ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกส
Half-length painted portrait of a brown-haired man with mustache and beard, wearing a uniform with gold epaulettes and the Order of the Golden Fleece on a red ribbon around his neck and a striped sash of office across his chest
เมื่อพระชนม์มายุ 35
จักรพรรดิแห่งบราซิล
ครองราชย์12 ตุลาคม 1822 – 7 เมษายน 1831
ราชาภิเษก1 ธันวาคม 1822
ถัดไปจักรพรรดิเปดรูที่ 2
พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึช
ครองราชย์10 มีนาคม 1826 – 2 พฤษภาคม 1826
ก่อนหน้าพระเจ้าฌูเอาที่ 6
ถัดไปพระนางเจ้ามารีอาที่ 2
พระราชสมภพ12 ตุลาคม ค.ศ. 1798(1798-10-12)
ลิสบอน, โปรตุเกส
สวรรคต24 กันยายน ค.ศ. 1834(1834-09-24) (35 ปี)
ลิสบอน, โปรตุเกส
คู่อภิเษก
พระราชบุตรสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส
เจ้าชายมีแกล เจ้าชายแห่งไบรา
เจ้าชายฌูเอา การ์ลุช เจ้าชายแห่งไบรา
เจ้าหญิงฌานูวารียาแห่งบราซิล
เจ้าหญิงเปาลาแห่งบราซิล
เจ้าหญิงฟรังซิชกาแห่งบราซิล
จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล
เจ้าหญิงมารีอา อเมเลียแห่งบราซิล
อิซาเบล มาเรีย เดอ อัลคันทารา ดัสเชสแห่งกอยอัส
เปดรู เดอ อัลคันทารา บราซิเลโร
มาเรีย อิซาเบล เดอ อัลคันทารา บราซิเลรา
มาเรีย อิซาเบล เดอ อัลคันทารา เคานท์เตสแห่งอิกัวคู
โรดริโก เดลฟิม เปเรย์รา
เปดรู เดอ อัลคันทารา บราซิเลโร
พระนามเต็ม
เปดรู ดึ อัลกันตารา ฟรังซิชกู อังตอนียู ฌูเอา การ์ลุช ซาเวียร์ ดึ เปาลา มีแกล ราฟาเอล ฌูอากีม ฌูเซ กองซากา ปาสโกอัล ซิปิอาโน เซราฟิม
ราชวงศ์บรากังซา
พระราชบิดาพระเจ้าฌูเอาที่ 6
พระราชมารดาการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธยCursive signature in ink

จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล (โปรตุเกส: Pedro I, อังกฤษ: Peter I; 12 ตุลาคม พ.ศ. 2341 – 24 กันยายน พ.ศ. 2377) มีพระราชสมัญญาว่า "ผู้ปลดปล่อย" (the Liberator) [1] ทรงเป็นผู้สถาปนาและผู้ปกครองจักรวรรดิบราซิลพระองค์แรก ทรงดำรงเป็น พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกส (Dom Pedro IV) จากการครองราชบัลลังก์เหนือราชอาณาจักรโปรตุเกสเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ที่ซึ่งทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "ผู้ปลดปล่อย" และ "กษัตริย์นักรบ" (the Soldier King) [2] เสด็จพระราชสมภพในกรุงลิสบอน พระองค์เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 4 ในบรรดาพระราชบุตรทั้งหมดของพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสกับการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์บราแกนซา เมื่อประเทศโปรตุเกสถูกกองทัพฝรั่งเศสโจมตีในปีพ.ศ. 2350 พระองค์และพระราชวงศ์ได้เสด็จลี้ภัยไปยังอาณานิคมที่ใหญ่และมั่งคั่งที่สุดของโปรตุเกส คือ บราซิล

การเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและทันทีทันใดของการปฏิวัติเสรีนิยม พ.ศ. 2363 ในกรุงลิสบอนบังคับให้พระราชบิดาของเจ้าชายเปดรูต้องเสด็จนิวัติโปรตุเกสในเดือนเมษายน พ.ศ. 2364 ทรงปล่อยพระราชกิจในบราซิลแก่พระราชโอรสโดยให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์ทรงต้องปราบปรามภัยคุกคามจากนักปฏิวัติและการบั่นทอนพระราชอำนาจโดยกองทัพโปรตุเกสซึ่งพระองค์กำราบได้หมดสิ้น การที่รัฐบาลโปรตุเกสขู่ประกาศยกเลิกอัตตาณัติทางการเมืองที่บราซิลมีมาแต่ พ.ศ. 2351 สร้างความไม่พอใจอย่างแพร่หลายในบราซิล เจ้าชายเปดรูทรงเลือกข้างชาวบราซิลและทรงประกาศเอกราชของบราซิลออกจากโปรตุเกสในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2365 ในวันที่ 12 ตุลาคม ทรงสถาปนาพระองค์เองเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งบราซิลและในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2367 พระองค์สามารถกำจัดกองทัพทั้งหมดซึ่งภักดีต่อโปรตุเกส ไม่กี่เดือนให้หลัง สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูทรงปราบสมาพันธรัฐศูนย์สูตร (Confederation of the Equator) อายุสั้น ซึ่งเป็นความพยายามแยกตัวออกที่ล้มเหลวของกบฏหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล

กบฏแยกตัวออกทางภาคใต้ในแคว้นคิสพลาตินาเมื่อต้น พ.ศ. 2368 และความพยายามของสหรัฐรีโอเดลาพลาตาที่จะผนวกแคว้นนี้ถัดมา ทำให้จักรวรรดิบราซิลเข้าสู่สงครามคิสพลาทีน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2369 สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสในระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนทรงสละราชบัลลังก์แก่พระราชธิดาองค์โตให้สืบราชบัลลังก์ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส สถานการณ์กลับเลวร้ายลงในปี พ.ศ. 2371 เมื่อสงครามทางภาคใต้ผลปรากฏว่าบราซิลต้องสูญเสียคิสพลาตินา ในปีเดียวกัน ราชบัลลังก์ของสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกสถูกช่วงชิงโดยเจ้าชายมิเกล พระอนุชาของพระองค์ และได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส เรื่องชู้สาวพ้องกันและน่าอับอายกับข้าราชบริพารหญิงคนหนึ่งทำให้พระองค์เสื่อมเสียชื่อ เกิดความยุ่งยากอื่นในรัฐสภาบราซิลซึ่งการต่อสู้ว่าพระมหากษัตริย์หรือสภานิติบัญญัติควรเป็นผู้เลือกรัฐบาลครอบงำการอภิปรายทางการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2369 ถึง พ.ศ. 2374 ด้วยพระองค์ไม่สามารถจัดการกับปัญหาทั้งในบราซิลและโปรตุเกสได้พร้อมกัน ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2374 จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงสละราชบัลลังก์แก่พระราชโอรส พระนามว่า จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล

จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงบุกครองโปรตุเกสในฐานะผู้บัญชาการกองทัพในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2375 สิ่งที่พระองค์เผชิญนั้นทีแรกเหมือนกับสงครามกลางเมืองระดับชาติ แต่ไม่นานได้เข้าไปมีส่วนในความขัดแย้งกว้างกว่าซึ่งเกิดขึ้นทั่วคาบสมุทรไอบีเรียในการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนเสรีนิยมกับผู้ซึ่งแสวงการกลับคืนสู่สมบูรณาญาสิทธิ์ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 เสด็จสวรรคตด้วยวัณโรคในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2377 เพียงไม่กี่เดือนหลังจากพระองค์และฝ่ายเสรีนิยมมีชัย พระอค์ทรงได้รับการยอมรับโดยคนร่วมสมัยและคนรุ่นหลังในฐานะบุคคลสำคัญผู้ซึ่งทรงเผยแพร่แนวคิดเสรีนิยมที่ซึ่งนำพาบราซิลและโปรตุเกสเคลื่อนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิสู่ระบอบการปกครองแบบมีผู้แทน

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]

พระราชสมภพ

[แก้]
พระสาทิสลักษณ์ เจ้าชายเปดรูขณะมีพระชนมายุ 2 พรรษา ราวปีพ.ศ. 2343

เจ้าชายเปดรูพระราชสมภพในเวลา 8 โมงเช้า[3]ของวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2341 ณ พระราชวังหลวงเกวลูซ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส [4] พระองค์ทรงได้รับการตั้งพระนามตาม นักบุญปีเตอร์แห่งอัลคันทารา [5] และพระนามเต็มของพระองค์คือ เปดรู เดอ อัลคันทารา ฟรานซิสโก อันโตนิโอ ฌูเอา คาร์ลอส ซาเวียร์ เดอ เปาลา มิเกล ราฟาเอล โจอาควิม โจเซ กอนซากา ปาสโคอัล ซิปิอาโน เซราฟิม[6] พระองค์ทรงได้รับพระอิสริยยศ "ท่านชาย" (Don) เพื่อเป็นพระเกียรติยศเมื่อประสูติ[7]

พระองค์เป็นสมาชิกสมาชิกในราชวงศ์บราแกนซา (ภาษาโปรตุเกส:Bragança) ผ่านทางพระราชบิดาของพระองค์คือ เจ้าชายฌูเอา (ต่อมาคือ พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส) [8][9] และพระองค์เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกสกับ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส ซึ่งทั้งสองพระองค์มีศักดิ์เป็นทั้งปิตุลาและนัดดาและยังเป็นสวามีและมเหสีกันด้วย[10][11] พระราชมารดาของเจ้าชายเปดรูคือ เจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งสเปน[12] พระราชบิดาและพระราชมารดาของเจ้าชายเปดรูถือว่าเป็นคู่อภิเษกสมรสที่ไม่มีความสุข พระนางคาร์ลอตา โจวควินาทรงเป็นสตรีผู้มีความทะเยอทะยาน ทรงพยายามทุกวิถีทางในการแสวงหาผลประโยชน์แก่สเปนโดยก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของโปรตุเกส พระนางไม่ทรงจงรักภักดีต่อพระสวามีอย่างที่เลื่องลือ พระนางทรงวางแผนล้มราชบัลลังก์ของพระสวามีตราบเท่าที่ทำได้ ทำให้ขุนนางโปรตุเกสไม่พอใจในพระนาง[13][14]

ในฐานะที่เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สอง เจ้าชายเปดรูทรงกลายเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ในรัชสมัยของพระราชบิดาและทรงได้รับพระอิสริยยศ เจ้าชายแห่งเบย์รา หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายฟรานซิสโก อันโตนิโอแห่งเบย์รา พระเชษฐาในปีพ.ศ. 2344[15] เจ้าชายฌูเอาทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 พระราชมารดา หลังจากพระราชินีมาเรียทรงถูกประกาศว่าทรงวิปลาสและไม่สามารถประกอบพระราชกิจได้ในปีพ.ศ. 2335[16][17] โดยในปีพ.ศ. 2345 พระราชบิดาและพระราชมารดาของเจ้าชายเปดรูทรงบาดหมางกัน เจ้าชายฌูเอาประทับที่พระราชวังหลวงมาฟราส่วนเจ้าหญิงคาร์ลอตาประทับที่พระราชวังรามัลเฮา[18][19] เจ้าชายเปดรู พระอนุชาและพระภคินีประทับที่พระราชวังเกวลูซด้วยกันกับสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 พระอัยยิกา ห่างจากพระราชบิดาและพระราชมารดา[18][19] ทั้งสองพระองค์มีโอกาสได้พบกับพระโอรสธิดาในช่วงระหว่างแปลพระราชฐานอย่างเป็นทางการมาที่เกวลูซเพียงเท่านั้น[18]

การศึกษา

[แก้]
เจ้าชายเปดรูขณะมีพระชนมายุ 11 พรรษา ราวปีพ.ศ. 2352

ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2350 ขณะที่เจ้าชายเปดรูมีพระชนมายุ 9 พรรษา พระราชวงศ์ต้องเสด็จลี้ภัยออกจากโปรตุเกสจากการรุกรานของกองทัพฝรั่งเศสที่ถูกส่งมาโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กำลังเข้าใกล้กรุงลิสบอน เจ้าชายเปดรูและพระราชวงศ์ได้เสด็จถึงรีโอเดจาเนโร เมืองหลวงของบราซิล ซึ่งเป็นอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดและมั่งคั่งที่สุดของโปรตุเกส ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2351[20] ในระหว่างการเดินทางเจ้าชายทรงอ่านบทประพันธ์แอเนียดของเวอร์จิลและทรงสนทนากับลูกเรือเพื่อเรียนรู้ทักษะการเดินเรือ[21][22] ในบราซิล หลังจากประทับที่พระราชวังปาโคเพียงระยะสั้นๆ เจ้าชายเปดรูและพระอนุชาคือ เจ้าชายมิเกลได้ย้ายมาประทับร่วมกับพระราชบิดาที่พระราชวังปาโค เดอ เซา กริสโตเบา (พระราชวังแห่งนักบุญคริสโตเฟอร์) [23] ถึงแม้ว่าพระองค์จะไม่ทรงเคยใกล้ชิดสนิทสนมกับพระราชบิดา แต่เจ้าชายเปดรูทรงรักพระองค์และทรงโกรธเคืองผู้ที่ทำให้พระราชบิดาเสือมเสียพระเกียรติซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาโดยผู้อยู่เบื้องหลังคือพระนางคาร์ลอตา โจวควินา พระราชมารดา[18][24] เมื่อทรงเจริญพระชันษา เจ้าชายเปดรูทรงขนานพระนามพระราชมารดาอย่างเปิดเผยและทรงแสดงความรู้สึกเหยียดหยามพระราชมารดาว่า "สุนัขตัวเมีย" (Bitch) [25]

ประสบการณ์ช่วงแรกที่ทรงพบเป็นช่วงของการทรยศ, ความเย็นชาและการเพิกเฉย สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบมากมายต่อการบ่มเพาะพระอุปนิสัยของเจ้าชายเปดรู[18] ความเด็ดเดี่ยวที่ทรงมีอยู่พอสมควรในช่วงที่ทรงพระเยาว์ทำให้ทรงถูกเลี้ยงดูโดย ไออา (aia;พระอภิบาล) ดอนญา มาเรีย เจโนเววา โด เรโก อี มาโตส ผู้ซึ่งเจ้าชายทรงรักเปรียบเสมือนพระมารดา[26][27] และการเลี้ยงดูจาก ไอโอ (aio; พระอาจารย์และผู้ควบคุมดูแล) บาทหลวงอันโตนิโอ เดอ อาร์ราบิดา ผู้ซึ่งกลายเป็นที่ปรึกษาของเจ้าชาย[22] ทั้งสองคนมีภาระหน้าที่ที่จะต้องอภิบาลเจ้าชายเปดรูให้เจริญพระชันษาและจัดหาการศึกษาที่เหมาะสมแก่พระองค์ การศึกษาของพระองค์นั้นได้ถูกจัดให้ศึกษาโดยรวมที่ซึ่งเรียงตามลำดับวิชาประกอบด้วย คณิตศาสตร์, เศรษฐศาสตร์การเมือง, ตรรกศาสตร์, ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์[28] พระองค์ทรงเรียนรู้ที่จะอ่านและเขียนไม่เพียงภาษาโปรตุเกสแต่ทรงเรียนรู้ได้ทั้งภาษาละตินและภาษาฝรั่งเศส[29] พระองค์สามารถแปลภาษาอังกฤษและเข้าพระทัยในภาษาเยอรมัน[30] ถึงแม้ว่าในเวลาต่อมาทรงครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแล้ว พระองค์ทรงทุ่มเทให้กับเวลาอย่างน้อยสองชั่วโมงของแต่ละวันในการศึกษาและการอ่าน[30][31]

