การก่อการกำเริบ 8888
การก่อการกำเริบ 8888 | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่า | |
บริเวณเจดีย์ซู่เลในปัจจุบัน สถานที่นัดพบสำคัญของเหตุการณ์ | |
วันที่ | 12 มีนาคม ค.ศ. 1988 – 21 กันยายน ค.ศ. 1988 (6 เดือน 1 สัปดาห์ 2 วัน) |
สถานที่ | พม่า (ทั้งประเทศ) |
สาเหตุ |
|
เป้าหมาย | ประชาธิปไตย |
วิธีการ |
|
สถานะ | การปราบปรามด้วยความรุนแรง |
การยอมผ่อนปรน |
|
จำนวน | |
ความเสียหาย | |
เสียชีวิต | |
บาดเจ็บ | ไม่ทราบ |
ถูกจับกุม | ไม่ทราบ |
ประวัติศาสตร์พม่า |
---|
|
|
|
|
ตัวเลขคือปีคริสต์ศักราช BCE หมายถึง ปีก่อนคริสต์ศักราช |
การก่อการกำเริบ 8888 (อังกฤษ: 8888 Uprising[6]; พม่า: ၈၈၈၈ အရေးအခင်း หรือ ရှစ်လေးလုံးအရေးအခင်း) เป็นการกำเริบระดับชาติเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศพม่า เมื่อ ค.ศ. 1988 การก่อการกำเริบนี้เริ่มขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 และจากวันที่นี้ (8-8-88) ทำให้เหตุการณ์นี้มักเป็นที่รู้จักในชื่อ "การก่อการกำเริบ 8888"
ประเทศพม่าปกครองด้วยพรรคโครงการสังคมนิยมพม่าในฐานะรัฐที่มีพรรคการเมืองเดียวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 การปกครองเน้นชาตินิยมและรัฐเข้าควบคุมการวางแผนทุกประการ การลุกฮือครั้งนี้เริ่มจากนักศึกษาในย่างกุ้งเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 การประท้วงของนักศึกษาได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ[3] ต่อมามีคนเรือนแสนที่เป็นพระภิกษุ เยาวชน นักศึกษา แม่บ้านและหมอ ออกมาประท้วงต่อต้านระบอบการปกครอง[7] การประท้วงสิ้นสุดลงในวันที่ 18 กันยายน หลังจากเกิดรัฐประหารที่นองเลือดของสภาฟื้นฟูกฎหมายและกฎระเบียบแห่งรัฐซึ่งเป็นองค์กรที่เปลี่ยนรูปมาจากพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า มีผู้เสียชีวิตนับพันคนจากปฏิบัติการทางทหารระหว่างการก่อการกำเริบ[3][4][5] ในขณะที่ในพม่ารายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 350 คน[8][9]
ในระหว่างวิกฤติการณ์ อองซาน ซูจีได้ปรากฏตัวขึ้นในฐานะสัญลักษณ์ของชาติ เมื่อทางกองทัพจัดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2533 พรรคของเธอคือสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยได้ 80% ของที่นั่งทั้งหมดในสภา แต่กองทัพปฏิเสธผลการเลือกตั้งและกักตัวอองซาน ซูจีไว้ในบ้านพัก การกักตัวสิ้นสุดลงประมาณ พ.ศ. 2553
ภูมิหลัง
[แก้]ปัญหาทางเศรษฐกิจ
[แก้]ก่อนเข้าสู่วิกฤติ พม่าปกครองด้วยระบบที่โดดเดี่ยวตัวเองของเนวินตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ประเทศมีหนี้สิน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีเงินสดสำรองระหว่าง 20 – 35 ล้านเหรียญ อัตราหนี้สินภาคบริการเป็นครึ่งหนึ่งของงบประมาณของประเทศ[10] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มีนักศึกษาออกมาประท้วงคว่ำบาตรรัฐบาลที่ประกาศยกเลิกธนบัตรที่ใช้ในตลาด[11]
ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2530 เนวินได้ประกาศยกเลิกธนบัตรราคา 100 75 35 และ 25 จ๊าดที่เพิ่งออกใช้ใหม่ และให้ใช้ธนบัตรเพียง 45 และ 90 จ๊าด เนื่องจากเป็นธนบัตรที่ตัวเลขหารด้วยเก้าลงตัว ซึ่งถือเป็นเลขนำโชคของเนวิน[12] นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้งได้เริ่มประท้วงที่ย่างกุ้ง[13] ทำให้มหาวิทยาลัยในย่างกุ้งปิดเพื่อให้นักศึกษากลับบ้าน ต่อมา มีการประท้วงครั้งใหญ่ในมัณฑะเลย์โดยพระสงฆ์และกรรมกร มีการเผาอาคารของรัฐและธุรกิจของรัฐ[14] สื่อในพม่ารายงานเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการประท้วง แต่ข้อมูลได้แพร่กระจายไปโดยเร็วในหมู่นักศึกษา[14]
เมื่อมีการเปิดเรียนอีกครั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530 มีกลุ่มที่เคลื่อนไหวใต้ดินในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ออกมาวางระเบิดในเดือนพฤศจิกายน ตำรวจได้รับจดหมายจากกลุ่มใต้ดินซึ่งจัดการประท้วงขนาดเล็กในมหาวิทยาลัย[15] หลังจากที่พม่าได้รับสถานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530 รัฐบาลได้วางนโยบายให้เกษตรกรขายผลผลิตในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อให้รัฐบาลได้กำไรเพิ่มขึ้น จึงมีการประท้วงอย่างรุนแรงในเขตชนบท[16]
การประท้วงระยะแรก
[แก้]ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2531 นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้งได้โต้เถียงในร้านน้ำชาซานดา ซินเกี่ยวกับการเล่นดนตรีผ่านเครื่องเสียง[6][14] คนที่เมาไม่สามารถกรอเทปไปยังเพลงที่นักศึกษาต้องการ[17] ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกันขึ้น คนในร้านที่เป็นลูกชายของเจ้าหน้าที่ BSPP ถูกจับกุมในข้อหาทำร้ายนักศึกษาและถูกปล่อยตัวอย่างรวดเร็ว นักศึกษาได้ประท้วงที่สถานีตำรวจในท้องถิ่น แต่มีตำรวจ 500 คนมาสลายการชุมนุม นักศึกษาคนหนึ่งชื่อโพน เมาถูกยิงเสียชีวิต เหตุการณ์ทำให้ผู้ต้องการประชาธิปไตยโกรธแค้นและมีการปลุกระดมในมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่ไม่เคยเข้าร่วมมาก่อนได้มาร่วมด้วยและได้ขยายเป้าหมายจากการใช้อำนาจของตำรวจไปสู่การประท้วงการทำงานของรัฐบาล
ในช่วงกลางเดือนมีนาคม มีการประท้วงเกิดขึ้นหลายแห่ง และมีการสลายฝูงชนด้วยแก๊สน้ำตา กลุ่มนักศึกษาได้ขว้างก้อนหินเข้าใส่ตำรวจ เผาร้านน้ำชาและอาคารอีกหลายหลัง ในวันที่ 16 มีนาคม นักศึกษาประท้วงต้องการให้เน วินลาออกและยกเลิกการปกครองด้วยระบอบพรรคการเมืองเดียว และได้ตั้งขบวนเดินเข้าหาทหารที่ทะเลสาบอินยา ทำให้มีนักศึกษาหลายคนเสียชีวิตและถูกข่มขืน นักศึกษาหลายคนได้ยินเสียงตำรวจตะโกน “อย่าให้มันหนี” และ “ฆ่ามัน” ซึ่งทำให้กลุ่มต่อต้านได้รับการสนับสนุนมากขึ้น การประท้วงครั้งนี้ได้ลุกลามไปจนถึงวันที่ 18 มีนาคม รัฐบาลจึงควบคุมสถานการณ์ได้ รัฐบาลพม่ารายงานว่าตำรวจยิงนักศึกษาเสียชีวิต 2 คน นักศึกษาถูกจับกุม 625 คน ต่อมาได้ปล่อยตัว 484 คน ควบคุมตัวไว้ 141 คน
