การบุกยิงชาร์ลีแอบโด
การโจมตีในปารีส | |
---|---|
ถนนที่เกิดเหตุการณ์บุกยิงหลังจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง โดยมีผู้สื่อข่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจ และพาหนะฉุกเฉินมารวมอยู่ในภายหลัง | |
สถานที่ | การบุกยิงชาร์ลีแอบโด : เลขที่ 10 ถนนนีกอลา-อาแปร์ เขตที่ 11 ของกรุงปารีส[1]
การบุกยิงในมงรูฌ : สามแยกถนนปีแยร์ บรอซอแล็ต ตัดกับถนนเดอลาแป เขตเทศบาลมงรูฌ การบุกยึด : บริษัทสิ่งพิมพ์ในเขตเทศบาลดามาร์แต็ง-อ็องกวล แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ และซูเปอร์มาร์เก็ตอาหารยิวที่ปอร์ตเดอแว็งแซน กรุงปารีส |
พิกัด | 48°51′33″N 2°22′13″E / 48.859246°N 2.370258°E |
วันที่ | 7 มกราคม พ.ศ. 2558 11:30 CET– 9 มกราคม พ.ศ. 2558 18:35 CET (UTC+01:00) |
เป้าหมาย | การบุกยิงชาร์ลีแอบโด : พนักงานของ ชาร์ลีแอบโด การบุกยิงในมงรูฌ : เจ้าหน้าที่ตำรวจเทศบาล กลารีซา ฌ็อง-ฟีลิป (Clarissa Jean-Philippe) การบุกยึดที่ปอร์ตเดอแว็งแซน : ลูกค้าซูเปอร์มาร์เก็ตอาหารยิว |
ประเภท | กราดยิง, ก่อการร้าย |
อาวุธ | เอเค 47[2] ปืนลูกซอง อาร์พีจี[3][4][5][6] |
ตาย | 12 คน |
เจ็บ | 11 คน |
ผู้ก่อเหตุ | ซาอีด กัวชี, เชริฟ กัวชี และบางทีอาจจะมีบุคคลที่สาม (ผู้ต้องสงสัย)[7] |
เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2015 ที่เวลายุโรปกลางประมาณ 11:30 น. (เวลาสากลเชิงพิกัด 10:30 น.) มือปืนสวมหน้ากากสองคน ติดอาวุธปืนอาก้า, ปืนลูกซอง และเครื่องยิงจรวดอาร์พีจีได้บุกสำนักงาน ชาร์ลีแอบโด ซึ่งเป็นสำนักงานนิตยสารล้อเลียนฝรั่งเศสในกรุงปารีส และมักสร้างความสนใจจากทั่วโลกด้วยการเผยแพร่ภาพนบีมุฮัมมัดที่ล่อแหลมอยู่บ่อยครั้ง[3][4][5][6][8][9] การโจมตีดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 ราย ซึ่งได้แก่สเตฟาน "ชาร์บ" ชาร์บอนีเย ผู้เป็นบรรณาธิการ และพนักงานอื่น ๆ ของ ชาร์ลีแอบโด อีกแปดราย รวมไปจนถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งชาติอีกสองคน[10] ในขณะที่คนอื่นอีก 11 รายได้รับบาดเจ็บ[11][12][13]
ในระหว่างการไล่ล่าผู้ต้องสงสัยทั้งสอง ผู้คนจำนวนหนึ่งถูกควบคุมตัวโดยตำรวจในความเชื่อมโยงกับการโจมตี[10] ผู้ต้องสงสัยรายที่สามได้ถูกตำรวจระบุชื่อขึ้นแต่ก็เข้ามอบตัว[10] ตำรวจได้เพิ่มระดับการเตือนภัยในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์และแคว้นปีการ์ดีสู่ระดับสูงสุด[10]
