กาเตรีนา กอร์นาโร
กาเตรีนา กอร์นาโร | |
---|---|
ซิญญอราแห่งอาโซโล | |
โดยโลเรนโซ ลอตโต ค.ศ. 1508 | |
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งไซปรัส | |
ครองราชย์ | 26 สิงหาคม ค.ศ. 1474 – 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1489 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าฌักที่ 3 แห่งไซปรัส |
สมเด็จพระราชินีแห่งไซปรัส | |
ดำรงพระยศ | พฤศจิกายน ค.ศ. 1472 – 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1473 |
ก่อนหน้า | เอเลนี ปาเลียวโลยีนา |
พระราชสมภพ | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1454 เวนิส สาธารณรัฐเวนิส |
สวรรคต | 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1510 เวนิส สาธารณรัฐเวนิส | (55 ปี)
ฝังพระศพ | โบสถ์ซันซัลวาดอร์ เวนิส |
พระราชสวามี | พระเจ้าฌักที่ 2 แห่งไซปรัส (ค.ศ. 1468–1473) |
พระราชบุตร | พระเจ้าฌักที่ 3 แห่งไซปรัส |
ราชวงศ์ | ปัวตีแยร์-ลูซีญ็อง (อภิเษกสมรส) |
พระราชบิดา | มาร์โก กอร์นาโร |
พระราชมารดา | ฟีโอเรนซา กริสโป |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
กาเตรีนา กอร์นาโร (อิตาลี: Caterina Cornaro, กรีก: Αικατερίνη Κορνάρο; 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1454 – 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1510) หรือ กาตารีนา กอร์แนร์ (เวนิส: Catarina Corner) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรไซปรัส พระองค์เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าฌักที่ 2 แห่งไซปรัส และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลพระเจ้าฌักที่ 3 แห่งไซปรัส ช่วง ค.ศ. 1473–1474 ก่อนเสวยราชสมบัติขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไซปรัส ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1474 ถึง 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1489
พระองค์ถูกประกาศเป็น "ธิดาของนักบุญมาระโก" จากการที่สาธารณรัฐเวนิสเข้ายึดครอบครองราชอาณาจักรไซปรัสหลังการสวรรคตของพระเจ้าฌักที่ 2 พระราชสวามี[1]
พระราชประวัติ
[แก้]พื้นเพเดิม
[แก้]กาเตรีนาเป็นธิดาของมาร์โก กอร์นาโร (Marco Cornaro; ธันวาคม 1406 – 1 สิงหาคม 1479) เป็นอัศวินแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และอภิชนชาวเวนิส กับฟีโอเรนซา กริสโป (Fiorenza Crispo) พระองค์มีพระเชษฐาคนหนึ่งชื่อจอร์โจ กอร์นาโร (Giorgio Cornaro; 1452 – 31 กรกฎาคม 1527) ซึ่งเป็นอัศวินและอภิชนเช่นบิดา[2]
มาร์โกพระราชชนกเป็นเหลนของมาร์โก กอร์นาโร (Marco Cornaro; 1286 – 13 มกราคม 1368) ดอเจแห่งเวนิสช่วงปี ค.ศ. 1365 ถึง 1368[3] มีบุคคลจากตระกูลกอร์นาโรเป็นดอเจถึงสี่คน พวกเขามีความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์กับไซปรัสมายาวนาน รวมทั้งมีกิจการโรงงานน้ำตาลในแถบเมืองเอพิสโคพีของเขตลีมาซอล และส่งออกผลิตภัณฑ์จากไซปรัสส่งขายยังเมืองเวนิส[4][5][6]