เน วินลาออก
[แก้]หลังจากการประท้วงครั้งล่าสุด ได้ประกาศปิดมหาวิทยาลัยเป็นเวลาหลายเดือน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531 มีการประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษา .ในวันที่ 17 มิถุนายน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งย่างกุ้งได้จัดชุมนุมใหญ่ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม และให้รัฐบาลรับรองสหภาพนักศึกษาที่ถูกยุบไปเมื่อ พ.ศ. 2505 รัฐบาลสั่งปิดมหาวิทยาลัยในวันที่ 21 มิถุนายนและสั่งให้นักศึกษาจากต่างจังหวัดกลับภูมิลำเนา นักศึกษายังคงประท้วงต่อไป มีนักศึกษาและตำรวจปราบจลาจลจำนวนมากที่เสียชีวิตจากการประท้วงในเดือนนี้ รัฐบาลได้ประกาศห้ามออกนอกเคหสถานตั้งแต่ 18.00 – 6.00 น. จนถึง 19 กรกฎาคม และมีการประท้วงได้กระจายไปเกิดขึ้นในอีกหลายเมืองในพม่า เช่น พะโค มัณฑะเลย์ ทวาย ตองอู ชิตตเว ปกอกกู เมอกุย มินบู และมยิตจีนาเป็นต้น ผู้ประท้วงต้องการให้ใช้ระบอบหลายพรรคการเมือง ทำให้เน วินประกาศลาออกเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เน วินกล่าวว่าเขาเห็นด้วยกับระบบหลายพรรคการเมืองแต่ต้องให้เป็นหน้าที่ตัดสินใจของเส่ง วิน ผู้นำคนใหม่[18]
การประท้วงหลัก
[แก้]1 – 7 สิงหาคม
[แก้]การประท้วงมาถึงจุดสูงสุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 นักศึกษาวางแผนให้มีการประท้วงทั่วประเทศในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ข่าวของการประท้วงไปถึงเขตชนบท และ 4 วันก่อนการประท้วง นักศึกษาทั่วประเทศออกมาประท้วงให้เส่ง วินลาออกและรัฐบาลทหารสลายตัวไป มีการติดโปสเตอร์ตามถนนในย่างกุ้งโดยสหภาพนักศึกษาพม่าทั้งมวล กลุ่มใต้ดินออกมาเคลื่อนไหวซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับที่อยู่เบื้องหลังการประท้วงของพระสงฆ์และคนงานใน พ.ศ. 2523 ในช่วง 2 - 10 สิงหาคม กลุ่มผู้ประท้วงได้ปรากฏตัวในเมืองส่วนใหญ่ในพม่า
ในช่วงนี้ หนังสือพิมพ์ของฝ่ายต่อต้านได้ตีพิมพ์อย่างอิสระ การเดินขบวนประท้วงสามารถทำได้ และผู้ปราศรัยได้รับการคุ้มครอง ในย่างกุ้ง สัญลักษณ์แรกของการเคลื่อนไหวปรากฏในวันพระที่ชเวดากอง ซึ่งนักศึกษาออกมาสนับสนุนการประท้วง ในบางพื้นที่มีการบริจาคเพื่อสนับสนุนการเดินขบวน
ในช่วง 2-3 วันแรกของการประท้วงในย่างกุ้ง ผู้ประท้วงได้ติดต่อทนายและพระในมัณฑะเลย์เพื่อให้เข้าร่วมการประท้วง นักศึกษาเข้าร่วมการประท้วงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับชาวพม่าหลายอาชีพ การประท้วงบนถนนในย่างกุ้งได้แพร่กระจายไปตามเมืองสำคัญ มีผู้ประท้วง 10,000 คนที่พระเจดีย์สุเล มีการเผาหุ่นของเน วินและเส่ง วิน มีการประท้วงเกิดขึ้นต่อเนื่องในสนามกีฬาและโรงพยาบาลทั่วประเทศ[19] รัฐบาลได้ประกาศกฏอัยการศึกในวันที่ 3 สิงหาคมห้ามชุมนุมเกิน 5 คนและห้ามออกนอกเคหสถานระหว่าง 20.00 – 4.00 น.