ถึงอย่างไรก็ตามการให้ศึกษาของเจ้าชายเปดรูจะกว้างขวาง แต่การศึกษาของเจ้าชายเปดรูกลับขาดแคลน นักประวัติศาสตร์ โอตาวิโอ ทาร์ควินิโอ เดอ เซาซา ได้กล่าวถึงเจ้าชายเปดรูว่า "ทรงปราศจากความสงสัย, ไหวพริบ, [และ]ปัญญาที่เฉียบแหลม"[32] อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ โรเดอริค เจ. บาร์แมน ได้เล่าถึงพระองค์โดยตามธรรมชาติที่ว่า "ทรงกระตือรือร้นมาก, ทรงเอาแน่เอานอนไม่ได้, และทรงถืออารมณ์เป็นใหญ่" พระองค์ยังมีพระอุปนิสัยหุนหันพลันแล่นและไม่ทรงเคยที่จะเรียนรู้การควบคุมพระองค์เองหรือการประเมินผลของการตัดสินพระทัยของพระองค์และทัศนคติที่เหมาะสมเปลี่ยนไปตามสถานการณ์[33] พระราชบิดาไม่ทรงยอมให้ผู้ใดอบรมลงโทษเจ้าชาย[28] ในขณะที่กำหนดการของเจ้าชายเปดรูควบคุมให้พระองค์มีเวลาศึกษาสองชั่วโมงในแต่ละวัน บางครั้งพระองค์ทรงหลีกเลี่ยงการดำเนินพระชนม์ชีพตามกำหนดการโดยการไล่พระอาจารย์ออกไปเพื่อทำกิจกรรมอื่นที่ทรงเห็นว่าน่าสนพระทัยกว่า[28]

อภิเษกสมรสครั้งแรก

[แก้]
พระสาทิสลักษณ์เจ้าชายเปดรูขณะมีพระชนมายุ 18 พรรษา วาดโดย ฌอง-แบ็ฟติสท์ เดเบรต์ ราวปีพ.ศ. 2359

เจ้าชายเปดรูทรงสามารถบรรลุเป้าหมายในการทำกิจกรรมต่างๆที่ซึ่งทรงได้รับทักษะทางกาย มากกว่าในห้องเรียน ขณะประทับที่ซานตาครูซฟาร์มของพระราชบิดา เจ้าชายได้ฝึกทรงม้า และกลายเป็นผู้ทรงม้าได้อย่างดีเยี่ยมและทรงเป็นช่างตีเหล็กใส่เกือกม้าที่เยี่ยมยอดด้วย[34][35] ขณะประทับบนหลังม้า พระองค์และเจ้าชายมิเกล พระอนุชาทรงสามารถแสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงและความกล้าหาญ ทั้งสองพระองค์พอพระทัยกับการทรงม้าไปยังในพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคย ผ่านป่าและแม้ว่าจะเป็นตอนกลางคืนหรือในสภาพอากาศที่แปรปรวน[34] พระองค์ทรงแสดงพระอัจฉริยภาพทางศิลปะและงานฝีพระหัตถ์ พระองค์ทรงจัดสร้างที่ทำงานส่วนพระองค์ที่ซึ่งพระองค์จะใช้เวลาในการแกะสลักไม้และสร้างเครื่องเรือน[36] นอกจากนี้พระองค์ทรงมีรสนิยมด้านดนตรีและภายใต้คำแนะนำจากมาร์คอส ปอร์ตูเกล ทำให้เจ้าชายทรงมีทักษะด้านการประพันธ์เพลง พระองค์มีพระสุรเสียงในการขับร้องที่ไพเราะและชำนาญในการทรงฟลูต, ทรอมโบน, ฮาร์ปซิคอร์ด, บาสซูน, ไวโอลินและกีตาร์ ต่อมาทรงใช้เล่นเพลงและเต้นรำกับเพลงที่เป็นที่นิยมเช่น ลุนดู, โมดินฮา และฟาโด [37]

พระบุคลิกลักษณะของเจ้าชายเปดรูทรงเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงโดยทรงเป็นผู้ที่ไม่อยู่นิ่ง พระองค์มีพระบุคลิกที่หุนหันพลันแล่นด้วยมีแนวโน้มที่จะถูกครอบงำโดยอารมณ์และทรงพิโรธได้ง่าย ทรงเบื่อหน่ายและเสียสมาธิได้ง่าย ในชีวิตส่วนพระองค์ทรงทำให้พระองค์เองเพลิดเพลินด้วยการตรัสแทะโลมสตรี นอกจากนั้นทรงทำกิจกรรมล่าสัตว์และทรงม้า[38] ด้วยพระอารมณ์ที่กระสับกระส่ายได้กระตุ้นให้พระองค์ทรงแสวงหาการผจญภัย[39] และบางครั้งทรงปลอมพระองค์เป็นนักเดินทาง พระองค์ทรงเดินทางไปยังเขตอโคจรในรีโอเดจาเนโรเป็นประจำ[40] พระองค์เสวยน้ำจัณฑ์ไม่บ่อย[41] แต่โปรดการมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงมากหน้าหลายตาเพียงชั่วคราวอย่างแก้ไขไม่ได้[42] เรื่องอื้อฉาวของพระองค์ในช่วงแรกๆทรงมีความสัมพันธ์กับนักเต้นรำชาวฝรั่งเศส นัวอ์มี ทีร์เอร์รี ซึ่งมีบุตรร่วมกันแต่ได้เสียชีวิตในวันคลอด พระราชบิดาของเจ้าชายเปดรูซึ่งได้ครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส ทรงทำการส่งทีร์เอร์รีออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงการเสี่ยงกับแผนการหมั้นหมายของเจ้าชายกับอาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย พระราชธิดาในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย (อดีตสมเด็จพระจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) [43][44]กับเจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลีส์

ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2360 เจ้าชายเปดรูทรงอภิเษกสมรสโดยฉันทะกับอาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนา[45][46] เมื่อพระนางเสด็จถึงรีโอเดจาเนโรในวันที่ 5 พฤศจิกายน พระนางทรงตกหลุมรักเจ้าชายเปดรูในทันที ซึ่งทรงมีเสน่ห์และดึงดูดพระทัยมากกว่าที่พระนางทรงดำริไว้ หลังจาก"ปีภายใต้พระอาทิตย์เขตร้อนชื้น ลักษณะสีผิวของพระองค์ยังคงสว่าง พระปรางเป็นสีชมพูผ่องใส" เจ้าชายซึ่งมีพระชนมายุ 19 พรรษาทรงพระสิริโฉมและทรงสูงกว่ามาตรฐานในขณะนั้นเพียงเล็กน้อย ด้วยพระเนตรดำสว่างและพระเกศาสีน้ำตาลเข้ม[34] "รูปลักษณะที่ดีของพระองค์" ในคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ นีล ดับเบิลยู. มาเคาเลย์ จูเนียร์. "ทรงมีความรับผิดชอบ, ทะนงตน และทรงซื่อตรงแม้กระทั่งในวัยที่เข้าสู่ความเป็นหนุ่ม และการดูแลเรื่องฉลองพระองค์และรูปลักษณะของพระองค์ ที่ซึ่งไม่มีข้อบกพร่อง ทรงมีระเบียบและสะอาดอย่างเป็นประจำ พระองค์ทรงสรงน้ำเป็นประจำตามวัฒนธรรมแบบบราซิล"[34] พิธีรับศีลในวันอภิเษกสมรส ด้วยการให้คำปฏิญาณตามคำสาบานที่ให้ไว้ในการอภิเษกสมรสโดยฉันทะครั้งก่อน พิธีรับศีลได้เกิดขึ้นในวันถัดมา[47] การอภิเษกสมรสครั้งนี้ทำให้ทรงให้กำเนิดพระโอรสธิดาร่วมกัน 7 พระองค์ได้แก่ เจ้าหญิงมาเรีย (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส), เจ้าชายมิเกล, เจ้าชายฌูเอา, เจ้าหญิงยาโนเรีย, เจ้าหญิงเปาลา, เจ้าหญิงฟรานซิสกา และเจ้าชายเปดรู (ต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล) [48]

อิสรภาพแห่งบราซิล

[แก้]

การปฏิวัติเสรีนิยมใน พ.ศ. 2363

[แก้]
Colored sketch depicting a crowd of civilian and military figures standing and waving before the crowded balcony of a pedimented building with people looking on from its windows
เจ้าชายเปดรู ในนามของพระราชบิดาของพระองค์ ทรงกล่าวสาบานที่จะทรงเชื่อฟังในรัฐธรรมนูญโปรตุเกสในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2364 พระองค์ประทับอยู่ตรงกลางของระเบียงทรงกำลังชูพระมาลาขึ้น

ในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2363 ข่าวได้มาถึงที่ว่าทหารรักษาการณ์ในโปรตุเกสได้ก่อจลาจล และจะนำไปสู่เหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักในชื่อ การปฏิวัติเสรีนิยมในพ.ศ. 2363 กองทัพทำการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล เข้ามาแทนที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ทรงแต่งตั้งขึ้น และทำการเรียกประชุม "คอร์เตส" ซึ่งคือ รัฐสภาโปรตุเกสซึ่งมีอายุมากว่าร้อยปีแล้ว ในเวลานี้ได้มีการเลือกตั้งตามประชาธิปไตยโดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการสร้างชาติรัฐธรรมนูญขึ้น[49] เจ้าชายเปดรูทรงรู้สึกแปลกพระทัยเมื่อพระราชบิดาของพระองค์ไม่ทรงเพียงขอความคิดเห็นจากพระองค์ แต่ก็ตัดสินพระทัยส่งพระองค์ไปโปรตุเกสเพื่อให้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระราชบิดาและเพื่อทำให้การปฏิวัติสงบลง[50] เจ้าชายไม่ทรงเคยได้รับการศึกษาเพื่อการปกครองประเทศและไม่ทรงเคยเข้าร่วมกิจการของรัฐมาก่อน บทบาทที่ซึ่งเป็นของพระองค์โดยกำเนิดถูกเติมเต็มโดยพระเชษฐภคินีพระองค์โตของพระองค์คือ เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซาแห่งเบย์รา พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ทรงต้องพึ่งพาพระราชธิดาพระองค์นี้ในเรื่องคำแนะนำ และเป็นพระนางผู้ทรงได้เป็นสมาชิกในสภาองคมนตรี[51]

เจ้าชายเปดรูทรงถูกเพ่งเล็งจากพระราชบิดาของพระองค์และเหล่าที่ปรึกษาคนสนิทของพระมหากษัตริย์ทุกคนซึ่งยังคงยึดติดกับหลักการแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในทางกลับกันเจ้าชายทรงเป็นที่รู้จักกันดีจากการสนับสนุนอย่างแข่งขันจากกลุ่มเสรีนิยมและตัวแทนจากระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เจ้าชายทรงอ่านงานเขียนของวอลแตร์, เบนจามิน คอนสแตนต์, กาอีตาโน ฟีแลงกีย์รี และเอ็ดมันด์ บรูค[52] แม้กระทั่งพระชายาของเจ้าชายคือ พระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่า ทรงตั้งข้อสังเกตว่า "พระสวามีของฉัน พระเจ้าทรงช่วยให้เรารักในแนวคิดใหม่ๆ"[53][54] พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ทรงพยายามเลื่อนวันเสด็จออกเดินทางของเจ้าชายเปดรูให้นานเท่าที่จะทำได้ ด้วยพระองค์ทรงเกรงว่าเมื่อเจ้าชายประทับอยู่ในโปรตุเกส เจ้าชายจะได้รับการประกาศเป็นพระมหากษัตริย์โดยกลุ่มปฏิวัติ[50]

ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2364 ทหารโปรตุเกสที่ประจำการในกรุงรีโอเดจาเนโรได้ก่อการจลาจลขึ้น แม้ว่าจะประทับอย่างปลอดภัยในระยะทางไม่กี่ไมล์จากเมืองเซา กริสโตเบา แต่ทั้งพระเจ้าฌูเอาที่ 6 และรัฐบาลของพระองค์ได้ทำการปราบปรามทหารที่ก่อจลาจล เจ้าชายเปดรูทรงตัดสินพระทัยที่จะทำด้วยพระองค์เองและพระองค์ทรงม้าไปพบปะกับกลุ่มกบฏ พระองค์ทรงเจรจากับพวกเขาและทรงเชื่อว่าพระราชบิดาจะยอมรับข้อเรียกร้องของพวกเขาด้วย ซึ่งรวมถึงการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่และทรงกล่าวสาบานที่จะทรงเชื่อฟังในรัฐธรรมนูญโปรตุเกสซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น[55] ในวันที่ 21 เมษายน ผู้เลือกตั้งแห่งเขตรีโอเดจาเนโรได้ทำการประชุมกันที่ตลาดหลักทรัพย์พ่อค้าเพื่อทำการเลือกผู้แทนของตยเข้าไปในคอร์เตสผู้ก่อการจลาจลกลุ่มเล็กๆได้ยึดที่ประชุมและจัดตั้งรัฐบาลปฏิวัติ อีกครั้งที่พระเจ้าฌูเอาที่ 6 และรัฐมนตรีของพระองค์ยังทรงไม่มีปฏิกิริยาใดๆ และพระมหากษัตริย์ต้องทรงยอมรับข้อเรียกร้องของนักปฏิวัติ เมื่อเจ้าชายเปดรูทรงเริ่มต้นและส่งกองทัพไปจัดตั้งใหม่อีกครั้งที่ตลาดหลักทรัพย์พ่อค้า[56] ภายใต้แรงกดดันจากคอร์เตส พระเจ้าฌูเอาที่ 6 และพระราชวงศ์จะต้องเดินทางออกไปยังโปรตุเกสในวันที่ 26 เมษายนและทรงให้เจ้าชายเปดรูและเจ้าหญิงมาเรีย ลีโอโพลดิน่าทรงอยู่เบื้องหลังที่บราซิล[57] สองวันก่อนที่พระองค์จะเสด็จลงเรือพระที่นั่ง พระมหากษัตริย์ทรงเตือนพระราชโอรสว่า "เปดรู ถ้าบราซิลแยกออกไป มันค่อนข้างจะทำให้เพื่อเจ้า เจ้าเป็นผู้เคารพพ่อมากกว่าหนึ่งในนักผจญภัยพวกนั้นเสียอีก"[58]

อิสรภาพหรือความตาย

[แก้]
Painted head and shoulders portrait showing a young man with curly hair and mustachios who is wearing a formal black coat, high collar and cravat with a city scene in the distant background
พระสาทิสลักษณ์เจ้าชายเปดรูขณะมีพระชนมายุ 23 พรรษา เบื้องพระปฤษฎางค์คือ เมืองเซาเปาลู ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2365

