ข้ามไปเนื้อหา

การกลายเป็นไอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเปลี่ยนสถานะของสสาร

การกลายเป็นไอ (อังกฤษ: vaporization) ของธาตุหรือสารประกอบ คือการเปลี่ยนสถานะของสาร จากสถานะของแข็งหรือของเหลวไปสู่สถานะก๊าซ ในรูปแบบที่ต่างกัน ก็จะมีวิธีเรียกที่ต่างกัน โดยสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

  • การระเหย คือ กระบวนการที่ของเหลว เปลี่ยนสภาพโดยธรรมชาติกลายเป็นเป็นก๊าซ โดยไม่จำเป็นต้องมีอุณหภูมิถึงจุดเดือด หรือในสภาวะที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดในความดันหนึ่ง ซึ่งต่างกันกับการเดือดจนกลายเป็นไอ อัตราการระเหยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ โดยส่วนมากการระเหยมักเกิดบริเวณผิวหน้าของของเหลว เราสามารถรับรู้ถึงการระเหยได้ โดยดูจากน้ำที่ค่อยๆ ลดหายไปทีละน้อย เมื่อมันกลายตัวเป็นไอน้ำ ยกตัวอย่างเช่น การระเหยของน้ำในสระ
  • การเดือด คือการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปสู่ก๊าซอย่างรวดเร็ว ในสภาวะที่อุณหภุมิของเหลวนั้นเทียบเท่าหรือมากกว่าจุดเดือด โดยสิ่งที่แตกต่างจากการระเหยคือ การเดือดจะเกิดขึ้นทุกส่วนของของเหลว ยกตัวอย่างเช่น การต้มน้ำจนเดือดกลายเป็นไอน้ำ
  • การระเหิด (sublimation หรือ primary drying) คือการเปลี่ยนสถานะของของแข็งไปเป็นไอหรือก๊าซ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลว โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว  ถ้ามีพื้นที่ของแข็งมีมากจะระเหิดได้ง่ายยกตัวอย่างเช่น การระเหิดของลูกเหม็น

อ้างอิง

[แก้]