เมื่อวันที่ 9 มกราคม ตำรวจพบตัวผู้ก่อการในนิคมอุตสาหกรรมของเทศบาลดามาร์แต็ง-อ็อง-กวล (Dammartin-en-Goële) พร้อมตัวประกัน[14] และตำรวจได้เชื่อมโยงเหตุการณ์นี้เข้ากับการบุกยิงโดยผู้ต้องสงสัยรายที่ 4 ที่มงรูฌ (Montrouge) ซึ่งมือปืนรายนี้ก็ทำการจับตัวประกันไว้ที่ปอร์ตเดอแว็งแซน (Porte de Vincennes)[15] ในเวลาต่อมา ตำรวจได้จู่โจมสถานที่ทั้งสองพร้อมกัน โดยผู้ก่อการร้าย 3 คนถูกฆ่า ส่วนตัวประกันบางส่วนตายหรือได้รับบาดเจ็บ[16] ประธานาธิบดีฟร็องซัว ออล็องด์ ได้ออกมายืนยันว่ามีตัวประกัน 4 คนเสียชีวิตในการบุกยึดที่ปอร์ตเดอแว็งแซน[17]
ทีมงานที่เหลืออยู่ของ ชาร์ลีแอบโด ได้ประกาศว่าจะยังคงตีพิมพ์ต่อ โดยหนังสือพิมพ์ฉบับของสัปดาห์ถัดไปจะออกมาตามปกติ[18] แต่ครั้งนี้จะมีการจัดพิมพ์ถึงหนึ่งล้านฉบับ ซึ่งเป็นจำนวนสูงกว่าที่เคยจัดพิมพ์เดิมที่ 60,000 ฉบับ[19]
เหตุการณ์
[แก้]วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2015 เวลาประมาณ 11.30 น. ตามเวลายุโรปกลาง มือปืนสวมหน้ากากสองคน ติดอาวุธปืนอาก้า, ปืนลูกซอง และเครื่องยิงจรวดอาร์พีจี ได้บุกเข้าสำนักงานใหญ่ของชาร์ลีแอบโดในปารีส[3][4][5][6][9][20] พวกเขาเปิดฉากถล่มยิงด้วยปืนออโตเมติกพร้อมกับตะโกนว่า อัลเลาะห์ อัคบาร์ ดังที่ถูกบันทึกได้ในวิดีโอ[21] มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 12 ราย และบาดเจ็บอีก 11 คน[11][22] โดยมีตำรวจสองรายเป็นผู้เสียชีวิตด้วย[23]
ก่อนหน้าเหตุการณ์ มือปืนได้เข้าไปที่ เลขที่ 6 ถนนนีกอลา-อาแปร์ ซึ่งเป็นหน่วยเก็บเอกสารของนิตยสารก่อน มือปืนได้ตะโกนถามว่า นี่คือชาร์ลีแอบโดใช่หรือไม่? ก่อนที่จะตระหนักว่ามาผิดที่และจากไป จากนั้นมือปืนจึงไปยังสำนักงานใหญ่ชาร์ลีแอบโด ที่เลขที่ 10 ถนนนีกอลา-อาแปร์[24]
นักเขียนการ์ตูน กอรีน "กอโก" แร (Corinne "Coco" Rey) รายงานว่าชายติดอาวุธและสวมหน้ากากสองคน ผู้พูดภาษาฝรั่งเศสได้อย่างยอดเยี่ยม ได้ข่มขู่เอาชีวิตลูกสาววัยหัดเดินของเธอที่เพิ่งรับกลับมาจากสถานรับเลี้ยง และบังคับให้เธอกรอกรหัสเปิดประตูเข้าสู่อาคาร[25][26] จากนั้นผู้ก่อการจึงขึ้นไปยังชั้นสอง ซึ่งพนักงานกำลังประชุมกันอยู่ประมาณ 15 คน[27] การบุกยิงยาวประมาณห้าถึงสิบนาที พยานรายงานว่ามือปืนขานชื่อพนักงานเป็นรายคน[28]ก่อนที่จะยิงในลักษณะประหาร[29] พยานคนอื่น ๆ รายงานว่ามือปืนบอกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของอัลกออิดะฮ์ในเยเมน[30]
นักข่าว ซีกอแลน แว็งซง (Sigolène Vinson) รายงานว่าหนึ่งในมือปืนเล็งปืนมาที่เธอแต่ตัดสินใจไว้ชีวิตเธอ พร้อมบอกว่า ผมจะไม่ฆ่าคุณ เพราะคุณเป็นผู้หญิง และเราไม่ฆ่าผู้หญิง แต่คุณต้องเปลี่ยนมานับถืออิสลาม อ่านอัลกุรอาน และสวมผ้าคลุมหน้าซะ จากนั้นก็จากไปพร้อมกับตะโกนว่า อัลเลาะห์ อัคบาร์ ไปด้วย[31][32][33]
