ข้ามไปเนื้อหา

คนเก็บของป่าล่าสัตว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คนเก็บของป่าล่าสัตว์[1] (อังกฤษ: hunter-gatherer, forager) หมายถึงมนุษย์ในสังคมที่ได้อาหารส่วนมากหรือทั้งหมด จากการเก็บพืชในป่าหรือล่าสัตว์ป่า เปรียบเทียบกับสังคมเกษตร ที่โดยหลักพึ่งพืชสัตว์พันธุ์ที่ปรับนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร การหากินวิธีนี้เป็นการปรับตัวแบบแรกและที่ยืนยงที่สุดของคน โดยเป็นวิธีหากินในร้อยละ 90 ของประวัติศาสตร์มนุษย์[2] แต่ว่าหลังจากการเกิดขึ้นของสังคมเกษตรกรรมโดยมากในโลก สังคมเกษตรและสังคมเลี้ยงสัตว์ก็ได้แทนที่หรือพิชิตสังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์ โดยมีกลุ่มที่จัดเป็นคนเก็บของป่าล่าสัตว์เหลือเพียงไม่กี่สังคมในปัจจุบัน และหลายกลุ่มจริง ๆ ก็มีการปลูกพืชสวนและเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้วย

หลักฐานทางโบราณคดี

[แก้]

ในคริสต์ทศวรรษ 1950 มีนักโบราณคดีทรงอิทธิพลชาวอเมริกันท่านหนึ่งที่เสนอว่า มนุษย์ในยุคต้น ๆ ความจริงบริโภคซากสัตว์เป็นอาหาร ไม่ใช่ได้เนื้อโดยการล่า[3] คือมนุษย์ในต้นยุคหินเก่าได้อาศัยอยู่ในป่าโปร่ง จึงสามารถเก็บอาหารทะเล ไข่ ถั่ว และผลไม้ บวกกับการบริโภคซากสัตว์ได้ ตามทฤษฎีนี้ แทนที่จะฆ่าสัตว์ใหญ่ มนุษย์ได้เนื้อจากสัตว์ที่ถูกฆ่าโดยสัตว์ล่าเหยื่ออื่นหรือที่ตายด้วยเหตุธรรมชาติ[4] และข้อมูลทางโบราณคดีและพันธุกรรมก็แสดงนัยว่า กลุ่มบรรพบุรุษมนุษย์ปัจจุบันที่เป็นคนเก็บของป่าล่าสัตว์ในยุคหินเก่ามีชีวิตอยู่ในป่าโปร่ง และแพร่กระจายไปในเขตที่อุดมสมบูรณ์อื่น ๆ โดยหลีกเลี่ยงป่าทึบ[5]

ตามสมมติฐานวิ่งทน (endurance running hypothesis) การวิ่งระยะไกล ๆ เพื่อตามล่าสัตว์ ซึ่งยังเป็นวิธีที่คนเก็บของป่าล่าสัตว์ในปัจจุบันยังใช้อยู่ น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนวิวัฒนาการของลักษณะมนุษย์บางอย่าง ซึ่งเป็นสมมติฐานที่ไม่ได้ขัดแย้งกับสมมติฐานบริโภคซากสัตว์ กลยุทธ์การดำรงชีวิตทั้งสองอาจจะได้ใช้ ไม่ว่าจะสืบต่อกัน สลับกัน หรือแม้แต่พร้อม ๆ กัน การเก็บของป่าล่าสัตว์เชื่อว่าเป็นกลยุทธ์พอดำรงชีวิตที่ใช้ในสังคมมนุษย์เริ่มตั้งแต่ 1.8 ล้านปีก่อน โดยมนุษย์พันธุ์ Homo erectus และเริ่มตั้งแต่ 200,000 ปีก่อนโดยมนุษย์พันธุ์ปัจจุบันคือ Homo sapiens เป็นวิธีการพอดำรงชีวิตอย่างเดียวจนกระทั่งที่สุดของยุคหินกลางประมาณ 10,000 ปีก่อน ซึ่งหลังจากนี้สังคมเกษตรกรรมจึงค่อย ๆ แพร่กระจายออกไปทั่วโลก คือ เริ่มตั้งแต่ระหว่างยุคหินเก่าตอนกลางและตอนปลายประมาณ 70,000–80,000 ปีก่อน สังคมกลุ่มต่าง ๆ ก็เริ่มจะมีความชำนาญพิเศษในการล่าสัตว์ที่ใหญ่กว่าแต่เป็นจำนวนพันธุ์ที่น้อยกว่า และเก็บพืชผลเป็นจำนวนพันธุ์ที่น้อยกว่าด้วย ซึ่งมีผลให้สร้างอุปกรณ์เฉพาะงาน เช่น อวนปลา เบ็ดปลา ฉมวกที่ทำด้วยกระดูก[6] ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ยุคหินใหม่ต่อมา เป็นการพัฒนาเทคนิคทางเกษตรกรรมเบื้องต้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สังคมเกษตรกรรมจึงเกิดขึ้นและกระจายไปจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ รวมทั้งในตะวันออกกลาง เอเชีย เมโสอเมริกา และเทือกเขาแอนดีส ซึ่งอาจเริ่มตั้งแต่ 12,000 ปีก่อน

