ข้ามไปเนื้อหา

วสุ แสงสิงแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
วสุ แสงสิงแก้ว
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดวสุ แสงสิงแก้ว
ชื่ออื่นวิชชุ วัชรพันธ์, ผไท เดชศิริ
เกิด29 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสนิชา หิรัญบูรณะ
(2538–2549; หย่า)[1]
พริมรตา เดชอุดม
(2564–ปัจจุบัน)
อาชีพ
  • กรรมาธิการการต่างประเทศวุฒิสภา
  • พิธีกร
  • นักร้อง
  • นักแสดง
  • นักเขียน
ปีที่แสดงพ.ศ. 2526–ปัจจุบัน
พิฆเนศวรนักแสดงเจ้าบทบาทชายดีเด่น
พ.ศ. 2566 - เลือดเจ้าพระยา

วสุ แสงสิงแก้ว (เกิด 29 ธันวาคม พ.ศ. 2510) ชื่อเล่น จี๊ป หรือที่รู้จักกันในชื่อ จิ๊บ ร.ด. เป็นพิธีกร นักร้อง นักแสดง และนักเขียนชาวไทย

ประวัติ

[แก้]

วสุ แสงสิงแก้ว (ชื่อเล่น: จี๊ป) เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2510 เป็นบุตรคนเดียวของ พลเรือตรี ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข อดีตวุฒิสมาชิก และสุดาชา แสงสิงแก้ว[2] จบการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รุ่น 10) และระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่น 45) เคยร่วมก่อตั้งวงดนตรีที่โรงเรียน ชื่อวง Centerfold กับป้าง-นครินทร์ กิ่งศักดิ์

เริ่มงานในวงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 13 ปี จากการถ่ายภาพยนตร์โฆษณาเครื่องดื่ม "ไมโล" และเป็นพระเอกภาพยนตร์วัยรุ่น เรื่อง "เปรียว" ในปี 2526 (ใช้ชื่อในวงการว่า "วิชชุ วัชรพันธ์") เล่นคู่กับ แก้วเบญจวรรณ ภูษณะพงษ์ (เบญจา บารมี) และในปี 2528 วสุเข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่น 38) ในระหว่างเรียนชั้นปี 1 แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ ที่แยกตัวจากวงแกรนด์เอ็กซ์ ได้ชักชวนวสุ (ขณะนั้นใช้ชื่อในวงการว่า "ผไท เดชศิริ") ไปสมทบกับ โอม ชาตรี คงสุวรรณ ตั้งวงที่ชื่อ แจ้และพลอย พร้อมออกอัลบั้มชุด ฝันสีทอง ซึ่งสร้างปรากฏการณ์ขายยอดรวมได้ถึงเกือบ 2 ล้านตลับ และเดินสายแสดงคอนเสิร์ตไปทั่วประเทศ ต่อมาออกผลงานชุดที่ 2 ชื่อ ของขวัญ วสุอัดเพลงเดี่ยวเพลงแรกโดยเป็นเพลงดังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักศึกษาวิชาทหาร คือเพลง จิ๊บ ร.ด. จนคนเรียกเป็นชื่อฉายาติดปากมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาจึงได้ออกผลงานของวงพลอยเอง ในปี 2530 ชื่อ สุภาพบุรุษนักฝัน โดยมีติ๊ก ชีโร่ เป็นมือกลอง ในชุดนี้วสุได้รับหน้าที่ร้องนำ โดยมีดนุพล แก้วกาญจน์ เป็นโปรดิวเซอร์ มีเพลงดังคือ "สูตรรักนักเรียน" วสุอยู่ร่วมกับวงพลอยจนถึงชุด "สมาคมคนเจ็บ ๆ" และจบปริญญาตรีในปี 2532 จึงสอบเข้าทำงานในกระทรวงการต่างประเทศในปี 2533 และไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท (Master of Arts in International Affairs) ณ Ohio University สหรัฐอเมริกา(ทุนมหาวิทยาลัย) และ Foreign Service Programme , Master of Science in Global Governance ณ Oxford University อังกฤษ (ทุนกระทรวงการต่างประเทศ) เมื่อกลับมาได้ออกผลงานกับค่ายแกรมมี่ ชุด นายจิ๊บกับคุณวสุ โดยมีเรวัต พุทธินันท์ เป็น Executive producer ในปี 2536 ก่อนจะลาจากวงการบันเทิง[3]

