การเมืองกินคน
การเมืองกินคน | |
---|---|
โปสเตอร์ภาพยนตร์ | |
กำกับ | จอร์จ คลูนีย์ |
บทภาพยนตร์ | จอร์จ คลูนีย์ แกรนท์ เฮสลอฟ โบ วิลลิมอน |
สร้างจาก | ฟาร์รากัท นอร์ธ โดย โบ วิลลิมอน |
อำนวยการสร้าง | แกรนท์ เฮสลอฟ จอร์จ คลูนีย์ ไบรอัน โอลิเวอร์ |
นักแสดงนำ | ไรอัน กอสลิง จอร์จ คลูนีย์ ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน พอล จิอามัตติ อีวาน ราเชล วูด เมริซา โทเม เจฟฟรีย์ ไรท์ |
กำกับภาพ | ไฟดอน ปาปามิคาอิล |
ตัดต่อ | สตีเฟน มีเรียน |
ดนตรีประกอบ | อเล็กซานเดร เดสปลา |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | โคลัมเบียพิกเจอส์ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 101 นาที[1] |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | $12.5 ล้าน[2] |
ทำเงิน | $75,993,061[3][4] |
การเมืองกินคน (อังกฤษ: The Ides of March) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวดราม่าการเมือง กำกับโดยจอร์จ คลูนีย์ บทภาพยนตร์โดยจอร์จ คลูนีย์ ร่วมกับแกรนท์ เฮสลอฟ และโบ วิลลิมอน ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากละครเวทีเรื่องฟาร์รากัท นอร์ธ (Farragut North) ของวิลลิมอน นำแสดงโดยไรอัน กอสลิง, จอร์จ คลูนีย์, ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน, พอล จิอามัตติ, เอฟแวน เรเชล วู้ด, เมริซา โทเม และ เจฟฟรีย์ ไรท์
ภาพยนตร์ The Ides of March ถูกนำเสนอเป็นภาพยนตร์เปิดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสครั้งที่ 68 และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติไฮฟาครั้งที่ 27 และถูกฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต 2011 และออกฉายในสหรัฐอเมริกา 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 และในไทย 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 [5]
เค้าโครงเรื่อง
[แก้]สตีเฟ่น เมเยอร์ส ผู้จัดการหาเสียงหนุ่ม ที่ทำงานให้กับไมค์ มอร์ริส ผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย และผู้เข้าชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครต เพื่อเข้าแข่งขันเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่มีคู่แข่งหลักอย่างวุฒิสมาชิก เท็ด พูลแมนจากรัฐอาร์คันซอ การรณรงค์หาเสียงของทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องการการสนับสนุนจากวุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครต แฟรงกลิน ทอมสันจากรัฐนอร์ธแคโรไลนา ที่ควบคุมคะแนนเสียงในที่ประชุมกว่า 356 เสียง ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายนึงชนะอย่างเด็ดขาด หลังจากการโต้วาทีที่มหาวิทยาลัยไมอามี ผู้จัดการหาเสียงของพูลแมน ทอม ดัฟฟี่ เข้ามาติดต่อเพื่อขอพบเมเยอร์สอย่างลับๆ เมเยอร์สจึงโทรหาเจ้านายของเขา พอล ซาร่า