เจ้าชายเปดรูทรงเป็นคนง่ายๆทั้งด้านพระอุปนิสัยและการติดต่อกับบุคคลอื่น ยกเว้นในคราวที่เป็นพระราชพิธี พระองค์จะทรงฉลองพระองค์ราชสำนัก ฉลองพระองค์ประจำวันของพระองค์ประกอบด้วยพระสนับเพลาผ้าฝ้ายสีขาว, ฉลองพระองค์ผ้าฝ้ายลายและทรงพระมาลาฟางปีกกว้าง,[59][60]หรือฉลองพระองค์คลุมยาวและพระมาลาทรงสูงในสถานการณ์ที่เป็นทางการมาก[61][62] พระองค์มักจะทรงใช้เวลาในการมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนบนถนนสอบถามความทุกข์ของพวกเขา[63] ระยะแรกของการสำเร็จราชการแทนพระองค์เจ้าชายเปดรูทรงแถลงประกาศที่จะรับรองสิทธิส่วนบุคคลและทรัพย์สิน นอกจากนี้พระองค์ยังลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและภาษี[54][64]เจ้าของที่ดินได้รับการคุ้มครองจากการมีที่ดินที่จะถูกยึดและไม่มีประชาชนคนใดตั้งแต่นั้นมาถูกจับกุมโดยปราศจากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่จะถูกจับในกระบวนการการก่ออาชญากรรม ผู้ต้องสงสัยไม่สามารถถูกจับมากกว่า 48 ชั่วโมงโดยไม่ถูกตั้งข้อหาและมีสิทธิที่จะเป็นตัวแทน การทรมาน, การทดลองลับและไร้มนุษยธรรมยังถูกยกเลิก[65][66] แม้กระทั่งนักปฏิวัติที่ถูกจับที่ตลาดหลักทรัพย์พ่อค้าได้รับการปลดปล่อยอย่างอิสระ[65]

ในวันที่ 5 มิถุนายน กองทหารภายใต้นายพลโปรตุเกส จอร์เก อาวิเลซ (ต่อมาเป็นเคานท์แห่งอาวิเลซ) ได้ก่อการจลาจลขึ้น เรียกร้องให้เจ้าชายเปดรูควรให้สัตย์ปฏิญาณที่จะส่งเสริมรัฐธรรมนูญหลังจากที่มันได้ถูกตราขึ้น ขณะที่พระองค์ทรงทำตามในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เจ้าชายทรงม้าส่วนพระองค์มาเพียงพระองค์เดียวเข้าแทรกกับผู้ก่อการกบฏ พระองค์ทรงเจรจาอย่างสงบและอย่างมีความคิดริเริ่มและสามารถแก้ปัญหาได้ดี ทรงชนะความเคารพจากทหารและประสบความสำเร็จในการลดผลกระทบจากความต้องการที่มากขึ้นของพวกเขาที่ทรงยอมรับไม่ได้[67][68] กลุ่มผู้ก่อการจลาจลเป็นทหารที่สวมหน้ากากบางๆในการรัฐประหาร ที่ซึ่งพยายามเปลี่ยนให้เจ้าชายเปดรูเป็นพระประมุขเพียงในพระนามเท่านั้นและถ่ายโอนพระราชอำนาจไปยังอาวิเลซ[69] เจ้าชายทรงยอมรับด้วยผลที่ทางผิดหวังแต่พระองค์ยังทรงเตือนพระองค์เองว่ามันเป็นครั้งสุดท้ายที่พระองค์จะทรงยอมภายใต้แรงกดดันนี้[68][70]

วิกฤตการณ์ยังคงดำเนินต่อไปถึงจุดที่ไม่มีวันกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้แล้วเมื่อทาง คอร์เตส ทำการยุบรัฐบาลกลางในรีโอเดจาเนโรและกราบบังตมทูลให้เจ้าชายเปดรูเสด็จกลับ[71][72] นี่เป็นแผนการของชาวบราซิลเป็นความพยายามเพื่อให้อยู่ในสังกัดของโปรตุเกสอีกครั้ง ด้วยบราซิลไม่ใช่อาณานิคมมาตั้งแต่พ.ศ. 2358 และมีสถานะเป็นราชอาณาจักร[73][74] ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2365 เจ้าชายเปดรูทรงถูกเสนอด้วยคำร้องของ 8,000 รายชื่อ ได้ร้องขอไม่ให้พระองค์เสด็จจากไป[75][76] พระองค์ตรัสตอบว่า "เพราะมันเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกคนและความสุขโดยรวมของประเทศชาติ ข้าพเจ้าเต็มใจ โปรดบอกประชาชนเถิด ข้าพเจ้าจะยังคงอยู่ที่นี่"[77] นายพลอาวิเลซได้ก่อการจลาจลอีกครั้งและพยายามบีบบังคับให้เจ้าชายเปดรูเสด็จกลับโปรตุเกส ในครั้งนี้เจ้าชายทรงหันกลับมาต่อสู้ ทรงระดมพลกองทัพบราซิล (ที่ซึ่งไม่เข้าร่วมกับฝ่ายโปรตุเกสที่ก่อการจลาจลในครั้งก่อน),[78]หน่วยพลทหารและพลเรือนติดอาวุธ[79][80] ด้วยจำนวนที่มากกว่า อาวิเลซยอมแพ้และถูกขับไล่ออกจากลราซิลพร้อมกับทหารของเขา[81][82]

ในช่วงไม่กี่เดือนถัดไป เจ้าชายเปดรูทรงพยายามรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในรูปลักษณ์ภายนอกกับโปรตุเกส แต่สุดท้ายความแตกแยกกำลังมาถึง ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐมนตรีที่มีความสามารถ ฌูเซ โบนิเฟชิโอ เดอ อันดราดา เขาทำการค้นหาแรงสนับสนุนจากภายนอกรีโอเดจาเนโร เจ้าชายทรงเดินทางไปยังมีนัสเชไรส์ในเดือนเมษายน และเสด็จไปยังเซาเปาลูในเดือนสิงหาคม พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากจังหวัดทั้งสองและทรงเข้าทอดพระเนตรพระราชอำนาจของพระองค์[83][84] ในขณะที่เสด็จกลับจากเซาเปาลู พระองค์ทรงได้รับข่าวในวันที่ 7 กันยายน ซึ่งทางคอร์เตส ไม่ยอมรับการปกครองตนเองของบราซิลและจะทำการลงโทษทุกคนที่ไม่เชื่อฟั คำสั่งนี้[85] "ไม่มีใครที่หลีกเลี่ยงการกระทำที่น่าทึ่งที่สุดบนแรงกดดันที่เกิดทันทีทันใด" บาร์แมนกล่าวเกี่ยวกับเจ้าชาย พระองค์"ไม่มีเวลาที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจมากกว่าการที่ทรงอ่านจดหมายขู่"[86] เจ้าชายเปดรูทรงม้าสีน้ำตาลแดง และทรงอยู่หน้าคณะผู้ติดตามและองครักษ์ของพระองค์ ตรัสว่า "สหายทั้งหลาย คอร์เตสโปรตุเกสอยากให้พวกเรากลายเป็นทาสและพยายามกลั่นแกล้งพวกเรา ณ วันนี้พันธะผูกพันของเราเป็นอันจบสิ้น ด้วยโลหิตของข้า, ด้วยเกียรติของข้า และด้วยข้าพระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าขอสาบานที่จะนำมาซึ่งอิสรภาพแห่งบราซิล ชาวบราซิลทั้งหลาย จงเตือนใจพวกท่านเองเถิดเสียในวันนี้ว่า เราจะมุ่งไปข้างหน้าด้วย อิสรภาพหรือความตาย!"[87]

สมเด็จพระจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญ

[แก้]
พระราชพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2365
Half-length pencil or silverpoint sketch showing a young man with curly hair and long sideburns facing left who is wearing an elaborate embroidered military tunic with heavy gold epaulets, sash and medals
พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา วาดโดย เดเบรต์ ในปีพ.ศ. 2366

ในช่วงหลายเดือนจาก 7 กันยายน พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ยังคงเป็นที่ยอมรับในฐานะพระประมุขอันชอบธรรมของราชอาณาจักรเอกราชบราซิล[88] กลุ่มการเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของบราซิลไม่ได้ต่อต้านพระมหากษัตริย์โดยตรง ที่ทรงถูกมองว่าเป็นเพียงพระประมุขหุ่นเชิดที่ทรงถูกควบคุมโดยสภาคอร์เตส[89] เจ้าชายผู้สำเร็จราชการจึงทรงเป็นผู้เดียวเท่านั้นที่ต่อมาทรงถูกเชิญชวนให้ทรงราชบัลลังก์บราซิลในฐานะ สมเด็จพระจักรพรรดิ มิใช่ พระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามเจ้าชายเปดรูทรงชี้แจงว่าถ้าหากพระราชบิดาของพระองค์เสด็จกลับมาบราซิล พระองค์จะสละราชบัลลังก์ให้พระราชบิดา[90] พระองค์ทรงสถาปนาพระองค์เองเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 24 พรรษาของพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิบราซิลในวันที่ 12 ตุลาคม พระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกในวันที่ 1 ธันวาคม พระราชอำนาจของพระองค์ไม่ได้ขยายไปทั่วแผ่นดินบราซิลในทันที พระองค์ทรงบีบบังคับให้หลายๆจังหวัดในภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ และกองทหารโปรตุเกสที่มีฐานที่มั่นที่สุดท้ายให้ยอมจำนนในต้นปีพ.ศ. 2367[91][92]

ในขณะที่ความสัมพันธ์ของสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 กับโบนิเฟชิโอได้เสื่อมโทรมลง แม้ว่าครั้งหนึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิจะทรงยกย่องเขาในฐานะที่ปรึกษา[93][94] สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงเริ่มไม่พอพระทัยในตำแหน่งที่ส่งเสริมบทบาทใหม่ของโบนิเฟชิโอในฐานะครู[95] สถานการณ์มาถึงจุดวิกฤตเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงลงโทษในฐานการปฏิบัติตนไม่เหมาะสมด้วยการปลดโบนิเฟชิโอและน้องชายของเขา มาร์ติม ฟรานซิสโก เดอ อันดราดาจากตำแหน่งรัฐมนตรีลอยของพวกเขา จากความเผด็จการและความไม่ถูกต้อง โบนิเฟชิโอได้ใช้ตำแหน่งของตนทำการข่มขู่, ดำเนินคดี, จับกุมและแม้กระทั่งเนรเทศศัตรูทางการเมืองของเขา[96] เป็นเวลาหลายเดือนที่ศัตรูของโบนิเฟชิโอได้ทำานเพื่อเอาชนะพระทัยเหนือองค์จักรพรรดิ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ยังคงเป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ พวกเขาได้ให้พระยศแก่พระองค์ว่า "ผู้ปกป้องตลอดกาลของบราซิล" ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2365[97] พวกเขายังคงให้พระองค์ดำรงตำแหน่งในสมาคมฟรีเมสันในวันที่ 2 สิงหาคม[98][99] และต่อมาได้แต่งตั้งให้พระองค์เป็นผู้นำในวันที่ 7 ตุลาคม แทนที่โบนาเฟชิโอในตำแหน่งนี้[100]

วิกฤตระหว่างองค์จักรพรรดิและอดีตรัฐมนตรีของพระองค์รู้สึกได้ทันทีในสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ซึ่งได้รับเลือกตั้งสำหรับวัตถุประสงค์การจัดร่างรัฐธรรมนูญ[101] สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โบนิเฟชิโอได้ทำการฟื้นฟูเพื่อการฉวยโอกาสทางการเมือง เขาอ้างว่าการดำรงอยู่ของการสมคบคิดกับโปรตุเกสในการต่อต้านผลประโยชน์ของบราซิล เป็นการบอกเป็นนัยถึงสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องเนื่องจากประสูติในโปรตุเกส[102][103] องค์จักรพรรดิทรงพิโรธอย่างมากด้วยคำบริภาษพระองค์ในการประณามความจงรักภักดีของประชาชนผู้ซึ่งเกิดในโปรตุเกส และคำที่ว่าพระองค์สร้างความขัดแย้งด้วยพระองค์เองในความจงรักภักดีต่อบราซิล[104] ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2366 สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 มีพระราชโองการประกาศยุบสภาร่างรัฐธรรมนูญและให้มีการเลือกตั้งใหม่[105] ในวันต่อมา พระองค์ทรงก่อตั้งสภาโดยรัฐพื้นเมืองให้ทำการดูแลการยกร่างรัฐธรรมนูญ สำเนาของร่างรัฐธรรมนูญถูกส่งไปยังทุกๆเทศบาลเมือง และส่วนใหญ่ลงมติเห็นชอบให้บังคับใช้ทันทีในฐานะรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิ[106] ได้ถูกประกาศใช้และถวายคำสัตย์ปฏิญาณในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2367[107]

วิกฤตภายในและภายนอก

[แก้]

เรื่องอื้อฉาวราชวงศ์โปรตุเกส

[แก้]
Painted half-length portrait showing a young man with curly hair and mustachios who is wearing an elaborate embroidered military tunic with gold epaulets and medals
พระบรมสาทิสลักษณ์จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลขณะมีพระชนมายุ 27 พรรษาระหว่างเสด็จประพาสซัลวาดอร์ รัฐบาเยีย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2369

หลังจากการเจรจากันอย่างยาวนาน โปรตุเกสได้ลงนามในสนธิสัญญารีโอเดจาเนโรกับบราซิลในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2368 ซึ่งเป็นการยอมรับความเป็นเอกราชของบราซิล[108] นอกจากยอมรับความเป็นเอกราชของบราซิลแล้ว ข้อกำหนดของสนธิสัญญาอยู่ที่ค่าใช้จ่ายของบราซิล รวมถึงความต้องการสำหรับค่าชดเชยที่จะจ่ายให้กับโปรตุเกสที่ไม่มีความต้องการอื่นๆอีก ค่าชดเชยจะถูกจ่ายให้กับชาวโปรตุเกสทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในบราซิลสำหรับการสูญเสียของพวกเขาถูกกระทำมาเช่นทรัพย์สมบัติถูกยึด พระเจ้าฌูเอาที่ 6 ยังทรงได้สิทธิอันชอบธรรมที่จะทรงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งบราซิล[109] ที่น่าอัปยศกว่านั้นคือสนธิสัญญาได้ระบุว่าการได้มาซึ่งอิสรภาพนั้นมาจากการอนุมัติด้วยน้ำพระทัยที่กว้างขวางของพระเจ้าฌูเอาที่ 6 มากกว่าการที่ถูกขับไล่โดยชาวบราซิลด้วยการใช้กำลังบังคับ[110][111] แม้เป็นสิ่งที่แย่กว่าคือ การที่บริเตนใหญ่ได้รับผลประโยชน์จากการที่แสดงบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยโดยการลงนามในสนธิสัญญาที่แยกต่างหากซึ่งสิทธิของตนเชิงพาณิชย์ได้รับการต่ออายุและโดยการลงนามในการประชุมที่บราซิลตกลงที่จะยกเลิกการค้าทาสกับแอฟริกาภายในสี่ปี สนธิสัญญาทั้งสองนี้เป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของบราซิลอย่างรุนแรง[112][113]