นอกจากนั้นแล้ว การทำสวนป่า (forest gardening) ก็เป็นระบบผลิตอาหารที่ใช้ในที่ต่าง ๆ ของโลกยุคนี้ด้วย โดยมีกำเนิดก่อนประวัติศาสตร์ตามริมฝั่งแม่น้ำที่มีป่าไม้ปกคลุม และตามเนินตีนเขาในเขตมรสุม[ต้องการอ้างอิง] คือ เมื่อชนหมู่ต่าง ๆ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวอย่างต่อเนื่อง ก็มีการระบุ การป้องกัน และการปรับปรุงทั้งไม้และไม้เถา และการกำจัดพืชที่ไม่ต้องการ จนกระทั่งในที่สุด ก็จะรวมเอาพืชนอกพื้นที่ที่ดีกว่าเข้าไปในสวนด้วย[7]

แม้ว่ากลุ่มชนมากมายจะธำรงการดำรงชีวิตแบบคนเก็บของป่าล่าสัตว์ แต่จำนวนก็ได้ลดลงมาเรื่อย ๆ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของชุมชนเกษตรและเลี้ยงสัตว์ กลุ่มเหล่านี้โดยมากอาศัยอยู่ในเขตประเทศกำลังพัฒนา โดยถ้าไม่อยู่ในเขตแห้งแล้งก็อยู่ในป่าเขตร้อน แต่ว่า การตั้งถิ่นฐานของชุมชนเกษตรก็ได้ลุกล้ำที่อยู่อาศัยของชนเหล่านี้เข้าไปเรื่อย ๆ โดยเป็นผลจากการแข่งขันเพื่อใช้พื้นที่เช่นนี้ สังคมเก็บของป่าล่าสัตว์จึงต้องยอมรับเกษตรกรรมหรือต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น นอกจากนั้นแล้ว ศ. จาเร็ด ไดมอนด์ยังโทษการมีน้อยลงของอาหารป่า โดยเฉพาะสัตว์ป่า ยกตัวอย่างเช่น ในทวีปอเมริกา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่โดยมากได้สูญพันธ์ไปแล้วโดยที่สุดของสมัยไพลสโตซีน เพราะการล่าสัตว์มากเกินของมนุษย์[8] แม้ว่าสมมติฐานเกี่ยวกับการล่าสัตว์มากเกินไปของเขา จะเป็นเรื่องที่นักวิชาการบางท่านไม่เห็นด้วย[โดยใคร?]

เมื่อสังคมเกษตรทั้งขยายจำนวนและขยายขนาด ก็จะลุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่กลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์เคยใช้สอย และกระบวนการขยายขนาดที่ขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม ก็นำไปสู่การพัฒนาระบบการปกครองในศูนย์กลางการเกษตร เช่น เขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์, อินเดียโบราณ, จีนโบราณ, อารยธรรมโอลเม็กในเม็กซิโก, แอฟริกาใต้สะฮารา, และอารยธรรมนอร์เตชิโกในเปรู ผลก็คือ มนุษย์เกือบทั้งหมดปัจจุบันต้องพึ่งการเกษตร โดยมีวัฒนธรรมคนเก็บของป่าล่าสัตว์เหลือไม่กี่ชุมชนที่ปกติจะอาศัยอยู่ในเขตที่ไม่เหมาะจะทำเกษตร

นักโบราณคดีได้ใช้หลักฐานเช่นเครื่องมือหินในการติดตามชีวิตของมนุษย์คนเก็บของป่าล่าสัตว์ รวมทั้งการอพยพไปในที่ต่าง ๆ[9]

ลักษณะทั่วไป

[แก้]
ชายชาวแซนจากประเทศนามิเบีย คนแซนปัจจุบันยังใช้ชีวิตแบบคนเก็บของป่าล่าสัตว์อยู่

ที่อยู่และประชากร

[แก้]

คนเก็บของป่าล่าสัตว์โดยมากเป็นชนร่อนเร่หรือกึ่งร่อนเร่ และจะอยู่ในที่อยู่ชั่วคราว ชุมชนที่ย้ายไปเรื่อย ๆ มักจะสร้างที่อยู่โดยใช้วัสดุที่ไม่ถาวร หรืออาจจะใช้ที่กำบังตามธรรมชาติที่มีอยู่ แต่ก็มีวัฒนธรรมคนเก็บของป่าล่าสัตว์บางแห่ง เช่นที่พบในคนพื้นเมืองเดิมของชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐ (Pacific Northwest) ที่อยู่ในเขตอุดมสมบูรณ์จนกระทั่งว่าสามารถอยู่กับที่หรือกึ่งอยู่กับที่ได้

โครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจ

[แก้]

