ข้ามไปเนื้อหา

ความถูกต้องทางการเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความถูกต้องทางการเมือง (อังกฤษ: political correctness หรือใช้อักษรย่อว่า “PC”) คือคำที่ใช้สำหรับภาษา, ความคิดเห็น, นโยบาย และ พฤติกรรมที่เป็นการหลีกเลี่ยงการดูหมิ่นหรือการสร้างความรู้สึกขุ่นเคืองแก่เพศ, ผิว, วัฒนธรรม, เพศภาพ (Gender identity), วิถีทางเพศ (Sexual orientation), ผู้พิการ และ สิ่งที่เกี่ยวกับผู้มีอายุขัยรวมไปถึงรสนิยม การใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะใช้ไปในเชิงเสียดสี (pejorative) ที่สื่อความคิดของ “การยอมรับ” และ “การไม่ยอมรับ”[1][2] ขณะที่คำว่า “ความไม่ถูกต้องทางการเมือง” (อังกฤษ: politically incorrect) เป็นคำที่ใช้สำหรับการบรรยายตนเองในทางบวก ตัวอย่างเช่น “คู่มือความไม่ถูกต้องทางการเมือง” ของฝ่ายอนุรักษนิยม[3] และรายการโทรทัศน์ “ความไม่ถูกต้องทางการเมือง” ฉะนั้นความไม่ถูกต้องทางการเมืองจึงหมายถึงการใช้ภาษา, การออกความคิดเห็น, การออกนโยบาย และ พฤติกรรมทีไม่ถูกจำกัดอยูในกรอบของความเป็นอนุรักษนิยม และกรอบของความกังวลที่ว่าสิ่งที่พูดที่กระทำจะสร้างความรู้สึกขุ่นเคืองหรือความหมางใจให้แก่ผู้อื่น

ประวัติ

[แก้]

การใช้ในสมัยแรก

[แก้]

การใช้ในสหรัฐอเมริกา

[แก้]

หลักฐานแรกของวลี “ไม่ถูกต้องทางการเมือง” (อังกฤษ: not politically correct) พบในคำตัดสินในกรณี “คดีชิสซอล์ม และ จอร์เจีย” โดยศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1793) ที่กล่าวว่าประโยคของคำตัดสินไม่ถูกต้องตามตัวอักษร ที่เข้าใจกันในสหรัฐในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ว่า “รัฐ, แทนที่จะเป็นประชาชน, ผู้ที่เป็นผู้ก่อให้รัฐเกิดขึ้นได้, มักจะเป็นเป้าที่ดึงดูด และ เรียกความสนใจ. . . .ความรู้สึกเช่นนั้นและการแสดงออกของความไม่ถูกต้องยังคงตกค้างอยู่ในภาษาโดยทั่วไป แม้ในโอกาสอันรื่นรมณ์ เช่นการดื่มอวยพรเป็นการถามหรือ? [แด่] ‘สหรัฐอเมริกา’, แทนที่จะเป็น [แด่] ‘ประชาชนแห่งสหรัฐอเมริกา’ จะเป็นการอวยพรที่เป็นคำตอบ ซึ่งเป็นความไม่ถูกต้องทางการเมือง”[4]

การใช้ในสหราชอาณาจักร

[แก้]

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอาร์โนลด์ เบ็นเนทท์แห่งกระทรวงข้อมูลแห่งสหราชอาณาจักรใช้คำว่า “ถูกต้องทางการเมือง” (อังกฤษ: politically correct) ในการกล่าวถึง “ความเหมาะสม”[5]

การใช้โดยลัทธิมาร์กซ–ลัทธิเลนิน

[แก้]

