ข้ามไปเนื้อหา

ขนมปังแบน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขนมปังแบน
ขนมปังแบนแบบทำเองในบ้าน
ประเภทขนมปัง
ส่วนผสมหลักแป้ง น้ำ และเกลือ

ขนมปังแบน หรือ แฟลตเบรด (อังกฤษ: flatbread) เป็นขนมปังที่ทำจากแป้งประกอบอาหาร น้ำ (หรือของเหลวชนิดอื่นเช่นนมหรือโยเกิร์ต เป็นต้น) และเกลือ ผสมกันแล้วนวดให้เป็นแผ่นแบน ขนมปังแบนโดยส่วนใหญ่จะไม่ใส่ยีสต์หรือสารอื่นที่ทำให้ขึ้นฟู แต่ก็จะมีบางชนิดที่ทิ้งให้ขึ้นฟูเช่นพิซซ่าหรือพีตาเป็นต้น

ขนมปังแบนมีความหนาได้ตั้งแต่ไม่ถึงหนึ่งมิลลิเมตรไปจนถึงหลายเซนติเมตรเพื่อให้สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องหั่นเป็นแผ่น ขนมปังแบนสามารถทำให้สุกได้หลายวิธี เช่นอบในเตา ทอดในน้ำมัน ย่างบนถ่านร้อน หรือทอดบนกระทะแบน เป็นต้น และสามารถรับประทานได้ทันทีหลังอบหรือเก็บเอาไว้ใช้ภายหลังได้

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ขนมปังแบนเป็นอาหารแปรรูปที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง โดยพบหลักฐานการทำขนมปังแบนในแหล่งอารยธรรมเก่าแก่เช่นเมโสโปเตเมีย อียิปต์โบราณ และลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นต้น[1]

ใน ค.ศ. 2018 ได้มีการขุดพบร่องรอยเศษขนมปังในแหล่งขุดค้นของแหล่งวัฒนธรรมนาตูเฟียนชื่อว่า "ชูบัยเกาะฮ์ 1" ในพื้นที่ฮัรเราะตุชชาม ในเขตประเทศจอร์แดน ซึ่งมาจากประมาณ 12,400 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 4,000 ปีก่อนหลักฐานเกี่ยวกับเกษตรกรรมในพื้นที่ จากการวิเคราะห์พบว่าเศษขนมปังดังกล่าวน่าจะมาจากขนมปังแบนที่ทำจากข้าวบาร์เลย์ป่า ข้าวสาลีไอน์คอร์น ข้าวโอ๊ต และ Bolboschoenus glaucus ซึ่งเป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง[2][3]

กลุ่มชนในอานาโตเลียใช้เตาดินที่เรียกว่า tandir อบขนมปังแบนที่ไม่ใส่เชื้อฟูในสมัยจักรวรรดิเซลจุคและจักรวรรดิออตโตมัน และมีการค้นพบเตาดังกล่าวในแหล่งโบราณคดีทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง คำว่า tandir มาจากคำในภาษาแอกแคดว่า tinuru ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น tannur ในภาษาฮีบรูและภาษาอาหรับ tandır ในภาษาตุรกี และ tandur ในภาษาอูรดูและภาษาฮินดี ขนมปังแบบ tinuru ทำให้สุกโดยการแนบแผ่นขนมปังกับผนังด้านในของเตาทรงกระบอก ซึ่งขนมปังลักษณะดังกล่าวก็ยังคงพบในชนบทในบริเวณเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันตก[4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pasqualone, Antonella (March 2018). "Traditional flat breads spread from the Fertile Crescent: Production process and history of baking systems". Journal of Ethnic Foods. 5 (1): 10–19. doi:10.1016/j.jef.2018.02.002.
  2. Colin Barras (21 July 2018). "Stone Age bread predates farming". New Scientist. 239 (3187): 6. Bibcode:2018NewSc.239....6B. doi:10.1016/S0262-4079(18)31274-0.
  3. Amaia Arranz-Otaegui; และคณะ (16 July 2018). "Archaeobotanical evidence reveals the origins of bread 14,400 years ago in northeastern Jordan". PNAS. 115 (31): 7925–7930. doi:10.1073/pnas.1801071115. PMC 6077754. PMID 30012614.
  4. Parker, Bradley J. (2011). "Bread Ovens, Social Networks and Gendered Space: An Ethnoarchaeological Study of Tandir Ovens in Southeastern Anatolia". American Antiquity. 76 (4): 603–627. doi:10.7183/0002-7316.76.4.603. JSTOR 41331914. S2CID 163470937.
  5. Takaoğlu, T. (2004). Ethnoarchaeological investigations in rural Anatolia. Cihangir, İstanbul: Ege Yayınları. (p7)