวคิดแบบโอเพ่นซอร์ส) นอกจากนี้ความพยายามของ GPL3 คือพยายามเข้าถึงแนวคิดของซอฟต์แวร์แบบเซอร์วิซ ได้แก่เว็บซอฟต์แวร์ที่ผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องให้ซอร์สโค้ดกับผู้ใช้บริการ

ความแตกต่างระหว่างสัญญาอนุญาต GPL และ BSD

[แก้]

ความแตกต่างระหว่างสัญญาอนุญาตจีพีแอลและสัญญาอนุญาตบีเอสดี (สัญญาอนุญาตที่นิยมอีกตัวหนึ่งสำหรับซอฟต์แวร์เสรี) คือสัญญาอนุญาตจีพีแอลครอบคลุมถึงซอฟต์แวร์ทั้งที่อยู่ในรูปของต้นฉบับ มีการดัดแปลง หรือรวมเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์อื่น โดยบุคคลที่นำซอฟต์แวร์ไปใช้หรือพัฒนาต่อ โดยหลักการกว้างๆ แล้วจำเป็นต้องเผยแพร่โดยใช้สัญญาอนุญาตเดียวกันก็ต่อเมื่อมีการจำหน่ายจ่ายแจกโปรแกรมไบนารี่ ของซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อออกไปตามคำขอของผู้ได้รับโปรแกรมไบนารี่ นั้นๆ เท่านั้น ในขณะที่สัญญาอนุญาตบีเอสดีให้สิทธิ์กับผู้พัฒนาต่อมากกว่า โดยผู้ที่ไปพัฒนาต่อไม่ต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดของโปรแกรม มีเพียงข้อความเจ้าของสัญญาอนุญาตเดิมเท่านั้นที่ต้องแสดงให้ผู้ใช้เห็น ซึ่งอาจใส่ไว้ในเอกสารคู่มือการใช้ก็ได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]