ส่วนฟีโอเรนซาพระราชชนนีเป็นธิดาของนีโกลัส กริสโป ลอร์ดแห่งไซรอส (Nicholas Crispo; 1392–1450) กับภรรยาคนหนึ่งซึ่งคาดว่าเป็นบุตรสาวของจาโกโป กัตตีลูซีโอ (Jacopo Gattilusio) เพราะสอดคล้องกับเอกสารที่ระบุตรงกันว่านิกโกเลาะ (Niccolò) เป็นลูกเขยของจาโกโปแห่งเลสบอส[7] ส่วนบันทึกของกาเตรีโน เซโนซึ่งบันทึกไว้ใน ค.ศ. 1474 บันทึกชื่อของภรรยาคนที่สองของกริสโปไว้ว่า ยูโดกีอา-วาเลนซาแห่งเทรบีซอนด์ (Eudokia-Valenza of Trebizond) พระราชธิดาในจักรพรรดิจอห์นที่ 4 แห่งเทรบีซอนด์ซึ่งประสูติแต่พระราชธิดาไม่ปรากฏพระนามของพระเจ้าอเล็กซันเดอร์ที่ 1 แห่งจอร์เจีย จากการศึกษาของมีแชล คูร์ซันสกิส (Michel Kuršanskis) พบว่า สตรีผู้นี้ไม่มีตัวตนจริง[8]
อภิเษกสมรส
[แก้]พระเจ้าฌักที่ 2 แห่งไซปรัส หรือเป็นที่รู้จักในพระนาม "ฌักพระราชบุตรนอกสมรส" (le bâtard) ชิงบัลลังก์จากพระราชินีนาถชาร์ล็อต พระขนิษฐาต่างพระชนนี แล้วสถาปนาตนเองเสวยราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งไซปรัสแทนที่เมื่อ ค.ศ. 1468 และในปีนั้นพระองค์ทรงเลือกกาเตรีนามาเป็นพระราชินีแห่งไซปรัส อันสร้างความพอใจแก่สาธารณรัฐเวนิสอย่างยิ่ง เพราะจะส่งผลดีเชิงพาณิชยกรรมและสิทธิพิเศษต่อกิจการของเวนิสในไซปรัส ทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกันเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1468 ณ เมืองเวนิส ซึ่งขณะนั้นกาเตรีนามีพระชนมายุเพียง 14 พรรษา หลังพระราชพิธีอภิเษกสมรส กาเตรีนาจึงเสด็จไปประทับ ณ ไซปรัสและจัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสอีกครั้งช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน ค.ศ. 1472 ที่เมืองฟามากุสตา[9]
เสวยราชย์
[แก้]หลังการอภิเษกสมรสหนที่สองได้ไม่นานนัก พระเจ้าฌักที่ 2 ก็ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1473 ในช่วงเวลานั้นพระราชินีกาเตรีนากำลังทรงพระครรภ์ ไม่ช้าจึงประสูติกาลพระราชโอรสคือพระเจ้าฌักที่ 3 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1473 ด้วยเหตุนี้พระราชินีกาเตรีนาจึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระเจ้าฌักที่ 3 ทว่าวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1474 พระเจ้าฌักที่ 3 เสด็จสวรรคตหลังการประชวร พระราชินีกาเตรีนาจึงเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมา มีข่าวลือว่าพระราชาพระองค์น้อยนี้น่าจะถูกพวกเวนิสหรือพรรคพวกของอดีตพระราชินีนาถชาร์ล็อตลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ[10]
อาณาจักรเสื่อมโทรมมายาวนานเพราะตกเป็นรัฐบรรณาการของมัมลูกตั้งแต่ ค.ศ. 1426 เป็นต้นมา ในรัชกาลของพระราชินีนาถกาเตรีนา เกาะไซปรัสถูกควบคุมโดยพ่อค้าชาวเวนิส และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1489 พระองค์ทรงถูกบีบบังคับให้สละราชสมบัติและขายระบบบริหารประเทศทั้งหมดแก่สาธารณรัฐเวนิส[11]