ไม่กี่เดือนต่อมา องค์จักรพรรดิทรงรับทราบข่าวการสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2369 และพระองค์ได้สืบราชบัลลังก์โปรตุเกสต่อในฐานะ พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกส[114] พระองค์ทรงทราบว่าการรวมกันอีกครั้งของบราซิลและโปรตุเกสเป็นสิ่งที่ประชาชนทั้งสองประเทศยอมรับไม่ได้ พระองค์ทรงรีบสละราชบัลลังก์โปรตุเกส ในวันที่ 2 พฤษภาคม[115][116] ทรงมอบราชบัลลังก์ให้แก่พระราชธิดาองค์โปรด ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส การสละราชบัลลังก์ของพระองค์มีเงื่อนไข โดยโปรตุเกสต้องยอมรับในรัฐธรรมนูญที่พระองค์ทรงจัดร่างขึ้นและสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 ต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายมิเกล พระอนุชาของพระองค์[114] จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงจินตนาการถึงสหภาพนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2365 และทรงพยายามโน้มน้าวให้เจ้าชายมิเกลเสด็จกลับมาบราซิล องค์จักรพรรดิทรงเขียนถึงเจ้าชายว่า "จะมีปัญหาการขาดแคลนผู้คนที่บอกไม่ให้เจ้าออกไป...บอกให้พวกมันกินขี้ซะ และพวกมันจะพูดว่าบราซิลกำลังจะถอนตัว เจ้ากำลังจะเป็นกษัตริย์โปรตุเกส บอกพวกมันให้กินขี้อีกครั้ง"[117] โดยไม่คำนึงถึงการสละราชบัลลังก์ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ยังคงมีบทบาทเป็นพระมหากษัตริย์โปรตุเกสที่ไม่อยู่ และทรงเข้ามาแทรกแทรงไกล่เกลี่ยในสถานการณ์ทางการทูตเช่นเดียวกับกิจการภายในของประเทศ เช่น ทรงทำการแต่งตั้ง[118] พระองค์ทรงพบว่ามันเป็นการยากที่เพียงอย่างน้อยที่สุดเพื่อรักษาสถานะของพระองค์ในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งบราซิลแยกต่างหากจากการทีทรงปกป้องผลประโยชน์ของพระราชธิดาในโปรตุเกส[118]

เจ้าชายมิเกลทรงแสร้งทำตามแผนการของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทันทีที่เจ้าชายทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในต้นปีพ.ศ. 2371 และการที่ได้รับการสนับสนุนจากพระนางคาร์ลอตา โจวควินา พระราชมารดา พระองค์ทรงประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ จากการสนับสนุนจากชาวโปรตุเกสที่นิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทรงสถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็น พระเจ้ามิเกลที่ 1 แห่งโปรตุเกส[119] ในฐานะที่ทรงเจ็บปวดจากการทรยศของพระอนุชาที่ทรงรักยิ่ง จักรพรรดิเปดรูยังทรงทรนกับการเอาพระทัยออกห่างของพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาที่ยังทรงพระชนม์อยู่ได้แก่ เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา, เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกา, เจ้าหญิงอิซาเบล มาเรีย และเจ้าหญิงมาเรีย ดา อัสซันโค ซึ่งทั้งหมดทรงไปเข้าเป็นฝ่ายเดียวกับพระเจ้ามิเกลที่ 1[120] มีเพียงพระขนิษฐาองค์สุดท้องของพระองค์คือ เจ้าหญิงอนา เดอ จีซัส มาเรีย เท่านั้นที่ยังทรงจงรักภักดีในองค์จักรพรรดิ[61] และหลังจากนั้นพระนางก็เดินทางไปที่รีโอเดจาเนโรเพื่อใกล้ชิดองค์จักรพรรดิผู้เป็นพระเชษฐาองค์โต[61] ด้วยความชิงชังและทรงเริ่มเชื่อว่าพระเจ้ามิเกลที่ 1 ทรงปลงพระชนม์พระราชบิดา[121] จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงสนพระทัยไปที่โปรตุเกสและทรงพยายามอย่างไร้ผลที่จะทรงรวบรวมการสนับสนุนระหว่างประเทศเพื่อสิทธิอันชอบธรรมของพระราชธิดา สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2[122]

สงครามและการตกพุ่มหม้าย

[แก้]
A large crowd of people and mounted horsemen fill a large public square before the steps of a twin-spired baroque church
การเฉลิมฉลองในจตุรัสเซา ฟรานซิสโก เดอ เปาลา, กรุงรีโอเดจาเนโร เพื่อต้อนรับจักรพรรดิเปดรูที่ 1 จากการเสด็จกลับมาจากรัฐบาเยีย ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2369

จากการสนับสนุนโดยสหรัฐแห่งรีโอเดลาพลาตา (ปัจจุบันคือ ประเทศอาร์เจนตินา) กลุ่มคนเล็กๆได้ประกาศดินแดนทางภาคใต้ในแคว้นคิสพลาตินาเป็นเอกราชในเดือนเมษายน พ.ศ. 2368[123] รัฐบาลบราซิลเป็นครั้งแรกที่รับรู้ถึงการพยายามที่จะแยกตัวในการลุกฮือเล็กๆ มันใช้เวลาหลายเดือนก่อนที่จะเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเกิดจากการเข้ามามีส่วนร่วมจากสหรัฐรีโอเดลาพลาตา ซึ่งพยายามผนวกคิสพลาตินา ก่อให้เกิดความกังวลอย่างรุนแรง โดยการตอบโต้ จักรวรรดิประกาศสงครามในเดือนธันวาคมนำมาซึ่งวิกฤตสงครามคิสพลาทีน[124] องค์จักรพรรดิเสด็จเยือนรัฐบาเยีย (ตั้งอยู่ที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 เสด็จพร้อมพระมเหสีและพระราชธิดา พระนางมาเรีย องค์จักรพรรดิทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากประชาชนในรัฐบาเยีย[125] การเดินทางครั้งนี้ถูกวางแผนเพื่อสร้างแรงสนับสนุนจากความพยายามในสงคราม[126]

คณะผู้ติดตามราชวงศ์รวมทั้ง โดมิทิลา เดอ คัสโตร (จากนั้นคือ วิสเคานท์เตสและต่อมาคือ มาคิโอเนสแห่งซานโตส) ซึ่งเป็นนางสนมในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ตั้งแต่พระองค์ทรงพบนางครั้งแรกในปีพ.ศ. 2365 แม้ว่าพระองค์จะไม่ทรงเคยซื่อสัตย์กับพระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่า ก่อนหน้านี้พระองค์ทรงปกปิดความสัมพันธ์ทางเพศของพระองค์กับสตรีคนอื่นๆ[127] แต่ความหลงใหลในคนรักใหม่ของพระองค์ "ได้กลายเป็นทั้งที่เห็นได้ชัดและไร้ขีดจำกัด"[128] ในขณะที่พระมเหสีของพระองค์ทรงทนกับการถูกมองข้ามและทรงกลายเป็นเป้าหมายของการนินทา[128] จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงปฏิบัติพระองค์ไม่สุภาพและมีพระทัยร้ายต่อพระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่ามากขึ้นโดยทรงให้พระราชทรัพย์แก่พระนางน้อยลง, ห้ามพระนางเสด็จออกจากพระราชวังและบังคับให้พระนางต้องยอมรับโดมิทิลาในฐานะนางสนองพระโอษฐ์ของพระนาง[129][130] ในขณะเดียวกันคนรักใหม่ขององค์จักรพรรดิก็ใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของนางเช่นเดียวกับครอบครัวของเธอและมิตรสหาย ซึ่งแสวงหาความโปรดปรานหรือเพื่อส่งเสริมโครงการต่างๆมากขึ้นโดยขอความช่วยเหลือจากนาง โดยการอ้อมทางปกติของช่องทางกฎหมาย[131]

ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2369 จักรพรรดิเปดรูที่ 1 เสด็จทางเรือจากรีโอเดจาเนโรไปยังเมืองเซา โจเซในรัฐซันตากาตารีนา จากที่นี่พระองค์ทรงม้าไปที่ปรอโตอเลกรีเมืองหลวงของรัฐรีโอกรันดีโดซูลที่กองทัพใหญ่ถูกส่งไปประจำที่นั่น[132] เมื่อพระองค์เสด็จถึงในวันที่ 7 ธันวาคม องค์จักรพรรดิทรงพบความเคยชินกับกองทัพมากกว่าการรายงานก่อนหน้านี้ที่ทรงคาดหวัง พระองค์ "ทรงตอบสนองด้วยพลังตามปกติของพระองค์ พระองค์ทรงผ่านคำสั่งที่วุ่นวาย, พระองค์ทรงมีชื่อเสียงจากการไล่คนกินสินบนและคนไร้ความสามารถ, ทรงสนิทสนมกับทหารและทรงรวมการบริหารกองทัพและพลเมืองทั่วไป"[133] พระองค์กำลังพร้อมเสด็จกลับไปยังรีโอเดจาเนโร[134] เมื่อพระองค์ทรงรับทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่า จากการที่ทรงแท้ง[133][135] ข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริงได้แพร่กระจายไปทั่วเมืองหลวบราซิลที่ว่าพระนางสิ้นพระชนม์หลังจากทรงถูกทำร้ายร่างกายโดยจักรพรรดิเปดรูที่ 1

สงครามยังคงดำเนินต่อไปโดยยังไม่เห็นข้อสรุป ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2371 ทหารรับจ้างชาวไอริชและเยอรมันได้ก่อการจลาจลที่รีโอเดจาเนโร[136][137]ในเหตุการณ์กบฏทหารรับจ้างไอริชและเยอรมัน ด้วยไม่พอใจสภาพความเป็นอยู่ที่รุนแรงในค่ายทหารบราซิล ชาวต่างชาติที่ยอมรับสินบนของสหรัฐรีโอเดลาพลาตาอย่างง่ายดายไม่เพียงแค่การก่อกบฏ แต่เพื่อทำการจับกุมองค์จักรพรรดิเพื่อที่พระองค์จะเป็นองค์ประกันเป็นเบี้ยต่อรอง[138][139] กบฏทหารรับจ้างถูกปราบปรามอย่างนองเลือด จากนั้นในภายหลังจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงสละคิสพลาตินาในเดือนสิงหาคมและจังหวัดนั้นก็กลายเป็นประเทศเอกราชอุรุกวัย[140][141]

การอภิเษกสมรสครั้งที่สอง

[แก้]
Under a red canopy in a baroque church, a man in uniform places a ring on the finger of a woman in an elaborate white dress, attended by 4 small children, bishops and other onlookers
พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างจักรพรรดิเปดรูที่ 1 กับเจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก ถัดจากพระองค์ ตามลำดับความสำคัญ คือ พระราชโอรสธิดาที่ประสูติแต่พระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่า ได้แก่ เจ้าชายเปดรู, เจ้าหญิงยาโนเรีย, เจ้าหญิงเปาลา และ เจ้าหญิงฟรานซิสกา

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสี จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงตระหนักว่าพระองค์ทรงเคยทำให้พระนางต้องทุกข์ทรมาน และความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับโดมิทิลาเริ่มแตกสลาย พระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่าไม่ทรงเหมือนกับพระสนมของพระองค์ พระนางทรงเป็นที่นิยมชมชอบ ซื่อสัตย์และรักพระองค์โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จักรพรรดิทรงงคิดถึงพระนางอย่างมากและแม้กระทั่งการครอบงำความคิดของพระองค์โดยโดมิทิลาก็ล้มเหลวที่จะเอาชนะความรู้สึกสูญเสียและเสียใจของพระองค์[142] วันหนึ่งโดมิทิลาพบพระองคทรงกันแสงอยู่บนพื้นและกอดพระสาทิสลักษณ์พระมเหสีผู้ล่วงลับของพระองค์ ซึ่งจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงกล่าวว่าทรงพบดวงพระวิญญาณที่เศร้าโศกของพระนาง[143] ต่อมาเมื่อองค์จักรพรรดิเสด็จออกจากแท่นบรรทมที่ประทับร่วมกับโดมิทิลาและทรงตะโกนว่า "ออกไปจากข้านะ! ข้ารู้ว่าข้ามีชีวิตไม่คู่ควรกับการเป็นพระประมุข ความคิดถึงองค์จักรพรรดินีจะไม่ออกไปจากใจข้า"[144][145] พระองค์ไม่ทรงลืมพระโอรสธิดาของพระองค์ที่กำพร้าพระมารดาและได้สังเกตว่าครั้งหนึ่งพระองค์ทรงอุ้มพระราชโอรส เจ้าชายเปดรู และตรัสว่า "เจ้าเด็กผู้โชคร้าย ลูกเป็นเจ้าชายที่ไร้สุขที่สุดในโลก"[146]

ด้วยคำยืนกรานของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 โดมิทิลาได้ออกจากรีโอเดจาเนโรในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2371[147] พระองค์ตัดสินพระทัยที่จะอภิเษกสมรสอีกครั้งและจะเป็นคนดี พระองค์ยังทรงพยายามเกลี้ยกล่อมพระสัสสุระ (พ่อตา) ของพระองค์ด้วยความจริงใจ โดยทรงอ้างในจดหมายที่ว่า "ความชั่วช้าของกระหม่อมหมดสิ้นแล้ว และกระหม่อมจะไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อผิดพลาดเหล่านี้อีกครั้งซึ่งกระหม่อมเสียใจและขอให้พระผู้เป็นเจ้าทรงให้อภัย"[148] สมเด็จพระจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงน้อยที่จะทรงเชื่อ องค์จักรพรรดิออสเตรียที่ทรงขุ่นเคืองพระราชหฤทัยลึกๆที่พระราชธิดาของพระองค์ต้องทรงทนทรมาน พระองค์ทรงถอนการสนับสนุนสำหรับความสัมพันธ์กับบราซิลและทรงผิดหวังในผลประโยชน์ของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ในโปรตุเกส[149]

เนื่องมาจากชื่อเสียงที่ไม่ดีของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ในยุโรป จากพฤติกรรมในอดีตของพระองค์ เหล่าเจ้าหญิงจากหลายๆชาติปฏิเสธข้อเสนออภิเษกสมรสกับพระองค์[119] ความภาคภูมิใจของพระองค์ต้องด่างพร้อย พระองค์ทรงอนุญาตให้พระสนมกลับมา ซึ่งนางกลับมาในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2372 หลังจากห่างหายไปเกือบหนึ่งปี[148][150] อย่างไรก็ตามเมื่อพระองค์ทรงทราบว่าในที่สุดพิธีหมั้นได้ถูกจัดขึ้น องค์จักรพรรดิทรงยุติความสัมพันธ์กับโดมิทิลาอีกครั้งหนึ่งและตลอดไป นางเดินทางกลับไปยังจังหวัดบ้านเกิดที่เซาเปาลูในวันที่ 27 สิงหาคม ซึ่งนางยังคงพำนักอยู่ที่นั่นตลอด[151] วันก่อนหน้าเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม องค์จักรพรรดิทรงอภิเษกสมรสผ่านตัวแทนกับเจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก[152][153] แม้ว่าพระนางจะทรงมีบรรดาศักดิ์ต่ำเมื่อประสูติ[154][155] พระองค์ทรงตะลึงในความสิริโฉมของพระนางหลังจากทรงพบกับพระนาง[156][157] คำสาบานที่จะอภิเษกสมรสที่ผ่านตัวแทนก่อนหน้านี้เป็นที่ยอมรับในศีลสมรสวันที่ 17 ตุลาคม[158][159]