8 – 12 สิงหาคม
[แก้]การนัดหยุดงานที่วางแผนไว้เริ่มในวันที่ 8 สิงหาคม การประท้วงอย่างหนักเกิดขึ้นทั้งพม่ารวมทั้งชนกลุ่มน้อย ชาวพุทธและมุสลิม นักศึกษา คนงาน เยาวชน ล้วนออกมาประท้วง มีการเรียกร้องให้ทหารออกมาร่วมกับการเรียกร้องของประชาชน ในมัณฑะเลย์มีการประท้วงอย่างเป็นระบบและอภิปรายเกี่ยวกับระบบหลายพรรค ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ผู้เข้าร่วมมาจากเมืองและหมู่บ้านใกล้เคียง มีการนัดหยุดงาน ชาวนาที่ไม่พอใจรัฐบาลได้ไปประท้วงที่ย่างกุ้ง
หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลไดมีคำสั่งให้สลายฝูงชนด้วยอาวุธ เน วินสั่งว่า “ปืนไม่ได้มีไว้ยิงขึ้นฟ้า” ผู้ประท้วงได้ใช้ดาบ มีด ก้อนหิน สารพิษและรถจักรยานเป็นอาวุธ ผู้ประท้วงเผาสถานีตำรวจ ในวันที่ 10 สิงหาคม ทหารได้บุกเข้าไปในโรงพยาบาลย่างกุ้ง ฆ่าหมอและพยาบาลที่รักษาผู้บาดเจ็บจากการประท้วง วิทยุของรัฐบาลรายงานว่ามีผู้ถูกจับกุม 1,451 คน ทหารได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 95 คน บาดเจ็บ 240 คน
13 – 31 สิงหาคม
[แก้]เส่ง วินได้ลาออกอย่างไม่มีใครขาดหมายในวันที่ 12 สิงหาคม ทำให้ผู้ประท้วงเกิดความสับสน ในวันที่ 19 สิงหาคม ท่ามกลางเสียงเรียกร้องต้องการรัฐบาลพลเรือน ดร. หม่อง หม่องได้เข้ามาเป็นรัฐบาล ซึ่งเขาเป็นพลเรือนคนเดียวในพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ามาของหม่อง หม่องทำให้นักศึกษาที่เป็นแกนนำในการประท้วงได้ประกาศปฏิเสธการแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ การประท้วงเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ในมัณฑะเลย์มีผู้ออกมาประท้วง 100,000 คนรวมทั้งพระสงฆ์ และในชิตตเวอีก 50,000 คน มีการเดินขบวนในตองจีและมะละแหม่ง อีก 2 วันต่อมามีผู้คนหลากหลายอาชีพเข้าร่วมการประท้วง ในช่วงนี้
ในวันที่ 26 สิงหาคม อองซาน ซูจีได้ออกมาร่วมกับผู้ประท้วงที่พระเจดีย์ชเวดากองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการกลายเป็นสัญลักษณ์เพื่อการต่อสู้ในพม่า ซูจีเรียกร้องให้ประชาชนชุมนุมโดยสงบ ณ จุดนี้ ในเวลานั้น การลุกฮือมีลักษณะคล้ายกับการกำเริบพลังประชาชนในฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2529 ในเวลานี้ อูนุและอาวจีได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีก
กันยายน
[แก้]ในการประชุมสภาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 มีผู้ออกเสียงให้ใช้ระบบหลายพรรคการเมืองถึง 90% พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าออกมาประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้ง แต่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้ลาออก เพื่อให้มีรัฐบาลชั่วคราวเข้ามาจัดการเลือกตั้ง พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าปฏิเสธ ทำให้กลุ่มผู้ประท้วงออกมาอีกครั้งในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2531 ในช่วงกลางเดือนกันยายน การประท้วงเป็นไปด้วยความรุนแรงและผิดกฎหมาย เกิดการประท้วงกันอย่างรุนแรง
รัฐประหารและสลอร์ก
[แก้]วันที่ | 18 กันยายน พ.ศ. 2531 |
---|---|
ที่ตั้ง | ร่างกุ้ง พม่า (ปัจจุบันคือย่างกุ้ง พม่า) |
ประเภท | รัฐประหารโดยกองทัพ |
สาเหตุ | การก่อการกำเริบ 8888 |
เหตุจูงใจ | การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง |
จัดโดย | พลเอก ซอมอง |
ผู้เข้าร่วม | กองทัพพม่า |
ผล | การก่อตั้งคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (สลอร์ก)
|
“ | ถ้าทหารยิง มันไม่ใช่การยิงขึ้นฟ้า แต่จะยิงไปข้างหน้าเพื่อฆ่า | ” |