ในด้านกีฬา วสุเคยเป็นแชมป์เยาวชนเทนนิสแห่งประเทศไทย ในรุ่น 14 และ 16 ปี และติดทีมชาติเยาวชนตั้งแต่อายุ 13-17 ปี ชนะเลิศในการแข่งขันระดับเยาวชนเอเชียมากมายหลายประเทศจนติดอันดับเยาวชนเทนนิสโลก

วสุชื่นชอบ เอลวิส เพรสลีย์ เป็นการส่วนตัว ได้รับเชิญให้โชว์รำลึกเอลวิส เพรสลีย์ ร่วมกับรุ่นพี่เอลวิสเมืองไทยอย่าง สักรินทร์ ปุญญฤทธิ์, วิสูตร ตุงคะรัต และจีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ มาตั้งแต่ปี 2532 เคยได้รับรางวัล Elvis Presley, Wonderful Performance จากงานรวม Elvis of Asia ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2545 และรางวัล Elvis Presley, Best Showmanship จากงานชุมนุมเอลวิสโลก ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2555[ต้องการอ้างอิง]

ด้านงานราชการในกระทรวงการต่างประเทศ วสุผ่านงานดูแลกรมอาเซียน, กรมองค์การระหว่างประเทศ, กรมยุโรป กรมสารนิเทศ และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายประจวบ ไชยสาส์น และ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ตามลำดับ จากนั้นได้ย้ายไปเป็นกงสุลไทยประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสิงคโปร์ เป็นเวลา 4 ปี และเป็นข้าราชการระดับนักการทูตชำนาญการ ตำแหน่งเลขานุการอธิบดีกรมการกงสุล ล่าสุดรับตำแหน่งที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา และจบการศึกษาในหลายหลักสูตรของผู้บริหารระดับสูงจากทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และกองทัพเรือ ปัจจุบันศึกษาอยู่ในหลักสูตรเสาหลักเพื่อแผ่นดิน รุ่นเกียรติยศ ใต้ร่มพระบารมี (ปี 2557) พร้อมทั้งกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกสาขารัฐศาสตร์ ด้วยทุนจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี[ต้องการอ้างอิง]

ตั้งแต่ปี 2530 ถึงปัจจุบัน วสุรับงานเป็นพิธีกรรายการทีวีช่องต่าง ๆ กว่า 20 รายการ รวมทั้งพิธีกรในงานระดับประเทศและระหว่างประเทศหลายสิบครั้ง ปัจจุบันวสุกลับมารับงานด้านบันเทิงมากขึ้นทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และละครเวที รวมทั้งการกลับมารวมตัวของนักดนตรีที่มีชื่อเสียงจากยุค 80's ในนามวง The Palace ซึ่งประกอบด้วย จี๊ป วสุ , ปุ๊ อัญชลี, ต้น (แมคอินทอช) , จี๊ด สุนทร (รอยัลสไปร์ท), สายชลและพีรสันต์ (ดิ อินโนเซ้นท์), เต้ย (อินคา), จืด (ฟอร์เอฟเวอร์), อ๊อด (คีรีบูน) (อดีตสมาชิก)ซึ่งมีคอนเสิร์ตใหญ่และ เดินสายแสดงสดทั่วประเทศทุกปีตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สมรสกับ พริมรตา เดชอุดม นักแสดงชื่อดัง

ผลงาน

[แก้]