ในศัพท์ของลัทธิมาร์กซ–ลัทธิเลนิน และ ลัทธิทรอทสกี คำว่า “ถูกต้อง” (อังกฤษ: correct) เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปที่หมายถึง “ความเหมาะสมตามนโยบายของพรรค” และ ตรงตามปรัชญาของพรรค[6] ซึ่งก็ตรงกับการประกาศของเหมา เจ๋อตงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเกี่ยวกับความ “ถูกต้อง” ในการดำเนินการเกี่ยวกับ “ข้อขัดแย้งที่มิได้สร้างความเป็นปรปักษ์” (อังกฤษ: non-antagonistic contradictions)[1][7][8][9] ศาสตราจารย์ของวิชาวรรณกรรมรูธ เพอร์รีแห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์สืบคำกล่าวของเหมา เจ๋อตงไปถึง “Little Red Book” (ค.ศ. 1964)[ต้องการอ้างอิง]

การใช้โดยฝ่ายซ้าย

[แก้]

ในคริสต์ทศวรรษ 1960 ฝ่ายซ้ายจัดเริ่มนำวลีนี้มาใช้ โดยเริ่มการใช้ตามความหมายตามตัวอักษร แต่ต่อมาใช้ในเชิงประชดประชันในการวิจารณ์ตนเองเกี่ยวกับการยึดมั่นในทัศนคติทางหลักการอย่างฝังหัว (dogmatic attitudes) เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1970 ผู้สนับสนุนฝ่ายซ้ายใหม่ก็เริ่มใช้คำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” (อังกฤษ: political correctness)[1] ในบทความ “สตรีผิวดำ” โดยนักประพันธ์และนักต่อสู้เพื่อสังคมโทนี คาเด บามบารากล่าวว่า: “ผู้ชายไม่สามารถที่จะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่ “ถูกต้องทางการเมือง” และเป็นชายหลงตัวหลงอำนาจ (Male chauvinism) ไปด้วยในขณะเดียวกัน” ต่อมาฝ่ายซ้ายใหม่ก็ใช้วลี “ความถูกต้องทางการเมือง” ในการวิจารณ์ตนเองเชิงเสียดสี เช่นในกรณีของเดบรา ชุลทซ์ผู้กล่าวว่า: “ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 ฝ่ายซ้ายใหม่, ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี และผู้มีหัวก้าวหน้า. . .ใช้คำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” ในเชิงเหยียดในการป้องกันแนวคิดเชิงอนุรักษนิยมของตนเองต่อความพยายามในการเปลี่ยนแปลงสังคม”[1][2][10] นอกจากนั้นนักเขียนเอลเลน วิลลิสก็ยังกล่าวว่า: “ . . . เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีใช้คำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” ในการกล่าวอย่างเสียดสีถึงความพยายามของขบวนการต่อต้านการอนาจาร (Anti-pornography movement) ในการให้ความหมายของคำว่า “เพศสภาพของสตรี” (feminist sexuality)[11]

การใช้ในปัจจุบัน

[แก้]

การใช้วลี “ความถูกต้องทางการเมือง” และวลีที่คล้ายคลึงกันอย่างกว้างขวางเริ่มขึ้นเมื่อเริ่มใช้ในเชิงเหยียดโดยนักการเมืองฝ่ายขวาในคริสต์ทศวรรษ 1990 ในบริบทของสงครามวัฒนธรรม ริชาร์ด เบิร์นสไตน์ในเดอะนิวยอร์กไทมส์ในปี ค.ศ. 1990[12] ตั้งข้อสังเกตว่า “คำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” ในเชิงอนุรักษนิยมของลัทธิสตาลินมักจะใช้ในเชิงเหน็บแนมและไม่เห็นด้วยมากกว่าที่จะเป็นเชิงชื่นชม แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” จะได้ยินกันบ่อยขึ้นในบริบทของการโต้เถียงกันว่าสิ่งใดควรสอนหรือสิ่งใดไม่ควรสอนในมหาวิทยาลัย” เบิร์นสไตน์กล่าวถึงการประชุมของ Western Humanities Conference ที่เบิร์คลีย์ในหัวเรื่อง “ความถูกต้องทางการเมือง” และ “วัฒนธรรมศึกษา” ที่วิจัย “ผลที่เกิดขึ้นจากความกดดันในการพยายามที่จะทำตามความนิยมร่วมสมัยที่เป็นที่ยอมรับต่อทุนการเรียน” และกล่าวถึง “ผู้ปฏิบัติตามความถูกต้องทางการเมือง” (อังกฤษ: politically correct people หรือ pcp) แต่เป็นคำที่ไม่ได้รับความนิยมจนเป็นที่ใช้โดยทั่วไป