ระหว่างโปรตุเกสและบราซิล

[แก้]

วิกฤตการณ์ที่ไม่มีสิ้นสุด

[แก้]
Engraved half-length portrait showing a young man with curly hair who is wearing an elaborate brocade military tunic with epaulets, a striped sash of office and medals
พระบรมสาทิสลักษณ์จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ขณะมีพระชนมายุ 32 พรรษา ในปีพ.ศ. 2373

ตั้งแต่สมัยของสภาร่างรัฐธรรมนูญในปีพ.ศ. 2366 และด้วยอำนาจที่มีขึ้นมาใหม่ในปีพ.ศ. 2369 ด้วยการเปิดประชุมสมัชชา (รัฐสภาบราซิล) มีการต่อสู้ทางอุดมการณ์มากกว่าสมดุลของอำนาจที่ถูกใช้โดยองค์จักรพรรดิและสภานิติบัญญัติในการปกครอง ในด้านหนึ่งร่วมในมุมมองของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 นักการเมืองที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์ควรมีอิสระในการการเลือกกำหนดรัฐมนตรี, นโยบายระดับชาติและทิศทางของรัฐบาล ฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นที่รู้จักในพรรคเสรีนิยม ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลควรจะมีอำนาจในการกำหนดแนวทางของรัฐบาลและควรประกอบด้วยผู้แทนมาจากพรรคเสียงข้างมากที่รับผิดชอบต่อสภา[160] การพูดกันอย่างเคร่งครัดของทั้งสองพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 และพรรคเสรีนิยมที่สนับสนุนลัทธิเสรีนิยมและระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[161]

โดยไม่คำนึงถึงความล้มเหลวในฐานะผู้ปกครองของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 พระองค์ทรงเคารพรัฐธรรมนูญ พระองค์ไม่ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือการยอมให้มีการโยงการเลือก[162] ทรงปฏิเสธที่จะลงนามร่วมในการกระทำที่ยอมรับโดยรัฐบาล[163] หรือทรงปฏิเสธที่จะกำหนดข้อจำกัดใดๆบนเสรีภาพในการพูด[164][165] แม้ว่าภายในพระราชอำนาจของพระองค์ พระองค์ไม่ทรงประกาศยุบสภาและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่เมื่อไม่ทรงเห็นด้วยกับจุดมุ่งหมายของพระองค์หรือการเลื่อนเวลาการนั่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ[166] หนังสืพิมพ์เสรีนิยมและจุลสารที่ยึดเอาชาติกำเนิดโปรตุเกสของจักรพรรดืเปดรูที่ 1 มาสนับสนุนข้อกล่าวหาที่ถูกต้องของทั้งสอง (เช่นที่มากของความกระตือรือร้นของพระองค์ก็พุ่งตรงไปยังกิจการที่เกี่ยวข้องกับโปรตุเกส) [167] และข้อกล่าวหาเท็จ (เช่นว่าพระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการที่จะยับยั้งรัฐธรรมนูญและรวมบราซิลเข้ากับโปรตุเกสอีกครั้ง) [168] นักเสรีนิยมซึ่งเป็นพระสหายชาวโปรตุเกสขององค์จักรพรรดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในราชสำนัก รวมทั้ง ฟรานซิสโก โกเมซ ดา ซิลวา ซึ่งมีนามเล่นๆว่า "ตัวตลก" เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเหล่านี้และจัดตั้ง "รัฐบาลเงา"[169][170] ไม่มีบุคคลเหล่านี้แสดงความสนใจในปัญหาดังกล่าวและสนใจในเรื่องใดๆก็ตามที่พวกเขาอาจจะใช้ร่วมกัน ไม่มีการซ่องสุมวางแผนในพระราชวังที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือนำบราซิลกลับเข้าในภายใต้การควบคุมของโปรตุเกส[171]

ที่มาของการวิจารณ์โดยนักเสรีนิยมเกี่ยวข้องกับมุมมองของผู้เห็นด้วยกับการเลิกทาสของจักรพรรดิเปดรูที่ 1[172] องค์จักรพรรดิมีพระราชดำริอย่างจิงจังในกระบวนการที่ค่อยๆขจัดความเป็นทาส อย่างไรก็ตามอำนาจตามรัฐธรรมนญที่ตราไว้อยู่ในมือของรัฐสภาซึ่งถูกควบคุมโดยเจ้าของทาสและศักดินาได้พยายามขัดขวางการพยายามเลิกทาส[173][174] องค์จักรพรรดิทรงเลือกที่จะพยายามชักชวนแบบอย่างของศีลธรรม โดยทรงตั้งที่ดินของพระองค์ในซันตาครูซเป็นแบบจำลองโดยอนุญาตให้ที่ดินนี้ปลดปล่อยการเป็นทาส[175][176] จักรพรรดิเปดรูที่ 1 มีพระราชดำริขั้นก้าวหน้าอื่นๆอีก เมื่อองค์จักรพรรดิทรงประกาศความตั้งพระทัยของพระองค์ที่ยังคงอยู่ในบราซิลวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2365 และประชาชนพยายามมองพระองค์เพื่อถวายพระเกียรติด้วยทำการปลดม้าออกและลากรถม้าของพระองค์ด้วยตัวพวกเขาเอง องค์จักรพรรดิทรงปฏิเสธ พระองค์ทรงตอบว่ามันเป็นการประณามพระองค์พร้อมกันในที่สาธารณะถึงเทวสิทธิราชย์ของเลือดพิเศษในสังคมชั้นสูงและของชนชาติ "มันเจ็บปวดให้ข้าพเจ้าไปพบเห็นเพื่อนมนุษย์ของข้าพเจ้าไปเป็นบรรณาการแด่คนที่เหมาะสมสำหรับเทวสิทธิ์ ข้าพเจ้ารู้ว่าโลหิตของข้าพเจ้าเป็นสีเดียวกับโลหิตของพวกนิโกร"[177][178]

สละราชบัลลังก์

[แก้]
A painting showing a crowded room in which a uniformed man hands a sheaf of papers to another uniformed man while in the background a weeping woman sits in an armchair holding a young boy before whom a woman kneels
จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงส่งมอบพระราชโองการสละราชบัลลังก์ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2374

หลังจากการเนรเทศโดมิทิลาออกจากราชสำนัก จักรพรรดิทรงให้สัตย์สาบานที่จะเปลี่ยนแปลงพระองค์เองเพื่อพิสูจน์ความจริงใจ พระมเหสีพระองค์ที่สองของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 คือ พระนางอเมลีมีพระทัยดีและรักพระโอรสธิดาของพระองค์และทรงให้ความรู้สึกที่จำเป็นมากในสภาวะปกติแก่ทั้งพระราชวง์ของพระองค์และสาธารณะ[179] อย่างไม่เคยมีมาก่อนพระองค์ไม่ทรงมีเรื่องอื้อฉาวและทรงซื่อสัตย์ต่อพระมเหสี[180] ด้วยความพยายามที่จะลดความรุนแรงและข้ามเหนือการประพฤติผิดเมื่อครั้งอดีต พระองค์ทรงยุติความขัดแย้งกับโจเซ โบนาเฟชิโอ อดีตรัฐมนตรีและที่ปรึกษาของพระองค์

ความพยายามขององค์จักรพรรดิที่ทรงเอาพระทัยในพรรคเสรีนิยมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก พระองค์ทรงสนับสนุนกฎหมายปีพ.ศ. 2370 ที่ซึ่งจัดตั้งด้วยความรับผิดเฉพาะตัวของรัฐมนตรี[181] ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2374 พระองค์ทรงกำหนดรัฐมนตรีที่จัดตั้งขึ้นโดยนักการเมืองที่ดึงมาจากฝ่ายค้าน[182] ด้วยการยอมรับในบทบาททางรัฐสภาของรัฐบาล ท้ายสุดพระองค์เสนอตำแหน่งในยุโรปให้ฟรานซิสโก โกเมซและพระสหายที่เกิดในโปรตุเกสเพื่อขจัดข่าวลือของ "รัฐบาลเงา"[179][183]

ด้วยความผิดหวังของพระองค์ มาตรการผ่อนคลายของพระองค์ไม่สามารถหยุดการโจมตีอย่างต่อเนื่องจากทางด้านเสรีนิยมต่อรัฐบาลของพระองค์และชาติกำเนิดต่างประเทศของพระองค์ ทรงผิดหวังในการดื้อแพ่งของพวกเขา กลายเป็นพระองค์ไม่เต็มพระทัยที่จะจัดการสถานการณ์ทางการเมืองของพระองค์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น[179] ในขณะเดียวกัน ชาวโปรตุเกสได้ขับไล่การรณรงค์ที่โน้มน้าวให้พระองค์ละทิ้งบราซิลและแทนที่จะอุทิศกำลังกายของพระองค์ในการต่อสู้เพื่อสิทธิในราชบัลลังก์โปรตุเกสของพระราชธิดา[184] ตามที่โรเดอริค เจ. บาร์แมนเขียนว่า "[ใน]กรณีฉุกเฉินความสามารถขององค์จักรพรรดิส่องมา พระองค์กลายเป็นผู้ที่ดีเยี่ยมในความกล้า ทรงมีไหวพริบและมีความมั่นคงในการดำเนินการ พระชนม์ชีพในฐานะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เต็มไปด้วยความน่าเบื่อ, การตักเตือนและการไกล่เกลี่ย เป็นลักษณะที่ต่อต้านกับแก่นพระบุคลิกภาพของพระองค์"[185] ในทางกลับกัน นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า พระองค์"ทรงค้นพบตัวตนทุกอย่างในกรณีของพระราชธิดาของพระองค์ที่ดึงดูดบุคลิกลักษณะของพระองค์มากที่สุด โดยการเสด็จไปที่โปรตุเกสพระองค์จะทำการปกป้องผู้ถูกกดขี่ ทรงแสดงความกล้าหาญและปฏิเสธความต้องการของพระองค์เอง ทรงรักษารัฐธรรมนูญและเพลิดเพลินกับการกระทำอย่างเสรีภาพที่พระองค์ทรงโหยหา"[184]

พระราชดำริที่จะสละราชบัลลังก์และเสด็จกลับโปรตุเกสได้ฝังรากลึกในจิตใจของพระองค์ และเริ่มต้นในต้นปีพ.ศ. 2372 พระองค์มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้บ่อย[186] โอกาสที่จะได้กระทำตามดำริได้ปรากฏออกมาเร็วๆนี้ นักปฏิกิริยาภายในพรรคเสรีนิยมได้ออกมาชุมนุมไปตามถนนเพื่อก่อกวนชุมชนโปรตุเกสในรีโอเดจาเนโร ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2374 มันได้กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ "noite das garrafadas" (คืนแห่งขวดแตก) ชาวโปรตุเกสทำการตอบโต้และก่อความวุ่นวายไม่หยุดตามถนนในเมืองหลวงของประเทศ[187][188] ในวันที่ 5 เมษายน จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงขับไล่รัฐบาลเสรีนิยม ที่อยู่ในอำนาจมาตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม สำหรับการขาดความสามารถในการฟื้นฟูกฎหมาย[182][189] ฝูงชนจำนวนมาก ที่ได้ถูกยั่วยุโดยนักปฏิกิริยา ได้รวมตัวกันในใจกลางเมืองรีโอเดจาเนโรในตอนบ่ายของวันที่ 6 เมษายน เพื่อเรียกร้องให้ฟื้นฟูรัฐบาลที่โดนล้มไปทันที[190] องค์จักรพรรดิมีพระราชดำรัสตอบว่า "ข้าพเจ้าจะทำทุกสิ่งเพื่อประชาชนและไม่มีอะไร[ถูกบังคับ]โดยประชาชน"[191] บางครั้งหลังจากพลบค่ำ, กองทัพรวมทั้งราชองครักษ์ของพระองค์ได้ทอดทิ้งพระองค์และเข้าร่วมการประท้วง พระองค์ไม่เพียงตระหนักถึงความโดดเดี่ยวและกลายเป็นต้องทรงแยกจากกิจการของชาวบราซิล และทุกคนก็ประหลาดใจ พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์เมื่อเวลาประมาณ 3 นาฬิกา ของวันที่ 7 เมษายน[192] ทรงส่งมอบพระราชโองการสละราชบัลลงก์แก่คนส่งสาร พระองค์ตรัสว่า "นี่ท่านมีการสละราชบัลลังก์ของฉัน ฉันจะกลับยุโรปและไปจากประเทศที่ฉันรักมากและยังคงรักตลอดไป"[193][194]

เสด็จกลับยุโรป

[แก้]

สงครามฟื้นฟูราชบัลลังก์

[แก้]
Lithographic half-length portrait depicting a middle-aged man with a full beard and wearing a military tunic with epaulets, sash and large medal
พระบรมสาทิสลักษณ์อดีตจักรพรรดิเปดรู ดยุคแห่งบราแกนซาขณะมีพระชนมายุ 35 พรรษา ในพ.ศ. 2376 หลังจากการบุกโปรตุเกส พระองค์และทหารของพระองค์ให้สัตย์สาบานว่าจะไม่โกนพระมัสสุ (เครา) จนกว่าอดีตพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 จะทรงได้รับการฟื้นฟูราชบัลลังก์[195]

ในเช้าตรู่ของวันที่ 7 เมษายน อดีตจักรพรรดิเปดรู พระมเหสีและคนอื่นๆ รวมทั้งพระราชธิดา อดีตสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 และพระขนิษฐาของพระองค์ เจ้าหญิงอนา เดอ จีซัส เสด็จประทับขึ้นเรือเอชเอ็มเอส วอร์สไปรท์ เรือยังคงทอดสมออยู่ที่รีโอเดจาเนโร และในวันที่ 13 เมษายน อดีตจักรพรรดิทรงย้ายไปประทับและออกไปยังยุโรปด้วยเรือเอชเอ็มเอส วอเลจ[196][197] พระองค์เสด็จถึงแชร์บวร์ก-อ็อคเตวิลแยร์ ฝรั่งเศสในวันที่ 10 มิถุนายน[198][199] ช่วงไม่กี่เดือนถัดไป พระองค์เสด็จประพาสไปมาระหว่างฝรั่งเศสและบริเตนใหญ่ พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นแต่ไม่ทรงได้รับการสนับสนุนจริงจากภาครัฐ[200] พระองค์ทรงพบว่าพระองค์เองทรงอยู่ในสถานะที่อึดอัดพระทัยเพราะพระองค์ไม่ทรงมีสถานะอย่างเป็นทางการทั้งในพระราชวงศ์บราซิลหรือพระราชวงศ์โปรตุเกส อดีตจักรพรรดิเปดรูทรงได้รับพระอิสริยยศ ดยุกแห่งบราแกนซา ในวันที่ 15 มิถุนายน เป็นพระอิสริยยศที่พระองค์ทรงเคยได้รับครั้งหนึ่งเมื่อทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์โปรตุเกส ถึงแม้ว่าพระอิสริยยศนี้ควรเป็นของรัชทายาทในสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 ซึ่งแน่นอนพระองค์ไม่ทรงเรียกร้องให้เป็นการรับรู้โดยทั่วไป[201][202] ในวันที่ 1 ธันวาคม เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลีย พระราชธิดาของพระองค์ที่ประสูติแต่พระนางอเมลี ได้ประสูติที่กรุงปารีส[203]