คนเก็บของป่าล่าสัตว์มักจะมีสังคมที่สมาชิกมีฐานะเท่าเทียมกัน แม้ว่า กลุ่มที่อยู่เป็นที่ (เช่นที่ชายฝั่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐ) จะเป็นข้อยกเว้น กลุ่มในแอฟริกาเกือบทั้งหมดมีฐานะเท่าเทียมกัน แม้แต่หญิงก็ยังมีอิทธิพลและมีอำนาจพอ ๆ กับชาย[10]

แม้ว่าความเท่าเทียมกันที่พบในกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์จะไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจจากมุมมองทางวิวัฒนาการ สัตว์ที่เป็นญาติใกล้ชิดที่สุดของมนุษย์ในกลุ่มลิงใหญ่ คือลิงชิมแปนซี เป็นสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยแบ่งสังคมเป็นชั้น ๆ ที่มีลิงตัวผู้เป็นหัวหน้า (คือลิงอัลฟา) ซึ่งต่างจากกลุ่มมนุษย์คนเก็บของป่าล่าสัตว์มากจนกระทั่งมีนักบรรพมานุษยวิทยาที่อ้างว่า การไม่ยอมใครเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนวิวัฒนาการทางพิชาน ภาษา ระบบญาติพี่น้อง และการจัดกลุ่มทางสังคม ในหมู่มนุษย์[11][12]-[13] นักมานุษยวิทยาดำรงว่า คนเก็บของป่าล่าสัตว์จะไม่มีผู้นำถาวร แต่ใครเป็นผู้นำจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่กำลังจะทำ[14][15][16] นอกจากจะมีความเท่าเทียมกันทางสังคมและเศรษฐกิจแล้ว บ่อยครั้งก็ยังมีความเท่าเทียมกันทางเพศด้วย แม้ว่าจะไม่เสมอไป[14]

คนเก็บของป่าล่าสัตว์บ่อยครั้งรวมกลุ่มโดยความเป็นญาติ (เป็นแบบ kinship หรือ band)[17] ชายมักจะอยู่กับครอบครัวของฝ่ายหญิงหลังจากการแต่งงาน อย่างน้อยก็ในเบื้องต้น[18] แม่อายุน้อยจะได้แม่ของตนเป็นผู้ช่วยเลี้ยงลูก โดยจะอยู่ใกล้ ๆ กัน[19] ระบบญาติและการสืบตระกูลในกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์มีความแตกต่างกัน แม้ว่าจะมีหลักฐานว่า มนุษย์ยุคต้น ๆ มักจะสืบตระกูลทางสายมารดา[20]

โครงสร้างทางสังคมและการแบ่งงานทางเพศของคนเก็บของป่าล่าสัตว์ไม่เหมือนกับสังคมเกษตร ในสังคมนี้ หญิงเป็นผู้เก็บพืชผล และชายมุ่งล่าสัตว์ใหญ่โดยมาก แต่นี่ไม่ปรากฏว่าเป็นการกดขี่ผู้หญิง โดยให้อำนาจเพียงแค่เป็นแม่บ้าน คือ ตามผู้ที่ได้สังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศในสังคมเช่นนี้ หญิงจะไม่เข้าใจแนวคิดว่าตนถูกกดขี่เพราะทำงานไม่เหมือนชาย เพราะว่า การเลี้ยงดูเด็กเป็นงานส่วนรวม ที่ทารกทุกคนจะมีแม่และชายที่ช่วยดูแลหลายคน ดังนั้น หน้าที่ในบ้านจึงไม่ได้ทำอย่างจำกัด[ต้องการอ้างอิง] ในสังคมเช่นนี้ทุกแห่ง หญิงล้วนแต่ยินดีที่จะได้เนื้อที่ชายหามาให้ ดังที่กล่าวไว้อย่างละเอียดในหนังสือเกี่ยวกับคนเผ่า Ju|'hoan ในแอฟริกาใต้[21]

นอกจากนั้นแล้ว งานโบราณคดีเมื่อราว ค.ศ. 2006 แสดงนัยว่า การแบ่งงานทางเพศเช่นนี้เป็นนวัตกรรมการจัดระเบียบสังคมขั้นพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์พันธุ์ Homo sapiens ได้เปรียบมนุษย์พันธุ์ Neanderthal ทำให้บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบันสามารถอพยพไปจากแอฟริกาแล้วกระจายไปทั่วโลก[22] จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ สังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์โดยมากก็ยังแบ่งงานระหว่างเพศแม้จะเพียงทำเป็นแค่พิธีเท่านั้น[23]

