ความภูมิใจแห่งตน
ส่วนหนึ่งของชุดเกี่ยวกับ |
อารมณ์ |
---|
ในสังคมวิทยาและจิตวิทยา ความภูมิใจในตน หรือ ความภูมิใจแห่งตน[1] หรือ การเคารพตนเอง[2] หรือ การเห็นคุณค่าในตัวเอง (อังกฤษ: self-esteem) เป็นการประเมินคุณค่าตนเองโดยทั่วไปที่เป็นอัตวิสัยและอยู่ในใจ เป็นทั้งการตัดสินและทัศนคติต่อตนเอง ความภูมิใจในตนอาจรวมความเชื่อ (เช่น ฉันเก่ง ฉันมีคุณค่า) และอารมณ์ความรู้สึก เช่น การได้ชัยชนะ ความซึมเศร้า ความภูมิใจ และความอับอาย[3] หนังสือปี 2550 ให้คำนิยามว่า "ความภูมิใจในตนเป็นการประเมินในเชิงบวกหรือเชิงลบเกี่ยวกับตัวเอง คือ เรารู้สึกกับตัวเองอย่างไร"[4]: 107 เป็นแนวคิดทางจิตวิทยา (psychological construct) ที่น่าสนใจเพราะว่านักวิจัยเชื่อว่ามันเป็นตัวพยากรณ์ที่ทรงอิทธิพลต่อผลบางอย่าง เช่น การเรียนเก่ง[5][6] ความสุข[7] ความพึงพอใจในชีวิตแต่งงานและในความสัมพันธ์กับผู้อื่น[8] และพฤติกรรมอาชญากรรม[8] ความภูมิใจอาจจะเป็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ (เช่น ฉันเชื่อว่าฉันเป็นนักเขียนที่ดีและมีความสุขเพราะเหตุนั้น) หรืออาจเป็นการประเมินรวม (เช่น ฉันเชื่อว่าฉันเป็นคนไม่ดี และรู้สึกไม่ดีกับตนเองโดยทั่วไป) นักจิตวิทยามักจะพิจารณาความภูมิใจในตนว่าเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่คงยืน (คือเป็น trait) แม้ว่า สภาวะที่ชั่วคราวและเป็นเรื่องปกติ (คือเป็น state) ก็มีด้วยเหมือนกัน ไวพจน์ของคำภาษาอังกฤษว่า self-esteem รวมทั้ง self-worth (การเห็นคุณค่าของตน)[9] self-regard (การนับถือตน)[10] และ self-respect (ความเคารพในตน)[11]
ประวัติ
[แก้]การระบุความภูมิใจในตนโดยเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาเชื่อว่าเริ่มจากงานของ นพ. วิลเลียม เจมส์[12] คือคุณหมอเจมส์ได้ระบุด้านต่าง ๆ ของอัตตา (self) โดยมีลำดับชั้นสองชั้น คือ กระบวนการรู้ (เรียกว่า 'I-self') และความรู้เกี่ยวกับตนที่เป็นผล (เรียกว่า 'Me-self' ) สังเกตการณ์และการเก็บข้อมูลของ I-self สร้างความรู้ 3 ประเภท ซึ่งรวมกันเป็น Me-self 3 ประเภทคือ ความรู้เรื่องตนทางกาย ตนทางสังคม และตนทางจิตวิญญาณ ตนทางสังคมเป็นสิ่งที่ใกล้ที่สุดกับความภูมิใจในตนเอง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะต่าง ๆ ที่คนอื่นเห็น ส่วนตนทางกายเป็นตัวแทน (representation) ของร่างกายและทรัพย์สมบัติ ตนทางจิตวิญญาณเป็นตัวแทนแบบพรรณนา (descriptive representations) และเป็นลักษณะที่ได้ประเมิน (evaluative dispositions) เกี่ยวกับตน และมุมมองว่าความภูมิใจในตนเป็นทัศนคติเกี่ยวกับตนโดยรวม ๆ ก็ยังคงอยู่ทุกวันนี้[12]
ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขบวนการพฤติกรรมนิยมได้หลีกเลี่ยงการศึกษากระบวนการทางจิตใจ อารมณ์ความรู้สึก ที่ต้องมองเข้าข้างใน แล้วใช้การศึกษาแบบปรวิสัยผ่านการทดลองทางพฤติกรรมที่สังเกตเห็นสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม เพราะว่า พฤติกรรมนิยมมีความคิดว่ามนุษย์ก็เหมือนสัตว์อย่างอื่นที่ตกอยู่ในกฎการเสริมแรง และเสนอเปลี่ยนจิตวิทยาให้เป็นวิทยาศาสตร์ที่อาศัยหลักฐานการทดลอง คล้ายกับเคมีหรือชีววิทยา โดยเป็นผลความคิดเช่นนี้ การทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับความภูมิใจในตนจึงได้ความสนใจน้อย เพราะว่านักพฤติกรรมนิยมคิดว่า เป็นประเด็นที่ทดสอบด้วยการวัดได้ไม่ดี[13]
ต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเพิ่มความนิยมของปรากฏการณ์วิทยาและจิตวิทยามนุษยนิยม ได้สร้างความสนใจเกี่ยวกับความภูมิใจในตนอีกครั้งหนึ่ง ความภูมิใจในตนพบว่ามีบทบาทสำคัญต่อการเข้าถึงศักยภาพของตน (self-actualization) และในการรักษาความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ นักจิตวิทยาได้เริ่มพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างจิตบำบัดกับความพึงพอใจในชีวิตของบุคคลที่ภูมิใจในตนสูง ว่าเป็นประโยชน์ในการรักษา จึงได้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งเสริมเติมต่อแนวคิดเรื่องความภูมิใจในตน รวมทั้งการช่วยให้เข้าใจเหตุผลว่า ทำไมบางคนจึงมักจะรู้สึกว่าตนมีคุณค่าน้อย และการเข้าใจว่าทำไมบางคนจึงท้อถอยและไม่สามารถเข้าใจปัญหาความท้าทายด้วยตนเอง[13]
ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 นักสังคมวิทยาคนหนึ่ง (Morris Rosenberg) จึงนิยามคำนี้ว่าเป็นความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า และได้พัฒนาแบบวัด Rosenberg self-esteem scale (RSES) ซึ่งกลายเป็นแบบวัดความภูมิใจที่ใช้มากที่สุดในสังคมศาสตร์[14]
ในปัจจุบัน ทฤษฎีการประเมินตัวเองหลัก (core self-evaluations ตัวย่อ CSE) รวมความภูมิใจในตนว่าเป็นมิติ 1 ใน 4 มิติที่บุคคลประเมินตัวเอง รวมทั้ง locus of control, neuroticism, และความมั่นใจในความสามารถของตน (self-efficacy)[15] โดยทฤษฎีตรวจดูเป็นครั้งแรกในปี 2540[15] และตั้งแต่นั้นได้พิสูจน์ว่า สามารถพยากรณ์ผลการทำงานหลายอย่าง โดยเฉพาะก็คือความพอใจในงานและประสิทธิภาพการทำงาน[15][16][17][18][19] ความภูมิใจในตนจริง ๆ แล้วอาจเป็นมิติที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในทฤษฎี CSE เพราะเป็นคะแนนประมวลความรู้สึกที่มีแก่ตนเอง[18]
ผลต่อนโยบายของรัฐ
[แก้]มีองค์กรทั้งของรัฐและนอกภาครัฐที่รับรองความสำคัญของความภูมิใจในตนเริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 จนเรียกได้ว่ามีขบวนการภูมิใจในตนได้เกิดขึ้น[7][20] ขบวนการนี้ได้ใช้เป็นหลักฐานว่า งานวิจัยทางจิตวิทยาสามารถมีผลต่อนโยบายของรัฐ ไอเดียหลักของขบวนการก็คือว่า ความภูมิใจในตนต่ำเป็นมูลรากปัญหาของบุคคล จึงเป็นมูลรากปัญหาสังคมด้วย ผู้นำขบวนการนักจิตบำบัดคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "ผมไม่สามารถคิดถึงปัญหาทางจิตใจเพียงอย่างเดียวเริ่มตั้งแต่ความวิตกกังวลและความซึมเศร้า ความกลัวความใกล้ชิดและความสำเร็จ จนถึงการตีคู่ชีวิตและทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก ที่ไม่สามารถสืบสายไปยังปัญหาการมีความภูมิใจในตนต่ำได้"[7]: 3 แต่ว่าความภูมิใจในตนเชื่อว่าเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของโลกตะวันตกที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง เนื่องจากว่า ความภูมิใจในตนต่ำไม่เป็นปัญหาในประเทศที่เน้นผลส่วนรวมเช่นญี่ปุ่น[21]