พิธีกรรายการโทรทัศน์และวิทยุ

[แก้]
  • พิธีกรรายการ "ย้อนรอยการเมืองไทย" ช่องดิจิตัลรัฐสภา (ปี 2556-2557)
  • พิธีกรรายการ "คำพ่อที่พอเพียง" ช่อง 11 (ปี 2555)
  • พิธีกรรายการ "ข่าว 5 หน้า1" ช่อง 5 (ปี 2555)
  • พิธีกรรายการ "ร่วมปฏิรูปประเทศไทย" ช่อง 11 (ปี 2554)
  • พิธีกรรายการ Teen superstar ช่อง 9 (ปี 2554)
  • พิธีกรรายการ "สถานีรวมใจช่วยน้ำท่วม" ช่อง 11 (ปี 2554)
  • พิธีกรรายการ "คนไทยไม่ทิ้งกัน" ช่อง TNN2 (ปี 2554)
  • พากย์เสียงแปลภาษาอังกฤษสด งานพิธีอภิเษกสมรส Prince William & Kate ช่อง True Platinum (ปี 2554)
  • พิธีกรรายการ "Hot talk by วสุ" ช่อง 11 (ปี 2552-2553)
  • พิธีกรสารคดี 100 ปี ไกลบ้าน ตามเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง ช่องไทย PBS (ปี 2551)
  • พิธีกรรายการ ‘รัฐสภาต่างประเทศ’ (ภาษาอังกฤษ) ช่อง 11 และ ช่องรัฐสภาไทย (ปี 2551)
  • พิธีกรรายการ ‘สปอตไลท์’ (ภาษาอังกฤษ) ช่อง TGN (ปี 2551)
  • ผู้จัดรายการวิทยุ "หน้าต่างโลกกว้าง" (ภาษาอังกฤษ) ของกระทรวงการต่างประเทศ (ปี 2550-2552)
  • พิธีกรรายการ "ยอดคนไทยระดับโลก" ช่อง ITV (ปี 2549-2550)
  • พิธีกรรายการ "ชีวิตไทยในต่างแดน" ช่อง 5 และ TGN (ปี 2547)
  • พากย์เสียงภาษาไทยให้กับช่อง Discovery Channel และ ช่อง Animal Planet จากสถานีบันทึกเสียงในประเทศสิงคโปร์ (ปี 2543)
  • (ปี 2540-2543) พิธีกรรายการ "วิถีคนหนุ่ม" ช่อง 9, โลกรถยนต์ ช่อง 9, Gent's Request ช่อง 5, Golden Memories ช่อง 9, Education ช่อง 11, ดนตรีคลาสสิค ช่อง 11 และ Today's talk ช่อง UBC
  • (ปี 2537) พิธีกรภาคสนามช่วงต่างประเทศ รายการ "ตามไปดู" ช่อง 9, รายการบ้านเลขที่ 5 ช่อง 5
  • (ปี 2530-2531) พิธีกรรายการ "ที่สุดของที่สุด" ช่อง 9, ระฆังใจ ช่อง 9, โลกสวยด้วยเพลง ช่อง 5 และผู้จัดรายการวิทยุ Touch me again 105.5 FM

ผลงานการเขียน

[แก้]
  • 2548-2557 คอลัมนิสต์ประจำนิตยสาร "ดิฉัน" คอลัมน์ "ต่อปากต่อคำ"
  • 2555 พ็อคเก็ตบุ๊ค"กอดโลกเล่า" สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์
  • 2550 พ็อคเก็ตบุ๊ค "กงสุลเกาะสิงห์" สำนักพิมพ์เอมมารุต พับลิชชิ่ง
  • 2549 พ็อคเก็ตบุ๊ค"ต่อปาก-ต่อคำ" สำนักพิมพ์อมรินทร์ (เขียนร่วมกับ เตชะพิทย์ แสงสิงแก้ว)
  • 2548 พ็อคเก็ตบุ๊ค"นี่สิ มืออาชีพ" สำนักพิมพ์ Mcgrawhill (แปล)
  • 2547-2550 คอลัมนิสต์ประจำนิตยสาร LIPS คอลัมน์ "widescreen" และ "Rewind"
  • 2557 - คอลัม "คนดังนั่งเขียน" หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ผลงานละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี (พ.ศ.) เรื่อง รับบทเป็น ออกอากาศ หมายเหตุ
2535 จุดนัดฝัน ช่อง 7 รับเชิญ
2537 เพื่อเธอ ปาลิต ช่อง 5

