การเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี
แมฮ์ซอ แอมีนี | |
---|---|
مهسا امینی | |
เกิด | 21 กันยายน ค.ศ. 1999 แซกเกซ ประเทศอิหร่าน |
เสียชีวิต | 16 กันยายน ค.ศ. 2022 เตหะราน ประเทศอิหร่าน | (22 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | กะโหลกร้าวจากการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง[1][2][3] |
สุสาน | แซกเกซ ประเทศอิหร่าน |
ชื่ออื่น |
|
ในวันที่ 16 กันยายน 2022 สตรีชาวอิหร่านวัย 22 ปี ชื่อ แมฮ์ซอ แอมีนี (เปอร์เซีย: مهسا امینی; Mahsa Amini) หรือ ฌีนอ แอมีนี (เปอร์เซีย: ژینا امینی; เคิร์ด: ژینا ئەمینی; Jina Amini หรือ Zhina Amini)[4] เสียชีวิตในเตหะราน ประเทศอิหร่าน ภายใต้สภาวะที่น่าสงสัย เป็นไปได้ว่ามาจากการทารุณกรรมโดยตำรวจ[5][6]
แอมีนีถูกจับกุมโดยสายตรวจชี้นำซึ่งเป็นหน่วยปราบปรามด้านศีลธรรมของหน่วยบังคับใช้กฎหมายแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านที่มีหน้าที่ตรวจตราการสวมฮิญาบในประเทศอิหร่านให้เป็นไปตามมาตรฐานที่รัฐบาลอิหร่านกำหนด ตำรวจระบุว่าเธอเกิดหัวใจวายเฉียบพลันที่สถานีตำรวจ ล้มลงบนพื้น และเสียชีวิตหลังจากอยู่ในภาวะโคม่าได้สองวัน[7][8] อย่างไรก็ตาม ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่าเธอถูกทุบตีจนศีรษะของเธอชนเข้ากับรถตำรวจ แพทย์จำนวนหนึ่งเสนอว่าเธอเสียชีวิตจากการบาดเจ็บที่สมอง เมื่อสังเกตจากอาการของเธอในภาพถ่ายที่ปรากฏ ซึ่งแสดงให้เห็นเลือดออกทางตาและรอยฟกช้ำใต้ตา[9] และยังมีแฮ็กเกอร์ปล่อยของผลการสแกนสมองของเธอซึ่งแสดงให้เห็นรอยร้าวกระดูกกะโหลก, เลือดออก และการบวมน้ำของสมอง[1][10] นำไปสู่การลงความเห็นกันว่าเธอน่าจะเสียชีวิตจากเลือดออกในสมองและเส้นเลือดในสมองแตก[11]
การเสียชีวิตของแอมีนีนำไปสู่การประท้วงขนานใหญ่ทั่วประเทศและได้รับความสนใจจากนานาชาติรวมทั้งจากยูเอ็นเอชซีอาร์ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ความรุนแรงต่อสตรีภายใต้สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน[12][13][14][15] ผู้นำประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และบุคคลมีชื่อเสียงจำนวนมากได้ออกมาแสดงความเห็นต่อเหตุการณ์ ประณาม และวิจารณ์สายตรวจชี้นำของอิหร่านว่ามีการปฏิบัติต่อสตรีอย่างรุนแรง และแสดงจุดยืนร่วมกับผู้ประท้วง[16] กระทรวงการคลังสหรัฐประกาศคว่ำบาตรสายตรวจชี้นำและผู้บังคับบัญชาหน่วยงานความมั่นคงหลายหน่วยงานของอิหร่าน[17]
เพื่อเป็นการรับมือกับการประท้วง รัฐบาลอิหร่านได้พยายามสลายการชุมนุมประท้วงด้วยการใช้ปืนกระสุนยิงนกและลูกปืนโลหะ แก๊สน้ำตา และรถน้ำแรงดันสูง เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 36 คน ในวันที่ 23 กันยายน[18] นอกจากนี้ยังจำกัดการเข้าถึงแอปพลิเคชันจำนวนมาก เช่น อินสตาแกรมหรือวอตแซปส์ และยังจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อลดทอนความสามารถในการรวมกลุ่มและจัดการชุมนุมของผู้ประท้วง นี่อาจเป็นการตัดขาดอินเทอร์เน็ตครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงเมื่อปี 2019 ที่อินเทอร์เน็ตถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง[19]
การโจมตีผู้ชุมนุมได้นำไปสู่การที่ผู้ชุมนุมบุกทำลายสถานที่ราชการ, ฐานทัพของรัฐบาล, ศูนย์ศาสนา ยังมีการฉีกทำลายป้ายโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอเมริกา, โปสเตอร์และรูปปั้นของผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี และอดีตผู้นำสูงสุด รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Mahsa Amini's medical scans show skull fractures caused by 'severe trauma': Report". english.alarabiya.net. Al Arabiya. 19 September 2022. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
- ↑ Iran protests: Mahsa Amini's death puts morality police under spotlight, BBC News, 2022
- ↑ Iran’s protesters have had enough after Mahsa Amini’s death, Aljazeera, 2022
- ↑ "Zhina Amini goes into coma 2 hours after arrest" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 September 2022. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.
- ↑ "Iranian woman 'beaten' by police for 'improper hijab' dies after coma: State media". Al Arabiya. 16 September 2022. สืบค้นเมื่อ 16 September 2022.
- ↑ "IranWire Exclusive: Morality Patrol Beats a Woman into a Coma". iranwire.com. 15 September 2022. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.
- ↑ "Three killed in protests over Iranian woman Mahsa Amini's death in custody". cbc.ca. CBC.ca. 20 September 2022. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
- ↑ "Arrest by hijab police leaves woman comatose". al-monitor.com. Al-Monitor. 15 September 2022. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
- ↑ Iranian Medical Official Says Amini's Death Caused By Head Injury, Rejects Official Version, Radio Free Europe/Radio Liberty, 2022
- ↑ "Mahsa Amini's CT Scan Shows Skull Fractures Caused By Severe Blows". Iran International. 19 September 2022.
- ↑ Brase, Jörg (20 September 2022). "Irans Opposition hat vor allem eine Schwäche" [Above all, Iran's opposition has one weakness]. zdf.de (ภาษาเยอรมัน). ZDF. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
- ↑ "نماد زن ایرانی در حکومت جهل و جنون آخوندی!" [The symbol of Iranian women in the rule of ignorance and insanity of Akhundi!]. iran-tc.com. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
- ↑ "Mahsa Amini is Another Victim of the Islamic Republic's War on Women". iranhumanrights.org. 16 September 2022. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
- ↑ Falor, Sanskriti (21 September 2022). "Why death of 22-year-old Mahsa Amini sparked protests in Iran". indianexpress.com. Indian Express Limited. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
- ↑ "Mahsa Amini: Acting UN human rights chief urges impartial probe into death in Iran". OHCHR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-23.
- ↑ "Condemnations Follow Death Of Young Woman in Iranian Police Custody". Iran International. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.
- ↑ Gottbrath, Laurin-Whitney (2022-09-22). "U.S. sanctions Iran's morality police over death of woman in custody". Axios (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-22.
- ↑ "At least 36 killed as Iran protests over Mahsa Amini's death rage: NGO". Al Arabiya News. 23 September 2022.
- ↑ Bonifacic, I. (21 September 2022). "Iran restricts access to WhatsApp and Instagram in response to Mahsa Amini protests". engadget.com. Engadget. สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.