แนวคิดเรื่องปัญหาที่เกิดจากการมีความภูมิใจในตนต่ำทำให้สมาชิกสภารัฐแคลิฟอร์เนียคนหนึ่งจัดตั้ง "คณะทำงานเฉพาะกิจในเรื่องความภูมิใจในตนและความรับผิดชอบส่วนตัวและทางสังคม" ขึ้นในปี 2529 โดยเชื่อว่า คณะทำงานจะสามารถสู้ปัญหาต่าง ๆ ของรัฐเริ่มตั้งแต่อาชญากรรม การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จนถึงปัญหาการเรียนไม่ดีและมลภาวะ[7] แล้วเปรียบเทียบการเพิ่มความภูมิใจในตนว่าเหมือนให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค คือสามารถช่วยป้องกันประชาชนจากความรู้สึกเหมือนถูกถล่มท่วมทับโดยปัญหาชีวิต คณะทำงานได้จัดตั้งคณะวิชาการเพื่อทบทวนวรรณกรรมในเรื่องความภูมิใจในตน แต่ว่า คณะนักวิชาการกลับพบความสัมพันธ์น้อยมากระหว่างความภูมิใจในตนต่ำและผลที่อ้างว่ามี ซึ่งเป็นหลักฐานว่า การมีความภูมิใจในตนต่ำไม่ใช่รากปัญหาทางสังคมทั้งหมด และไม่สำคัญเท่าที่คิดแต่ตอนแรก แต่ว่า ผู้เขียนรายงานนี้ก็ยังเชื่อว่า ความภูมิใจในตนเป็นตัวแปรอิสระที่มีผลต่อปัญหาสังคมใหญ่ ๆ คณะทำงานสลายตัวในปี 2538 แล้วจึงมีการจัดตั้งองค์กรที่มีจุดประสงค์เดียวกันต่อ ๆ มา โดยในที่สุดเป็น National Association for Self-Esteem (NASE)[7]
ทฤษฎี
[แก้]ทฤษฎีในตอนต้นหลายทฤษฎีเสนอว่า ความภูมิใจในตนเป็นความต้องการหรือแรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ ศาสตราจารย์นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ดร. อับราฮัม มาสโลว์ รวมความภูมิใจในตนเป็นส่วนของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของเขา โดยแยกแยะความภูมิใจสองอย่าง คือ ความต้องการได้ความยอมรับนับถือจากผู้อื่น และการเคารพตนเองในรูปการรักตัวเอง, ความมั่นใจในตน, ทักษะหรือความสามารถ[22] แต่ว่า ความนับถือจากผู้อื่นเชื่อว่าเปราะบางกว่าและเสียไปได้ง่ายกว่าการเคารพตนเอง ตาม ดร. มาสโลว์ ถ้าไม่ได้ความภูมิใจในตนตามที่จำเป็น บุคคลนั้นก็จะพยายามหามันและไม่สามารถพัฒนาให้ถึงศักยภาพของตนได้ และความภูมิใจที่ดีที่สุดก็คือที่เราได้จากผู้อื่นอย่างสมควรจะได้ ซึ่งเป็นอะไรที่มากกว่าชื่อเสียงหรือคำยกยอ
ส่วนทฤษฎีต่าง ๆ ในปัจจุบันตรวจสอบเหตุผลว่าทำไมมนุษย์จึงมีแรงจูงใจให้ดำรงการเคารพตนไว้ในระดับสูง มีทฤษฎี (Sociometer theory) ที่อ้างว่า ความภูมิใจในตนวิวัฒนาการขึ้นเพื่อเช็คสถานะทางสังคมและการยอมรับของกลุ่มสังคม ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่ง (Terror Management Theory) อ้างว่า ความภูมิใจในตนมีหน้าที่ป้องกันและลดระดับความวิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตและความตาย[23]
ความภูมิใจในตนเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่ามันสะท้อนให้เห็นว่าเรามองทั้งตัวเองและค่านิยมส่วนตัวอย่างไร ดังนั้นจึงมีผลกับเราและพฤติกรรมที่เรามีสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ[13] ส่วน ศ. ดร. คารล์ รอเจอร์ส (2445 - 2530) ผู้โปรโหมตจิตวิทยามนุษยนิยม สันนิษฐานว่า รากฐานปัญหาหลายอย่างของมนุษย์มาจากการเกลียดตัวเอง และการมองตัวเองว่าไม่มีคุณค่าและเป็นคนที่ใคร ๆ รักไม่ได้ ซึ่งเป็นเหตุให้เขาเชื่อถึงความสำคัญในการยอมรับคนไข้อย่างไม่มีข้อแม้ ซึ่งเมื่อทำได้ ก็จะปรับความภูมิใจในตนของคนไข้[13] ดังนั้น ในช่วงการบำบัดคนไข้ของเขา เขาจะให้ความนับถือแก่คนไข้ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร[24] จริงเช่นนั้น ต่อจากนั้นจิตวิทยามนุษยนิยมจึงมองความภูมิใจในตนว่าเป็นสิทธิที่โอนให้กันไม่ได้สำหรับทุกคน ดังสรุปดังต่อไปนี้
“ | มนุษย์ทุกคน โดยไร้ข้อยกเว้น ในฐานะเพียงแค่เป็นมนุษย์ สมควรได้ความเคารพนับถือที่ไม่มีเงื่อนไขจากทุกคน
เขาสมควรจะเคารพนับถือตนเองและเคารพนับถือโดยผู้อื่น[13] |
” |
การวัด
[แก้]ความภูมิใจปกติวัดโดยใช้แบบวัดที่ผู้ได้วัดรายงานเอง แบบที่ใช้มากที่สุดคือ RSES (Rosenberg, 2508) เป็นแบบวัด 10 คำถามที่ให้ผู้รับการวัดบ่งระดับที่ตนเห็นด้วยกับคำถามเกี่ยวกับตนเอง ส่วนแบบวัดทางเลือก คือ The Coopersmith Inventory มี 50 คำถามเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ และถามผู้รับการวัดว่าตนคิดว่าบุคคลอื่นเหมือนหรือไม่เหมือนกับตนมากแค่ไหน[25] ถ้าได้คะแนนที่แสดงว่านับถือตนเองอย่างชัดเจน แบบวัดมองผู้รับการวัดว่าปรับตัวเข้ากับชีวิตได้ดี ถ้าคะแนนแสดงว่ารู้สึกละอายใจ ก็จะพิจารณาว่าเสี่ยงต่อการมีความผิดปกติทางสังคมบางอย่าง[26]
ส่วนแบบวัดโดยนัย (implicit measure) เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980[27] ซึ่งอาศัยการวัดการประมวลการรู้คิด (cognitive processing) ที่เชื่อว่าสัมพันธ์โดยนัยกับความภูมิใจในตน รวมทั้งการวัดโดยงานเช่น Name letter effect (ที่บุคคลชอบใจอักษรที่อยู่ในชื่อของตนมากกว่าอักษรอื่น ๆ[28])[29] และการวัดโดยอ้อมเช่นนี้ออกแบบเพื่อให้ลดความสำนึกว่ากำลังได้รับการประเมินเรื่องอะไร
เมื่อวัดความภูมิใจโดยอ้อม นักจิตวิทยาจะแสดงสิ่งเร้าที่เกี่ยวกับตนกับผู้รับการวัดและวัดว่า บุคคลจะสามารถระบุสิ่งเร้าอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบได้เร็วขนาดไหน[30] ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหญิงได้สิ่งเร้าว่า "หญิง" และ "มารดา" นักจิตวิทยาจะวัดว่าเธอสามารถระบุคำเชิงลบ คือ "ชั่วร้าย (evil)" หรือระบุคำเชิงบวก คือ "ใจดี (kind)" ได้เร็วขนาดไหน
พัฒนาการในชีวิต
[แก้]ประสบการณ์ในชีวิตมีผลต่อพัฒนาการของความภูมิใจในตนอย่างสำคัญ[7] ในชีวิตระยะต้น ๆ พ่อแม่มีอิทธิพลสำคัญต่อความภูมิใจในตนและพิจารณาว่าเป็นสาเหตุของประสบการณ์ทั้งเชิงบวกเชิงลบที่เด็กจะมี[31] ความรักที่ไม่มีเงื่อนไขจากพ่อแม่ช่วยให้เด็กพัฒนาความรู้สึกว่ามีคนห่วงใยและนับถือ ซึ่งมีผลต่อความภูมิใจในตนเมื่อเด็กโตขึ้น[32]
เด็กประถมที่ภูมิใจในตนสูงมักจะมีพ่อแม่ที่เด็ดขาดแต่เป็นห่วง ช่วยเหลือสนับสนุน ตั้งขอบเขตพฤติกรรมให้แก่เด็ก และให้ออกความเห็นเมื่อตัดสินใจ แม้ว่างานศึกษาจะแสดงเพียงแค่ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างสไตล์ความเป็นพ่อแม่แบบให้ความอบอุ่น ช่วยเหลือสนับสนุน (โดยหลักคือแบบ authoritative และ permissive) กับเด็กมีความภูมิใจสูง แต่ว่าสไตล์ความเป็นพ่อแม่เช่นนี้สามารถมองได้ว่าเป็นเหตุพัฒนาการทางความภูมิใจในตนของเด็ก[31][33][34][35] ประสบการณ์วัยเด็กที่ทำให้เกิดความภูมิใจรวมทั้งพ่อแม่ฟัง พ่อแม่พูดด้วยดี ๆ ได้รับความเอาใจใส่และความรัก มีการแสดงคุณค่าต่อความสำเร็จ และสามารถยอมรับความผิดพลาดและความล้มเหลว ประสบการณ์ที่ทำให้ภูมิใจในตนต่ำรวมทั้ง ถูกด่าว่าอย่างรุนแรง ถูกทารุณกรรมไม่ว่าจะทางกาย ทางเพศ หรือทางอารมณ์ ไม่ได้รับความเอาใจใส่ ถูกหัวเราะเยาะ ถูกล้อ หรือหวังให้เพอร์เฝ็กต์ตลอดเวลา[36]
ในช่วงที่อยู่ในโรงเรียน การเรียนได้ดีจะเป็นตัวช่วยสร้างความภูมิใจในตน[7] เด็กที่เรียนดีตลอดหรือเรียนตกตลอดจะมีผลสำคัญต่อความภูมิใจในตน[37] ประสบการณ์ทางสังคมจะเป็นตัวช่วยความภูมิใจในตนอีกอย่างหนึ่ง ในขณะที่เติบโตผ่านวัยเรียน เด็กจะเริ่มเข้าใจและรู้จักความแตกต่างของตัวเองกับเพื่อน โดยเปรียบเทียบกับเพื่อน เด็กจะประเมินว่าตนทำได้ดีกว่าหรือแย่กว่าเพื่อนในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความภูมิใจในตน และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกดีชั่วที่มีต่อตัวเอง[38][39]