แต่ก็ยังจริงอยู่ว่าในบางสังคม หญิงก็จะล่าสัตว์พวกเดียวกันเหมือนกับชาย และบางครั้งทำด้วยกัน ตัวอย่างที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือชนเผ่าไอตา (Aeta) ในประเทศฟิลิปปินส์ คือ ตามงานศึกษาหนึ่ง "ประมาณร้อยละ 85 ของหญิงไอตาในฟิลิปปินส์ล่าสัตว์ เป็นการล่าสัตว์พวกเดียวกันเหมือนกับชายด้วย โดยล่าเป็นกลุ่มมีสุนัขช่วย และประสบความสำเร็จในอัตราร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับชายที่ร้อยละ 17 อัตราความสำเร็จจะสูงขึ้นถ้าร่วมมือกับชาย กลุ่มล่าสัตว์รวมเพศมีอัตราความสำเร็จที่ร้อยละ 41 ในบรรดาชนไอตา"[15] ส่วนคนเผ่า Ju|'hoansi ในประเทศนามิเบีย หญิงจะช่วยชายสะกดรอยสัตว์[24] ส่วนหญิงเผ่า Martu ในประเทศออสเตรเลียล่าสัตว์เล็ก ๆ เช่นกิ้งก่า เป็นหลักเพื่อเลี้ยงลูกและเพื่อธำรงความสัมพันธ์กับหญิงอื่น ๆ[25]

ภาพลายแกะคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของค่ายพักคนพื้นเมืองออสเตรเลีย

ในงานประชุม ค.ศ. 1966 นักมานุษยวิทยาทรงอิทธิพลชาวอเมริกันและแคนาดาคู่หนึ่ง (Richard Borshay Lee และ Irven DeVore) เสนอว่า สมภาคนิยม (egalitarianism) เป็นลักษณะหลักอย่างหนึ่งของสังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์ที่อยู่ไม่ประจำที่ เพราะว่า การเคลื่อนย้ายบังคับให้มีวัตถุสิ่งของน้อยที่สุดในทั้งชุมชน ดังนั้น จึงไม่มีใครมีสมบัติมากกว่าคนอื่น ๆ ลักษณะอย่างอื่นที่นักวิชาการคู่นี้เสนอก็คือ อาณาเขตและความต่าง ๆ กันทางประชากรของเผ่า (demographic composition) ที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ

ในงานประชุมเดียวกัน นักโบราณคดีผู้หนึ่งเสนอประเด็นเรื่อง "สังคมที่มั่งมีดั้งเดิม" (original affluent society) ที่เขาคัดค้านทัศนคตินิยมว่า คนเก็บของป่าล่าสัตว์ใช้ชีวิตอย่าง "โดดเดี่ยว ยากจน ยากลำบาก โหดร้ายทารุณ และมีชีวิตสั้น" ดังที่โทมัส ฮอบส์ได้เสนอใน ค.ศ. 1651 ตามนักวิชาการท่านนี้ หลักฐานทางชาติพันธุ์วรรณนาแสดงว่า คนเก็บของป่าล่าสัตว์ทำงานน้อยกว่า และมีเวลาว่างมากกว่าสมาชิกในสังคมอุตสาหกรรม ทั้ง ๆ ที่ก็กินดีด้วย ส่วนคำว่า "มั่งมี" มาจากไอเดียว่า คนเหล่านั้นพอใจในวัตถุสิ่งของน้อยนิดที่ตนมี[26] ต่อมาใน ค.ศ. 1996 นักวิชาการอีกท่านหนึ่งทำงานวิเคราะห์อภิมาน 2 งานเพื่อพิสูจน์แนวคิดนี้ งานแรกตรวจสอบงานศึกษาเกี่ยวกับการใช้เวลาของสังคมชนิดนี้ และงานที่สองวิเคราะห์การใช้แรงงานของสังคม แล้วพบว่า ผู้ใหญ่ในสังคมที่เที่ยวหาอาหารและปลูกพืชสวนทำงานโดยเฉลี่ยประมาณ 6.5 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่คนในสังคมเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมทำงานโดยเฉลี่ย 8.8 ชั่วโมงต่อวัน[27] และงานวิจัย ค.ศ. 2007 ก็แสดงด้วยว่า อายุขัยโดยเฉลี่ยของคนกลุ่มนี้สูงกว่าที่คาดไว้[28]

การแลกเปลี่ยนและแบ่งสิ่งที่หาได้ (เช่นเนื้อจากการล่าสัตว์เป็นต้น) เป็นระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของสังคมเช่นนี้[17]

ความต่าง ๆ

[แก้]

สังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์มีความต่าง ๆ กันอย่างสำคัญ ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในพื้นที่ เทคโนโลยีที่มี และโครงสร้างทางสังคม นักโบราณคดีจะตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือของชนเผ่าต่าง ๆ เพื่อวัดความแตกต่างกัน งานศึกษาใน ค.ศ. 2005 พบว่า อุณหภูมิเป็นปัจจัยอย่างเดียวที่มีผลสำคัญทางสถิติต่ออุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้[29] โดยใช้อุณหภูมิเป็นตัวแทนความเสี่ยง งานนี้แสดงนัยว่า สิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญพอที่จะมีอุปกรณ์ที่ต่าง ๆ กันเพิ่ม ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีที่เสนอใน ค.ศ. 1989 ว่า ความเสี่ยงต่อความล้มเหลวเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะกำหนดโครงสร้างของอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้[30]