ในวันที่ 18 กันยายน ทหารได้กลับมาปกครองประเทศอีกครั้ง นายพลซอหม่องได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517 และจัดตั้งสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐหรือสลอร์ก หลังจากที่ได้ประกาศกฏอัยการศึก ได้เกิดการประท้วงที่รุนแรงขึ้น นักศึกษา พระสงฆ์และนักเรียนราวพันคนถูกสังหาร และมีประชาชนอีก 500 คนถูกฆ่าในการประท้วงนอกสถานทูตสหรัฐอเมริกา นักศึกษาบางส่วนได้หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย
สิ้นเดือนกันยายน ประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตราว 3,000 คน และผู้บาดเจ็บไม่ทราบจำนวน เฉพาะในย่างกุ้งมีผู้เสียชีวิตประมาณพันคน ในวันที่ 21 กันยายน รัฐบาลได้เข้ามาปกครองประเทศและขบวนการต่อต้านได้สลายตัวไปในเดือนตุลาคม เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2531 เชื่อว่าผู้เสียชีวิตร่วมหมื่นคนและสูญหายอีกจำนวนมาก
หลังจากนั้น
[แก้]หลายคนในพม่าเชื่อว่าระบอบนี้จะล่มสลายเพราะสหประชาชาติและประเทศเพื่อนบ้านตัดความช่วยเหลือ ชาติตะวันตกและญี่ปุ่นตัดความช่วยเหลือทันที อินเดียได้ปิดชายแดนและจัดตั้งค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนพม่า ใน พ.ศ. 2532 สมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติประชาธิปไตยได้ออกไปอยู่ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนที่มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเช่นกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง ต่อมาหลายคนเข้าร่วมฝึกเป็นทหาร
สื่อในพม่าระหว่างนั้นถูกควบคุมและรายงานข่าวที่เป็นมิตรกับรัฐบาล ระหว่าง พ.ศ. 2531 – 2543 รัฐบาลพม่าได้สร้างพิพิธภัณฑ์ 20 แห่ง ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทของทหารในประวัติศาสตร์พม่า
ความสำคัญ
[แก้]ในปัจจุบันเหตุการณ์นี้เป็นที่จดจำในพม่า นักศึกษาพม่าที่อยู่ในไทยได้จัดงานรำลึกทุกวันที่ 8 สิงหาคม ในการฉลองครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์นี้ในพม่า มีผู้ถูกจับกุม 48 คน[22] มีผู้เขียนบทกวีเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์นี้ ภาพยนตร์ใน พ.ศ. 2538 เรื่อง Beyond Rangoon ใช้ข้อมูลจากเหตุการณ์นี้ ผู้ประท้วงบางคนมีบทบาทอีกในการประท้วงต่อต้านรัฐบาลพม่าใน พ.ศ. 2550 กลุ่มนักศึกษา 88 มีส่วนในการจัดการประท้วงและถูกจับกุมคุมขังหลายคน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Neeraj Gautam (2009). Buddha, his life & teachings. Mahavir & Sons Publisher. ISBN 81-8377-247-1.
- ↑ 2.0 2.1 Fong (2008), pp. 149
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Ferrara (2003), pp. 313
- ↑ 4.0 4.1 Fogarty, Phillipa (7 August 2008). Was Burma's 1988 uprising worth it?. BBC News.
- ↑ 5.0 5.1 Wintle (2007)
- ↑ 6.0 6.1 Yawnghwe (1995), pp. 170
- ↑ Aung-Thwin, Maureen. (1989). Burmese Days เก็บถาวร 2006-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Foreign Affairs.
- ↑ Ottawa Citizen. 24 September 1988. pg. A.16
- ↑ Associated Press. Chicago Tribune. 26 September 1988.
- ↑ Lintner (1989), pp. 94–95.
- ↑ Boudreau (2004), pp. 192
- ↑ Tucker (2001), pp. 228
- ↑ Lwin (1992)
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Boudreau (2004), pp. 193
- ↑ Lintner (1989), pp. 95–97.
- ↑ Yitri (1989)
- ↑ Fong (2008), pp. 147
- ↑ Fong (2008). In 1962, Lwin had ordered troops to fire on student protestors, killing dozens, and ordered the Union Building at Rangoon University to be blown up.
