การแต่งงานโดยฉันทะ
การแต่งงานโดยฉันทะ (ภาษาอังกฤษ: Proxy marriage หรือ Proxy wedding) เป็นการแต่งงานโดยที่เจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวมิได้ปรากฏตัวในพิธีการแต่งงาน แต่ในพิธีจะให้ผู้มีอำนาจแทนทางกฎหมาย, ผู้แทน, ผู้รับฉันทะแสดงตัวเป็นตัวแทนผู้ที่ไม่สามารถปรากฏตัวได้ ถ้าทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวไม่สามารถปรากฏตัวได้ก็จะเรียกการแต่งงานว่าเป็นแบบ “การแต่งงานโดยฉันทะซ้อน” (Double-proxy Marriage)
ประวัติ
[แก้]การแต่งงานโดยฉันทะเป็นเรื่องที่ทำกันโดยปกติในบรรดาพระราชวงศ์หรือขุนนางในยุโรป ตัวอย่างที่สำคัญคือการแต่งงานระหว่างจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กับ มารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งปาร์มา (Marie Louise, Duchess of Parma), ระหว่างเจ้าชายอาร์เธอร์ (Arthur, Prince of Wales) พระเชษฐาของ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและเจ้าหญิงแคเธอรินแห่งอารากอน และระหว่าง พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1และเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส
ระหว่างต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1900 การแต่งงานโดยฉันทะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอันมากเช่นการแต่งงานของผู้ไปตั้งหลักแหล่งในสหรัฐอเมริกาจากญี่ปุ่นและเจ้าสาวที่ยังอยู่ในญี่ปุ่น ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 การแต่งงานโดยฉันทะมักจะใช้กันมากในบรรดาทหารผู้ออกไปประจำการไกลจากบ้านเมือง[1] เว็บไซต์หลายแห่งก็บริการทั้ง “การแต่งงานโดยฉันทะ” และ “การแต่งงานโดยฉันทะซ้อน” โดยมีค่าบริการแต่การแต่งงานเช่นนี้ก็สามารถทำได้โดยทนายความภายในบริเวณที่ให้บริการที่ว่า
ตัวอย่างที่แปลกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2003 เมื่อเอคาเทรินา ดมิทริเอฟแต่งงานโดยฉันทะที่รัฐเท็กซัสกับยูริ มาเล็นเช็นโค (Yuri Malenchenko) นักบินอวกาศผู้ขณะนั้นอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งเป็นการแต่งงานในอวกาศครั้งแรกในประวัติศาสตร์[2]
ความถูกต้องตามกฎหมาย
[แก้]สหรัฐอเมริกา
[แก้]การแต่งงานโดยฉันทะเป็นการแต่งงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายในทุกรัฐในสหรัฐอเมริกายกเว้นรัฐแคลิฟอร์เนีย, รัฐโคโลราโด, รัฐเท็กซัส และ รัฐมอนแทนา ในรัฐแคลิฟอร์เนียการแต่งงานโดยฉันทะเพิ่งถูกกฎหมายเมื่อปี ค.ศ. 2004 แต่เฉพาะผู้เป็นทหารที่ประจำการอยู่ในสถานที่ที่ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีแต่งงานได้ รัฐมอนแทนาเป็นรัฐเดียวที่อนุญาตการแต่งงานโดยฉันทะซ้อน[3] ไม่ทุกรัฐที่ยอมรับการแต่งงานโดยฉันทะในทุกกรณีแต่คดีความที่เกิดขึ้นเอนเอียงไปในการยอมรับว่าการแต่งงานโดยฉันทะเป็นการแต่งงานโดยพฤตินัย (Common law marriage) วิธีหนึ่ง[4]
ประเทศอื่นๆ
[แก้]ประเทศเม็กซิโกและประเทศปารากวัย บริการ “การแต่งงานโดยฉันทะ” โดยมีค่าบริการ การแต่งงานโดยฉันทะที่กงสุลปารากวัยในเทลอาวีฟยอมรับโดยกฎหมายของประเทศอิสราเอล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cafazzo, Debbie (2006-06-01). "ประวัติการใช้การแต่งงานโดยฉันทะ". Tacoma News Tribune.
- ↑ ""จากรัสเซียด้วยความรัก"". H Texas magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-01. สืบค้นเมื่อ 2007-03-27.
- ↑ คาฟาซโซ, เด็บบี (2006-06-01). "การแต่งงานโดยฉันทะทำให้ผู้ที่ถูกแยกกันเพราะสงครามสามารถแต่งงานกันได้". Tacoma News Tribune.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ชาวต่างประเทศ. การแต่งงานโดยฉันทะทำให้สตรีได้รับฐานะเป็น "ภรรยา"". Virginia Law Register: 516–520. November 1924.