Ñ
Ñ (ตัวใหญ่: Ñ, ตัวเล็ก: ñ) เป็นตัวอักษรละตินยุคใหม่ซึ่งเกิดจากการใส่เครื่องหมายทิลเดบนตัวอักษร N ตัว Ñ ได้รับการจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรภาษาสเปนอย่างเป็นทางการในพุทธศตวรรษที่ 23 แต่ก็มีการใช้ในภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส, ภาษาบาสก์, ภาษาอารากอน, ภาษาชาบากาโน, ภาษาฟิลิปีโน, ภาษาเกชัว และภาษาเตตุน รวมไปถึงในการถอดอักษรกลุ่มภาษาโตคาเรียนและภาษาสันสกฤตเป็นอักษรละติน โดยแทนเสียงนาสิก เพดานแข็ง /ɲ/ แต่ในภาษาตาตาร์ไครเมียใช้แทนเสียงนาสิก เพดานอ่อน /ŋ/ ส่วนในภาษาเบรอตาญและภาษาโรฮีนจา ตัวอักษรนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าสระที่อยู่ข้างหน้าออกเสียงเป็นสระนาสิก
Ñ แตกต่างกับตัวอักษรอื่น ๆ ที่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับ (เช่น Ü ในภาษาสเปน, ภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส และภาษาเลออน) ตรงที่มันมีฐานะเป็นตัวอักษรต่างหากตัวหนึ่งในภาษาเหล่านั้น (ยกเว้นภาษาเบรอตาญ) โดยมีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง (ภาษาสเปนเรียก "เอเญ", eñe) และมีตำแหน่งเป็นของตัวเองในชุดตัวอักษร (ต่อจาก N) จากมุมมองนี้ ความเป็นเอกเทศของตัว Ñ จึงคล้ายคลึงกับตัว W ในภาษาอังกฤษ (ซึ่งมาจากการเขียนตัว V ติดกันในอดีต เหมือนกับตัว Ñ ซึ่งมาจากการเขียนตัว N ติดกัน)
ความสำคัญทางวัฒนธรรม
[แก้]ตัวอักษร Ñ กลายเป็นสิ่งแสดงอัตลักษณ์ของภาษาสเปน กองทัพอากาศแห่งสาธารณรัฐสเปนที่ 2 เคยใช้ตัวอักษรนี้ในการระบุอากาศยานของตนเอง
การใช้ในคอมพิวเตอร์
[แก้]ตัวอักษร | Ñ | ñ | ||
---|---|---|---|---|
ชื่อในยูนิโคด | latin capital letter n with tilde | latin small letter n with tilde | ||
การเข้ารหัส | ฐานสิบ | ฐานสิบหก | ฐานสิบ | ฐานสิบหก |
ยูนิโคด | 209 | U+00D1 | 241 | U+00F1 |
UTF-8 | 195 145 | C3 91 | 195 177 | C3 B1 |
Numeric character reference | Ñ | Ñ | ñ | ñ |
Named character reference | Ñ | ñ |