ภายในสองสามปีวลีที่เดิมไม่ไคร่เป็นที่รู้จักกันเท่าใดนักก็เริ่มนำมาใช้กันอย่างสม่ำเสมอในความหมายในการท้าทายความอนุรักษนิยมทางการเมืองและสังคมในการต่อต้านการขยายตัวของวิธีการสอนแบบก้าวหน้า (progressive teaching method) ในโรงเรียนมัธยมในสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัย[13] ในปี ค.ศ. 1991 ประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุชกล่าวปาฐกถาต่อนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนต่อต้าน “ . . . ขบวนการ[ที่จะ]ประกาศว่าหัวเรื่องบางเรื่องเป็นหัวเรื่องที่อยู่ ‘นอกข่าย’ (off-limits), หรือคำพูดบางคำว่าอยู่ ‘นอกข่าย’, หรือแม้แต่ท่าทางบางอย่างว่าเป็นสิ่ง ‘นอกข่าย’” ที่เป็นนัยยะถึงผู้ปฏิบัติตามความถูกต้องทางการเมืองผู้เป็นเสรีนิยม[14] การใช้วลีที่ทำกันเสมอที่สุดคือการใช้ในเชิงเหยียดว่าเป็นการพยายามหลีกเลี่ยงความกระทบกระเทือนต่อผู้หนึ่งผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดกันอย่างพร่ำเพรื่อ เหนือวิจารณญาณอื่นใด

การใช้วลีนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องชาติพันธุ์และเพศ ที่รวมทั้งภาษาที่ใช้และทัศนคติที่มีต่อหัวข้อที่กล่าวถึง ผู้สนับสนุนทัศนคติที่ว่าชนผิดดำโดยทั่วไปมีสติปัญญาด้อยกว่าชนผิวขาว หรือ สตรีมีสติปัญญาด้อยกว่าชายกล่าวว่าการวิจารณ์ทัศนคติดังกล่าวมีสาเหตุมาจากความถูกต้องทางการเมือง[15]

ตัวอย่างของภาษาที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นภาษาที่ “ถูกต้องทางการเมือง” ก็ได้แก่:[16]

  • “แอฟริกันอเมริกัน” ที่ใช้แทนคำว่า “คนดำ”, “นีโกร” และอื่นๆ
  • ชนพื้นเมืองในอเมริกัน” แทนคำว่า “อินเดียน” หรือ “อินเดียนแดง”
  • คำที่ไม่ระบุเพศ (Gender-neutral) เช่นคำว่า “firefighter” (นักดับเพลิง) แทนคำว่า “fireman”
  • คำที่เกี่ยวกับคนพิการเช่น “visually challenged” (ผู้พิการทางตา) แทนคำว่า “blind” (คนตาบอด)
  • “Holiday” (วันเทศกาล) ที่ใช้แทนคำว่า “คริสต์มาส” เช่นการอวยพรในโอกาสใกล้ปีใหม่ก็อาจจะใช้คำว่า “Happy Holidays” ซึ่งเป็นการอวยพรแบบกลางๆ เพื่อเป็นการแสดงความเข้าใจว่าชาวต่างประเทศทุกคนมิได้นับถือคริสต์ศาสนา

โดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะนโยบายใดหรือข้ออ้างใดที่เป็นปฏิปักษ์ต่อฝ่ายขวาเช่นการอ้างว่าปรากฏการณ์โลกร้อนเป็นปัญหาวิกฤติที่ต้องมีการออกนโยบายตอบโต้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นพฤติกรรมที่มีแรงบันดาลใจมาจาก “ความถูกต้องทางการเมือง”[16]

ความเกินเลยของความถูกต้องทางการเมือง

[แก้]

ในสหราชอาณาจักร “ความเกินเลยของความถูกต้องทางการเมือง” เป็นสำนวนติดปากที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยหนังสือพิมพ์อนุรักษนิยมเดลลีเมล การตีความหมายตามตัวอักษรก็อาจจะหมายความว่าสำนวนติดปากที่ใช้เพื่อ “ความถูกต้องทางการเมือง” ทำกันอย่างพร่ำเพรื่อเกินเลยกว่าที่ควรจะเป็น แต่ตามความเป็นจริงแล้ววลีนี้เป็นวลีที่ส่วนใหญ่จะใช้ในเชิงเหยียด และสำนวนติดปากที่ใช้ก็จะเกี่ยวกับเรื่องราว (ที่ส่วนใหญ่เป็นเกร็ดเรื่อง) ที่เป็นตัวอย่างของการใช้ “ความถูกต้องทางการเมือง” อย่างเกินกว่าเหตุ[3]

การใช้โดยสากล

[แก้]

การใช้ “ความถูกต้องทางการเมือง” เป็นที่นิยมกันในสแกนดิเนเวีย (“politiskt korrekt” ย่อว่า “PK”), ในโปรตุเกส, สเปน และ ลาตินอเมริกา (สเปน: políticamente correcto, โปรตุเกส: politicamente correcto), ฝรั่งเศส (politiquement correct), เยอรมนี (politisch korrekt), โปแลนด์ (poprawność polityczna), สโลวีเนีย (politično korekten), เนเธอร์แลนด์ และ ฟลานเดอร์ส (politiek correct), อิตาลี (politicamente corretto), รัสเซีย (политкорректность) และ นิวซีแลนด์,[17]

คำอธิบาย

[แก้]

ในบริบทของวัฒนธรรมลัทธิมาร์กซ

[แก้]

ผู้วิจารณ์อนุรักษนิยมฝ่ายขวา และ ฝ่ายอิสรเสรีนิยมอ้างว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” เป็นปรัชญาลัทธิมาร์กซที่กัดกร่องคุณค่าของวัฒนธรรมตะวันตก[18] ปีเตอร์ ฮิทเคนส์เขียนใน “การยุบเลิกบริเตน” (อังกฤษ: The Abolition of Britain) ว่า: “วลีที่ชาวอเมริกันใช้กันตามสบาย. . .“ความถูกต้องทางการเมือง” คือระบบความคิดที่แคบที่มามีอิทธิพลเป็นอันมากที่สุดในเกาะอังกฤษตั้งแต่ การปฏิรูปศาสนา” วิลเลียม เอส. ลินด์ และ แพ็ททริค บุคานันบรรยาย “ความถูกต้องทางการเมือง” ว่าเป็นเท็คนิคที่เริ่มขึ้นโดยตระกูลความคิดฟรังเฟิร์ตที่มีวัตถุประสงค์ในการบ่อนทำลายคุณค่าของวัฒนธรรมตะวันตกโดยการมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสมัยนิยมโดยวัฒนธรรมมลัทธิมาร์กซ.[19][20] แพ็ททริค บุคานันกล่าวในหนังสือ “การสิ้นสุดของโลกตะวันตก” (อังกฤษ: The Death of the West) ว่า: “ความถูกต้องทางการเมืองคือวัฒนธรรมมลัทธิมาร์กซ ของสถาบันการปกครองที่ลงโทษผู้ทรยศต่อหลักการและประทับตราผู้ไม่เห็นด้วยว่าเป็นผู้นอกระบบสังคม เช่นเดียวกับการลงโทษผู้นอกศาสนาคริสต์โดยผู้ไต่สวนศรัทธา สิ่งที่เด่นของความคิดที่ว่านี้คือการไม่ยอมรับความคิดนอกระบบ”[21]

