ข้ามไปเนื้อหา

วีอาร์เดอะเวิลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
"We Are the World"
เพลงโดยUSA for Africa
จากอัลบั้มWe Are the World
วางจำหน่าย7 มีนาคม ค.ศ. 1985
บันทึกเสียง28 มกราคม ค.ศ. 1985
แนวเพลงป็อป
ค่ายเพลงโคลัมเบีย
ผู้ประพันธ์เพลงไมเคิล แจ็กสัน, ไลโอเนล ริชชี
โปรดิวเซอร์ควินซี โจนส์, ไมเคิล โอมาร์เทียน

วีอาร์เดอะเวิลด์ (อังกฤษ: We Are the World) เป็นเพลงและซิงเกิลการกุศลที่แต่งโดยไมเคิล แจ็กสันและไลโอเนล ริชชี โปรดิวซ์โดยควินซี โจนส์ เตรียมการโดยไมเคิล โอมาร์เทียน เวอร์ชันออริจินัลได้รับการขับร้องและบันทึกเสียงโดยกลุ่มศิลปินนักร้องชาวอเมริกันจำนวน 45 คน โดยใช้ชื่อว่า "USA for Africa" (United Support of Artists for Africa) เพื่อหารายได้สมทบกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบทุพภิกขภัย ในแอฟริกา ซึ่งประสบปัญหาความแห้งแล้งผิดปกติในปี 1984-1985 และประสบภาวะขาดแคลนอาหารใน 6 ประเทศ ประกอบด้วยเอธิโอเปีย ชาด มาลี ไนเจอร์ ซูดาน และโมซัมบิก[1] ด้วยยอดขายมากกว่า 20 ล้านชุด ถือเป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล

โปรเจกต์เพลงนี้เกิดจากการบันทึกเสียงเพลง "Do They Know It's Christmas?" เพื่อระดมทุนในลักษณะเดียวกับโดยศิลปินนักร้องจากอังกฤษ ที่นำโดยบ็อบ เกลดอฟ เมื่อปลายปี 1984[2] โดยเริ่มจากแนวคิดเริ่มแรกของแฮรี เบลาฟอนเต ได้ติดต่อกับเคนนี คราเคน ผู้จัดการส่วนตัวของไลโอเนล ริชชีและเคนนี โรเจอร์ส เพื่อหาลู่ทางจัดคอนเสิร์ตเพื่อหารายได้ช่วยเหลือแอฟริกา แต่คราเคนคิดว่าหากบันทึกเสียงเป็นซิงเกิลวางจำหน่ายน่าจะได้การตอบรับดีกว่า และต่อมาได้ประสานงานกับไมเคิล แจ็กสัน , ไลโอเนล ริชชี , ควินซี โจนส์ และติดต่อนักร้องอื่นๆ มาร่วมร้อง ทั้งคู่เสร็จสิ้นการเขียนเพลงในวันที่ 21 มกราคมปี 1985 เพียงหนึ่งคืนก่อนวันประชุมเพื่อบันทึกเสียงครั้งแรก

เพลงนี้ได้รับการปล่อยเป็นซิงเกิลในวันที่ 7 มีนาคม ปี ค.ศ. 1985 ในฐานะซิงเกิลเดียวจากอัลบั้ม ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ทั่วโลก ติดท็อปชาร์ตขึ้นถึงอันดับหนึงของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1985 และขึ้นถึงอันดับหนึ่งในหลายสิบประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นซิงเกิลเพลงป็อปอเมริกันที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ ซิงเกิลแรกที่ได้รับแผ่นเสียงทองคำขาวหลายครั้ง วีอาร์เดอะเวิลด์ ได้รับการรับรองเป็นสี่เท่าแผ่นเสียงทองคำขาวโดยสมาคมอุตสาหกรรมการบันทึกเสียงของอเมริกา

รางวัลต่างๆมากมาย ประกอบด้วย 3 รางวัลแกรมมี่ 1 อเมริกันมิวสิกอวอร์ดส์ และพีเพิลส์ชอยซ์อะวอดส์ เพลงได้รับการสนับสนุนจากมิวสิกวิดีโอ , โฮมวิดีโอ , นิตยสารฉบับพิเศษ , การออกอากาศทางโทรทัศน์และหนังสือหลายเล่มรวมถึงโปสเตอร์และเสื้อ โปรโมชั่นและสินค้าเกื้อกูลจากความสำเร็จของ วีอาร์เดอะเวิลด์ โดยทำรายได้มากกว่า 63 ล้านดอลล่าสหรัฐ (ราว 136 ล้านดอลล่าสหรัฐในปัจจุบันนี้) สำหรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในแอฟริกาและสหรัฐอเมริกา


ความเป็นมาและการเขียนเพลง

[แก้]