พระองค์ไม่ทรงลืมพระราชโอรสธิดาของพระองค์ที่อยู่ที่บราซิลภายใต้การปกครองของโจเซ โบนาเฟชิโอ พระองค์ทรงเขียนจดหมายอย่างขมขื่นพระทัยแก่แต่ละพระองค์ ทรงถ่ายทอดความคิดถึงอย่างมากล้นของพระองค์และทรงขอซ้ำๆให้แต่ละพระองค์เข้ารับการศึกษาอย่างจริงจัง ไม่นานก่อนที่จะทรงสละราชบัลลังก์ จักรพรรดิเปดรูตรัสแก่พระราชโอรสและองค์รัชทายาทว่า "พ่อตั้งใจว่าน้องชายของพ่อ มิเกลและตัวพ่อเองจะเป็นคนสุดท้ายที่มีการศึกษาไม่ดีในราชวงศ์บราแกนซา"[204][205] ชาร์ลส์ นาเปียร์ ผู้บัญชาการกองทัพเรือที่ต่อสู้ภายใต้ราชลัญจกรของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ในช่วงปีพ.ศ. 2373 ได้บันทึกว่า "ศักยภาพของพระองค์เป็นของพระองค์เอง ความต้องการการศึกษาของพระองค์ที่ไม่ดีและไม่มีมนุษย์คนใดมีเหตุผลมากที่ข้อบกพร่องมากกว่าตัวพระองค์เอง"[206][207]

พระราชหัตถเลขาของพระองค์ถึงจักรพรรดิเปดรูที่ 2 พระองค์มักใส่สำนวนที่มากเกินกว่าระดับการอ่านของผู้เยาว์ และนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าทรงมีเจตนาเป็นคำแนะนำแก่องค์จักรพรรดิผู้เยาว์และในที่สุดอาจเป็นคำปรึกษาเมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้น[198] ความโดดเด่นของข้อความในพระราชหัตถเลขาถึงจักรพรรดิเปดรูที่ 2 ได้เสนอปรัชญาทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพและลึกซึ้งของดยุกแห่งบราแกนซา ความว่า "ยุคสมัยที่เจ้าผู้ปกครองได้รับการยอมรับเพียงเพราะพวกเขาเป็นเจ้าผู้ปกครองได้สิ้นสุดลง; ในศตวรรษที่เราอยู่ ซึ่งประชาชนรู้ดีในสิทธิของตนเอง มันเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะเป็นเจ้าผู้ปกครองและควรรู้ว่าพวกเขาเองเป็นมนุษย์ไม่ใช่พระเจ้า ที่สำหรับความรู้และความรู้สึกที่ดีของพวกเขาเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาจะกลายเป็นที่รักและเคารพนับถือได้อย่างรวดเร็ว" พระองค์สรุปว่า "การเคารพนับถือของอิสระชนต่อผู้ปกครองของพวกเขาควรจะเกิดจาดความเชื่อมั่น ซึ่งพวกเขาถือได้ว่าผู้ปกครองของพวกเขาสามารถทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จในระดับความสุขที่พวกเขาจะปรารถนา และถ้าดังกล่าวไม่เป็นกรณีของผู้ปกครองที่ไม่มีความสุขกับประชาชนที่ไม่มีความสุข"[208]

ในขณะประทับอยู่ในปารีส ดยุกแห่งบราแกนซาทรงพบปะและเป็นสหายกับกิลแบร์ ดู มอติแยร์, มาควิส เดอ ลาฟาแยตต์ ผู้ผ่านศึกในสงครามปฏิวัติอเมริกันซึ่งกลายมาเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนที่เข้มแข็งของพระองค์[202][209] อดีตจักรพรรดิเปดรูทรงกล่าวอำลาครอบครัวของพระองค์, ลาฟาแยตต์และทหารกว่า 200 นายที่มาถวายพระพรในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2375 พระองค์ทรงคุกพระชานุต่อหน้าพระราชธิดา อดีตพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 และตรัสว่า "ท่านหญิง นี่คือนายพลโปรตุเกสผู้ซึ่งจะจะรักษาสิทธิอันชอบธรรมและเรียกคืนราชบัลลังก์ให้แก่ลูก" พระราชธิดาทรงกอดพระองค์และหลั่งพระอัสสุชล[210] อดีตจักรพรรดิเปดรูเสด็จทางเรือไปยังหมู่เกาะอะโซร์สในมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นดินแดนของโปรตุเกสที่เดียวที่ยังคงจงรักภักดีในพระราชธิดาของพระองค์ หลังจากนั้นไม่กี่เดือนพระองค์ทรงเตรียมการขั้นสุดท้ายโดยตัดสินพระทัยเสด็จไปยังแผ่นดินใหญ่โปรตุเกส ทรงเข้าเมืองโปร์ตูโดยไม่ถูกคัดค้านในวันที่ 9 กรกฎาคม[211] พระองค์ทรงมาที่หัวหน้าของกองทหารเล็กๆที่ประกอบไปด้วยนักเสรีนิยม เช่น อัลเมดา การ์เร็ตต์และอเล็กซานเดร เฮอร์คูลาโนเช่นเดียวกับทหารรับจ้างจากต่างชาติและอาสาสมัครเช่น หลานของลาฟาแยตต์ คือ เอเดรียน ยูลส์ เดอ ลาสแตร์รี[212]

สวรรคต

[แก้]
A lithograph depicting a curtained bed on which lies a bearded man with closed eyes and a crucifix lying on his chest
พระบรมสาทิสลักษณ์อดีตจักรพรรดิเปดรูขณะเสด็จสวรรคต ในปีพ.ศ. 2377

อย่างรุนแรงมาก กองทัพเสรีนิยมของอดีตจักรพรรดิเปดรูถูกปิดล้อมในโปร์ตูมานานกว่าหนี่งปี ที่นั่นในช่วงต้นปีพ.ศ. 2376 พระองค์ทรงได้รับข่าวจากโจเซ โบนาเฟชิโอในบราซิลว่าพระราชธิดาของพระองค์ เจ้าหญิงเปาลา กำลังจะสิ้นพระชนม์แล้ว อดีตจักรพรรดิเปดรูทรงส่งสองคำขอร้องไปยังผู้ปกครองของพระราชโอรสธิดาของพระองค์ว่า "อย่างแรกโปรดผมที่สวยงามของเธอเล็กน้อยให้แก่ฉัน ขั้นตอนที่สองคือฝังเธอในคอนแวนต์แห่งนอซซา เซนโฮรา ดา อาจูดา [พระแม่แห่งการช่วยเหลือ] และไว้เธอในจุดเดียวของแม่ของเธอที่แสนดี ลีโอโพลดิน่าของฉันสำหรับผู้ที่แม้วันนี้ยังคงหลั่งน้ำตาแห่งความปรารถนา... ฉันขอให้ท่านเป็นพ่อ พ่อที่ไม่มีความสุขและน่าสงสาร ทีทำตามความปรารถนาของฉันและไปด้วยตัวเองที่จะฝากไว้เคียงข้างร่างแม่ของเธอด้วยลูกที่เกิดจากครรภ์ของเธอนี้และโอกาสนี้ขอสวดภาวนาแก่คนหนึ่งๆและคนอื่นๆ"[213]

หลายเดือนต่อมา ในเดือนกันยายน พระองค์ทรงพบกับอันโตนิโอ คาร์ลอส เดอ อันดราดา น้องชายของโบนาเฟชิโอ ซึ่งเดินทางมาจากบราซิล ในฐานะตัวแทนจากพรรคนักฟื้นฟู อันโตนิโอ คาร์ลอสทรงทูลให้ดยุคแห่งบราแกนซาเสด็จกลับบราซิลและปกครองอดีตจักรวรรดิของพระองค์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างพระราชโอรสยังทรงพระเยาว์ อดีตจักรพรรดิเปดรูทรงตระหนักว่าฝ่ายนักฟื้นฟูต้องการใช้พระองค์เป็นเครื่องมือในการเพิ่มพูนอำนาจของพวกเขาเอง และทรงผิดหวังกับอันโตนิโอ คาร์ลอส โดยการทำให้ความต้องการเกือบเป็นไปไม่ได้ เพื่อให้ทรงแน่ใจว่าชาวบราซิลและไม่แต่เพียงฝ่ายหนึ่งที่อยากให้พระองค์เสด็จกลับอย่างแท้จริง เขายืนยันที่จะขอให้เสด็จกลับมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ความปรารถนาของประชาชนจะได้รับการถ่ายทอดผ่านผู้แทนในประเทศของพวกเขาและการแต่งตั้งของพระองค์จะต้องได้รับการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติ เท่านั้นและ"เมื่อแสดงคำร้องขอของพระองค์ในโปรตุเกสโดยคณะผู้แทนแย่างเป็นทางการของรัฐสภาบราซิล" พระองค์จะได้รับการยอมรับพิจารณา[214][215]

ในระหว่างสงคราม ดยุคแห่งบราแกนซาทรงติดตั้งปืนใหญ่, ขุดสนามเพลาะ, มีแนวโน้มว่าจะทรงบาดเจ็บ, เสวยอาหารท่ามกลางทหารหมู่ยศต่างๆ และทรงต่อสู้ภายใต้อาวุธหนักที่คนที่อยู่ถัดจากพระองค์ถูกยิงหรือถูกระเบิดออกเป็นชิ้นๆ[216] เหตุของพระองค์ก็เกือบจะหายไปจนกว่าพระองค์จะเอาความเสี่ยงตามขั้นตอนแบ่งกองกำลังของพระองค์ และทรงส่งกำลังบางส่วนไปโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบกทางตอนใต้ของโปรตุเกส ภูมิภาคอัลเกรฟตกอยู่ภายในการขยายอาณาเขต ซึ่งจากนั้นตรงขึ้นเหนือไปยังลิสบอนซึ่งยอมจำนนในวันที่ 24 กรกฎาคม[217] อดีตจักรพรรดิเปดรูทรงดำเนินการต่อไปปราบส่วนที่เหลือของประเทศแต่เมื่อความขัดแย้งจะนำไปสู่ข้อสรุป พระมาตุลาของพระองค์ เจ้าชายคาร์ลอส เคานท์แห่งโมลินา ผู้ซึ่งพยายามช่วงชิงราชบัลลังก์ของพระราชนัดดาของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2 แห่งสเปน ทรงเข้ามาขัดขวางพระองค์ ด้วยความขัดแย้งในวงกว้างนี้ทั่วคาบสมุทรไอบีเรีย ในสงครามการ์ลิสต์ครั้งที่ 1 ดยุกแห่งบราแกนซาทรงเป็นพันธมิตรกับกองทัพเสรีนิยมสเปนที่จงรักภักดีต่อพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2 และทรงปราบปรามทั้งพระเจ้ามิเกลที่ 1 และเจ้าชายคาร์ลอส สันติภาพได้มาถึงในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2377 ด้วยการยินยอมแห่งอีโบรามงเต[218][219]

ยกเว้นพระอาการประชวรด้วยโรคลมชักที่ทรงมีอาการชักในทุกๆไม่กี่ปีมานี้[36][220] อดีตจักรพรรดิเปดรูทรงมีความสุขในพระพลานามัยสมบูรณ์เสมอ อย่างไรก็ตามสงครามได้ทำลายรัฐธรรมนูญของพระองค์และในปีพ.ศ. 2377 พระองค์กำลังจะเสด็จสวรรคตด้วยวัณโรค[221] พระองค์ทรงถูกบังคบให้ประทับอยู่บนแท่นบรรทมในพระราชวังเกวลูซมาตั้แต่วันที่ 10 กันยายน[222][223] อดีตจักรพรรดิเปดรูทรงมีรับสั่งให้เขียนจดหมายถึงชาวบราซิล ที่ทรงเคยร้องขอให้ค่อยๆนำการเลิกทาสมาใช้ พระองค์ทรงเตือนพวกเขาว่า "ระบบทาสคือความชั่วร้ายและคือการโจมตีสิทธิและศักดิ์ศรีของเผ่าพันธุ์มนุษย์ แต่ผลที่ตามมาจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ถูกจองจำกว่าประเทศที่มีกฎหมายให้มีระบบทาส มันเป็นมะเร็งร้ายที่กัดกินศีลธรรม"[224] หลังจากทรงทุกข์ทรมานจากพระอาการประชวนมาเป็นเวลานาน อดีตจักรพรรดิเปดรูเสด็จสวรรคตในเวลา 14.30 น. ของวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2477[225] ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ พระหทัยถูกบรรจุในโบสถ์โปร์ตูส์ลาปา[226] และพระศพของพระองค์ถูกฝังที่วิหารหลวงแห่งพระราชวงศ์บราแกนซา[226][227] ข่าวการสวรรคตของพระองค์ได้มาถึงรีโอเดจาเนโรในวันที่ 20 พฤศจิกายน แต่พระราชโอรสธิดาของพระองค์ได้รับการแจ้งให้ทราบหลังจากวันที่ 2 ธันวาคม[228] โบนาเฟชิโอซึ่งต่อมาถูกปลดจากการเป็นผู้ปกครองของพระราชโอรสธิดา ได้เขียนจดหมายถึงจักรพรรดิเปดรูที่ 2 และพระเชษฐภคินีของพระองค์ว่า "ท่านเปดรูยังไม่ตาย เพียงคนธรรมดาเท่านั้นที่ตาย ไม่ใช่วีรบุรุษ"[229][230]

พระราชมรดก

[แก้]
Photograph of a white stone steps leading up to a large, altar-like monument in white marble with bronze sculptural decorations that include bronze braziers at the corners, a bronze frieze in high relief at the base and bronze figures surrounding a chariot on a high, white marble plinth in the center
อนุสาวรีย์อิสรภาพแห่งบราซิลที่ซึ่งเป็นที่ฝังพระบรมศพจักรพรรดิเปดรูที่ 1 และพระมเหสีทั้งสอง
Photograph of a bronze statue with a man on horseback wearing a bicorn hat and military dress and who holds forth a scrolled sheaf of paper
พนะบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกสที่ จัตุรัสลิเบอร์ดาเด เมืองโปร์ตู