ในบริบทของภาษาศาสตร์

[แก้]

ในการพยายามเลือกคำที่ใช้ให้ “ถูกต้องทางการเมือง” เอ็ดนา แอนดรูว์ส์กล่าวว่าการใช้ภาษาที่เป็น “คำรวม” (inclusive) และ “คำกลาง” (neutral) มีรากฐานมาจากปรัชญาที่ว่า “ภาษาคือสิ่งที่แทนความคิด และอาจจะถึงกับควบคุมความคิด”[22] ข้ออ้างนี้มาจากสมมุติฐานซาเพียร์–วอร์ฟ (Sapir–Whorf hypothesis) ที่กล่าวว่ากลุ่มไวยากรณ์ของภาษามีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรม แต่แอนดรูว์ส์กล่าวว่าความเข้าใจเพียงเล็กน้อยของความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและความคิดก็เพียงพอที่จะสนับสนุน “การกำจัดระดับอย่างมีเหตุผล. . . [ของ]ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมโดยการเปลี่ยนแปลงทางภาษาศาสตร์”[23]

งานทางด้านจิตวิทยาเชิงการรู้ (cognitive psychology) และ ภาษาศาสตร์เชิงการรู้ (cognitive linguistics) ชี้ให้เห็นว่าการเลือกคำมีอิทธิพลต่อการสร้างรูปแบบของสัญชาน, ความทรงจำ และทัศนคติของทั้งผู้พูดและผู้ฟัง[24][25] ฉะนั้นคำถามจึงอยู่ที่ว่าภาษาที่ไม่มีเพศจะสามารถสร้างความลำเอียงทางต่อทัศนคติเกี่ยวกับเพศ (sexism) ได้หรือไม่--ทัศนคติหรือพฤติกรรมทางลบ

ผู้สนับสนุนภาษาเอกเพศ (Gender-neutral language) โต้ว่าการใช้ภาษาดังว่าเป็นการใช้ภาษาที่ไม่สร้างอันตรายจากเหตุผลหลายประการ:

  1. สิทธิ, โอกาส และเสรีภาพของบุคคลบางคนได้รับการจำกัดลงเพราะผู้นั้นถูกลดลงมาเป็นสามัญทัศน์
  2. สามัญทัศน์ส่วนใหญ่เป็นนัย, เกิดจากจิตใต้สำนึก และ ได้รับการส่งเสริมจากการใช้ตราหรือคำเชิงเหยียด
  3. การใช้ตราหรือคำที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมทำให้บุคคลนั้นต้องหาวิธีที่จะบรรยายผู้ที่ไม่เหมือนตนเอง
  4. เมื่อการใช้ตราทำด้วยความจงใจ ผู้ที่ได้รับการบรรยายก็จะได้รับการบรรยายอย่างแจ่มแจ้ง แทนที่จะเป็นสามัญทัศน์ของผู้นั้น

ผู้วิจารณ์ความคิดดังว่านี้และภาษาเอกเพศโดยทั่วไปก็มักจะใช้คำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง”[4].

ข้อติที่พบโดยทั่วไปเกิดขึ้นเมื่องคำที่เลือกใช้โดยกลุ่มว่าเป็นคำที่เหมาะแก่กลุ่ม และกลายมาเป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วไปรวมทั้งการใช้โดยผู้เหยียดผิวเหยียดเพศ ฉะนั้นคำใหม่จึงกลายเป็นคำที่หมดความหมาย ซึ่งทำให้ต้องคิดหาคำใหม่ขึ้นมาแทนที่ เช่นในกรณีของการวิวัฒนาการจากคำว่า “นีโกร” มาเป็น “คนผิวสี” มาเป็น “คนดำ” มาเป็น “แอฟริกันอเมริกัน”