วิธีการหนึ่งในการจัดหมวดหมู่ของสังคมชนิดนี้ก็คือโดยระบบผลตอบแทน มีนักวิชาที่จัดหมวดหมู่เป็น "ผลตอบแทนทันที" (immediate return) สำหรับสังคมที่มีฐานะเท่าเทียมกัน และ "ผลตอบแทนทีหลัง" (delayed return) สำหรับสังคมที่มีฐานะไม่เท่าเทียมกัน คือ ผู้เที่ยวหาอาหารแบบมีผลตอบแทนทันที จะบริโภคอาหารภายในวันหนึ่งหรือสองวันที่ได้มา ส่วนพวกผลตอบแทนทีหลัง จะเก็บอาหารที่เหลือไว้[31]: 31 

แม้ว่าการเก็บของป่าล่าสัตว์จะเป็นวิธีการพอดำรงชีพของมนุษย์ทั่วยุคหินเก่า ถึงกระนั้น สังเกตการณ์ในกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์ในปัจจุบันอาจจะไม่สะท้อนถึงสังคมในยุคหินเก่าจริง ๆ เพราะว่า สังคมเช่นนี้ที่ตรวจสอบในสมัยปัจจุบัน มีการติดต่อกับอารยธรรมอื่น ๆ และไม่ได้อยู่ในสถานะที่ "บริสุทธิ์" โดยขาดการติดต่อกับโลกปัจจุบัน[32]

การเปลี่ยนรูปแบบจากสังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์ไปเป็นสังคมเกษตรกรรม ไม่ใช่เป็นได้แค่ทางเดียว คือมีการอ้างว่า การเก็บของป่าล่าสัตว์เป็นกลยุทธ์การปรับตัว ซึ่งอาจจะใช้เมื่อจำเป็น เช่นเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทำให้อาหารขาดแคลนในสังคมเกษตร[33] และจริง ๆ แล้ว เป็นเรื่องยากที่จะแบ่งสังคมเกษตรและสังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์ออกจากกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะมีการยอมรับสังคมเกษตรกรรมและวัฒนธรรมที่ควบคู่กัน ที่กระจายไปอย่างกว้างขวางภายใน 10,000 ปีที่ผ่านมา[ต้องการอ้างอิง] และมุมมองทางมานุษยวิทยาเช่นนี้ก็ยังไม่เปลี่ยนตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960[โปรดขยายความ][ต้องการอ้างอิง]

มุมมองปัจจุบันและปรับปรุงใหม่

[แก้]
ค่ายพักของชนพื้นเมืองเผ่าโชโชนี (Shoshone) ในรัฐไวโอมิง ค.ศ. 1870

ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 มีกลุ่มนักมานุษยวิทยาและโบราณคดีกลุ่มเล็ก ๆ แต่พูดจาเปิดเผยกลุ่มหนึ่ง ที่พยายามแสดงว่า กลุ่มที่จัดว่าเป็นคนเก็บของป่าล่าสัตว์ในปัจจุบัน โดยมากไม่ได้มีประวัติการเป็นคนเก็บของป่าล่าสัตว์อย่างสืบเนื่อง คือมีหลายกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเป็นเกษตรกรหรือคนเลี้ยงสัตว์[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเข้าไปอยู่ในเขตที่เพาะปลูกไม่ได้หรือเกือบไม่ได้โดยเป็นผลของการอพยพ การถูกฉวยผลประโยชน์ หรือจากความรุนแรง ความพยายามเหล่านี้มีอิทธิพลให้ยอมรับโดยทั่วไปว่า กลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์ได้มีอันตรสัมพันธ์กับกลุ่มอื่น ๆ เป็นพัน ๆ ปีแล้ว[ต้องการอ้างอิง]

นักวิชาการที่เสนอแนวคิดแบบ "ปรับปรุง" เช่นนี้แสดงนัยว่า เพราะว่า กลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์แท้ ๆ ได้หายไปจากโลกหลังจากการล่าอาณานิคม (หรือแม้ตั้งแต่การเกิดเกษตรกรรม) ไม่เท่าไร ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์ก่อนประวัติศาสตร์จากกลุ่มที่มีในปัจจุบัน[34]: 24–29 [35] แต่ก็มีนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วย[36][37][38] โดยอ้างว่า เราสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์ก่อนประวัติศาสตร์ โดยศึกษากลุ่มปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องความเท่าเทียมกันทางสังคมที่น่าทึ่งใจ[39] มีคนเก็บของป่าล่าสัตว์เป็นจำนวนมากที่บริหารพื้นที่รอบ ๆ ตัว โดยกำจัดหรือเผาพืชที่ไม่ต้องการและช่วยสนับสนุนพันธุ์ที่ต้องการ โดยบางพวกทำอย่างนี้ก็เพื่อสร้างที่อยู่ให้กับสัตว์ที่ล่า แม้ว่า การทำเช่นนี้จะต่างระดับเทียบกับที่ทำในสังคมเกษตร แต่ว่า นี้ก็เป็นการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์โดยระดับหนึ่ง ทุกวันนี้ กลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์เกือบทั้งหมด ต้องอาศัยแหล่งอาหารที่ปลูกหรือเลี้ยงเองเป็นบางส่วน โดยทำเองแม้ไม่ได้ทำทั้งวัน หรือแลกมาด้วยสิ่งที่หาได้จากป่า