เมื่อถึงวัยรุ่น อิทธิพลจากเพื่อนจะสำคัญมากยิ่งขึ้น วัยรุ่นประเมินตัวเองโดยความสัมพันธ์กับเพื่อนที่ใกล้ชิด[40] การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ๆ สำคัญมากต่อพัฒนาการของความภูมิใจในตนในเด็ก เพราะการได้ความยอมรับจากเพื่อนทำให้เกิดความั่นใจและความภูมิใจ เทียบกับการไม่ยอมรับที่ทำให้เหงา ไม่มั่นใจในตน และภูมิใจในตนต่ำ[41]
เด็กวัยรุ่นจะมีความภูมิใจในตนสูงขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวัยกลางคน[8] แต่จากวัยกลางคนจึงถึงวัยชรา ความภูมิใจจะตกลงแม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าตกน้อยหรือตกมาก[8] เหตุผลที่แปรไปเช่นนี้อาจเป็นเพราะปัญหาสุขภาพ สมรรถภาพทางการรู้คิด และฐานะทางสังคม-เศรษฐกิจในวัยชรา[8]
ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างเพศในเรื่องพัฒนาการทางความภูมิใจในตน[8] งานศึกษาตามรุ่นแสดงว่า ไม่มีความแตกต่างกันในวิถีการดำเนินของความภูมิใจตลอดชั่วชีวิตระหว่างคนรุ่นต่าง ๆ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การให้เกรดสูงขึ้นในสถาบันศึกษา หรือสื่อทางสังคม (social media)[8]
ความชำนาญสูง การไม่ทำอะไรเสี่ยง ๆ และสุขภาพที่ดีกว่าเป็นตัวพยากรณ์ความภูมิใจในตนที่สูงกว่า ในเรื่องบุคลิกภาพ คนที่มีอารมณ์เสถียร คนที่สนใจสิ่งภายนอก และคนที่พิถีพิถัน ภูมิใจในตนสูงกว่า[8] ตัวพยากรณ์เหล่านี้แสดงว่า ความภูมิใจในตนมีลักษณะที่ยั่งยืน (เป็น trait) ที่คงยืนเหมือนกับทั้งบุคลิกภาพและเชาวน์ปัญญา[8] แม้ว่า นี่จะไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถเปลี่ยนได้[8]
ในสหรัฐอเมริกา วัยรุ่นเชื้อสายละตินอเมริกา/สเปนจะมีความภูมิใจในตนที่ต่ำกว่าวัยรุ่นเชื้อสายแอฟริกาและคนขาว แต่จะเพิ่มสูงกว่าเล็กน้อยโดยอายุ 30 ปี[42][43] ส่วนคนเชื้อสายแอฟริกาเพิ่มความภูมิใจในตนอย่างรวดเร็วกว่าในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่เบื้องต้นเทียบกับคนขาว แต่ว่า ในช่วงวัยชราก็จะประสบการลดความภูมิใจที่รวดเร็วกว่า[8]
ความอับอาย
[แก้]ความอับอายอาจมีบทบาทในผู้ที่มีปัญหาความภูมิใจต่ำ[44] ความอับอายจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่รู้สึกลดคุณค่าทางสังคม เช่นเมื่อได้การประเมินทางสังคมที่ไม่ดี (เช่น คนวิจารณ์) ซึ่งจะทำให้เกิดสภาพทางจิตใจที่บ่งการลดความภูมิใจในตนและการเพิ่มความอับอาย[45] โดยอาจบรรเทาได้โดยให้เห็นใจ/มีกรุณาต่อตนเอง[46]
ตนจริง ๆ, ตนในอุดมคติ, ตนที่ขยาด
[แก้]มีพัฒนาการการประเมินตัวเอง 4 ระดับโดยสัมพันธ์กับตนจริง ๆ (real self) ตนในอุดมคติ (ideal self) และตนที่ขยาด (dreaded self)[47] คือ
- ระยะการตัดสินดีชั่ว (Moral Judgment) - บุคคลจะระบุตนจริง ๆ ตนในอุดมคติ และตนที่ขยาด ด้วยคำเรียกทั่ว ๆ ไป เช่น "ดี" หรือ "ไม่ดี" โดยระบุถึงตนอุดมคติและตนจริง ๆ โดยแนวโน้มการกระทำหรือนิสัย และมักระบุตนที่ขยาดว่าไม่เก่งหรือมีนิสัยไม่ดี
- ระยะพัฒนาอัตตา (Ego Development) - บุคคลจะระบุตนอุดมคติและตนจริง ๆ โดยลักษณะคงยืน (trait) ตามทัศนคติและตามการกระทำ และระบุตนที่ขยาดว่าไม่เก่งตามเกณฑ์สังคมหรือว่าเห็นแก่ตัว
- ระยะเข้าใจตนเอง (Self-Understanding) บุคคลระบุตนอุดมคติและตนจริง ๆ ว่ามีเอกลักษณ์หรือลักษณะนิสัยเป็นอันเดียวกัน และระบุตนที่ขยาดว่า ล้มเหลวที่จะมีชีวิตตามอุดมคติหรือตามบทบาทที่คาดหวัง โดยบ่อยครั้งเพราะมีปัญหาจริง ๆ ระดับนี้จะรวมเอาการตัดสินดีชั่วที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นที่ครอบคลุมมากขึ้น เป็นระยะที่ความภูมิใจในตนอาจเสียหายเพราะไม่รู้สึกว่าตนเองทำได้ตามที่คาดหวัง ความรู้สึกเช่นนี้จะมีผลต่อความภูมิใจในตนพอสมควร โดยมีผลยิ่งกว่าเมื่อเชื่อว่าตนกำลังกลายเป็นตนที่ขยาด[47]
ประเภท
[แก้]ความภูมิใจในตนสูง
[แก้]บุคคลที่ภูมิใจในตนในระดับดีจะ[48]
- เชื่อมั่นในค่านิยมและหลักการบางอย่าง และพร้อมจะปกป้องมันเมื่อเจอความเป็นปฏิปักษ์ โดยรู้สึกปลอดภัย/มั่นใจพอที่จะเปลี่ยนมันได้เมื่อได้ประสบการณ์ใหม่[13]
- สามารถทำตามแผนที่ตนคิดว่าเป็นทางดีที่สุด เชื่อการตัดสินใจของตนเอง โดยไม่รู้สึกผิดถ้าคนอื่นไม่ชอบ[13]
- ไม่เสียเวลากังวลเรื่องที่เกิดในอดีตมาเกินไป หรือเรื่องที่อาจเกิดในอนาคต แม้ว่าจะสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตและวางแผนเพื่ออนาคต แต่ก็อยู่ในปัจจุบันโดยมาก[13]
- เชื่อมั่นสมรรถภาพตัวเองที่จะแก้ปัญหา ไม่ลังเลแม้เมื่อเกิดความล้มเหลวหรือมีอุปสรรค และสามารถขอให้คนอื่นช่วยได้ถ้าจำเป็น[13]
- พิจารณาว่าตนมีศักดิ์ศรีมนุษย์เทียบเท่ากับคนอื่น ไม่ใช่มากกว่าหรือน้อยกว่า โดยยอมรับความแตกต่างในเรื่องพรสวรรค์ เกียรติยศ หรือฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่ากัน[13]
- เข้าใจว่าตนเป็นคนน่าสนใจและมีคุณค่าต่อคนอื่นอย่างไร อย่างน้อยก็กับบุคคลที่มีมิตรภาพด้วย[13]
- ขัดขืนการถูกครอบงำโดยคนอื่น ร่วมมือกับคนอื่นก็ต่อเมื่อเหมาะสมและสะดวก[13]
- ยอมรับความรู้สึกและความต้องการของตนที่ต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะบวกหรือลบ แสดงความในใจเหล่านี้ต่อคนอื่นเมื่อต้องการ[13]
- ชอบทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง[13]
- ไวความรู้สึกและความต้องการของคนอื่น เคารพกฎสังคมที่ยอมรับโดยทั่วไป และไม่ถือสิทธิไม่ต้องการได้ประโยชน์ที่เป็นการสูญเสียของผู้อื่น[13]
- สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหา และแสดงความไม่ชอบใจโดยไม่ดูถูกตนเองหรือผู้อื่นเมื่อมีอุปสรรค[49]
มั่นใจ เทียบกับ ปกป้องตัวเอง
[แก้]บุคคลสามารถภูมิใจในตนสูงและมั่นใจโดยไม่จำเป็นต้องได้คำยืนยันจากผู้อื่นเพื่อรักษาภาพพจน์ที่ดีของตนไว้ เทียบกับคนอื่นที่มีความภูมิใจแบบต้องปกป้องตัวเอง แต่ก็ยังอาจได้คะแนนสูงโดยแบบวัด Rosenberg Scale เช่นกัน แต่ว่า ความภูมิใจในลักษณะนี้เสียไปได้ง่ายและอ่อนแอต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ เพราะผู้ที่มีความภูมิใจแบบนี้สงสัยตัวเองและไม่มั่นใจในระดับจิตใต้สำนึก ทำให้มีปฏิกิริยาในเชิงลบกับคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหมดที่ได้รับ คือบุคคลนี้จำต้องได้การยอมรับจากผู้อื่นเพื่อที่จะรักษาความรู้สึกว่าตัวเองมีค่าไว้ได้ ความจำเป็นเพื่อได้คำชมบ่อย ๆ อาจสัมพันธ์กับพฤติกรรมช่างอวด หยิ่ง หรือบางครั้งแม้แต่เป็นศัตรูกับบุคคลที่ตั้งข้อสงสัยในคุณค่าของตน นี่เป็นตัวอย่างของปฏิกิริยาเมื่ออติมานะ (egotism) เกิดภัย[50][51]
ความภูมิใจโดยนัย โดยตรง การหลงตัวเอง และเมื่ออติมานะเกิดภัย
[แก้]ความภูมิใจในตนโดยนัย (implicit self-esteem) หมายถึงแนวโน้มที่บุคคลจะประเมินตัวเองในเชิงบวกหรือเชิงลบแบบอัตโนมัติและโดยจิตใต้สำนึก ซึ่งต่างกับความภูมิใจในตนเองแบบชัดแจ้ง (explicit self-esteem) ซึ่งเป็นการประเมินตนเองที่อยู่เหนือสำนึกโดยการพิจารณา แต่ทั้งสองอย่างก็ล้วนแต่เป็นความภูมิใจในตนที่รวมอยู่ในแบบ