ซึ่งเป็นผู้จัดการหาเสียงอาวุโส แต่พอลไม่ได้รับสาย เมเยอร์สจึงตัดสินใจพบกันดัฟฟี่ โดยดัฟฟี่เสนอตำแหน่งในการรณรงค์หาเสียงของพูลแมนแต่เมเยอร์สปฏิเสธ เมื่อซาร่าโทรกลับมาถามว่ามีอะไรสำคัญ เมเยอร์สจึงตอบไปว่าไม่มีอะไรต้องเป็นกังวล ในขณะเดียวกัน เมเยอร์สเริ่มความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับมอลลี่ สเติร์นส์ เด็กฝึกงานสาวสวยที่ทำงานในการรณรงค์หาเสียงของมอร์ริส และลูกสาวของแจ็ค สเติร์นส์ ประธานคณะกรรมการแห่งชาติของพรรคเดโมแครต
ต่อมาเมเยอร์สยอมรับกับซาร่าว่าเขาพบกับดัฟฟี่ โดยดัฟฟี่บอกว่าพูลแมนจะเสนอตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศให้กับทอมสัน ทำให้แน่ใจได้ว่าพูลแมนจะชนะอย่างแน่นอน ซาร่ากับเมเยอร์สจึงเข้าไปคุยกับมอร์ริสเพื่อโน้มน้าวให้เขายื่นข้อเสนอเดียวกันให้กับทอมสันเพื่อรับรองการสนับสนุนและคะแนนเสียงของผู้แทน มอรร์สปฏิเสธบนหลักการเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับทอมสันและนโยบายของเขา และเพราะต้องการให้การรณรงค์หาเสียงเป็นไปอย่างใสสะอาด
ต่อมาตอนดึกวันหนึ่งขณะที่มอลลี่หลับอยู่ เมเยอร์สเห็นมอร์ริสพยายามจะโทรหาเธอหลังจากที่เขารับโทรศัพท์ของเธอโดยบังเอิญ เมเยอร์สจึงรู้ว่ามอลลี่กับมอร์ริสเคยมีความสัมพันธ์ชั่วข้ามคืนกันเมื่อก่อน เมื่อตอนหยุดพักหาเสียงที่รัฐไอโอวาเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน และตอนนี้มอลลี่ก็ตั้งท้องกับท่านผู้ว่าฯ ซึ่งเสี่ยงต่อการตกเป็นข่าวฉาว เมเยอร์สจ่ายเงินให้เธอเอาไปทำแท้งแล้วเตือนไม่ให้เธอบอกใคร นอกจากนี้เขายังไล่มอลลี่ออกจากการรณรงค์หาเสียงเพื่อหาแน่ใจว่าเธอจะไม่ปริปาก ไอด้า โฮโรวิคซ์ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ เปิดเผยกับเมเยอร์สว่ามีแหล่งข่าวนิรนามปล่อยข่าวการพบปะของเขากับดัฟฟี่กับเธอ และขู่ว่าจะตีพิมพ์เรื่องนี้นอกจากเมเยอร์สจะเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับการพบปะครั้งนั้น
ด้วยเหตุนี้ เมเยอร์สจึงมาหาซาร่าเพื่อขอความช่วยเหลือ ด้วยความกลัวว่าข่าวนี้จะทำลายชื่อเสียงของเขา, ของซาร่า และของการรณรงค์หาเสียงโดยภาพรวม ซาร่าจึงเปิดเผยว่าเขาเองเป็นคนที่ปล่อยข่าวให้กับไอด้า ด้วยความเห็นชอบของมอร์ริส เพื่อบังคับให้เมเยอร์สลาออกจากการรณรงค์หาเสียง โดยให้เหตุผลว่าเมเยอร์สไม่ซื่อสัตย์ที่แอบไปพบกับดัฟฟี่ ซาร่าบอกว่านี่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่ทำไปเพราะเสียความเชื่อมั่นในเมเยอร์ส เมเยอร์สที่จนตรอกจึงเข้าหาดัฟฟี่ เพื่อเสนอความช่วยเหลือ แต่ดัฟฟี่สารภาพว่าที่เขานัดพบกับเมเยอร์สก็เพื่อต้องการทำให้การรณรงค์ของคู่แข่งปั่นป่วนเท่านั้น โดยหวังว่าเมเยอร์สจะลาออกมาทำงานก็เขา หรือไม่ก็ถูกซาร่าไล่ออก
