การประท้วงร่างรัฐบัญญัติโซปาและพีปา
การปิดวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นการประท้วงออนไลน์ 24 ชั่วโมงซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลาเที่ยงคืน ตามเวลามาตรฐานตะวันออกสหรัฐ เว็บไซต์วิกิพีเดียแสดงเพียงข้อความต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA) และร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองไอพี (PIPA) ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่กำลังมีการเสนอในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา โดยไม่แสดงบทความตามปกติ
วันที่ 16 มกราคม ผู้ก่อตั้งวิกิมีเดีย จิมมี เวลส์ และกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย ซู การ์เนอร์ ประกาศการปิดหลังดำเนินการหยั่งความเห็น 72 ชั่วโมงของชุมชนผู้เขียน การหยั่งเสียงทั่วไปมีขึ้นหลังการอภิปรายนานหลายสัปดาห์ในฟอรัมวิกิพีเดียขนาดเล็กกว่า วันที่นั้นถูกเลือกให้ตรงกับการปฏิบัติคล้ายกันในเว็บไซต์อื่น เช่น เรดดิต (Reddit) และดำเนินไป 24 ชั่วโมงเริ่มตั้งแต่เวลา 05:00 UTC (หรือเที่ยงคืนตามเวลามาตรฐานตะวันออก) ของวันที่ 18 มกราคม[1]
ปฏิกิริยา
[แก้]มูลนิธิวิกิมีเดียรายงานว่า มีการเข้าชมวิกิพีเดียรุ่นที่ถูกปิดกว่า 162 ล้านครั้งในช่วงที่ปิด 24 ชั่วโมง โดยมีการใช้หน้าแรกของเว็บไซต์อย่างน้อย 4 ล้านครั้งเพื่อค้นหาข้อมูลติดต่อผู้แทนรัฐสภาสหรัฐของพวกตน[2] การใช้หน้าแรกของวิกิพีเดียเพิ่มขึ้นมหาศาลระหว่างการปิดโดยมีบันทึกการเข้าชมหน้า 17,535,733 ครั้ง เทียบกับ 4,873,388 ครั้งเมื่อวันก่อนหน้า[3] คำร้องซึ่งสร้างและเชื่อมโยงไปถึงโดยกูเกิลมีการบันทึกกว่า 4.5 ล้านครั้ง โดยมูลนิธิอิเล็กทรอนิกส์ฟรอนเทียร์รายงานว่ามีข้อความอีเมลมากกว่า 1 ล้านฉบับถูกส่งไปยังสมาชิกรัฐสภาผ่านเว็บไซต์ของพวกเขาระหว่างการปิด[4] MSNBC รายงานว่ามีข้อความทวิตเตอร์เกิน 2.4 ล้านข้อความเกี่ยวกับ SOPA, PIPA และการปิด ระหว่างช่วง 16 ชั่วโมงของวันที่ 18 มกราคม ซึ่งรวมไปถึงผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ซึ่งมิได้ใช้บริการดังกล่าวนับแต่ พ.ศ. 2552 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ติดตาม (follower) ของเขาติดต่อสมาชิกรัฐสภาของพวกตน[5][6]
ในวันเดียวกัน มีวุฒิสมาชิกหกคนผู้สนับสนุนร่างรัฐบัญญัติทั้งสอง ประกาศว่าจะถอนการสนับสนุนร่างรัฐบัญญัติดังกล่าว[7] สมาชิกรัฐสภาอื่นอีกหลายคนออกแถลงการณ์วิจารณ์รุ่นปัจจุบันของร่างรัฐบัญญัติทั้งสอง[8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Websites blackout in SOPA anti-piracy protest". News.com.au. January 19, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-03. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.
- ↑ Wortham, Jenna (January 18, 2012). "With Twitter, Blackouts and Demonstrations, Web Flexes Its Muscle". New York Times. สืบค้นเมื่อ January 18, 2012.
- ↑ "Wikipedia article traffic statistics". stats.grok.se. January 19, 2012. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.
- ↑ McSherry, Corynne; Samuels, Julie (January 18, 2012). "Thank You, Internet! And the Fight Continues". Electronic Frontier Foundation. สืบค้นเมื่อ January 18, 2012.
- ↑ Chansanchai, Athima (January 19, 2012). "Twitter: More than 2.4 million SOPA tweets". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.
- ↑ Popkin, Helen A.S. (18 Janaury 2012). "SOPA inspires Mark Zuckerberg's first tweet since 2009". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-21. สืบค้นเมื่อ January 18, 2012.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Greenberg, Andy (January 18, 2012). "Amidst SOPA Blackout, Senate Copyright Bill Loses Key Supporters". Forbes. สืบค้นเมื่อ January 18, 2012.
- ↑ McCullagh, Declan; Mills, Elinor (January 18, 2012). "Protests lead to weakening support for Protect IP, SOPA". CNet. สืบค้นเมื่อ January 18, 2012.
- ↑ "Sopa: US backers end support for anti-piracy bill". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แถลงการณ์อย่างเป็นทางการของมูลนิธิวิกิมีเดียและแถลงการณ์ของประธานกรรมการวิกิมีเดีย
- SOPA Strike - รายการเว็บไซต์ทั้งหมดที่เข้าร่วมการปิดอินเทอร์เน็ต