ส่วนการหลงตัวเอง (narcissism) เป็นแนวโน้มทางพฤติกรรมซึ่งแสดงการรักตัวเองมากเกินควร มีลักษณะเป็นความรู้สึกว่าตนมีคุณค่าเกินจริง บุคคลที่ได้คะแนนสูงในแบบวัดความหลงตัวเองของ Robert Raskin คือ แบบวัดใช่หรือไม่ใช่ 40 คำถาม (40 Item True or False Test) มีโอกาสตอบว่าใช่สำหรับคำถามว่า "ถ้าฉันครองโลก โลกจะเป็นที่ที่ดีกว่ามาก"[52] มีสหสัมพันธ์ในระดับแค่พอสมควร (moderate) ระหว่างการหลงตัวเองกับความภูมิใจในตน[53] ซึ่งหมายความว่า บุคคลสามารถภูมิใจในตนสูงแต่หลงตัวเองน้อย หรืออาจจะเป็นคนถือตัวมาก เป็นบุคคลน่ารังเกียจ แต่ได้คะแนนสูงทั้งด้านความภูมิใจในตนและหลงตัวเอง[54]
ส่วนปฏิกิริยาเมื่ออติมานะมีภัย (Threatened egotism) กำหนดโดยการตอบสนองต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นภัยต่ออัตตา (ego) ของคนหลงตัวเอง ซึ่งบ่อยครั้งจะเป็นปฏิกิริยาแบบเป็นปฏิปักษ์และก้าวร้าว[14][55][56]
ความภูมิใจในตนต่ำ
[แก้]ความภูมิใจต่ำอาจมาจากปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งทางพันธุกรรม จากรูปร่างหน้าตาหรือน้ำหนักตัว ปัญหาทางจิต สถานะทางสังคม-เศรษฐกิจ ความกดดันจากเพื่อน และการถูกรังแก[57] โดยอาจจะแสดงเป็นลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้คือ
- การตำหนิตัวเองเกินควร และความไม่พึงพอใจในตัวเอง[13]
- ไวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์มาก โดยเคืองผู้วิจารณ์และรู้สึกถูกว่าร้าย[13]
- การตัดสินใจอะไรไม่ได้ และกลัวผิดพลาดที่เกินควร[13]
- พยายามให้คนอื่นพอใจมากเกินไป และไม่ยอมทำให้คนอื่นไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็นใคร[13]
- ทุกอย่างต้องเพอร์เฝ็กต์ ซึ่งทำให้ผิดหวังเมื่อไม่ได้[13]
- ความรู้สึกผิดเกินควร มัวแต่คิดถึงความผิดพลาดในอดีต หรือยกความผิดพลาดในอดีตเกินจริง[13]
- ความเป็นปฏิปักษ์อย่างลอย ๆ และการป้องกันตัวเองโดยทั่วไปและหงุดหงิดโดยไม่มีเหตุใกล้[13]
- มองโลกในแง่ร้ายโดยทั่วไป[13]
- ความอิจฉาริษยา ใจน้อย และความขัดเคืองโดยทั่วไป[13]
- เห็นปัญหา/อุปสรรคชั่วคราวว่าเป็นเรื่องถาวร และทนรับไม่ได้[49]
ผู้ที่ภูมิใจในตนต่ำมักจะตำหนิตัวเอง บางคนต้องอาศัยการยอมรับและคำสรรเสริญของผู้อื่นเมื่อประเมินคุณค่าของตนเอง บางคนอาจจะวัดความน่าชอบใจของตนเองโดยความสำเร็จที่ได้ คือ คนอื่นจะยอมรับถ้าทำสำเร็จและไม่ยอมรับถ้าไม่สำเร็จ[58]
ภาวะ 3 อย่าง
[แก้]หมวดหมู่ที่เสนอในปี 2556[59] แบ่งภาวะความภูมิใจในตนออกเป็น 3 อย่าง โดยเปรียบเทียบว่าเป็นความดีความชอบ (feat) หรือเป็นความเสียหาย (anti-feat) ดังจะกล่าวในหัวข้อย่อยต่อ ๆ ไปดังนี้[6][60]
แตก
[แก้]บุคคลไม่พิจารณาตนว่ามีค่าหรือว่าเป็นคนที่รักได้ อาจจะรู้สึกท่วมท้นด้วยความพ่ายแพ้ ความอับอาย หรือมองตัวเองว่าเป็นอย่างนั้น โดยมีป้ายเรียกความเสียหาย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบุคคลพิจารณาความแก่เกินกว่าวัยหนึ่ง ๆ ว่าเป็นความเสียหาย ก็จะนิยามตัวเองโดยใช้ชื่อของความเสียหาย และกล่าวว่า "ฉันแก่แล้ว" จะรู้สึกเวทนาตนเอง ตำหนิตัวเอง รู้สึกเสียใจ จนอาจทำอะไรไม่ได้[59][61]
อ่อนแอ
[แก้]บุคคลมองตัวเองในแง่ดี แต่ว่า ความภูมิใจในตนจะอ่อนแอต่อความรู้สึกเสี่ยงว่าความเสียหายกำลังจะเกิดขึ้น (เช่นความพ่ายแพ้ ความอาย และการเสียเครดิต) เพราะฉะนั้น บ่อยครั้งจะไม่รู้สึกสบายใจและต้องป้องกันตัวเอง[61] กลไกป้องกันตนสำหรับบุคคลที่มีความภูมิใจแบบอ่อนแออาจจะรวมการหลีกเลี่ยงการตัดสินใจ
แม้ว่าบุคคลอาจจะดูเหมือนมั่นใจสูง แต่ความจริงอาจจะเป็นตรงกันข้าม คือ ความมั่นใจที่ปรากฏเป็นตัวบ่งความกลัวที่เริ่มสูงขึ้นต่อความเสียหาย และบ่งความเปราะบางของความภูมิใจในตน[6] อาจจะโทษคนอื่นเพื่อป้องกันภาพพจน์ของตนจากสถานการณ์ที่เป็นภัย และอาจจะใช้กลไกการป้องกันต่าง ๆ รวมทั้งพยายามแพ้ในเกมและการแข่งขันต่าง ๆ เพื่อป้องกันภาพพจน์ของตนโดยทำเป็นไม่แยแสว่า จำเป็นต้องชนะ เป็นการแสดงความเป็นอิสระจากความยอมรับทางสังคมที่ตนอาจจะต้องการอย่างยิ่ง เมื่อกลัวมากว่าเพื่อนจะไม่ยอมรับ ก็อาจจะเลือกทางชีวิตได้ไม่ดีโดยทำอะไรเสี่ยง ๆ[60][61]
มั่นคง
[แก้]ผู้ที่มีความภูมิใจในตนอย่างมั่นคงจะมีภาพพจน์ที่ดีเกี่ยวกับตน และมั่นคงพอที่ความเสียหายไม่สามารถเกิดกับความภูมิใจได้ เป็นบุคคลที่กลัวความล้มเหลวน้อยกว่า เป็นคนถ่อมตัว ร่าเริง และมั่นคงพอที่จะไม่อวดความดีความชอบและไม่กลัวความเสียหาย[60][61] เป็นคนที่สามารถต่อสู้ด้วยแรงที่มีเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ เพราะว่า ถ้าล้มเหลว จะไม่มีผลต่อความภูมิใจของตน เป็นคนที่สามารถยอมรับความผิดก็เพราะว่ามีภาพพจน์ของตนเองที่มั่นคง และการยอมรับผิดจะไม่มีผลเสียหายต่อภาพพจน์นั้น[61] เป็นคนที่ใช้ชีวิตโดยกลัวการเสียชื่อเสียงน้อยกว่า และมีความสุขและความอยู่เป็นสุขที่ดีกว่า[61] แต่ว่า ไม่มีความภูมิใจแบบไหนที่ทำลายไม่ได้ และเหตุการณ์หรือสถานการณ์บางอย่างในชีวิต อาจทำให้ตกจากระดับนี้ไปยังระดับอื่น ๆ[59][61]
มีเงื่อนไขและไม่มีเงื่อนไข
[แก้]มีความภูมิใจแบบมีเงื่อนไข (Contingent self-esteem) และไม่มีเงื่อนไข (Non-contingent self-esteem) แบบมีเงื่อนไขจะได้ความภูมิใจจากสิ่งภายนอก เช่น (1) คนอื่นกล่าวว่าอย่างไร (2) ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว และ (3) ความสามารถของตน[62] หรือว่า (4) ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ และดังนั้น ความภูมิใจในตนแบบมีเงื่อนไขจึงไม่เสถียร เชื่อถือไม่ได้ และอ่อนแอ บุคคลที่มีความภูมิใจแบบนี้จะต้องคอยหาสิ่งที่ทำให้ตนมีคุณค่า[63]
แต่เพราะว่าการได้ความภูมิใจในตนแบบมีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับได้รับความยอมรับ จึงในที่สุดจะต้องล้มเหลว เพราะว่า ไม่มีใครที่ได้การยอมรับตลอด และการไม่ยอมรับบ่อยครั้งทำให้เกิดความซึมเศร้า นอกจากนั้นแล้ว ความกลัวการไม่ยอมรับอาจจะห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมที่มีโอกาสล้มเหลว[64]
ส่วนความภูมิใจแบบไม่มีเงื่อนไขเป็นสิ่งที่ไว้ใจได้ เสถียร และมั่นคง[65] มันมีมูลฐานจากความเชื่อว่า ตน "ยอมรับได้อย่างไม่มีข้อแม้ ยอมรับได้แม้ก่อนชีวิตเสียอีก ยอมรับได้โดยความมีอยู่"[66]: 7 ความเชื่อว่าตนยอมรับได้โดยความมีอยู่ (ontologically acceptable) ก็คือความเชื่อว่าการยอมรับได้ของตนเป็นไปตามสิ่งที่เป็น โดยไม่มีข้อแม้[67] ในรูปแบบความเชื่อเช่นนี้ การยอมรับได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณธรรมของบุคคล เป็นการยอมรับแม้ "มีความผิด" ไม่ใช่เพราะ "ไม่มีความผิด"[66]: 5 ดังนั้น ความภูมิใจในตนแบบไม่มีเงื่อนไขจึงมาจากความเชื่อว่าตนยอมรับได้เพราะความมีอยู่และว่าตนได้การยอมรับจากผู้อื่น[68]
ความสำคัญ
[แก้]ศ. ดร. อับราฮัม มาสโลว์กล่าวว่า สุขภาพจิตที่ดีเป็นไปไม่ได้ยกเว้นถ้าแกนหลักของบุคคลนั้นได้การยอมรับ ความรัก และความเคารพอย่างพื้นฐานโดยตนเอง ความภูมิใจในตนช่วยให้คนเผชิญกับชีวิตอย่างมั่นใจมากขึ้น อย่างเมตตากรุณา อย่างมองโลกในแง่ดี และดังนั้นจะสามารถถึงเป้าหมายในชีวิตและถึงศักยภาพตนเองได้ง่ายกว่า[69]
