ข้ามไปเนื้อหา

การรณรงค์ร้อยบุปผา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การรณรงค์ร้อยบุปผา
อักษรจีนตัวย่อ百花齐放
อักษรจีนตัวเต็ม百花齊放

การรณรงค์ร้อยบุปผา หรือเรียกอีกอย่างว่า ขบวนการร้อยบุปผา (จีน: 百花齐放) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1956 ถึง ค.ศ. 1957 ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้ส่งเสริมให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์[1][2] ผลที่ตามมาซึ่งจบลงด้วยความล้มเหลวของการรณรงค์ครั้งนี้ ประธานแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อตง ได้ออกคำสั่งให้ดำเนินทำการปราบปรามกลุ่มผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์พรรค ซึ่งดำเนินเรื่อยมาจนถึง ค.ศ. 1959[ต้องการอ้างอิง]

ในช่วงรณรงค์ดังกล่าว มุมมองและแนวทางการแก้ไขนโยบายระดับชาติที่แตกต่างซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยอิงมาจากสำนวนที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเหมาที่ว่า:"นโยบายในการปล่อยให้ร้อยบุปผาบานพร้อมพรัก และร้อยสำนักได้ประชันเสียงกันเพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของศิลปะและความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์"[3] ขบวนการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองต่อการทำลายขวัญกำลังใจ(demoralization) ของกลุ่มปัญญาชนซึ่งมีความรู้สึกหมางเมินต่อพรรคคอมมิวนิสต์[4] ภายหลังจากช่วงเวลาสั้น ๆ ของการปล่อยเสรี การปราบปรามยังคงดำเนินต่อไปจนถึง ค.ศ. 1957 และ ค.ศ. 1959 ซึ่งเป็นการรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวาเพื่อต่อต้านผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงระบอบการปกครองและอุดมการณ์ ประชาชนนับแสนคนต่างพากันแห่รุมล้อม ถูกตำหนิติเตียนในที่สาธารณะและถูกลงโทษในการเข้าค่ายกักขังเพื่อเป็นการปรับทัศนคติผ่านทางการใช้แรงงานอย่างหนัก หรือไม่เว้นแม้แต่การประหารชีวิต[5] การปราบปรามทางอุดมการณ์ดังกล่าวได้นำเอาลัทธิเหมามาใช้ในการแสดงออกในที่สาธารณะอีกครั้ง และกระตุ้นขบวนการต่อต้านฝ่ายขวามากขึ้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. MacFarquhar, Roderick. 1960. The Hundred Flowers. pp. 3
  2. "Hundred Flowers Campaign." Encyclopædia Britannica. Retrieved 24 July 2020.
  3. "Definition of Hundred Flowers". Oxford Dictionaries. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.[ลิงก์เสีย]
  4. "Double-Hundred Policy (1956-1957)". chineseposters.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-12. สืบค้นเมื่อ 2017-02-11.
  5. Short, Philip (2000). Mao: A Life. Macmillan. pp. 457–471. ISBN 978-0-8050-6638-8.