-

2555 สาวน้อยร้อยเล่มเกวียน มานพ ช่อง 7

-

มาหยารัศมี เมิน มณีกุล

-

ไฟมาร นายแพทย์บุญยิ่ง

-

กว่าจะรู้เดียงสา ช่อง มีเดีย แชนแนล รับเชิญ
2556 วันนี้ที่รอคอย เจ้าหลวงพิริยะเทพ ช่อง 7

-

แสนซนค้นรัก ด็อกเตอร์เอกภพ ช่อง 3

-

2557 เจ้าสาวสลาตัน บัณฑิต ช่อง 7

-

หางเครื่อง
พายุเทวดา เป้า รับเชิญ
คมพยาบาท หมอวิธู รับเชิญ
เงา หมอไพโรจน์ -
2558 ห้องหุ่น ดำเกิง ช่อง 3 รับเชิญ
เวลาในขวดแก้ว วิฑูรย์ (พ่อจ๋อม) ช่อง ทรูโฟร์ยู รับเชิญ
2559 รอยเท้าของปูลม ช่อง พีพีทีวี

-

บ่วงรักสลักแค้น ก้องภพ ช่อง 8

-

ชื่นชีวา หม่อมหลวงนิวัฒน์ ชวาล ช่อง 7

-

2562 สารวัตรใหญ่ ผู้ว่าพิเชษฐ์ ตัวร้าย
ปิศาจหรรษา ป๋าตุ๊

-

สองนรี ธนุส รับเชิญ
ลิขิตแห่งจันทร์ พระยาสีหนาท ช่อง 3

-

ปลายจวัก คุณหลวงชลธารพฤฒิไกร Thai PBS

-

2564 วงเวียนหัวใจ เรือง ช่อง 7 รับเชิญ
เพลิงปริศนา นที

-

สุดร้ายสุดรัก ดนู ช่อง 3

-

2565 เจ้าสาวจำเลย อติเทพ ช่อง 7
2566 เลือดเจ้าพระยา กำนันธง ช่อง 3
เภตรานฤมิต ดร.มหรรณพ มนตรีราชา ช่อง 7
ปาฏิหาริย์รัก ดามพ์ วิภูวรรธณ์ PPTV
2568 พรหมพยศ ช่อง 7

ผลงานละครชุด

[แก้]

ผลงานละครเทิดพระเกียรติ

[แก้]
  • พ.ศ. 2533 เผ่าไทย (/ช่อง 5) รับบทเป็น (ละครการกุศลเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ ๕)
  • พ.ศ. 2534 รักนี้รอน้านนาน (/ช่อง 5) รับบทเป็น (ละครการกุศลเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ ๕)
  • พ.ศ. 2553 ทศบารมี (/ช่อง 9) รับบทเป็น (ละครการกุศล มูลนิธิวัดพระรามเก้า)
  • พ.ศ. 2554 แสงเทียนแห่งศรัทธา (/ช่อง 7) รับบทเป็น (ละครเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ ๙)

ผลงานซิทคอม

[แก้]
  • พ.ศ. 2535 3 หนุ่มหลายมุม ตอน หนึ่งมิตรชิดใกล้ (/ช่อง 7) รับบทเป็น (รับเชิญ)
  • พ.ศ. 2555 ขออภัยมือใหม่หัดโต (/ทีวีไทย) รับบทเป็น (รับเชิญ)
  • พ.ศ. 2561 ระเบิดเถิดเทิง ซอยข้าใครอย่าแตะ ตอน ศึกชิงดูม (/ช่องเวิร์คพอยท์) รับบทเป็น (รับเชิญ)
  • พ.ศ. 2561 ระเบิดเถิดเทิง ซอยข้าใครอย่าแตะ ตอน ความลับของเลม่อน (/ช่องเวิร์คพอยท์) รับบทเป็น (รับเชิญ)
  • พ.ศ. 2566 ชิงร้อย เดอะสตอรี่ ตอน คู่รักสายหวาน (/ช่องเวิร์คพอยท์) รับบทเป็น (รับเชิญ)