ในเอกสารของจอร์จ บูสโตรนีโอส (George Boustronios) บันทึกไว้ว่า "วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1489 สมเด็จพระราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคออกจากนิโคเซียไปเมืองฟามากุสตาเพื่อเสด็จออก [จากไซปรัส] และเมื่อพระองค์ขึ้นประทับบนหลังม้า ทรงฉลองพระองค์ผ้าไหมสีดำ รายล้อมไปด้วยเหล่านางในและอัศวินของพระองค์ [...] ในขบวนเสด็จ พระราชินีกันแสง ดวงพระเนตรปริ่มไปด้วยชลนาตลอดระยะเวลาเสด็จ ผู้คนที่เฝ้าแหนรับเสด็จล้วนเทวษร่ำไห้เช่นกัน"[12]
เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1489 รัฐบาลเวนิสโน้มน้าวให้พระราชินีกาเตรีนายกสิทธิเหนือบัลลังก์ไซปรัสแก่ดอเจแห่งเวนิสเพื่อขยายอำนาจ[13]
ปลายพระชนม์
[แก้]ราชอาณาจักรไซปรัสซึ่งเป็นรัฐนักรบครูเสดแห่งสุดท้ายได้ตกเป็นอาณานิคมของสาธารณรัฐเวนิส และเพื่อเป็นการชดเชย พระองค์ได้รับการสงวนพระอิสริยยศเป็นพระราชินีดังเดิม และได้รับการแต่งตั้งเป็น ซิญญอราแห่งอาโซโล (อิตาลี: Signora di Asolo, เวนิส: Siora de Àxoło) ในแถบแตร์ราแฟร์มาของสาธารณรัฐเวนิสเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1489[14] ณ เมืองอาโซโล เป็นเมืองอันมีชื่อเสียงด้านวรรณกรรมและศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะ โดยปีเอโตร เบมโบได้แต่ง กลีอาโซลานี (Gli Asolani) อันเป็นบทสนทนาเกี่ยวกับความรักที่เกิดขึ้นใกล้กับพระราชสำนักของพระราชินีนาถกาเตรีนา[15]
กาเตรีนา กอร์นาโรสวรรคตเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1510 ณ เมืองเวนิส[16]
พระราชานุสรณ์
[แก้]พระราชประวัติของพระองค์ถูกดัดแปลงเป็นบทละครอุปรากรโดยฌูลส์-อ็องรี แวร์นัว เดอ แซ็ง-ฌอร์ฌ ได้แก่เรื่อง คาทารีนา กอร์นาโร (Catharina Cornaro; 1841) กำกับโดยฟรันทซ์ ลัคเนอร์,[17] ลาเรนเดอชิปร์ (La reine de Chypre; 1841) กำกับโดยฟรอม็องตาล อาเลวี[18] และ กาเตรีนา กอร์นาโร (Caterina Cornaro; 1844) กำกับโดยกาเอตาโน โดนิซเซตตี[19]
มีพระสาทิสลักษณ์ของพระองค์หลายภาพถูกวาดโดยจิตรกรผู้มีชื่อเสียง ได้แก่ อัลเบร็ชท์ ดือเรอร์, ทิเชียน, เจนตีเล เบลลีนี และจอร์โจเน[20]
ในประเทศไซปรัสมีการก่อตั้งสถาบันกอร์นาโร (Cornaro Institute) ซึ่งเป็นสถาบันการกุศลที่เมืองลาร์นากา ก่อตั้งโดยศิลปินชื่อสตาส พาลัสโกส (Stass Paraskos) เพื่อส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม[21] แต่สถาบันดังกล่าวถูกปิดโดยเทศบาลลาร์นากาเมื่อ ค.ศ. 2017
เดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 กรมโบราณวัตถุของไซปรัส ประกาศว่าจะมีการบูรณะพระราชวังฤดูร้อนของกาเตรีนา กอร์นาโรในโปตาเมียซึ่งถูกทำลายบางส่วน คาดว่าต้องใช้งบฟื้นฟูราวหนึ่งล้านยูโร เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์วัฒนธรรม[22][23]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wills, Garry. Venice, Lion City (New York, Simon and Schuster, 2001), 136.