ก่อนหน้าการเขียนเพลง วีอาร์เดอะเวิลด์ นักร้องชาวอเมริกันและนักจัดกิจกรรมทางสังคม แฮร์รี เบลาฟอนต์ ได้พยายามที่จะหาเพลงซึ่งบันทึกเสียงโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในวงการเพลงในช่วงเวลานั้น เขาวางแผนที่จะนำเงินรายได้ไปยังองค์กรใหม่ที่เรียกว่า United Support of Artists for Africa (USA for Africa) องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อบรรเทาความหิวโหยของผู้คนในแอฟริกา โดยเฉพาะเอธิโอเปีย สถานที่ซึ่งคนราว 1 ล้านคนเสียชีวิตจากความอดอยากระหว่างปี 1983 - 1985 [3] แนวคิดนี้เกิดหลังจากการบันทึกเสียงเพลง "Do They Know It's Christmas?" เพื่อระดมทุนในลักษณะเดียวกับโดยศิลปินนักร้องจากสหราชอาณาจักรซึ่งเบลาฟอนต์เคยได้ฟัง[4]ในการวางแผนกิจกรรม เงินจะถูกวางไว้สำหรับการขจัดความหิวโหยในสหรัฐอเมริกา เบลาฟอนต์ได้ติดต่อไปยังผู้จัดการมหรสพและเพื่อนมิตรกองทุน เค็น เครเกน ซึ่งเชิญชวนไลโอเนล ริชชีและเคนนี โรเจอร์ส เข้ามามีส่วนร่วมในโปรเจคดนตรีของเบลาฟอนต์ เครเกนและนักดนตรีสองคน ตกลงที่จะช่วยในภารกิจของเบลาฟอนต์ และในลำดับต่อมาก็ได้รับความร่วมมือจากสตีวี วันเดอร์ในการเพิ่มรายชื่อยังไปโครงการของพวกเขา[5] ควินซี โจนส์ถูกดึงเข้าไปร่วมช่วยสร้างสรรค์เพลง.[5][6] ริชชีได้ติดต่อโทรศัพท์ไปยังไมเคิล แจ็กสัน ผู้ซึ่งประสบความสำเร็จกับการปล่อยผลงานอัลบั้ม Thriller และเสร็จสิ้นทัวร์กับพี่น้องของเขา[5]

แจ็กสันเปิดเผยกับริชชีว่าเขาไม่ได้แค่ต้องการที่จะร้องเพลงเท่านั้น แต่จะร่วมมือในการเขียนเพลงด้วยเช่นกัน[5][7] เริ่มต้นด้วย "วีอาร์เดอะเวิลด์" ถูกเขียนโดยแจ็กสัน , ริชชี , วันเดอร์ ในขณะที่วันเดอร์มีเวลาจำกัดในโครงการ แจ็กสันและริชชีก็ดำเนินการเขียนเพลง "วีอาร์เดอะเวิลด์" ต่อไป[7] พวกเขาเริ่มการสร้างเพลงที่ Hayvenhurst บ้านของครอบครัวแจ็กสัน ในเอ็นซิโนเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ทั้งสองใช้เวลาทุกๆคืนทำงานเกี่ยวกับเนื้อเพลงและทำนองในห้องนอนของนักร้อง พวกเขารู้ว่าพวกเขาต้องการเพลงที่ง่ายต่อการร้องและจดจำ ทั้งคู่ต้องการสร้างเพลงสรรเสริญ พี่สาวคนโตของแจ็กสัน ลา โทยา ดูพวกเขาสองคนทำงานเกี่ยวกับเพลง และกล่าวต่อมาว่าริชชี่เขียนแค่สองสามบรรทัดของเพลงเท่านั้น[6] เธอกล่าวว่าน้องชายของเธอเขียนร้อยล่ะ 99 ของเนื้อเพลง "'แต่เขาไม่รู้สึกว่ามันจำเป็นที่ต้องเอ่ยถึง"[6] ลา โทยายังให้ความเห็นเพิ่มต่อการสร้างสรรค์เพลง ในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสารพีเพิลของเหล่าคนที่มีชื่อเสียง "ฉันเข้าไปในห้องขณะที่พวกเขากำลังเขียนและมันเงียบสงบมาก ซึ่งน่าแปลกเนื่องจากปกติแล้วไมเคิลจะร่าเริงอย่างมากในเวลาที่เขาทำงาน มันเร้าอารมณ์มากๆสำหรับพวกเขา"[7]

ริชชี่ได้บันทึกเมโลดี้สองท่อนสำหรับ "วีอาร์เดอะเวิลด์" ในขณะที่แจ็กสันได้เพิ่มดนตรีและถ้อยคำร้องลงไปยังเพลงในวันเดียวกัน แจ็กสันกล่าวว่า "ผมรักที่จะทำงานอย่างรวดเร็ว ผมรอไม่ได้ ผมเข้าไปและออกมาภายในวันเดียวกัน เพลงที่เสร็จสมบูรณ์ด้วยเสียงกลอง , เปียโน , สตริงและถ้อยคำที่จะขับร้อง"[8] ต่อมาแจ็กสันก็ได้นำเสนอเดโมเพลงของเขาแก่ ริชชีและโจนส์ ทั้งสองคนตกใจเนื่องจากพวกเขาไม่ได้คาดคิดว่านักร้องดังจะเห็นโครงสร้างของเพลงอย่างรวดเร็ว ริชชีและแจ็กสันเสร็จสิ้นการเขียนเนื้อเพลงและทำนองของ "วีอาร์เดอะเวิลด์ ในคืนวันที่ 21 มกราคม ค.ศ 1985 ภายในสองชั่วโมงครึ่ง หนึ่งคืนก่อนที่การร่วมบันทึกเสียงครั้งแรก[8]

ร้องเดี่ยว (เรียงตามลำดับการร้องในเพลง)

[แก้]

ร้องประสาน

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Situation in six African countries still severe and deteriorating; efforts to aid drought-stricken nations continue", UN Chronicle, United Nations, 1 June 1985, webpage: FLib-UNC-African-severe.
  2. "Behind the scene of a pop miracle". Los Angeles Times. 1985-03-25.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-08. สืบค้นเมื่อ 2016-11-12.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-07. สืบค้นเมื่อ 2016-11-12.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tara 341
  6. 6.0 6.1 6.2 Taraborrelli, p. 342
  7. 7.0 7.1 7.2 Campbell, p. 109
  8. 8.0 8.1 Campbell, p. 110

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]