มือปืนออกจากเหตุการณ์ โดยตะโกนว่า เราได้แก้แค้นแทนศาสดามุฮัมมัด เราได้ฆ่าชาร์ลีแอบโดแล้ว![34][35] โดยหนีออกจากเหตุการณ์ด้วยรถที่เตรียมมา โดยขับไปถึงบริเวณสถานีปอร์ตเดอป็องแต็ง (Porte de Pantin) ก่อนจะจี้รถคันใหม่[36][11] ระหว่างการหลบหนี ผู้ก่อการได้ชนคนเดินถนนล้ม และยิงตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ[37]
ผู้เคราะห์ร้าย
[แก้]เสียชีวิต
- เฟรเดริก บัวโซ (Frédéric Boisseau), 42, เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรกายภาพจากบริษัทซอแด็กโซ (Sodexo), ถูกฆ่าในล็อบบี้
- แฟรงก์ แบรงโซลาโร (Franck Brinsolaro), 49, เจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วย SDLP ทำหน้าที่เป็นบอดี้การ์ดให้ชาร์บ[38]
- ฌ็อง กาบูว์ (Jean Cabut), 76, นักวาดการ์ตูน
- แอลซา กายา (Elsa Cayat), 54, นักจิตวิทยาและคอลัมนิสต์
- สเตฟาน ชาร์บอนีเย (Stéphane Charbonnier) หรือชาร์บ (Charb), 47, นักวาดการ์ตูน คอลัมนิสต์ และบรรณาธิการใหญ่ของ ชาร์ลีแอบโด
- ฟีลิป ออนอเร (Philippe Honoré), 74, นักวาดการ์ตูน
- แบร์นาร์ มาริส (Bernard Maris), 68, นักเศรษฐศาสตร์ บรรณาธิการ และคอลัมนิสต์[39][40]
- อาเหม็ด เมอราเบ็ต (Ahmed Merabet), 42, เจ้าหน้าที่ตำรวจมุสลิมเชื้อสายแอลจีเรีย[41][42] ถูกยิงที่หัวขณะนอนบาดเจ็บนอกอาคาร[28][43][44][45]
- มุสตาฟา อูราด (Moustapha Ourrad), คนตรวจต้นฉบับชาวแอลจีเรีย[46][47][48][41]
- มีแชล เรอโน (Michel Renaud), 69, แขกในที่ประชุม [49]
- แบร์นาร์ แวร์ลยัก (Bernard Verlhac) หรือตีญุส (Tignous), 57, นักวาดการ์ตูน[50]
- ฌอร์ฌ วอแล็งสกี (Georges Wolinski), 80, นักวาดการ์ตูน[51] เชื้อสายยิว เกิดในตูนิเซีย[52][53][54][55]
บาดเจ็บ
- ซีมง ฟีเยสกี (Simon Fieschi), 31, เว็บมาสเตอร์, ถูกยิงเข้าที่ไหล่[56]
- ฟีลิป ล็องซง (Philippe Lançon), นักข่าว, ถูกยิงเข้าที่ใบหน้า อาการสาหัส
- ฟาบริส นีกอลีโน (Fabrice Nicolino), 59, นักข่าว, ถูกยิงเข้าที่ขา
- โลร็อง "ริส" ซูรีโซ (Laurent "Riss" Sourisseau), 48, นักวาดการ์ตูน, ถูกยิงเข้าที่ไหล่[57]
- เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ทราบชื่อ[58][59][60]
มีสามคนในที่ประชุมที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ เป็นพนักงานสองคนคือ ซีกอแลน แว็งซง และโลร็อง เลเฌ (Laurent Léger) และแขกอีกหนึ่งคนคือ เฌราร์ กายาร์ (Gerard Gaillard) ส่วนนักวาดการ์ตูนที่มาสายและถูกบังคับให้เปิดประตูให้มือปืนเข้าไปในอาคารคือกอรีน แร ไม่ได้รับบาดเจ็บเช่นกัน[61][62][63]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "En images : à 11 h 30, des hommes armés ouvrent le feu rue Nicolas-Appert". Le Monde. 7 January 2015.