นอกจากนั้นแล้ว เกษตรกรบางพวกก็ล่าสัตว์และเก็บพืชผลเป็นปกติด้วย (เช่น ทำเกษตรนอกฤดูหนาว และล่าสัตว์ในฤดูหนาวที่มีน้ำค้างแข็ง) และก็มีคนล่าสัตว์ในประเทศพัฒนาแล้วด้วย โดยเป็นกิจกรรมเวลาว่าง

คนพื้นเมืองออสเตรเลีย 3 คนในเกาะแบเทิสต์ในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ค.ศ. 1939 ตามนักวิชาการท่านหนึ่ง เกาะนี้มีประชากรที่ไม่ได้ติดต่อกับโลกภายนอกเป็นเวลา 6,000 ปีจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และใน ค.ศ. 1929 ประชากรประมาณ 3 ใน 4 เลี้ยงตัวเองโดยการล่าสัตว์-เก็บพืชผล (bushfood)[40]

ปัจจุบัน ก็ยังมีกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์ที่แม้ว่าจะได้ติดต่อกับสังคมวัฒนธรรมอื่น ๆ ก็ยังธำรงวิถีชีวิตของตนโดยปราศจากอิทธิพลจากสังคมภายนอก กลุ่มหนึ่งก็คือคน Pila Nguru (หรือคน Spinifex) ของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียที่อยู่ในทะเลทรายเกรตวิกตอเรียซึ่งเป็นที่ไม่เหมาะกับทั้งเกษตรกรรมแบบยุโรปหรือการเลี้ยงสัตว์[ต้องการอ้างอิง] อีกกลุ่มหนึ่งก็คือชาวเกาะเซนทิเนลเหนือที่หมู่เกาะอันดามันซึ่งยังดำรงชีวิตของตนอย่างอิสระ โดยปฏิเสธที่จะติดต่อกับผู้อื่น[ต้องการอ้างอิง]

ทวีปอเมริกา

[แก้]

หลักฐานแสดงนัยว่า มนุษย์นักล่าสัตว์ใหญ่ได้ข้ามช่องแคบเบริงจากเอเชียเข้าไปในอเมริกาเหนือ ผ่านสะพานแผ่นดินที่มีระหว่าง 47,000–14,000 ปีก่อน[41] และเมื่อประมาณ 18,500–15,500 ปีก่อน กลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์เหล่านี้เชื่อว่าได้ตามล่าฝูงสัตว์ใหญ่ (megafauna) ในสมัยไพลสโตซีน ตามช่องทางปราศจากน้ำแข็งระหว่างพืดน้ำแข็ง Laurentide และ Cordilleran[42] หรืออีกทางที่มีการเสนอก็คือ ไม่ว่าจะเดินหรือว่าใช้เรือแบบง่าย ๆ มนุษย์เหล่านี้ได้อพยพตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงอเมริกาใต้[43][44]

กลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์ในที่สุดก็เจริญรุ่งเรืองไปทั่วทวีปอเมริกา โดยหลักอยู่ที่เขตเกรตเพลนส์ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และมีกิ่งก้านสาขาแตกไปถึงคาบสมุทรกัสเป ทางชายฝั่งตะวันออกของแคนาดา และไปทางใต้จนถึงประเทศชิลี[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากกระจายไปทั่วในเขตอันกว้างไกล จึงมีวิถีชีวิตแตกต่างกันตามเขต แต่ว่า ทุกกลุ่มได้ผลิตเครื่องมือหินในแนวเดียวกัน ระบุได้โดยรูปแบบการเคาะหิน (knapping) และลำดับการทำเครื่องมือ เป็นแบบการทำเครื่องมือที่พบไปทั่วทวีปอเมริกา เป็นเครื่องมือที่ใช้โดยคนเก็บของป่าล่าสัตว์ที่อยู่รวมเป็นกลุ่ม ๆ ประมาณ 25–50 คนที่เป็นญาติสายเลือดกัน[45]

แต่ต่อมาระหว่าง 8,000–2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช สิ่งแวดล้อมก็ได้เปลี่ยนไปเป็นภูมิอากาศที่อุ่นขึ้นแห้งขึ้น และมีการสูญพันธุ์ของสัตว์ใหญ่พันธุ์สุดท้าย[46] ประชากรโดยมากในทวีปนี้ในเวลานี้ก็ยังเป็นกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์ที่ย้ายที่ไปเรื่อย ๆ ถึงกระนั้นแต่ละกลุ่มก็เริ่มที่จะให้ความสนใจกับทรัพยากรที่มีอยู่รอบ ๆ ตัว และดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไปจึงมีรูปแบบประเพณีเฉพาะ ๆ ตัวดังที่พบในกลุ่ม Southwest, Arctic (Paleo-Arctic), Poverty Point, Dalton และ Plano การปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่จึงกลายเป็นเรื่องสามัญ โดยอาศัยการเก็บของป่าล่าสัตว์น้อยลง แต่อาศัยสัตว์เล็ก ปลา ผักป่าตามฤดู และพืชที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น[47][48]

ชนเนกริโตในประเทศฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1595

ดูเพิ่ม

[แก้]

กลุ่มคนและสังคม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 172.
  2. Lee, Richard B.; Daly, Richard Heywood (1999). Cambridge Encyclopedia of Hunters and Gatherers. Cambridge University Press. p. inside front cover. ISBN 9780521609197.
  3. Binford, Louis (1986). "Human ancestors: Changing views of their behavior". Journal of Anthropological Archaeology. 3: 235–57.
  4. Attenborough, David; Collins, Mark (1990). The Last Rain Forests: A World Conservation Atlas (1st ed.). Oxford University Press. ISBN 978-0195208368.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Gavashelishvili, A.; Tarkhnishvili, D. (2016). "Biomes and human distribution during the last ice age". Global Ecology and Biogeography. doi:10.1111/geb.12437.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Fagan, B (1992). People of the Earth: an introduction to work prehistory (7th ed.). HarperCollins Publishers. pp. 169–81. ISBN 9780673521675.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. The forest-garden farms of Kandy, Sri Lanka, p. 1, ที่กูเกิล หนังสือ
  8. Diamond, Jared (1998). Guns, Germs and Steel. London: Vintage. ISBN 0-09-930278-0.
  9. Blades, B (2003). "End scraper reduction and hunter-gatherer mobility". American Antiquity. 68: 141–156. doi:10.2307/3557037.
  10. Endicott, Karen (1999). Gender relations in hunter-gatherer societies. The Cambridge Encyclopedia of Hunters and Gatherers. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 411–8. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Erdal, D.; Whiten, A. (1994). "On human egalitarianism: an evolutionary product of Machiavellian status escalation?". Current Anthropology. 35 (2): 175–183. doi:10.1086/204255.
  12. Erdal, D; Whiten, A (1996). Egalitarianism and Machiavellian intelligence in human evolution. Modelling the early human mind. Cambridge: McDonald Institute Monographs. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. Boehm, Christopher (2001). Hierarchy in the Forest: The Evolution of Egalitarian Behavior. Cambridge, MA: Harvard University Pres.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. 14.0 14.1 Gowdy, John M. (1998). Limited Wants, Unlimited Means: A Reader on Hunter-Gatherer Economics and the Environment. St Louis: Island Press. p. 342. ISBN 1-55963-555-X.
  15. 15.0 15.1 Dahlberg, Frances (1975). Woman the Gatherer. London: Yale University Press. p. 120. ISBN 0-300-02989-6.
  16. Erdal, D; Whiten, A (1996). Egalitarianism and Machiavellian Intelligence in Human Evolution. Modelling the Early Human Mind. Cambridge MacDonald Monograph Series. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 Kiefer, Thomas M (Spring 2002). "Anthropology E-20". Lecture 8 Subsistence, Ecology and Food production. Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2008. สืบค้นเมื่อ 11 March 2008.
  18. Marlowe, Frank W. (2004). "Marital residence among foragers". Current Anthropology. 45 (2): 277–284. doi:10.1086/382256.
  19. Hawkes, K.; O'Connell, J. F.; Jones, N. G. Blurton; Alvarez, H. P.; Charnov, E. L. (1998). "Grandmothering, Menopause, and the Evolution of Human Life-Histories". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 95: 1336–9. doi:10.1073/pnas.95.3.1336. PMC 18762. PMID 9448332.
  20. Knight, C (2008). Early human kinship was matrilineal. Early Human Kinship. Oxford: Blackwell. pp. 61–82. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  21. Biesele, M (1993). Women Like Meat. The folklore and foraging ideology of the Kalahari Ju/'hoan. Witwatersrand: University Press.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  22. Lovgren, Stefan (7 December 2006). "Sex-Based Roles Gave Modern Humans an Edge, Study Says". National Geographic News.
  23. Testart, A. Essai sur les fondements de la division sexuelle du travail chez les chasseurs-cueilleurs. Paris: Éditions de l'École des Hautes Études en Sciences Sociales.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  24. Biesele, Megan; Barclay, Steve (March 2001). "Ju/'Hoan Women's Tracking Knowledge And Its Contribution To Their Husbands' Hunting Success". African Study Monographs. Suppl.26: 67–84.
  25. Bird, Rebecca Bliege; Bird, Douglas W. (1 August 2008). "Why women hunt: risk and contemporary foraging in a Western Desert aboriginal community". Current Anthropology. 49 (4): 655–693. doi:10.1086/587700. ISSN 0011-3204. PMID 19230267.