ความภูมิใจในตนอาจช่วยให้เชื่อว่าตนสมควรจะได้ความสุข[69] การเข้าใจเช่นนี้สำคัญมาก และมีประโยชน์โดยทั่วไป เพราะว่า การพัฒนาความภูมิใจในตนเพิ่มสมรรถภาพการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างนับถือ อย่างมีเมตตากรุณา และด้วยความหวังดี และดังนั้น จะเปิดโอกาสให้มีความสัมพันธ์กับคนอื่นที่ลึกซึ้งและหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ที่ทำลาย[69] สำหรับนักจิตวิทยาบางท่าน ความรักคนอื่นและความรักตนเองไม่ใช่เป็นคนละเรื่องกัน คือ ความรักตนเองจะมีในบุคคลที่สามารถรักคนอื่นได้ ความภูมิใจในตนช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับบางอาชีพเช่นการสอน[70]
มีนักวิชาการที่อ้างว่าความสำคัญของความภูมิใจในตนเป็นเรื่องที่ชัดเจน เพราะว่าการไม่มีความภูมิใจในตนไม่ใช่เป็นการเสียความเคารพนับถือจากคนอื่น แต่เป็นการปฏิเสธตนเอง และสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า[13] ซิกมุนด์ ฟรอยด์ยังอ้างด้วยว่า คนซึมเศร้ามีปัญหา "การลดลงของความนับถือตนเองอย่างผิดธรรมดา เป็นการทำอัตตา (ego) ให้ยากไร้อย่างยิ่ง... (คือ) เขาได้สูญเสียความเคารพในตน"[71]
หลักยกยาการ์ตา (The Yogyakarta Principles) ซึ่งเป็นเอกสารเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนนานาชาติ พูดถึงทัศนคติแบบเดียดฉันท์ต่อบุคคลเพศที่สาม (LGBT) ซึ่งทำให้ความภูมิใจในบุคคลเหล่านั้นต่ำกว่าควร ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน[72] และองค์การอนามัยโลกแนะนำในเอกสาร "การป้องกันการฆ่าตัวตาย (Preventing Suicide)" ที่พิมพ์ในปี 2543 ว่าการเพิ่มความภูมิใจในตนเองของนักเรียนเป็นเรื่องสำคัญเพื่อป้องกันเด็กและวัยรุ่นจากความทุกข์ทางใจและความหมดกำลังใจ และช่วยให้เด็กสามารถรับมือกับสถานการณ์ยากที่ก่อความเครียดในชีวิตได้[73] แต่ว่ายังไม่ชัดเจนว่าอะไรควรทำและอะไรมีประสิทธิผล นอกจากจะเพิ่มความสุขแล้ว ความภูมิใจในตนสูงมีสหสัมพันธ์กับสมรรถภาพการรับมือกับความเครียด และโอกาสสูงกว่าที่บุคคลจะเข้าจัดการปัญหาที่ยากเทียบกับคนที่ภูมิใจในตนต่ำ[74]
สิ่งที่สัมพันธ์
[แก้]จากปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 จนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 คนอเมริกันเชื่อว่า ความภูมิใจในตนของนักเรียนจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อเกรดที่ได้ในโรงเรียน ต่อความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และต่อความสำเร็จที่จะได้ต่อ ๆ มาในชีวิต และดังนั้น จึงมีองค์กรที่ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มความภูมิใจในตนของนักเรียน แต่ว่าจนกระทั่งถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ก็ยังมีงานวิจัยแบบควบคุมที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันน้อยมากในประเด็นนี้ และงานวิจัยต่อ ๆ มาก็ไม่ได้ยืนยันความเชื่อเช่นนั้น คือ งานวิจัยบ่งว่า การเพิ่มความภูมิใจในตนของนักเรียนเพียงลำพังไม่ได้มีผลต่อเกรด และงานวิจัยปี 2548 กลับแสดงด้วยว่า การเพิ่มความภูมิใจโดยลำพังสามารถลดเกรดที่ได้[75][76] คือผลได้แสดงว่า การมีความภูมิใจในตนสูงไม่ได้ช่วยให้เรียนเก่งขึ้น แต่อาจหมายเพียงแค่ว่า นักเรียนอาจภูมิใจในตนเองสูงโดยเป็นผลของการเรียนเก่งเนื่องจากปัจจัยทางสังคมและชีวิตอื่น ๆ[7]
"ความพยายามของผู้ที่สนับสนุนให้มีความภูมิใจในตนเองของเด็กนักเรียนเพราะเหตุความไม่เหมือนใครในฐานะมนุษย์ จะไม่มีผลถ้าความรู้สึกที่ดีไม่ตามด้วยการกระทำที่ดี ต่อเมื่อนักเรียนทำการที่มีความหมายสำหรับตนที่สามารถภูมิใจได้ ความมั่นใจในตนจึงจะเจริญขึ้น และความมั่นใจที่เจริญขึ้นนี่แหละจะจุดชนวนให้ได้ความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้น"[77]
ความภูมิใจในตนสูงมีสหสัมพันธ์กับความสุขที่รายงานเองอย่างสูง แต่ว่านี่เป็นความสัมพันธ์แบบเหตุผลหรือไม่ ยังไม่ชัดเจน[7] และความสัมพันธ์ระหว่างความภูมิใจในตนสูงกับความพอใจในชีวิต จะแรงกว่าในวัฒนธรรมที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง[78]
นอกจากนั้นแล้ว ความภูมิใจในตนยังสัมพันธ์กับความให้อภัยคนใกล้ชิด คือว่า คนที่ภูมิใจในตนสูงจะให้อภัยมากกว่าคนที่มีความภูมิใจในตนต่ำ[79]
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลที่ภูมิใจในตนต่ำ มีโอกาสสูงกว่าที่จะกลบเกลื่อนผลของพฤติกรรมเสี่ยงว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย สร้างเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจ และคงเชื่อว่า พฤติกรรมบางอย่างจะไม่มีผลร้ายต่อตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดพฤติกรรมเป็นต้นว่า ดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์เด็กเกินไป และมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างอื่น ๆ[7]
ประสาทวิทยาศาสตร์
[แก้]งานวิจัยปี 2557 พบว่า ความภูมิใจในตนสัมพันธ์กับการเชื่อมต่อกันที่เพิ่มขึ้นของวิถีประสาท frontostriatal circuit และวิถีประสาทนี้ส่วนหนึ่งเชื่อม medial prefrontal cortex ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับความรู้ในตน กับ ventral striatum ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับแรงจูงใจและรางวัล และวิถีประสาทที่เชื่อมต่อกันทางกายภาพที่ดีกว่ามีสหสัมพันธ์กับความภูมิใจในตนในระยะยาวที่สูงกว่า ในขณะที่การทำงานร่วมกันที่สูงกว่าสัมพันธ์กับความภูมิใจระยะสั้นที่สูงกว่า[80]
ข้อขัดแย้ง
[แก้]นักจิตวิทยาทรงอิทธิพลชาวอเมริกัน ดร. อัลเบิรต์ เอ็ลลิส ได้วิพากษ์วิจารณ์หลายครั้งหลายคราวว่า แนวคิดเรื่องความภูมิใจในตนเอง เป็นการทำลายตัวเองและมีผลร้ายในระยะยาว[81] แม้จะยอมรับว่ามนุษย์มักจะให้คะแนนต่อตนเองโดยธรรมชาติ เขาก็ได้วิจารณ์หลักปรัชญาของความภูมิใจในตนว่า ไม่สมจริง ไม่มีเหตุผล และมีผลเสียต่อตัวเองและสังคม บ่อยครั้งทำอันตรายมากกว่าประโยชน์ โดยตั้งข้อสงสัยต่อทั้งมูลฐานและประโยชน์ของความเข้มแข็งของอัตตาโดยนัยทั่วไป เขาอ้างว่า ความภูมิใจในตนเป็นบทตั้งที่มีนิยามลอย ๆ เป็นแนวคิดที่ถือเอานัยทั่วไปมากเกินไป นิยมความเพอร์เฝ็กต์ และยิ่งใหญ่มากเกินไป[81] แม้จะยอมร้บว่า การให้คะแนนและคุณค่ากับพฤติกรรมและลักษณะต่าง ๆ ของตนเป็นเรื่องปกติและจำเป็น แต่เขาก็ยังเห็นการให้คะแนนและคุณค่าของมนุษย์และของตนเองโดยถือเอาองค์รวมว่า ไม่สมเหตุผลและไม่ถูกจริยธรรม ทางเลือกที่ดีกว่าความภูมิใจในตนก็คือการยอมรับตนเองและคนอื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข[82] โดยมี Rational Emotive Behavior Therapy (REBT) ที่ ดร. เอ็ลลิสได้พัฒนาขึ้นเป็นตัวอย่างจิตบำบัดที่ใช้วิธีการเช่นนี้[83]
ส่วนนักเขียนคู่หนึ่ง (Roy F. Baumeister, John Tierney) อ้างว่า ประโยชน์ของความภูมิใจในตนสามารถให้ผลตรงกันข้าม และคำสอนจากพ่อแม่ให้มีความภูมิใจในตนอาจจะขัดขวางการฝึกควบคุมตน