- ↑ Helene Fouquet (7 January 2015). "Paris Killings Show Rise of Banned French 'Weapons of War'". Bloomberg.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Paris Charlie Hebdo attack: live". Telegraph.co.uk. 7 January 2015.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "12 dead in 'terrorist' attack at Paris paper". Yahoo News. 7 January 2015.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Ben Doherty. "Tony Abbott condemns 'barbaric' Charlie Hebdo attack in Paris". the Guardian.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Mejia, Paula (7 January 2015). "Four Victims of Charlie Hebdo Attack Identified". newsweek.com. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
- ↑ "French police ID 3 suspects in attack on newspaper". Newsday. 8 January 2015.
- ↑ "BBC News – Charlie Hebdo: Major manhunt for Paris gunmen". BBC News. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
- ↑ 9.0 9.1 Saul, Heather (9 January 2015). "Google pays tribute to Charlie Hebdo attack victims with black ribbon on homepage". The Independent. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Police converge on area north-east of Paris in hunt for Charlie Hebdo killers, The Guardian. Retrieved 8 January 2015.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Kim Willsher (7 January 2015). "Satirical French magazine Charlie Hebdo attacked by gunmen". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ "Gun attack on French magazine Charlie Hebdo kills 11". BBC News. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ "Charlie Hebdo attack: 12 dead in Paris, manhunt on". CNN. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ "Charlie Hebdo: major operation north-east of Paris in hunt for suspects – live updates". The Guardian. 9 January 2015.
- ↑ "EN DIRECT. Porte de Vincennes : 5 personnes retenues en otage dans une épicerie casher". Le Parisien. 9 January 2015.
- ↑ "EN DIRECT – Les frères Kouachi et le tireur de Montrouge abattus simultanément". Le Figaro.
- ↑ theguardian.com [1]
- ↑ "Charlie Hebdo will come out next week, despite bloodbath". The Times of India. 8 January 2015.
- ↑ Martinson, Jane; Sweney, Mark (8 January 2015). "Charlie Hebdo staff vow to print 1 m copies as French media support grows". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
- ↑ "Paris Charlie Hebdo attack: live". The Daily Telegraph. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ "Les deux hommes criaient 'Allah akbar' en tirant". L'essentiel Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-07. สืบค้นเมื่อ 2015-01-10.
- ↑ Kim Willsher et al (7 January 2015) Paris terror attack: huge manhunt under way after gunmen kill 12 The Guardian
- ↑ "Terrorists shoot officer in Paris during terrorist attack at Charlie Hebdo". LiveLeak. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ "Charlie Hebdo shooting: 12 people killed, 11 injured, in attack on Paris offices of satirical newspaper". ABC News. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ "Charlie Hebdo : Le témoignage de la dessinatrice Coco". L'Humanité (ภาษาฝรั่งเศส). 7 January 2015.
- ↑ "Charlie Hebdo Cartoonist Corrine Rey Says She Let Terrorists Inside And Hid Under Her Desk With Toddler Daughter". Inquisitr. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
- ↑ "Charlie Hebdo shootings: 'It's carnage, a bloodbath. Everyone is dead'". The Guardian. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ 28.0 28.1 "Paris shooting: Manhunt after gunmen attack office of Charlie Hebdo, French satirical magazine". 7 January 2015.
- ↑ "Gunmen in Charlie Hebdo Attack Identified". ABC News. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อtelegraph1
- ↑ "The Globe in Paris: Police identify three suspects". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
- ↑ Chris Richards (8 January 2015). "Charlie Hebdo: Journalist spared death by terrorists during brutal attack at magazine office 'because she's a woman'". mirror. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
- ↑ "Charlie Hebdo: ce qu'on sait de l'attentat et de l'enquête". Radio France Internationale. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
- ↑ "En direct: Des coups de feu au siège de Charlie Hebdo" (ภาษาฝรั่งเศส).
see comments at 13h09 and 13h47: "LeMonde.fr: @Antoine Tout ce que nous savons est qu'ils parlent un français sans accent." and "LeMonde.fr: Sur la même vidéo, on peut entendre les agresseurs. D'après ce qu'on peut percevoir, les hommes semblent parler français sans accent."