ดัฟฟี่เปิดเผยว่าเขาคาดว่าเมเยอร์สจะบอกกับซาร่าเรื่องการพบกันลับๆ ซึ่งจะทำให้ซาร่าหาทางกำจัดเมเยอร์สออกจากการรณรงค์หาเสียง ส่งผลให้การรณรงค์หาเสียงของมอร์ริสแผ่วลง และทำให้การรณรงค์หาเสียงของพูลแมนเข้มแข็งขึ้น ด้วยเหตุที่ว่าซาร่าไล่เมเยอร์สออกไปแล้ว เขาจึงไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะจ้างเมเยอร์สอีก ดัฟฟี่ขอโทษเมเยอร์สกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนะนำให้เมเยอร์สวางมือจากวงการนี้เสียก่อนที่จะเป็นคนเห็นแก่ตัวเหมือนกันเขา เมเยอร์สยื่นข้อเสนอที่จะหักหลังมอร์ริสอย่างเต็มตัว แต่ดัฟฟี่ปฏิเสธเพราะคิดว่าเมเยอร์สทำร้ายมอร์ริสไม่ได้แล้ว และมั่นใจว่าทอมสันจะชนะอย่างแน่นอน ในขณะเดียวกัน มอลลี่ที่รู้ว่าเมเยอร์สถูกไล่ออก ด้วยความกลัวว่าเมเยอร์สจะเปิดโปงเรื่องของเธอ มอลลี่จึงกินยาเกินขนาดจนเสียชีวิต เมเยอร์สที่เพิ่งรู้ตัวว่าถูกทั้งสองฝั่งหลอกใช้ จึงตั้งใจที่จะเล่นงานทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการแก้แค้น
เมเยอร์สแอบไปพบกับทอมสัน ในนามของมอร์ริสเพื่อต่อรองขอเสียงคะแนนจากทอมสันเพื่อแลกกับตำแหน่งรองประธานาธิบดีข้างมอร์ริส ทอมสันแสดงออกอย่างชัดเจนอยากอยู่กับมอร์ริสมากกว่าพูลแมนและตอบตกลงกับเมเยอร์ส ต่อมาเมเยอร์สพบกับมอร์ริสในบาร์ โดยขู่ว่าจะแฉเรื่องอื้อฉาวกับมอลลี่ถ่ามอร์ริสไม่ยอมรับข้อเสนอของเขา โดยให้ไล่ซาร่าออก, แต่งตั้งเมเยอร์สเป็นผู้ดูแลการรณรงค์หาเสียงคนใหม่ และมอบตำแหน่งรองประธานาธิบดีให้กับทอมสัน มอร์ริสยืนยันว่าไม่มีหลักฐาน แต่เมเยอร์สอ้างว่ามีจดหมายลาตายอยู่ในห้องของมอลลี่ที่จะเปิดโปงเรื่องทั้งหมด มอร์ริสจึงยอมแต่โดยดี ซาร่าถูกไล่ออกแต่ยอมรับด้วยความเข้าใจ
ที่งานศพของมอลลี่ ซาร่าเข้าหาเมเยอร์สอย่างเป็นมิตร โดยบอกเมเยอร์สว่าเขารู้ว่าเมเยอร์สต้องมีอะไรที่ใหญ่พอจะทำให้มอร์ริสให้ไล่ซาร่าออกและจ้างเมเยอร์สแทน หลังจากซาร่าถูกไล่ออกจึงไปรับงานที่ปรึกษาปีละล้านเหรียญ ซึ่งตัวเขาเองพอใจและถือว่าเป็นการเกษียณตัวเองจากการเมือง ต่อมาการสนับสนุนจากทอมสันทำให้มอร์ริสกลายเป็นตัวแทนของพรรคไปโดยปริยาย แม้ว่าจะแพ้การเลือกตั้งหาตัวแทนที่รัฐโอไฮโอ ดัฟฟี่ที่ทำให้เมเยอร์สจนตรอกและปฏิเสธข้อเสนอสุดท้ายของมอร์ริสพยายามปั้นหน้าให้ดูดีแม้ว่าจะรู้ชัดแล้วว่าคนที่เขาทำงานให้จะต้องแพ้
เมเยอร์สในตำแหน่งผู้จัดการรณรงค์หาเสียงอาวุโส กำลังเดินทางไปสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์กับจอห์น คิง เมื่อไอด้ามาหายังไม่ทันตั้งตัว และบอกว่าบทความต่อไปของเธอจะเกี่ยวกับเรื่องราวที่เมเยอร์สก้าวขึ้นมาถึงจุดนี้และมอบชัยชนะให้กับมอร์ริส เมเยอร์สตอบสนองด้วยการให้ รปภ. ห้ามเธอไม่ให้เข้ามาใกล้ ต่อมาเมื่อมอร์ริสกำลังกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยความสำคัญของความซื่อสัตย์และศักดิ์ศรี เมเยอร์สที่ถูกถามเพื่อขอความเห็น จึงเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
รายชื่อนักแสดงนำ