- "ดูเหมือนจะมีประโยชน์ที่ชัดเจนของความภูมิใจในตนสูงเพียงแค่สองอย่าง อย่างแรกก็คือ มันเพิ่มการริเริ่ม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามันให้ความมั่นใจ บุคคลที่ภูมิใจในตนสูงจะเต็มใจทำตามความเชื่อของตนมากกว่า ยืนยันต่อสู้เพื่อสิ่งที่ตนเชื่อ หาคนร่วมความคิด และเสี่ยงทำอะไรใหม่ ๆ (ซึ่งบางครั้งก็ไม่ดีว่ารวมการเสี่ยงทำอะไรโง่ ๆ หรือก่อความเสียหาย แม้เมื่อคนอื่น ๆ แนะนำไม่ให้ทำ)... (แต่) ก็สามารถทำให้คนไม่สนใจคำแนะนำที่ดีเพราะว่าดื้อเสียเวลาและเงินทองในเรื่องที่สิ้นเปลืองเปล่า"[84]
ของเทียม
[แก้]สำหรับบุคคลที่ภูมิใจในตนต่ำ สิ่งเร้าเชิงบวกจะเพิ่มความภูมิใจในตนชั่วคราว ดังนั้น ทรัพย์สมบัติ เพศสัมพันธ์ ความสำเร็จ หรือรูปร่างหน้าตาจะเพิ่มความภูมิใจในตน แต่การเพิ่มเช่นนี้อย่างมากก็ชั่วคราว[85][86]
ดังนั้น ความพยายามเพิ่มความภูมิใจด้วยสิ่งเร้าเชิงบวกเช่นนี้จะเป็นแบบขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น คำสรรเสริญสามารถช่วยเพิ่มความภูมิใจ แต่ก็จะตกเมื่อไร้คำสรรเสริญ ดังนั้น สำหรับคนที่ภูมิใจในตนแบบมีข้อแม้ ความสำเร็จจะไม่ "หวานเป็นพิเศษ" แต่ความล้มเหลวจะ "ขมเป็นพิเศษ"[64]
โดยเป็นการหลงตัวเอง
[แก้]ความพอใจในชีวิต ความสุข พฤติกรรมที่ถูกสุขภาพ ความมั่นใจในตนเอง การเรียนเก่ง และการปรับตัวได้ดี ล้วนแต่สัมพันธ์กับการมีความภูมิใจในตนสูง[87]: 57 แต่ว่า เป็นความผิดพลาดสามัญที่จะคิดว่า การรักตัวเอง (self-love) ต้องเป็นการหลงตัวเอง (narcissism)[88]
บุคคลที่มีความภูมิใจในตนที่ดีจะยอมรับและรักตัวเองอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยยอมรับทั้งความดีชั่วของตน และสามารถรักตนเองได้แม้จะมีข้อผิดพลาดต่าง ๆ เปรียบเทียบกับผู้ที่หลงตัวเอง ผู้มี "ความไม่แน่ใจโดยธรรมชาติเกี่ยวกับคุณค่าของตัวเองซึ่งทำให้เกิด... รัศมีความโอ้อวดที่เป็นการป้องกันตัวเองแต่เป็นของปลอม"[89] ซึ่งสร้างกลุ่ม "ผู้หลงตัวเอง หรือคนที่มีความภูมิใจในตัวเองสูงแบบไม่มั่นใจ ซึ่งผันแปรไปตามการสรรเสริญหรือการไม่ยอมรับของสังคม"[4]: 479 ดังนั้น จึงสามารถมองการหลงตัวเองว่าเป็นอาการของความภูมิใจในตนต่ำโดยพื้นฐาน และเป็นการไม่รักตนเอง แต่บ่อยครั้งประกอบด้วย "การเพิ่มความภูมิใจในตนเองอย่างยิ่ง" ซึ่งเป็นกลไกป้องกันตนแบบปฏิเสธความจริงโดยชดเชยเกินจริง[90] หรือเป็น "ความรักอุดมคติต่อตัวเองโดยปฏิเสธส่วนของตัวเอง" ที่ตนไม่ชอบใจที่เป็น "เด็กน้อยที่ชอบทำความเสียหาย" ภายใน[91] ผู้หลงตัวเองจะเน้นคุณธรรมของตนเมื่อคนอื่นอยู่ด้วย เพื่อพยายามทำให้ตนเชื่อว่ามีคุณค่าและเพื่อห้ามความรู้สึกอับอายต่อความไม่ดีของตนเอง[13] แต่น่าเสียดายว่า "คนที่มองตัวเองดีเกินจริง ซึ่งอาจจะไม่เสถียรอย่างยิ่งและอ่อนแอต่อข้อมูลเชิงลบ... มักจะมีทักษะทางสังคมที่ไม่ดี"[4]: 126
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "self-esteem", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) ความภูมิใจแห่งตน
- ↑ "self-esteem", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546,
การเคารพตนเอง
- ↑ Hewitt, John, P (2009). Oxford Handbook of Positive Psychology. Oxford University Press. pp. 217–224. ISBN 978-0-19-518724-3.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Smith, E. R.; Mackie, D. M. (2007). Social Psychology (Third ed.). Hove: Psychology Press. ISBN 978-1-84169-408-5.
- ↑ Marsh, H.W. (1990). "Causal ordering of academic self-concept and academic achievement: A multiwave, longitudinal path analysis". Journal of Educational Psychology. 82 (4): 646–656. doi:10.1037/0022-0663.82.4.646.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 S. Yagual “Efectos de la violencia intrafamiliar en el autoestima de los estudiantes de octavo y noveno año de la Escuela de educación básica 11 de Diciembre” Editorial La Libertad. Universidad Estatal Península de Santa Elena, 2015. Ecuador. Online at http://www.repositorio.upse.edu.ec/handle/46000/1795 เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ”
- ↑ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 Baumeister, R. F.; Campbell, J. D.; Krueger, J. I.; Vohs, K. D. (2003). "Does High Self-Esteem Cause Better Performance, Interpersonal Success, Happiness, or Healthier Lifestyles?". Psychological Science in the Public Interest. 4 (1): 1–44. doi:10.1111/1529-1006.01431. ISSN 1529-1006. PMID 26151640.
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 Orth U., Robbins R.W. (2014). "The development of self-esteem". Current Directions in Psychological Science. 23 (5): 381–387. doi:10.1177/0963721414547414.
- ↑ "self-worth". The American Heritage Dictionary of the English Language (4th ed.). 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15.
self-esteem; self-respect
- ↑ "self-regard". The American Heritage Dictionary of the English Language (4th ed.). 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15.
consideration of oneself or one's interests; self-respect
- ↑ "self-respect". The American Heritage Dictionary of the English Language (4th ed.). 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15.
due respect for oneself, one's character, and one's conduct
- ↑ 12.0 12.1 James, W. Psychology: The briefer course. New York: Henry Holt.
- ↑ 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 13.14 13.15 13.16 13.17 13.18 13.19 13.20 13.21 13.22 13.23 13.24 13.25 Bonet, José-Vicente (1997). Terrae, Sal (บ.ก.). Sé amigo de ti mismo: manual de autoestima (ภาษาสเปน). Cantabria, España: Maliaño. p. 11. ISBN 978-84-293-1133-4.
- ↑ 14.0 14.1 Baumeister, Roy F.; Smart, L.; Boden, J. (1996). "Relation of threatened egotism to violence and aggression: The dark side of self-esteem". Psychological Review. 103 (1): 5–33. doi:10.1037/0033-295X.103.1.5. PMID 8650299.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Judge, T. A.; Locke, E. A.; Durham, C. C. (1997). "The dispositional causes of job satisfaction: A core evaluations approach". Research in Organizational Behavior. 19: 151–188.
- ↑ Bono, J. E.; Judge, T. A. (2003). "Core self-evaluations: A review of the trait and its role in job satisfaction and job performance". European Journal of Personality. 17 (Suppl1): S5–S18. doi:10.1002/per.481. S2CID 32495455.