จากการเสด็จสวรรคตของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 อำนาจของพรรคฟื้นฟูได้หายไปในชั่วข้ามคืน[231] การประเมินความยุติธรรมของอดีตจักรพรรดิกลายเป็นอดีตไปเมื่อภัยคุกคามของการกลับสู่พระราชอำนาจของพระองค์ถูกลบออกไป อีวาริสโต เดอ เวกาหนึ่งในนักวิจารณ์พระองค์ที่เลวร้ายที่สุดได้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคเสรีนิยม ได้ออกคำสั่งซึ่งตามที่นักประวัติศาสตร์ โอตาวิโอ ทาร์ควินิโอ เดอ เซาซา ซึ่งมีมุมมองหลังจากนั้นไม่นานว่า "อดีตพระจักรพรรดิแห่งบราซิลไม่ทรงใช่เจ้าผู้ปกครองตามกฎหมายสามัญ...และความสุขุมทำให้พระองค์การเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการปลดปล่อยทั้งในบราซิลและในโปรตุเกส ถ้าพวกเรา[ชาวบราซิล]อยู่เป็นกลุ่มคนในชาติอิสระ ถ้าแผ่นดินของเราไม่ได้ถูกฉีกออกเป็นสาธารณรัฐศัตรูขนาดเล็กๆ ที่ซึ่งเพียงจิตวิญญาณอนาธิปไตยและกองทัพมีอำนาจเหนือกว่า พวกเราเป็นหนี้ในการตัดสินพระทัยอย่างเด็ดขาดของพระองค์ที่ยังคงหลงเหลือในหมู่พวกเราในการสร้างเสียงเรียกร้องครั้งแรกสำหรับอิสรภาพของเรา" เขากล่าวต่อว่า "โปรตุเกส ถ้ามันเป็นอิสระจากความมืดมิดและการปกครองเผด็จการที่ด้อยค่า...ถ้ามันสนุกกับผลประโยชน์ที่นำโดยผู้แทนรัฐบาลที่เรียนรู้ประชาชน มันเป็นหนี้แก่ท่านชายเปดรู เดอ อัลคันทารา ผู้ซึ่งทรงเหนื่อยหล้า, ทุกข์ยากและเสียสละเพื่อชาติโปรตุเกสทำให้พระองค์ได้รับเกียรติสูงเป็นบรรณาการแห่งชาติ"[232][233]

จอห์น อาร์มิเทจ ผู้ซึ่งอาศัยในบราซิลในช่วงครึ่งหลังของรัชกาลจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ได้บันทึกว่า "แม้ข้อผิดพลาดขององค์จักรพรรดิที่ได้รับร่วมกับผลประโยชน์ที่ดีผ่านอิทะพลของพวกมันในกิจการของประเทศแม่ พระองค์ทรงปกครองด้วยพระปัญญามากก็จะทรงได้รับการยอมรับที่ดีในดินแดนของพระองค์ แต่บางทีอาจจะเป็นความโชคร้ายของมวลมนุษยชาติ" อาร์มิเทจทรงเสริมว่าเหมือน "อดีตจักรพรรดิของชาวฝรั่งเศส พระองค์ยังทรงเป็นบุตรแห่งโชคชะตาหรือมากกว่าที่ใช้เป็นเครื่องมือที่อยู่ในมือของทุกคนที่มองเห็นและโชคชะตาที่เป็นประโยชน์สำหรับความคืบหน้าไปยังปลายทางที่ดีและลึกลับ ในความเก่าแก่เช่นเดียวกับโลกใบใหม่พระองค์ทรงได้รับโชคชะตาต่อจากนี้ไปจะกลายเป็นเครื่องมือในการปฏิวัติต่อไป ก่อนและใกล้ความสง่างามของพระองค์แต่งานเพียงสั้นๆบนดินแดนบรรพบุรุษของพระองค์ อย่างมากพอที่จะชดเชยความผิดพลาดและความโง่เขลาของพระชนม์ชีพในอดีตของพระองค์ ด้วยความเสียสละและความกล้าหาญในสาเหตุของเสรีภาพทางการเมืองและศาสนา"[234]

ในปีพ.ศ. 2515 ในการเฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปีการประกาศอิสรภาพของบราซิล พระบรมศพของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 (แม้ว่าจะไม่ได้พระหทัยของพระองค์) ได้ถูกนำมายังบราซิล ตามที่พระองค์ทรงปรารถนาไว้ พร้อมด้วยการป่าวประกาศและพระเกียรติยศในฐานะประมุขแห่งรัฐ พระบรมศพของพระองค์ถูกฝังใหม่ในอนุสาวรีย์อิสรภาพแห่งบราซิลร่วมกับพระนางมาเรีย ลีโอโพลดิน่าและพระนางอเมลี ในเมืองเซาเปาลู[226][235] หลายปีต่อมา นีล ดับบลิว. มาเคาเลย์, จูเนียร์ ได้กล่าวว่า "คำวิจารณ์จากท่านเปดรูทรงแสดงออกอย่างอิสระและดุดัน มันทำให้พระองค์ต้องทรงสละราชบัลลังก์ทั้งสอง ความอดทนของพระองค์ของการวิจารณ์สาธารณะและความตั้งพระทัยของพระองค์ที่จะสละพระราชอำนาจทำให้ท่านเปดรูทรงแตกต่างจากบรรพบุรุษผู้ทรงสมบูรณาญาสิทธิ์ของพระองค์และจากเหล่าผู้ปกครองที่บีบบังคับของรัฐในทุกวันนี้ ที่ซึ่งมีระยะการดำรงตำแหน่งที่มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ชรา" มาเคาเลย์ยืนยันว่า "ผู้นำเสรีนิยมที่ประสบความสำเร็จอย่างเช่น ท่านเปดรูอาจจะได้รับการเฉลิมพระเกียรติด้วยอนุสาวรีย์หินหรือสำริดเป็นครั้งคราว แต่พระบรมสาทิสลักษณ์ขนาดสูงสี่ชั้นนั้นไม่เข้ากับอาคารสาธารณะ ภาพเหล่านั้นจะไม่ได้ถูกถือในขบวนพาเหรดของหลายร้อยหลายพันคนที่สวมเครื่องแบบ, ไม่มีคำว่า '-isms' แนบไปท้ายชื่อของพวกเขา"[236]

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 12 ตุลาคม พ.ศ. 2341 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2344 : เจ้าชาย (ท่าน) เปดรู, หัวหน้าคณะแห่งคราโต[116]
  • 11 มิถุนายน พ.ศ. 2344 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2359 : เจ้าชายแห่งเบย์รา[116]
  • 20 มีนาคม พ.ศ. 2359 - 9 มกราคม พ.ศ. 2360 : เจ้าชายแห่งบราซิล[116]
  • 9 มกราคม พ.ศ. 2360 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2369 : พระวรราชกุมาร[116]
  • 12 ตุลาคม พ.ศ. 2365 - 7 เมษายน พ.ศ. 2374 : สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งบราซิล[116]
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2369 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 : พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ[116]
  • 15 มิถุนายน พ.ศ. 2374 - 24 กันยายน พ.ศ. 2477 : ดยุกแห่งบราแกนซา[201]

ในฐานะจักรพรรดิแห่งบราซิล พระองค์มีพระอิศริยยศเต็มว่า "ท่านเปดรูที่ 1 , สมเด็จพระจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญและผู้ปกป้องตลอดกาลแห่งบราซิล"[237] ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส พระองค์มีพระอิสริยยศเต็มว่า "ท่านเปดรูที่ 4 , พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ, แห่งอีกด้านหนึ่งของทะเลในทวีปแอฟริกา, ลอร์ดแห่งกีนีและแห่งผู้พิชิต, นาวิกราชและการค้าแห่งเอธิโอเปีย, อะราเบีย, เปอร์เซีย และอินเดีย, ฯลฯ"[238]

พระมเหสีและพระโอรสธิดา

[แก้]

อาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย

[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลทรงอภิเษกสมรสกับอาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย ด้วยการอภิเษกสมรสผ่านตัวแทนในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2360 มีพระโอรสธิดาร่วมกัน 7 พระองค์ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ
สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส 18194 เมษายน
พ.ศ. 2362
185315 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2396
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2378 กับ
ออกุสต์ เดอ โบฮาร์เนส์ ดยุคแห่งเลาช์เทนเบิร์ก
ไม่มีพระโอรสธิดา

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2379 กับ
เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
มีพระโอรสธิดา 11 พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระเจ้าเปดรูที่ 5 แห่งโปรตุเกส
สมเด็จพระเจ้าลูอิสที่ 1 แห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรียแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายฌูเอา ดยุคแห่งเบจา
เจ้าหญิงมาเรีย แอนนาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงแอนโทเนียแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายเฟอร์นันโดแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายออกุสโต ดยุคแห่งโคอิมบรา
เจ้าชายลีโอโพลโดแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรีย ดา กลอเรียแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายยูจินีโอแห่งโปรตุเกส

ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปรตุเกสระหว่างปีพ.ศ. 2369 จนถึงพ.ศ. 2396 พระราชสวามีองค์แรกของพระนาง ออกุสต์ เดอ โบฮาร์เนส์ ดยุคแห่งเลาช์เทนเบิร์กได้สิ้นพระชนม์เพียงไม่กี่เดือนหลังจากอภิเษกสมรส พระราชสวามีองค์ต่อมาของพระนางคือ เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าเฟอร์นันโดที่ 2 แห่งโปรตุเกสหลังจากพระนางมีพระประสูติกาลโอรสพระองค์แรก ซึ่งมีพระโอรสธิดารวม 11 พระองค์ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 ทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ของพระอนุชา สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล โดยพระนางทรงดำรงเป็นเจ้าหญิงรัชทายาทแห่งบราซิลจนกระทั่งพระนางทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์ด้วยกฎหมายมาตราที่ 91 ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2378[239]
เจ้าชายมิเกลแห่งเบย์รา 182026 เมษายน
พ.ศ. 2363
182026 เมษายน
พ.ศ. 2363
ทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าชายแห่งเบย์ราจนกระทั่งสิ้นพระชนม์
เจ้าชายฌูเอา คาร์ลอสแห่งเบย์รา 18216 มีนาคม
พ.ศ. 2364
18224 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2365
ทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าชายแห่งเบย์ราจนกระทั่งสิ้นพระชนม์
เจ้าหญิงยาโนเรียแห่งบราซิล 182211 มีนาคม
พ.ศ. 2365
190115 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2444
อภิเษกสมรส วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2387 กับ
เจ้าชายหลุยส์ เคานท์แห่งอควิลา
มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายหลุยส์ เคานท์แห่งร็อกคากูเกลมา
เจ้าหญิงมาเรีย อิซาเบลลาแห่งบูร์บง-ทูซิชิลี
เจ้าชายฟิลิปโปแห่งบูร์บง-ทูซิชิลี
เจ้าชายมาเรีย เอ็มมานูเอลแห่งบูร์บง-ทูซิชิลี

ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ เคานท์แห่งอควิลา ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 แห่งทูซิชิลี พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าหญิงแห่งโปรตุเกสอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2365[240] พระนางทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์โปรตุเกสหลังจากบราซิลประกาศอิสรภาพ[241]
เจ้าหญิงเปาลาแห่งบราซิล 182317 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2366
183316 มกราคม
พ.ศ. 2376
ทรงสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 9 พรรษาด้วยพระโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ[242] ประสูติในบราซิลหลังจากได้รับเอกราชแล้ว พระนางทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์โปรตุเกส[243]
เจ้าหญิงฟรานซิสกาแห่งบราซิล 18242 สิงหาคม
พ.ศ. 2367
189827 มีนาคม
พ.ศ. 2441
อภิเษกสมรส วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386 กับ
เจ้าชายฟรองซัวส์แห่งออร์เลออง เจ้าชายแห่งโจอินวิลล์
มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงฟรองซัวส์แห่งออร์เลออง
เจ้าชายปิแยร์ ดยุคแห่งเพนทิเอฟเร
เจ้าหญิงมารี ลีโอโพลดีนแห่งออร์เลออง

ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟรองซัวส์แห่งออร์เลออง เจ้าชายแห่งโจอินวิลล์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส พระมหากษัตริย์กรกฎาคมแห่งฝรั่งเศส ประสูติในบราซิลหลังจากได้รับเอกราชแล้ว พระนางทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์โปรตุเกส[244]
สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล 18252 ธันวาคม
พ.ศ. 2368
18915 ธันวาคม
พ.ศ. 2434
อภิเษกสมรส วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2385 กับ
เจ้าหญิงเทเรซา คริสตินาแห่งทูซิชิลี
มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายอฟอนโซ เจ้าชายรัชทายาทแห่งบราซิล
เจ้าหญิงอิซาเบล เจ้าหญิงรัชทายาทแห่งบราซิล
เจ้าหญิงลีโอโพลดินาแห่งบราซิล
เจ้าชายเปดรู เจ้าชายรัชทายาทแห่งบราซิล

ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งบราซิลระหว่างปีพ.ศ. 2374 จนกรทั่งพ.ศ. 2432 ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเทเรซา คริสตินาแห่งทูซิชิลี ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 แห่งทูซิชิลี พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ประสูติในบราซิลหลังจากได้รับเอกราชแล้ว พระองค์ทรงถูกตัดออกจากสิทธิการสืบราชบัลลังก์โปรตุเกส[230]

เจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก

[แก้]

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของอาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลทรงอภิเษกสมรสใหม่กับเจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก ด้วยการอภิเษกสมรสผ่านตัวแทนในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2372 มีพระธิดา 1 พระองค์ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ
เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งบราซิล 18311 ธันวาคม
พ.ศ. 2374
18534 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2396
พระนางทรงดำรงพระชนม์ชีพทั้งหมดของพระนางในยุโรปและไม่เคยเสด็จมายังบราซิล เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียทรงถูกหมั้นหมายไว้กับอาร์คดยุคแม็กซีมีเลียนแห่งออสเตรีย ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1แห่งจักรวรรดิเม็กซิโก แต่เจ้าหญิงทรงสิ้นพระชนม์ก่อนการอภิเษกสมรส เจ้าหญิงประสูติหลังจากพระราชบิดาสละราชบัลลังก์โปรตุเกส พระองค์ไม่ทรงเคยอยู่ในสิทธิการสืบราชบัลลังก์โปรตุเกส[245]

โดมิทิลา เดอ คัสโตร มาคิโอเนสแห่งซานโตส

[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลมีพระโอรสธิดากับโดมิทิลา เดอ คัสโตร มาคิโอเนสแห่งซานโตส พระสนมที่ทรงคบหามาอย่างยาวนาน มีพระโอรสธิดาร่วมกัน 4 พระองค์ได้แก่