ในบริบทของการเมือง

[แก้]

นักวิจารณ์การเมืองฝ่ายซ้ายอ้างว่าหลังจาก ค.ศ. 1980 นักอนุรักษนิยมอเมริกันฝ่ายขวานิยามคำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” ขึ้นมาใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดของการเมืองอเมริกันในรูปของสงครามวัฒนธรรม ฮัททันรายงานว่า:

ความถูกต้องทางการเมืองเป็นอุปกรณ์วิเศษที่ชาวอเมริกันฝ่ายขวาพัฒนาขึ้นมาราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำลายความเป็นเสรีนิยมอเมริกัน. . . .สิ่งที่ฝ่ายขวามองเห็นชัดอย่างรวดเร็วคือถ้าทำการประกาศสงครามต่อการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรมของเสรีนิยม — โดยการใช้ “ความถูกต้องทางการเมือง” ในการต่อต้านแล้ว — ฝ่ายขวาก็จะสร้างความเสื่อมเสียให้แก่โครงการทางการเมืองได้ทั้งหมด[26]

นอกจากนั้นแล้วนักวิจารณ์การเมืองยังอ้างว่าอันที่จริงแล้วสหรัฐไม่เคยมี “ขบวนการเพื่อความถูกต้องทางการเมือง และกล่าวว่าผู้ใช้วลีนี้ทำเพื่อหันเหความสนใจจากประเด็นสำคัญในการถกเถียงในเรื่องที่เกี่ยวกับการเหยียดผิว, ชั้นวรรณะ และเพศ และการปฏิบัติทางกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน”[27] ในทำนองเดียวกันพอลลี ทอยน์บีโต้ว่า “วลีดังกล่าวเป็นวลีของฝ่ายขวาที่ปราศจากความหมายที่ใช้เพื่อป้ายสีผู้อื่น เพื่อทำให้ภาพพจน์ของตนเองดีขึ้น”[28]

ทอยน์บีกล่าวว่า:

วลี “ความถูกต้องทางการเมือง” เกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นรหัสที่หมายถึงผู้ที่ยังคงต้องการใช้คำว่า “Paki”[29], “spastic”[30] หรือ “queer”[31] หรือทุกคนที่ต้องการที่จะเหยียดหยามผู้ที่ไม่เหมือนตน หรือ ผู้ชอบข่มเหงผู้อื่นผู้ที่ไม่ยอมโต สังคมของ “ความถูกต้องทางการเมือง” เป็นสังคมที่มีวัฒนธรรม แม้ว่าเราจะต้องหลิ่วตากับการหากลวิธีต่างๆ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นไม่หมางใจ[32]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Ruth Perry, (1992), “A short history of the term ‘politically correct’ ”, in Beyond PC: Toward a Politics of Understanding , by Patricia Aufderheide, 1992
  2. 2.0 2.1 Schultz, Debra L. (1993). To Reclaim a Legacy of Diversity: Analyzing the “Political Correctness” Debates in Higher Education. New York: National Council for Research on Women. [1]
  3. "Regnery". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-09. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28.
  4. Chisholm v State of GA, 2 US 419 (1793) Findlaw.com - Accessed 6 February 2007. “The states, rather than the People, for whose sakes the States exist, are frequently the objects which attract and arrest our principal attention. . . . Sentiments and expressions of this inaccurate kind prevail in our common, even in our convivial, language. Is a toast asked? ‘The United States’, instead of the ‘People of the United States’, is the toast given. This is not politically correct.”
  5. Flower, Newmas (2006). The Journals of Arnold Bennett. READ BOOKS,. ISBN 9781406710472.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  6. "Marxism and Form". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-23. สืบค้นเมื่อ 2007-08-26.
  7. Chang-tu Hu, International Review of Education / Internationale Zeitschrift für Erziehungswissenschaft / Revue Internationale de l'Education, Vol. 10, No. 1. (1964), pp.12–21.
  8. Susan Biele Alitto, Comparative Education Review, Vol. 13, No. 1. (Feb. 1969), pp.43–59.
  9. "On the Correct Handling of Contradictions Among the People - Britannica Online Encyclopedia". Britannica.com. 1957-02-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  10. Schultz citing Perry (1992) p.16
  11. Ellen Willis, “Toward a Feminist Revolution”, in No More Nice Girls: Countercultural Essays (1992) Wesleyan University Press, ISBN 0-8195-5250-X, p.19.
  12. "IDEAS & TRENDS; The Rising Hegemony of the Politically Correct - The New York Times".
  13. D’Souza 1991; Berman 1992; Schultz 1993; Messer Davidow 1993, 1994; Scatamburlo 1998
  14. Remarks at the University of Michigan Commencement Ceremony in Ann Arbor, May 4, 1991. George Bush Presidential Library.
  15. "The Bell Curve Wars". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-20.
  16. 16.0 16.1 "www.amazon.com".
  17. mapp (9 December 2005). "Political Correctness - Next Steps". สืบค้นเมื่อ 2007-04-19.
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2010-01-05.
  19. "William S. Lind says Political Correctness is a form of cultural marxism". Academia.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-02-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  20. "Buchanan interview on Fox News". Foxnews.com. 2005-05-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  21. Buchanan, Patrick The Death of the West, p.89
  22. Cultural Sensitivity and Political Correctness: The Linguistic Problem of Naming, Edna Andrews, American Speech, Vol. 71, No. 4 (Winter, 1996), pp.389-404.
  23. Development and Validation of an Instrument to Measure Attitudes Toward Sexist/Nonsexist Language Sex Roles: A Journal of Research, March 2000, by Janet B. Parks, Mary Ann Roberton [2] เก็บถาวร 2008-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. Loftus, E. and Palmer, J. 1974. “Reconstruction of Automobile Destruction: An example of the interaction between language and memory”. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior 13, pp.585-9
  25. Kahneman, D. and Amos Tversky. 1981. “The Framing of Decisions and the Psychology of Choice”. Science, 211, pp.453-8
  26. Hutton W, “Words really are important, Mr Blunkett” The Observer, Sunday 16 December 2001 - Accessed 6 February 2007.
  27. Messer–Davidow 1993, 1994; Schultz 1993; Lauter 1995; Scatamburlo 1998; and Glassner 1999.
  28. Toynbee P, “Religion must be removed from all functions of state”, The Guardian, Sunday 12 December 2001 - Accessed 6 February 2007.
  29. คำเหยียดหยามที่ใช้เรียกชาวปากีสถาน
  30. คำเหยียดหยามที่ใช้เรียกผู้ทำอะไรที่ไม่ค่อยฉลาดนัก
  31. คำเหยียดหยามที่ใช้เรียกเกย์
  32. http://www.guardian.co.uk/commentisfree/2009/apr/28/toynbee-equality-bill-welfare

ดูเพิ่ม

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

สนับสนุน

[แก้]
  • Aufderheide, Patricia. (ed.). 1992. Beyond P.C.: Toward a Politics of Understanding. Saint Paul, Minnesota: Graywolf Press.
  • Berman, Paul. (ed.). 1992. Debating P.C.: The Controversy Over Political Correctness on College Campuses. New York, New York: Dell Publishing.
  • Gottfried, Paul E., After Liberalism: Mass Democracy in the Managerial State, 1999. ISBN 0-691-05983-7
  • Jay, Martin., The Dialectical Imagination: A History of the Frankfurt School and the Institute of Social Research, 1923-1950, University of California Press, New Ed edition (March 5, 1996). ISBN 0-520-20423-9
  • Switzer, Jacqueline Vaughn. Disabled Rights: American Disability Policy and the Fight for Equality. Washington DC: Georgetown University Press, 2003.

คัดค้าน

[แก้]