- ↑ Mydans, Seth. (12 August 1988). Uprising in Burma: The Old Regime Under Siege. The New York Times.
- ↑ Yeni. "Twenty Years of Marking Time". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2011.
- ↑ Kyi May Kaung (8 สิงหาคม 2008). "Burma: waiting for the dawn". Open Democracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2011.
- ↑ *Tun, Aung Hla. (8 August 2008). Myanmar arrests "8-8-88" anniversary marchers. International Herald Tribune.
หนังสือและวารสาร
- Boudreau, Vincent. (2004). Resisting Dictatorship: Repression and Protest in Southeast Asia. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-83989-1.
- Burma Watcher. (1989). Burma in 1988: There Came a Whirlwind. Asian Survey, 29(2). A Survey of Asia in 1988: Part II pp. 174–180.
- Callahan, Mary. (1999). Civil-military relations in Burma: Soldiers as state-builders in the postcolonial era. Preparation for the State and the Soldier in Asia Conference.
- Callahan, Mary. (2001). Burma: Soldiers as State Builders. ch. 17. cited in Alagappa, Muthiah. (2001). Coercion and Governance: The Declining Political Role of the Military in Asia. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-4227-6
- Clements, Ann. (1992). Burma: The Next Killing Fields? Odonian Press. ISBN 978-1-878825-21-6
- Delang, Claudio. (2000). Suffering in Silence, the Human Rights Nightmare of the Karen People of Burma. Parkland: Universal Press.
- Europa Publications Staff. (2002). The Far East and Australasia 2003. Routledge. ISBN 978-1-85743-133-9.
- Ferrara, Federico. (2003). Why Regimes Create Disorder: Hobbes's Dilemma during a Rangoon Summer. The Journal of Conflict Resolution, 47(3), pp. 302–325.
- Fink, Christina. (2001). Living Silence: Burma Under Military Rule. Zed Books. ISBN 978-1-85649-926-2
- Fong, Jack. (2008). Revolution as Development: The Karen Self-determination Struggle Against Ethnocracy (1949–2004). Universal-Publishers. ISBN 978-1-59942-994-6
- Ghosh, Amitav. (2001). The Kenyon Review, New Series. Cultures of Creativity: The Centennial Celebration of the Nobel Prizes. 23(2), pp. 158–165.
- Hlaing, Kyaw Yin. (1996). Skirting the regime's rules.
- Lintner, Bertil. (1989). Outrage: Burma's Struggle for Democracy. Hong Kong: Review Publishing Co.
- Lintner, Bertil. (1990). The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). SEAP Publications. ISBN 978-0-87727-123-9.
- Lwin, Nyi Nyi. (1992). Refugee Student Interviews. A Burma-India Situation Report.
- Maung, Maung. (1999). The 1988 Uprising in Burma. Yale University Southeast Asia Studies. ISBN 978-0-938692-71-3
- Silverstein, Josef. (1996). The Idea of Freedom in Burma and the Political Thought of Daw Aung San Suu Kyi. Pacific Affairs, 69(2), pp. 211–228.
- Smith, Martin. (1999). Burma – Insurgency and the Politics of Ethnicity. Zed Books. ISBN 978-1-85649-660-5
- Steinberg, David. (2002). Burma: State of Myanmar. Georgetown University Press. ISBN 978-0-87840-893-1
- Tucker, Shelby. (2001). Burma: The Curse of Independence. Pluto Press. ISBN 978-0-7453-1541-6
- Wintle, Justin. (2007). Perfect Hostage: a life of Aung San Suu Kyi, Burma’s prisoner of conscience. New York: Skyhorse Publishing. ISBN 978-0-09-179681-5
- Yawnghwe, Chao-Tzang. Burma: Depoliticization of the Political. cited in Alagappa, Muthiah. (1995). Political Legitimacy in Southeast Asia: The Quest for Moral Authority. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-2560-6
- Yitri, Moksha. (1989). The Crisis in Burma: Back from the Heart of Darkness? University of California Press.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Protests mark Burma anniversary ข่าวบีบีซี
- Burma's 1988 Protests ข่าวบีบีซี
- 'Voices of '88' เก็บถาวร 2008-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยโซรอส
- รายชื่อบางส่วนของเหยื่อในการก่อการกำเริบ 8888 เก็บถาวร 2008-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน