การรุกร้อยวัน
การรุกร้อยวัน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตก ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง | |||||||
การรุกของฝ่ายสัมพันธมิตร ช่วงปลายปี 1918 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ฝรั่งเศส เบลเยียม อิตาลี[1][2] โปรตุเกส สยาม |
เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
แฟร์ดีน็อง ฟ็อช ฟีลิป เปแต็ง ดักลาส เฮก จอห์น เจ. เพอร์ชิง สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม |
เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค เอริช ลูเดินดอร์ฟ วิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์ | ||||||
กำลัง | |||||||
กำลังพล ณ 11 พฤศจิกายน 1918:[3] ป. 2,559,000 ป. 1,900,000 ป. 1,900,000[4] ป. 190,000 |
กำลังพล ณ 11 พฤศจิกายน 1918:[3] ป. 3,562,000 | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
18 กรกฎาคม – 11 พฤศจิกายน: 1,070,000[5] 531,000 412,000 127,000 |
18 กรกฎาคม – 11 พฤศจิกายน: เพิ่มเติม เสียชีวิต 2,500 ราย บาดเจ็บ 10,000 ราย ถูกจับ 5,000 ราย |
การรุกร้อยวัน เป็นชุดการรุกครั้งใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน 1918 การรุกเริ่มขึ้นในยุทธการที่อาเมียงในเดือนสิงหาคม ก่อนฝ่ายสัมพันธมิตรจะไล่ยึดพื้นที่ที่ฝ่ายมหาอำนาจกลางยึดได้ช่วงการรุกฤดูใบไม้ผลิ ตามด้วยการรุกผ่านแนวฮินเดินบวร์ค ท้ายที่สุดการรุกร้อยวัน ร่วมกับการปฏิวัติภายในประเทศบีบบังคับให้ฝ่ายเยอรมันยอมสงบศึกในเดือนพฤศจิกายน อันเป็นการสิ้นสุดแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทั้งนี้ชื่อ "การรุกร้อยวัน" ไม่ได้หมายถึงยุทธการหรือกลยุทธ์ใดเป็นพิเศษ แต่หมายถึงชัยชนะอย่างต่อเนื่องของฝ่ายสัมพันธมิตรช่วงท้ายสงคราม[9]
เดือนมีนาคม 1918 กองทัพเยอรมันเริ่มการรุกฤดูใบไม้ผลิเพื่อเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนสหรัฐจะเข้าร่วมเต็มตัว แต่ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองในเดือนกรกฎาคม ทำให้ฝ่ายเยอรมันสั่งถอนทัพ[10] ด้านแฟร์ดีน็อง ฟ็อช ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรสั่งเริ่มการรุกกลับโดยได้รับกำลังสนับสนุนจากสหรัฐและบริเตน เดือนสิงหาคม ฟ็อชกับดักลาส เฮก ผู้บัญชาการทัพบริเตนตัดสินใจโจมตีที่แม่น้ำซอมม์ ใกล้เมืองอาเมียงเพื่อขับไล่ทัพเยอรมันออกจากทางรถไฟอาเมียง–ปารีสที่สำคัญ[11] ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในครั้งนี้ทำให้ฝ่ายเยอรมันเริ่มถอยทัพกลับไปที่แนวฮินเดินบวร์ค อันเป็นปราการแน่นหนาที่ฝ่ายเยอรมันสร้างขึ้นในปี 1916 ปลายเดือนกันยายน ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะทัพเยอรมันในยุทธการที่คลองแซ็ง-ก็องแต็งและเจาะผ่านแนวฮินเดินบวร์คได้สำเร็จ[12]
เดือนตุลาคม ฝ่ายเยอรมันเสียดินแดนที่ยึดได้ตั้งแต่ปี 1914 มากขึ้นเรื่อย ๆ การเสียทางรถไฟแม็ส–บรูชที่ใช้ส่งกำลังและยุทธภัณฑ์ยิ่งทำให้ทัพเยอรมันเสียขวัญกำลังใจมากขึ้น[13] อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยังคงสู้รบกันต่อไปจนถึงนาทีสุดท้ายก่อนเวลา 11 นาฬิกาของวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 ซึ่งการสงบศึกมีผลบังคับใช้[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Caracciolo, M. Le truppe italiane in Francia. Mondadori. Milan 1929
- ↑ Julien Sapori, Les troupes italiennes en France pendant la première guerre mondiale, éditions Anovi, 2008
- ↑ 3.0 3.1 Neiberg p. 95
- ↑ Also possessed 2,251 artillery pieces on the frontline out of the 3,500 total artillery pieces used by the Americans. Ayers p. 81
- ↑ 5.0 5.1 Tucker 2014, p. 634.
- ↑ Bond 1990, p. 20.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Reid 2006, p. 448.
- ↑ Statistics of the Military Effort of the British Empire During the Great War 1914–1920, The War Office, p. 356-357.
- ↑ "Battle of Amiens - World War I (1918)". Britannica. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
- ↑ "1918: Spring Offensive and Advance to Victory". NZHistory. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
- ↑ "Battle of Amiens". HISTORY. October 28, 2009. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
- ↑ "Allied forces break through the Hindenburg Line". HISTORY. October 28, 2009. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
- ↑ Wasserstein, Bernard (2007). Barbarism and Civilization: A History of Europe in Our Time. Oxford University Press. pp. 93–96. ISBN 978-0-1987-3074-3.
- ↑ "Armistice Day: World War I ends". HISTORY. March 10, 2010. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
- การรุกร้อยวัน
- การรุก
- แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
- ยุทธการในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ยุทธการในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับเยอรมนี
- ยุทธการในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส
- ยุทธการในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
- ยุทธการในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับสหรัฐ
- ยุทธการในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับไทย
- การล่มสลายของจักรวรรดิเยอรมัน
- ฟีลิป เปแต็ง
- เจ้าชายวิลเฮ็ล์ม มกุฎราชกุมาร
- เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์