- ↑ Dormann, C.; Fay, D.; Zapf, D.; Frese, M. (2006). "A state-trait analysis of job satisfaction: On the effect of core self-evaluations". Applied Psychology: an International Review. 55 (1): 27–51. doi:10.1111/j.1464-0597.2006.00227.x.
- ↑ 18.0 18.1 Judge, T. A.; Locke, E. A.; Durham, C. C.; Kluger, A. N. (1998). "Dispositional effects on job and life satisfaction: The role of core evaluations". Journal of Applied Psychology. 83 (1): 17–34. doi:10.1037/0021-9010.83.1.17. PMID 9494439.
- ↑ Judge, T. A.; Bono, J. E. (2001). "Relationship of core self-evaluations traits—self-esteem, generalized self-efficacy, locus of control, and emotional stability—with job satisfaction and job performance: A meta-analysis". Journal of Applied Psychology. 86 (1): 80–92. doi:10.1037/0021-9010.86.1.80. PMID 11302235.
- ↑ Nolan, James L. (1998). The Therapeutic State: Justifying Government at Century's End. NYU Press. pp. 152–161. ISBN 9780814757918. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
- ↑ Heine, SJ; Lehman, DR; Markus, HR; Kitayama, S (1999). "Is there a universal need for positive self-regard?". Psychological Review. 106 (4): 766–794. doi:10.1037/0033-295X.106.4.766. PMID 10560328.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Maslow, A. H. (1987). Motivation and Personality (Third ed.). New York: Harper & Row. ISBN 0-06-041987-3.
- ↑ Greenberg, J. (2008). "Understanding the vital human quest for self-esteem". Perspectives on Psychological Science. 3 (1): 48–55. doi:10.1111/j.1745-6916.2008.00061.x.
- ↑
Wickman, SA; Campbell, C (2003). "An analysis of how Carl Rogers enacted client-centered conversation with Gloria". Journal of Counseling & Development. 81: 178–184. doi:10.1002/j.1556-6678.2003.tb00239.x.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Self-Esteem: Measurement". John D. and Catherine T. MacArthur Research Network on Socioeconomic Status and Health from the University of California, San Francisco. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-02-25.
- ↑ Slater, Lauren (2002-02-03). "The Trouble With Self-Esteem". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-11-27.
- ↑ Bosson, JK; Swann, WB; Pennebaker, JW (2000). "Stalking the perfect measure of implicit self esteem: The blind men and the elephant revisited?". Journal of Personality & Social Psychology. 79 (4): 631–643. doi:10.1037/0022-3514.79.4.631.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Baumeister, Roy (2007). Encyclopedia of Social Psychology. Sage Publications. p. 603.
- ↑ Koole, SL; Pelham, BW (2003). Spencer, S; Fein, S; Zanna, MP (บ.ก.). The nature of implicit self-esteem: The case of the name letter effect. Motivated social perception: The Ontario Symposium. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum. pp. 93–116.
- ↑ Hetts, JJ; Sakuma, M; Pelham, BW (1999). "Two roads to positive regard: Implicit and explicit self-evaluation and culture". Journal of Experimental Social Psychology. 35: 512–559. doi:10.1006/jesp.1999.1391.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 31.0 31.1 Raboteg-Saric, Z; Sakic, M (2014). "Relations of parenting styles and friendship quality to self-esteem, life satisfaction, & happiness in adolescents". Applied Research Quality Life. 9: 749–765. doi:10.1007/s11482-013-9268-0.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Olsen, J. M.; Breckler, S. J.; Wiggins, E. C. (2008). Social Psychology Alive (First Canadian ed.). Toronto: Thomson Nelson. ISBN 978-0-17-622452-3.
- ↑ Coopersmith, S. (1967). The Antecedents of Self-Esteem. New York: W. H. Freeman.
- ↑ Isberg, R. S.; Hauser, S. T.; Jacobson, A. M.; Powers, S. I.; Noam, G.; Weiss-Perry, B.; Fullansbee, D. (1989). "Parental contexts of adolescent self-esteem: A developmental perspective". Journal of Youth and Adolescence. 18 (1): 1–23. doi:10.1007/BF02139243. PMID 24271601.
- ↑ Lamborn, S. D.; Mounts, N. S.; Steinberg, L.; Dornbusch, S. M. (1991). "Patterns of Competence and Adjustment among Adolescents from Authoritative, Authoritarian, Indulgent, and Neglectful Families". Child Development. 62 (5): 1049–1065. doi:10.1111/j.1467-8624.1991.tb01588.x. PMID 1756655.
- ↑ "Self-Esteem". สืบค้นเมื่อ 2012-11-27.
- ↑ Crocker, J.; Sommers, S. R.; Luhtanen, R. K. (2002). "Hopes Dashed and Dreams Fulfilled: Contingencies of Self-Worth and Graduate School Admissions". Personality and Social Psychology Bulletin. 28 (9): 1275–1286. doi:10.1177/01461672022812012.
- ↑ Butler, R. (1998). "Age Trends in the Use of Social and Temporal Comparison for Self-Evaluation: Examination of a Novel Developmental Hypothesis". Child Development. 69 (4): 1054–1073. doi:10.1111/j.1467-8624.1998.tb06160.x. PMID 9768486.
- ↑ Pomerantz, E. M.; Ruble, D. N.; Frey, K. S.; Grenlich, F. (1995). "Meeting Goals and Confronting Conflict: Children's Changing Perceptions of Social Comparison". Child Development. 66 (3): 723–738. doi:10.1111/j.1467-8624.1995.tb00901.x. PMID 7789198.
- ↑ Thorne, A.; Michaelieu, Q. (1996). "Situating Adolescent Gender and Self-Esteem with Personal Memories". Child Development. 67 (4): 1374–1390. doi:10.1111/j.1467-8624.1996.tb01802.x. PMID 8890489.
- ↑ Leary, M. R.; Baumeister, R. F. (2000). "The Nature and Function of Self-Esteem: Sociometer Theory". ใน Zanna, M. P. (บ.ก.). Advances in Experimental Social Psychology. Vol. 32. San Diego, CA: Academic Press. pp. 1–62. ISBN 0-12-015232-0.
- ↑ Erol, R. Y.; Orth, U. (2011). "Self-Esteem Development From Age 14 to 30 Years: A Longitudinal Study". Journal of Personality and Social Psychology. 101 (3): 607–619. doi:10.1037/a0024299. PMID 21728448.
- ↑
Maldonado L., Huang Y., Chen R., Kasen S., Cohen P., Chen H. (2013). "Impact of early adolescent anxiety disorders on self-esteem development from adolescence to young adulthood". Journal of Adolescent Health. 53: 287–292. doi:10.1016/j.jadohealth.2013.02.025.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Ehrenreich, Barbara (January 2007). Patterns for college Writing (12th ed.). Boston: Bedford/St. Martin's. p. 680.
- ↑ Gruenewald, TL; Kemeny, ME; Aziz, N; Fahey, JL (2004). "Acute threat to the social self: Shame, social self-esteem, and cortisol activity". Psychosomatic Medicine. 66: 915–924. doi:10.1097/01.psy.0000143639.61693.ef.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Johnson, EA; O'Brien, KA (2013). "Self-compassion soothes the savage ego-threat system: Effects on negative affect, shame, rumination, & depressive symptoms". Journal of Social and Clinical Psychology. 32 (9): 939–963. doi:10.1521/jscp.2013.32.9.939.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 47.0 47.1 Power, F. Clark; Khmelkov, Vladimir T. (1998). "Character development and self-esteem: Psychological foundations and educational implications". International Journal of Educational Research. 27 (7): 539–551. doi:10.1016/S0883-0355(97)00053-0.
- ↑ Adapted from Hamachek, D. E. (1971). Encounters with the Self. New York: Rinehart.
- ↑ 49.0 49.1 "Developing Your Child's Self-Esteem". KidsHealth. 2012-11-27.
- ↑ Jordan, C. H.; Spencer, S. J.; Zanna, M. P. (2003). "'I love me...I love me not': Implicit self-esteem, explicit self-esteem and defensiveness". ใน Spencer, S. J.; Fein, S.; Zanna, M. P.; Olsen, J. M. (บ.ก.). Motivated social perception: The Ontario symposium. Vol. 9. Mahwah, NJ: Erlbaum. pp. 117–145. ISBN 0-8058-4036-2.
- ↑ Jordan, C. H.; Spencer, S. J.; Zanna, M. P.; Hoshino-Browne, E.; Correll, J. (2003). "Secure and defensive high self-esteem". Journal of Personality and Social Psychology. 85 (5): 969–978. doi:10.1037/0022-3514.85.5.969. PMID 14599258.
- ↑ Krahe, Barbara (2013). The Social Psychology of Aggression. Psychology Press. p. 75.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Sedikieds, C.; Rudich, E. A.; Gregg, A. P.; Kumashiro, M.; Rusbult, C. (2004). "Are normal narcissists psychologically healthy? Self-esteem matters". Journal of Personality and Social Psychology. 87 (3): 400–416. doi:10.1037/0022-3514.87.3.400. PMID 15382988.
- ↑ "Narcissism vs. Authentic Self-Esteem". AfterPsychotherapy.
- ↑ Morf, C. C.; Rhodewalk, F. (1993). "Narcissism and self-evaluation maintenance: Explorations in object relations". Personality and Social Psychology Bulletin. 19 (6): 668–676. doi:10.1177/0146167293196001.
- ↑ Twenge, J. M.; Campbell, W. K. (2003). "'Isn't it fun to get the respect we're going to deserve?' Narcissism, social rejection, and aggression". Personality and Social Psychology Bulletin. 29 (2): 261–272. doi:10.1177/0146167202239051. PMID 15272953.
- ↑ Jones, FC (2003). "Low self esteem". Chicago Defender. p. 33. ISSN 0745-7014.