  26. Sahlins, M (1968). Notes on the Original Affluent Society. Man the Hunter. New York: Aldine Publishing Company. pp. 85–89. ISBN 0-202-33032-X. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) ดูด้วย:
  27. Sackett, R (1996). Time, energy, and the indolent savage. A quantitative cross-cultural test of the primitive affluence hypothesis (Ph.D.). University of California, Los Angles.{{cite thesis}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. Guenevere, Michael; Kaplan, Hillard (2007). "Longevity amongst Hunter-gatherers" (PDF). Population and Development Review. 33 (2): 319. doi:10.1111/j.1728-4457.2007.00171.x.
  29. Collard, Mark; Kemery, Michael; Banks, Samantha (2005). "Causes of Toolkit Variation Among Hunter-Gatherers: A Test of Four Competing Hypotheses". Canadian Journal of Archaeology (29): 1–19.
  30. Torrence, Robin (1989). "Retooling: Towards a behavioral theory of stone tools". ใน Torrence, Robin (บ.ก.). Time, Energy and Stone Tools. Cambridge University Press. pp. 57–66. ISBN 9780521253505.
  31. Kelly, Robert L. (1995). The Foraging Spectrum: Diversity in Hunter-Gatherer Life ways. Washington: Smithsonian Institution. ISBN 1-56098-465-1.
  32. Portera, Claire C.; Marlowe, Frank W. (January 2007). "How marginal are forager habitats?" (PDF). Journal of Archaeological Science. 34 (1): 59–68. doi:10.1016/j.jas.2006.03.014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 February 2008. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  33. The Cambridge Encyclopedia of Hunters and Gatherers. Cambridge University Press. 1999. ISBN 0-521-60919-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  34. Kelly, Raymond (October 2005). "The evolution of lethal intergroup violence". PNAS. 102 (43): 15294–8. doi:10.1073/pnas.0505955102. PMC 1266108. PMID 16129826.
  35. Wilmsen, Edwin (1989). Land Filled With Flies: A Political Economy of the Kalahari. University of Chicago Press. ISBN 0-226-90015-0.
  36. Lee, Richard B.; Guenther, Mathias (1995). "Errors Corrected or Compounded? A Reply to Wilmsen". Current Anthropology. 36: 298–305. doi:10.1086/204361.
  37. Lee, Richard B. (1992). "Art, Science, or Politics? The Crisis in Hunter-Gatherer Studies". American Anthropologist. 94: 31–54. doi:10.1525/aa.1992.94.1.02a00030.
  38. Marlowe, Frank W. (2002). Ethnicity, Hunter-Gatherers and the 'Other'. Smithsonian Institution Press. p. 247.
  39. Shultziner, Doron (2010). "The causes and scope of political egalitarianism during the Last Glacial: A multi-disciplinary perspective". Biology and Philosophy. 25: 319–346. doi:10.1007/s10539-010-9196-4.
  40. Peterson, Nicolas; Taylor, John (1998). "Demographic transition in a hunter-gatherer population: the Tiwi case, 1929-1996". Australian Aboriginal Studies. Australian Institute of Aboriginal and Torres Strait Islander Studies. 1998.
  41. 2015%5d%5d%5b%5bหมวดหมู่:บทความที่เรียกใช้แม่แบบโดยใส่วันที่ไม่ถูกต้อง%5d%5d[%5b%5bวิกิพีเดีย:ลิงก์เสีย|ลิงก์เสีย%5d%5d] "Atlas of the Human Journey-The Genographic Project". National Geographic Society. 1996–2008. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)CS1 maint: date format (ลิงก์)
  42. "The peopling of the Americas: Genetic ancestry influences health". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 17 November 2009.
  43. "Alternate Migration Corridors for Early Man in North America". American Antiquity. 1. 44: 2. January 1979. JSTOR 279189.
  44. Eshleman, Jason A.; Malhi, Ripan S.; Smith, David Glenn (2003). "Mitochondrial DNA Studies of Native Americans: Conceptions and Misconceptions of the Population Prehistory of the Americas" (pdf). Evolutionary Anthropology. University of Illinois at Urbana-Champaign. 12: 7–18. doi:10.1002/evan.10048. สืบค้นเมื่อ 17 November 2009.
  45. Broster, John (2002). "Paleoindians in Tennessee". Tennessee Department of Environment and Conservation. Tennessee Historical Society. Online Edition provided by:The University of Tennessee Press. สืบค้นเมื่อ 21 November 2009.
  46. "Blame North America Megafauna Extinction On Climate Change, Not Human Ancestors". ScienceDaily. 2001. สืบค้นเมื่อ 10 April 2010.
  47. Fiedel, Stuart J. (1992). Prehistory of the Americas. Cambridge University Press. p. 151. ISBN 978-0-521-42544-5. สืบค้นเมื่อ 18 November 2009.
  48. Salomon, Frank; Schwartz, Stuart B (28 December 1999). The Cambridge History of the Native Peoples of the Americas. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-63075-7. สืบค้นเมื่อ 17 November 2009.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

เว็บไซต์

[แก้]