- ↑ Geneagraphie - Families all over the world
- ↑ แม่แบบ:MLCC
- ↑ McNeill, William H. (15 November 2009). "Venice: The Hinge of Europe, 1081-1797". University of Chicago Press – โดยทาง Google Books.
- ↑ Braudel, Fernand (14 March 1982). "Civilization and Capitalism, 15th-18th Century, Vol. II: The Wheels of Commerce". University of California Press – โดยทาง Google Books.
- ↑ Krondl, Michael (1 October 2011). "Sweet Invention: A History of Dessert". Chicago Review Press – โดยทาง Google Books.
- ↑ แม่แบบ:MLCC
- ↑ Kuršanskis, "La descendance d'Alexis IV, empereur de Trébizonde. Contribution à la prosopographie des Grands Comnènes", Revue des études byzantines, 37 (1979), pp. 239-247
- ↑ Sir Harry Luke, The Kingdom of Cyprus, 1369—1489 in K. M. Setton, H. W. Hazard (ed.) A History of the Crusades, The fourteenth and fifteenth centuries (1975), p.388
- ↑ Sir Harry Luke, The Kingdom of Cyprus, 1369—1489 in K. M. Setton, H. W. Hazard (ed.) A History of the Crusades, The fourteenth and fifteenth centuries (1975), p.389
- ↑ H. E. L. Mellersh; Neville Williams (May 1999). Chronology of world history. ABC-CLIO. p. 569. ISBN 978-1-57607-155-7. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011.
- ↑ Philippe Trélat, "Urbanization and urban identity in Nicosia 13th-16th. Centuries", in "Proceedings of the 10th Annual Meeting of Young Researchers in Cypriot Archaeology", Venice, 2010, p.152
- ↑ "CORNARO, CATERINA", "Women in the Middle Ages" Greendwoods Press 2004, p. 221
- ↑ The mainland territories of the Republic of Venice were referred to as the Terraferma in the Veneto dialect. Source:Logan, Oliver Culture and Society in Venice, 1470-1790; the Renaissance and its heritage, Batsford 1972
- ↑ Carol Kidwell (2004). Pietro Bembo: Lover, Linguist, Cardinal. McGill-Queen's University Press, p. 99
- ↑ Churchill, Lady Randolph Spencer; Davenport, Cyril James Humphries (1900). The Anglo-Saxon Review. John Lane. pp. 215–22. สืบค้นเมื่อ 13 March 2013.
- ↑ Lachner, Franz. Catarina Cornaro. Libretto. German (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Halévy, F.; Saint-Georges, Henri. La reine de Chypre; opéra en cinq actes. Paroles De Saint Georges. Paris Tallandier.
- ↑ Ashbrook, William. "Caterina Cornaro". Grove Music Online (ภาษาอังกฤษ). Oxford Music Online. doi:10.1093/gmo/9781561592630.article.o007589. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
- ↑ "Giorgione: Portrait of Caterina Cornaro, Queen of Cyprus". www.boglewood.com.
- ↑ "cornaroinstitute.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2018.
- ↑ Demetra Molyva, 'Palace of Cyprus’s last queen to be restored' in The Cyprus Weekly (Cyprus newspaper), 7 October 2011
- ↑ Di Cesnola, L. P. Cyprus: Its Ancient Cities, Tombs, and Temples, 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กาเตรีนา กอร์นาโร
ก่อนหน้า | กาเตรีนา กอร์นาโร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เอเลนี ปาเลียวโลยีนา | สมเด็จพระราชินีแห่งไซปรัส (1472–1473) |
สิ้นสุด | ||
พระเจ้าฌักที่ 3 | สมเด็จพระราชินีนาถแห่งไซปรัส (1474–1489) |
สิ้นสุด |