- ↑ Baldwin, M. W.; Sinclair, L. (1996). "Self-esteem and 'if...then' contingencies of interpersonal acceptance". Journal of Personality and Social Psychology. 71 (6): 1130–1141. doi:10.1037/0022-3514.71.6.1130. PMID 8979382.
- ↑ 59.0 59.1 59.2 Ross, Martín (2013). El Mapa de la Autoestima. Dunken. ISBN 978-987-02-6773-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 60.0 60.1 60.2
Leiva, A; Rodríguez, JY; Carrasco, L Nohemy; Durán, M; Portillo, M; Lam, SM (2015). "Como influye el genero en la Autoestima de los Adolescentes". Universidad Nacional Autónoma de Honduras.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 61.0 61.1 61.2 61.3 61.4 61.5 61.6 Gallardo, Bonet; Bailén, L Huertas (2015). "Feedback between self-esteem and digital activity in the adolescent group". Universidad Autónoma de Barcelona.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Koivula, Nathalie; Hassmén, Peter; Fallby, Johan (2002). "Self-esteem and perfectionism in elite athletes: effects on competitive anxiety and self-confidence". Personality and Individual Differences. 32 (5): 865–875. doi:10.1016/S0191-8869(01)00092-7.
- ↑ Blom, Victoria (2011). "Striving for Self-esteem" (PDF). Department of Psychology, Stockholm University.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 64.0 64.1 Brown, Harriet (2012-01-01). "The Boom and Bust Ego". Psychology Today.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Mruk, Christopher J (1995). Self-esteem Research, Theory, and Practice. Springer. p. 88.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 66.0 66.1 Cooper, Terry D (2006). Paul Tillich and Psychology: Historic and Contemporary Explorations in Theology, Psychotherapy, and Ethics. Mercer University.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Crum, Milton. "Self-esteem/OKness: a personal story" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-17. สืบค้นเมื่อ 2015-01-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Michael H. Kernis. "Toward a Conceptualization of Optimal Self-Esteem" (PDF). Academic.udayton.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-17. สืบค้นเมื่อ 11 December 2017.
- ↑ 69.0 69.1 69.2 Nathaniel Branden. Cómo mejorar su autoestima. 1987. Versión traducida: 1990. 1ª edición en formato electrónico: enero de 2010. Ediciones Paidós Ibérica. ISBN 978-84-493-2347-8.
- ↑ Miranda, Christian (2005). "La autoestima profesional: una competencia mediadora para la innovación en las prácticas pedagógicas" (PDF). Revista Iberoamericana sobre Calidad, Eficacia y Cambio en Educación. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Sigmund Freud, On Metapsychology (PFL 11) p. 254-6
- ↑ The Yogyakarta Principles, Preamble and Principles 11
- ↑ "Preventing Suicide, A resource for teachers and other school staff" (PDF). Geneva: WHO. 2000.
- ↑ Schacter, Daniel L.; Gilbert, Daniel T.; Wegner, Daniel M. (2009). "Self Esteem". Psychology (Second ed.). New York: Worth. ISBN 978-0-7167-5215-8.
- ↑ Baumeister, Roy F.; Jennifer D. Campbell, Joachim I. Krueger and Kathleen D. Vohs; Krueger, Joachim I.; Vohs, Kathleen D. (January 2005). "Exploding the Self-Esteem Myth" (PDF). Scientific American. 292 (1): 84–91. Bibcode:2005SciAm.292a..84B. doi:10.1038/scientificamerican0105-84. PMID 15724341. S2CID 121786659. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 20 February 2011.
- ↑ Baumeister, Roy (23 December 2009). "Self-Esteem". Education.com. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
- ↑ Owens, Timothy J.; Stryker, Sheldon; Goodman, Norman, บ.ก. (2001). Extending Self-Esteem Theory and Research: Sociological and Psychological Currents. Cambridge: Cambridge University Press. doi:10.1017/cbo9780511527739. ISBN 978-0-521-63088-7.
- ↑ Schimmack, Ulrich; Diener, Ed (2003). "Predictive validity of explicit and implicit self-esteem for subjective well-being" (PDF). Journal of Research in Personality. 37 (2): 100–106. doi:10.1016/S0092-6566(02)00532-9.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Eaton, J; Wardstruthers, C; Santelli, A (2006). "Dispositional and state forgiveness: The role of self-esteem, need for structure, and narcissism". Personality and Individual Differences. 41 (2): 371–380. doi:10.1016/j.paid.2006.02.005. ISSN 0191-8869.
- ↑ Chavez, Robert S.; Heatherton, Todd F. (2014-04-28). "Multimodal frontostriatal connectivity underlies individual differences in self-esteem". Social Cognitive and Affective Neuroscience. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 2015-07-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 81.0 81.1 Ellis, A (2001). Feeling better, getting better, staying better. Impact Publishers.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Ellis, A. (2005). The Myth of Self-esteem. Amherst, NY: Prometheus Books. ISBN 1-59102-354-8.
- ↑ Ellis, Albert; Dryden, Windy. The Practice of Rational Emotive Behavior Therapy (2nd ed.). Springer Publishing Company.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Baumeister; Tierney (2011). Willpower: The Greatest's Human Strength. p. 192.
- ↑ Branden, Nathaniel (1995). The Six Pillars of Self-esteem. Bantam. p. 52.
- ↑ Branden, Nathaniel (1988). How to Raise Your Self-Esteem: The Proven Action-Oriented Approach to Greater Self-Respect and Self-Confidence. Random House.
- ↑ Harter, 1987; Huebner, 1991; Lipschitz-Elhawi & Itzhaky, 2005; Rumberger 1995; Swenson & Prelow, 2005; Yarcheski & Mahon, 1989 อ้างอิงใน Michaels, M.; Barr, A.; Roosa, M.; Knight, G. (2007). "Self-Esteem: Assessing Measurement Equivalence in a Multiethnic Sample of Youth". Journal of Early Adolescence. 27 (3): 270. doi:10.1177/0272431607302009.
- ↑ Erikson, Erik H. (1973). Childhood and Society. Harmondsworth: Penguin. p. 260. ISBN 0-14-020754-6.
- ↑ Crompton, Simon (2007). All about Me. London: Collins. p. 16. ISBN 978-0-00-724795-0.
- ↑ Fenichel, Otto (1946). The Psychoanalytic Theory of Neurosis. London. pp. 407–410.
- ↑ Symington, Neville (2003). Narcissism: A New Theory. London: Karmac. p. 114. ISBN 1-85575-047-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Baumeister, Roy F. (2001). "Violent Pride: Do people turn violent because of self-hate or self-love?," in Scientific American, 284, No. 4, pages 96-101; April 2001.
- Branden, N. (1969). The Psychology of Self-Esteem. New York: Bantam.
- Branden, N. (2001). The psychology of self-esteem: a revolutionary approach to self-understanding that launched a new era in modern psychology. San Francisco: Jossey-Bass, 2001. ISBN 0-7879-4526-9
- Burke, C. (2008)"Self-esteem: Why?; Why not?," N.Y. 2008 [1]
- Crocker J., Park L. E. (2004). "The costly pursuit of self-esteem". Psychological Bulletin. 130 (3): 392–414. doi:10.1037/0033-2909.130.3.392. PMID 15122925.
- Franklin, Richard L. (1994). "Overcoming The Myth of Self-Worth: Reason and Fallacy in What You Say to Yourself." ISBN 0-9639387-0-3
- Hill, S.E.; Buss, D.M. (2006). "The Evolution of Self-Esteem." In Kernis, Michael, (Ed.), Self Esteem: Issues and Answers: A Sourcebook of Current Perspectives.. Psychology Press:New York. 328-333. Full text เก็บถาวร 2015-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Lerner, Barbara (1985). "Self-Esteem and Excellence: The Choice and the Paradox," American Educator, Winter 1985.
- Mecca, Andrew M., et al., (1989). The Social Importance of Self-esteem University of California Press, 1989. (ed; other editors included Neil J. Smelser and John Vasconcellos)
- Mruk, C. (2006). Self-Esteem research, theory, and practice: Toward a positive psychology of self-esteem (3rd ed.). New York: Springer.
- Rodewalt F., Tragakis M. W. (2003). "Self-esteem and self-regulation: Toward optimal studies of self-esteem". Psychological Inquiry. 14 (1): 66–70. doi:10.1207/s15327965pli1401_02.
- Ruggiero, Vincent R. (2000). "Bad Attitude: Confronting the Views That Hinder Student's Learning" American Educator.
- Sedikides, C., & Gregg. A. P. (2003). "Portraits of the self." In M. A. Hogg & J. Cooper (Eds.), Sage handbook of social psychology (pp. 110-138). London: Sage Publications.
- Twenge, Jean M. (2007). Generation Me: Why Today's Young Americans Are More Confident, Assertive, Entitled — and More Miserable Than Ever Before. Free Press. ISBN 978-0-7432-7698-6
- CS1 maint: uses authors parameter
- ทัศนคติทางใจเชิงบวก
- ทัศนคติทางจิตวิทยา
- การดูแลตนเอง
- จิตวิทยาเชิงบวก
- แนวคิดเกี่ยวกับตน
- อัตตา
- แนวคิด
- ปรัชญาชีวิต
- แรงจูงใจ
- การกระทำ
- อารมณ์
- พฤติกรรมมนุษย์
- การรังแก
- ทารุณกรรม
- ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
- ปัญหาสังคม
- ความเดียดฉันท์และการเลือกปฏิบัติ
- ความหลงตัวเอง
- ความเป็นตัวของตัวเอง
- จิตวิทยาเชิงอัตตา
- ลักษณะบุคลิกภาพ
- ความภูมิใจ
- เอกลักษณ์
- ตรรกศาสตร์ทางปรัชญา
- ภาวะนามธรรม
- ความจริง