ภาพยนตร์

[แก้]
  • เปรียว (2526/บริษัท Apex)
  • My Valentine แล้วรักก็หมุนรอบตัวเรา (2553/บริษัทไฟว์สตาร์) - มิค
  • อันธพาล (2555/บริษัทบาแรมยู-สหมงคลฟิล์ม) - ผู้การคำนึง
  • "Single Lady เพราะเคยมีแฟน" (2558/บริษัท Transformation Film) - รับเชิญ
  • วอน (เธอ) (2563) - พ่อของเนเน่
  • ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ เส้นทางเกียรติยศ (2565)

ละครเวที

[แก้]
  • 2543 Elvis the Musical (12 รอบ / Dass Entertainment) รับบท Elvis Presley
  • 2553 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (5 รอบ / คณะละครอาสาสมัคร ในพระบรมราชินูปถัมป์) รับบท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  • 2555 หลังคาแดง (13 รอบ / นับหนึ่งฟิล์ม) รับบท นายแพทย์สินเงิน
  • 2555 โก๋หลังวัง (9 รอบ / Masterpiece) รับบท จอร์จ เพรสลีย์
  • 2556 โก๋หลังวัง restage (10 รอบ / Masterpiece) รับบท จอร์จ เพรสลีย์
  • 2559 ธีรราชา ( ละครเวทีเทิดพระเกียรติร.6, 5 รอบ / Mind Matter-JSL) รับบท เจ้าพระยาเสนาภักดี

เพลง

[แก้]
  • "เพลงจิ๊บ รด." จากอัลบั้มชุด "ของขวัญ" ซึ่งเป็นอัลบั้มเดี่ยวของ ดนุพล แก้วกาญจน์ ออกในนามแจ้และพลอย สังกัดค่ายนิธิทัศน์ โปรโมชั่น ปี 2529
  • อัลบั้มกับวงพลอย สุภาพบุรุษนักฝัน สังกัดค่ายนิธิทัศน์ โปรโมชั่น ปี 2530
  • อัลบั้มกับวงพลอย สมาคมคนเจ็บ ๆ สังกัดค่ายนิธิทัศน์ โปรโมชั่น ปี 2531
  • ร่วมแสดงมิวสิกวีดีโอเพลง โอ๊ย..โอ๊ย ของ ดนุพล แก้วกาญจน์ ปี 2531
  • อัลบั้ม นายจี๊ปกับคุณวสุ สังกัดค่ายแกรมมี่ 9 พฤศจิกายน ปี 2536
  • เพลง "พ่อแห่งแผ่นดิน" เพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ธันวาคม ปี 2550
  • เพลง"น้ำท่วมไม่มิดใจ" เพื่ออุทิศให้ผู้ประสบอุทกภัย น้ำท่วมใหญ่ 16 ตุลาคม ปี 2554
  • อัลบั้ม กำลังใจให้สายัณห์ สังกัดค่ายกรุงไทย ออดิโอ ธันวาคม ปี 2556
  • เพลง"เขิน" วงThe Palace เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ตุ๊กแกรักแป้งมาก" * เข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ปี 2557
  • เพลง"เคยไหม" single จากอัลบั้มพิเศษ Love You Forever - The Gents เรียบเรียงเสียงประสานโดยศรายุทธ สุปัญโญ ปี 2560

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "จิ๊บ วสุ ประวัติหนุ่มเสน่ห์แรง ที่มีข่าวกับ 2 สาว หนิม จ๊ะจ๋า". กระปุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ""ครอบครัวส่งเสริมประชาธิปไตย" ตัวอย่าง ๒๕๔๔". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-30. สืบค้นเมื่อ 2008-12-26.
  3. "รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราดัง", นิตยสารอานนท์ ฉบับธันวาคม 2536-มกราคม 2537 หน้า 192
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2010-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2021-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๓๒, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