- ↑ "Deadly attack on office of French magazine Charlie Hebdo". BBC News. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ Duffin, Claire; Sinmaz, Emine; Kent Smith, Emily (7 January 2015). "They shouted out names... then fired: Minute by minute, how the horror unfolded in Paris magazine newsroom as terrorists slaughtered 12 innocent victims". Daily Mail. London. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
- ↑ "12 dead in 'terrorist' attack at Paris paper". Yahoo! News. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ Attentat de Charlie Hebdo, l'un des policiers tués demeurait en Normandie. 7 January 2015 www.tendanceouest.com in French (Google translated)
- ↑ "En Direct. Massacre chez "Charlie Hebdo": 12 morts, dont Charb et Cabu". Le Point (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ "Les dessinateurs Charb et Cabu seraient morts". L'Essentiel (ภาษาฝรั่งเศส). 7 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-07. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ 41.0 41.1 "Charlie Hebdo attack: All 12 victims are named". The Independent. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
- ↑ "Attaque à "Charlie Hebdo": Une policière raconte Ahmed, "un superbe collègue, toujours volontaire"". 20 Minutes. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
- ↑ "Charlie Hebdo terror attack: Sickening moment 'policeman executed by militants as he held up hands in surrender". Mirror.
- ↑ "Charlie Hebdo attack: What we know about the three gunmen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-08. สืบค้นเมื่อ 2015-01-10.
- ↑ Polly Mosendz. "Police Officer Ahmed Merabet Shot During Charlie Hebdo Massacre". Newsweek.
- ↑ "« On va continuer à dessiner » répondent les caricaturistes algériens après l'attentat contre Charlie Hebdo". Le Monde. 8 January 2015. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
- ↑ "Mustapha Ourad, une des victimes de la tuerie de "Charlie Hebdo"". Le Matin. 8 January 2015. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
- ↑ "REPORTAGE. Á Aït Larba, village natal de Mustapha Ourrad, l'Algérien tué à Charlie Hebdo". TSA. 8 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-09. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
- ↑ Manuel Armand. "Michel Renaud, insatiable voyageur". Le Monde.
- ↑ "Charlie Hebdo victims". BBC. 8 January 2015. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
- ↑ "Attentat contre "Charlie Hebdo " : Charb, Cabu, Wolinski et les autres, assassinés dans leur rédaction". Le Monde (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ http://www.haaretz.com/jewish-world/jewish-world-news/1.636147
- ↑ http://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-4612722,00.html
- ↑ http://www.foxnews.com/world/2015/01/07/fearless-murdered-french-cartoonists-welcomed-controversy/
- ↑ http://www.jta.org/2015/01/07/news-opinion/world/jewish-cartoonist-georges-wolinski-among-12-dead-in-paris-shooting
- ↑ "Paris attacks: Sydney woman's partner in coma after Charlie Hebdo shooting". The Sydney Morning Herald.
- ↑ "Attentat contre Charlie Hebdo. Témoignage de l'oncle de Riss, directeur de la rédaction Charlie Hebdo". Le Telegramme. 8 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2015. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
- ↑ Translated text
- ↑ "En Direct. Attentat à Charlie Hebdo : 12 morts, les terroristes en fuite". Le Parisien (ภาษาฝรั่งเศส). France. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ "Charlie Hebdo shootings: 'It's carnage, a bloodbath. Everyone is dead'". The Guardian. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- ↑ "The Globe in Paris: Police identify three suspects". The Globe and Mail.
- ↑ "Paris rampage live updates: 1 suspect reportedly surrenders; vigils held worldwide". Los Angeles Times. 8 January 2015.
- ↑ Alderman, Liz (8 January 2015). "Recounting a Bustling Office at Charlie Hebdo, Then a 'Vision of Horror'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การบุกยิงชาร์ลีแอบโด