[แก้]- ไรอัน กอสลิง เป็น สตีเฟ่น เมเยอร์ส ผู้จัดการรณรงค์หาเสียงให้กับมอร์ริส[6]
- จอร์จ คลูนีย์ เป็น ไมค์ มอร์ริส ผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย และผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต[6]
- ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน เป็น พอล ซาร่า ผู้จัดการรณรงค์หาเสียงให้กับมอร์ริส และหัวหน้าของเมเยอร์ส[7]
- พอล จิอามัตติ เป็น ทอม ดัฟฟี่ ผู้จัดการรณรงค์หาเสียงให้กับเท็ด พูลแมน
- เอฟแวน เรเชล วู้ด เป็น มอลลี่ สเติร์นส์ เด็กฝึกงานในการรณรงค์หาเสียงของมอร์ริส และคู่รักของเมเยอร์ส[8]
- เมริซา โทเม เป็น ไอด้า โฮโรวิคซ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์[8]
- เจฟฟรีย์ ไรท์[7] เป็น วุฒิสมาชิกแห่งรัฐนอร์ธแคโรไลนา แฟรงกลิน ทอมสัน จากพรรคเดโมแครต
- เจนนิเฟอร์ อีลาย เป็น ซินดี้ มอร์ริส ภริยาของท่านผู้ว่าฯ มอร์ริส
- เกรกอรี่ อิทซิน เป็น อดีตวุฒิสมาชิกแจ๊ค สเติร์นส์ พ่อของมอลลี่ สเติร์นส์ และประธานคณะกรรมการแห่งชาติของพรรคเดโมแครต
- ไมเคิล แมนเทล เป็น เท็ด พูลแมน วุฒิสมาชิกแห่งรัฐอาร์คันซอ และคู่แข่งของมอรร์สในการแข่งขันเลือกตัวแทนพรรคเดโมแครต
- แม็กซ์ มิงเฮลลา เป็น เบ็น ฮาร์เพ็น[7] สมาชิกในคณะทำงานรณรงค์หาเสียงของมอร์ริส
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Ides of March (15)". E1 Films. British Board of Film Classification. 12 กันยายน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ Kaufman, Amy (6 ตุลาคม พ.ศ. 2554). "Movie Projector: 'Real Steel' to crush 'Ides of March'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "The Ides of March (2011)". Box Office Mojo. Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "The Ides of March". The-Numbers.com. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เรื่องย่อ The Ides of March". Kapook.com. Kapook.com. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม พ.ศ. 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 Fischer, Russ (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553). "Sony Picks up George Clooney's 'The Ides of March' For December 2011 Release". /Film. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-19. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 7.0 7.1 7.2 "The Ides of March (2011)". All Media Guide. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.0 8.1 McNary, Dave (27 ตุลาคม พ.ศ. 2553). "Clooney to direct Gosling in 'Ides of March'". Variety. Reed Business Information. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-19. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)