  ชื่อ เกิด เสียชีวิต หมายเหตุ
อิซาเบล มาเรีย เดอ อัลคันทารา ดัสเชสแห่งกอยอัส 182423 พฤษภาคม
พ.ศ. 2367
1898พ.ศ. 2441 เธอเป็นพระธิดาเพียงคนเดียวของสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ที่กำเนิดนอกภาวะการสมรส ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการรับรองตามกฎหมายจากพระองค์[246] ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 อิซาเบล มาเรียได้รับพระราชทานตำแหน่ง "ดัสเชสแห่งกอยอัส" ซึ่งเป็นอิสริยยศชั้นไฮเนส และได้รับสิทธิในการขานชื่อว่า "ดอนนา"(ท่านผู้หญิง) [246] เธอเป็นบุคคลแรกที่ได้รับอิสริยยศชั้นดัสเชสในสมัยจักรวรรดิบราซิล[247] เกียรติยศเหล่านี้มิได้เป็นถวายเกียรติให้เธอในฐานะเจ้าหญิงแห่งบราซิลหรือสิทธิในการสืบราชสันตติวงศ์ ในพระราชพินัยกรรมของสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 พระองค์ได้พระราชทานแบ่งพระราชมรดกบางส่วนแก่เธอ[248] หลังจากนั้นเธอได้สูญเสียตำแหน่งและเกียรติยศในบราซิลจากการสมรสกับชาวต่างชาติ คือ เอิรนส์ ฟิชเลอร์ ฟาน ทรูเบิร์ก, เคานท์แห่งทรูเบิร์ก ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2386[249][250]
เปดรู เดอ อัลคันทารา บราซิเลโร 18257 ธันวาคม
พ.ศ. 2368
182527 ธันวาคม
พ.ศ. 2368
ดูเหมือนว่าสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 มีพระราชวินิจฉัยที่จะพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่เขาในฐานะ "ดยุคแห่งเซาเปาโล" ที่ซึ่งไม่เป็นผลจากการที่เขาได้เสียชีวิตเมื่อยังเยาว์วัย[251]
มาเรีย อิซาเบล เดอ อัลคันทารา บราซิเลรา 182713 สิงหาคม
พ.ศ. 2370
182825 ตุลาคม
พ.ศ. 2371
สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 มีพระราชวินิจฉัยที่จะพระราชทานอิสริยยศแก่เธอในฐานะ "ดัสเชสแห่งคาเอรา" ซึ่งเป็นอิสริยยศชั้นไฮเนส และได้รับสิทธิในการขานชื่อว่า "ดอนนา"(ท่านผู้หญิง) [252] ที่ซึ่งไม่เป็นผลจากการที่เธอได้เสียชีวิตเมื่อยังเยาว์วัย อย่างไรก็ตามในหลักฐานอื่นๆของท้องถิ่นได้ขานนามเธอว่า "ดัสเชสแห่งคาเอรา" ถึงแม้ว่าตำแหน่งนี้จะไม่ได้ใช้"ในเอกสารทางราชการ, ไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งนี้แก่เธอ, อีกทั้งไม่มีการกล่าวถึงในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพิธีฝังศพของเธอ"[252]
มาเรีย อิซาเบล เดอ อัลคันทารา เคานท์เตสแห่งอิกัวคู 183028 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2373
189613 กันยายน
พ.ศ. 2439
ได้เป็นเคานท์เตสแห่งอิกัวคูจากการสมรสในปีพ.ศ. 2391 กับเปดรู คาลเดย์รา บรันท์ บุตรชายของเฟลิสเบอร์โต คาลเดย์รา บรันท์ มาควิสแห่งบาร์บาเซนา[251] เธอไม่ได้รับพระราชทานอิสริยยศใดๆจากพระบิดาเลยที่ทรงอภิเษกสมรสใหม่กับเจ้าหญิงอเมลี อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงยอมรับเธอในฐานะพระธิดาในพระราชพินัยกรรม แต่ไม่ทรงมอบพระราชมรดกใดๆแก่เธอ ยกเว้นมีคำขอให้ดูแลเธอด้านการศึกษาจวบจนเจริญวัย[248]

มาเรีย เบเนดิกตา บารอนเนสแห่งซอรอคาบา

[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงคบหากับมาเรีย เบเนดิกตา บารอนเนสแห่งซอรอคาบา และมีพระโอรสร่วมกัน 1 พระองค์คือ

  ชื่อ เกิด เสียชีวิต หมายเหตุ
โรดริโก เดลฟิม เปเรย์รา 18234 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2366
189131 มกราคม
พ.ศ. 2434
ในพระราชพินัยกรรมของสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงยอมรับเขาในฐานะพระโอรสของพระองค์และทรงแบ่งพระราชมรดกแก่เขา[248] โรดริโก เดลฟิม เปเรย์ราได้เป็นนักการทูตชาวบราซิลและใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในยุโรป[253]

เฮนเรียต โจเซฟีน คลีเมนซ์ ซาอิสเซท

[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงคบหากับเฮนเรียต โจเซฟีน คลีเมนซ์ ซาอิสเซท และมีพระโอรสร่วมกัน 1 พระองค์คือ

  ชื่อ เกิด เสียชีวิต หมายเหตุ
เปดรู เดอ อัลคันทารา บราซิเลโร 182923 สิงหาคม
พ.ศ. 2372
1891ไม่ปรากฏปีที่เสียชีวิต ในพระราชพินัยกรรมของสมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงยอมรับเขาในฐานะพระโอรสของพระองค์และทรงแบ่งพระราชมรดกแก่เขา[248]

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าเปดรูที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงมาเรีย โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
9. อาร์ชดัสเชสมาเรีย อันนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงเอเลโอนอร์ แม็กดาเลนแห่งเนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส(=8)
 
 
 
 
 
 
 
10. พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. อาร์ชดัสเชสมาเรีย อันนาแห่งออสเตรีย(=9)
 
 
 
 
 
 
 
5. สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
11. อินฟันตามาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ
 
 
 
 
 
 
 
1. จักพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน(=22)
 
 
 
 
 
 
 
12. พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ(=23)
 
 
 
 
 
 
 
6. พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. สมเด็จพระเจ้าออกัสตัสที่ 3 แห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. อาร์ชดัสเชสมาเรีย โยเซฟาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
3. อินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน(=22)
 
 
 
 
 
 
 
14. เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ(=23)
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงมารีอา ลุยซาแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงหลุยส์ เอลีซาแบ็ตแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงมารี เลสซ์ไซน์สกาแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Viana 1994, p. 252.
  2. Saraiva 2001, p. 378.
  3. Lustosa 2006, p. 36.
  4. See:
  5. Calmon 1975, p. 3.
  6. Branco 1838, p. XXXVI.
  7. Barman 1999, p. 424.
  8. Calmon 1950, pp. 5, 9.
  9. Sousa 1972, Vol 1, p. 10.
  10. Calmon 1950, p. 11.
  11. Sousa 1972, Vol 1, pp. 5, 9.
  12. Calmon 1950, p. 12.
  13. Sousa 1972, Vol 1, pp. 4, 8, 10, 28.
  14. Calmon 1950, pp. 12–13.
  15. Macaulay 1986, p. 6.
  16. Macaulay 1986, p. 3.
  17. Sousa 1972, Vol 1, p. 9.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 Macaulay 1986, p. 7.
  19. 19.0 19.1 Sousa 1972, Vol 1, p. 12.
  20. See:
  21. Sousa 1972, Vol 1, pp. 39, 41.
  22. 22.0 22.1 Macaulay 1986, p. 22.
  23. Macaulay 1986, p. 29.
  24. Sousa 1972, Vol 1, pp. 125, 128.
  25. Macaulay 1986, p. 189.
  26. Macaulay 1986, p. 33.
  27. Calmon 1950, p. 33.
  28. 28.0 28.1 28.2 Macaulay 1986, p. 32.
  29. See:
  30. 30.0 30.1 Costa 1995, p. 101.
  31. Sousa 1972, Vol 1, p. 121.
  32. Sousa 1972, Vol 2, p. 101.
  33. Barman 1999, p. 17.
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 Macaulay 1986, p. 46.
  35. Lustosa 2006, p. 58.
  36. 36.0 36.1 Macaulay 1986, p. 36.
  37. Macaulay 1986, p. 37.
  38. Barman 1988, p. 134.
  39. Sousa 1972, Vol 1, p. 252.
  40. Macaulay 1986, p. 51.
  41. Lustosa 2006, p. 71.
  42. Sousa 1972, Vol 1, p. 76.
  43. Sousa 1972, Vol 1, pp. 78–80.
  44. Macaulay 1986, p. 53.
  45. Costa 1972, p. 42.
  46. Calmon 1950, p. 44.
  47. Sousa 1972, Vol 1, p. 96.
  48. Calmon 1950, p. 49.
  49. Barman 1988, p. 64.
  50. 50.0 50.1 Barman 1988, p. 68.
  51. Macaulay 1986, pp. 47–48.
  52. See:
  53. Sousa 1972, Vol 1, p. 123.
  54. 54.0 54.1 Macaulay 1986, p. 93.
  55. See:
  56. See:
  57. Barman 1988, p. 72.
  58. See:
  59. Macaulay 1986, p. 175.
  60. Sousa 1972, Vol 2, p. 185.
  61. 61.0 61.1 61.2 Macaulay 1986, p. 255.
  62. Sousa 1972, Vol 3, p. 121.
  63. Macaulay 1986, p. 177.
  64. Sousa 1972, Vol 1, pp. 232–233.
  65. 65.0 65.1 Macaulay 1986, p. 96.
  66. Sousa 1972, Vol 1, pp. 231–232.
  67. Barman 1988, p. 74.
  68. 68.0 68.1 Lustosa 2006, p. 114.
  69. See:
  70. Sousa 1972, Vol 1, p. 242.
  71. Sousa 1972, Vol 1, p. 264.
  72. Barman 1988, p. 81.
  73. Sousa 1972, Vol 1, pp. 264–265.
  74. Barman 1988, p. 82.
  75. Barman 1988, p. 83.
  76. Macaulay 1986, p. 107.
  77. See:
  78. Barman 1988, p. 78.
  79. Barman 1988, p. 84.
  80. Macaulay 1986, pp. 109–110.
  81. Macaulay 1986, p. 116.
  82. Calmon 1950, p. 85.
  83. Barman 1988, pp. 90–91, 96.
  84. Macaulay 1986, pp. 119, 122–123.
  85. Macaulay 1986, p. 124.
  86. Barman 1988, p. 96.
  87. See:
  88. Viana 1966, pp. 13–14.
  89. Barman 1988, p. 95.
  90. Lima 1997, p. 404.
  91. Viana 1994, pp. 420–422.
  92. Barman 1988, pp. 104–106.
  93. Sousa 1972, Vol 1, p. 307.
  94. Lustosa 2006, p. 139.
  95. Barman 1988, p. 110.
  96. See:
  97. Barman 1988, p. 92.
  98. Macaulay 1986, p. 121.
  99. Barman 1988, p. 272.
  100. See:
  101. Macaulay 1986, p. 120.
  102. Macaulay 1986, pp. 153–154.
  103. Barman 1988, p. 116.
  104. Barman 1988, p. 117.
  105. See:
  106. See:
  107. See:
  108. See:
  109. See:
  110. Barman 1988, p. 140.
  111. Sousa 1972, Vol 2, p. 195.
  112. Barman 1988, p. 141.
  113. Macaulay 1986, p. 186.
  114. 114.0 114.1 Barman 1988, p. 142.
  115. Morato 1835, p. 26.
  116. 116.0 116.1 116.2 116.3 116.4 116.5 116.6 Branco 1838, p. XXXVII.
  117. Macaulay 1986, p. 118.
  118. 118.0 118.1 Barman 1988, p. 148.
  119. 119.0 119.1 Macaulay 1986, p. 226.
  120. Macaulay 1986, p. 295.
  121. Macaulay 1986, p. 239.
  122. Barman 1988, pp. 147–148.
  123. Barman 1988, p. 125.
  124. Barman 1988, p. 128.
  125. Sousa 1972, Vol 2, p. 206.
  126. Macaulay 1986, p. 190.
  127. Macaulay 1986, pp. 168, 190.
  128. 128.0 128.1 Barman 1988, p. 146.
  129. Lustosa 2006, pp. 192, 231, 236.
  130. Barman 1999, p. 16.
  131. Barman 1988, p. 136.
  132. Macaulay 1986, pp. 201–202.
  133. 133.0 133.1 Macaulay 1986, p. 202.
  134. Rangel 1928, pp. 178–179.
  135. Costa 1972, pp. 123–124.
  136. Macaulay 1986, pp. 207–210.
  137. Costa 1995, pp. 121–128.
  138. Costa 1995, pp. 126–138.
  139. Calmon 1950, p. 173.
  140. Macaulay 1986, p. 211.
  141. Barman 1988, p. 151.
  142. Barman 1999, p. 24.
  143. See:
  144. Costa 1995, p. 88.
  145. Rangel 1928, p. 195.
  146. Lustosa 2006, p. 250.
  147. Lustosa 2006, p. 262.
  148. 148.0 148.1 Lustosa 2006, p. 252.
  149. Barman 1988, p. 147.
  150. Sousa 1972, Vol 2, p. 320.
  151. Sousa 1972, Vol 2, p. 326.
  152. Costa 1995, p. 94.
  153. Sousa 1972, Vol 3, p. 8.
  154. Lustosa 2006, p. 284.
  155. Sousa 1972, Vol 3, p. 7.
  156. Lustosa 2006, p. 285.
  157. Sousa 1972, Vol 3, p. 15.
  158. Macaulay 1986, p. 235.
  159. Rangel 1928, p. 274.
  160. See:
  161. See:
  162. Macaulay 1986, p. 193.
  163. Macaulay 1986, pp. 195, 219, 221.
  164. Macaulay 1986, pp. x, 193, 229.
  165. Viana 1994, p. 445.
  166. Viana 1994, p. 476.
  167. Macaulay 1986, p. 229.
  168. Macaulay 1986, p. 244.
  169. Macaulay 1986, p. 243.
  170. Calmon 1950, pp. 155–158.
  171. Macaulay 1986, p. 174.
  172. Macaulay 1986, pp. 216–217, 246.
  173. Macaulay 1986, p. 215.
  174. Lustosa 2006, pp. 129, 131.
  175. Macaulay 1986, p. 214.
  176. Lustosa 2006, p. 131.
  177. Macaulay 1986, p. 108.
  178. Lustosa 2006, pp. 128–129.
  179. 179.0 179.1 179.2 Barman 1988, p. 156.
  180. See:
  181. Macaulay 1986, p. 195.
  182. 182.0 182.1 Barman 1988, p. 159.
  183. Sousa 1972, Vol 3, p. 44.
  184. 184.0 184.1 Barman 1988, p. 157.
  185. Barman 1988, p. 138.
  186. See:
  187. Macaulay 1986, pp. 246–147.
  188. Barman 1988, p. 158.
  189. Macaulay 1986, p. 250.
  190. See:
  191. See:
  192. See:
  193. Macaulay 1986, p. 252.
  194. Sousa 1972, Vol 3, p. 114.
  195. Lustosa 2006, p. 323.
  196. Macaulay 1986, pp. 254–257.
  197. Sousa 1972, Vol 3, pp. 117, 119, 142–143.
  198. 198.0 198.1 Macaulay 1986, p. 257.
  199. Sousa 1972, Vol 3, pp. 149, 151.
  200. Macaulay 1986, pp. 257–260, 262.
  201. 201.0 201.1 Sousa 1972, Vol 3, p. 158.
  202. 202.0 202.1 Macaulay 1986, p. 259.
  203. Macaulay 1986, p. 267.
  204. Barman 1988, p. 281.
  205. Calmon 1975, p. 36.
  206. Costa 1995, p. 117.
  207. Jorge 1972, p. 203.
  208. See:
  209. Lustosa 2006, p. 306.
  210. See:
  211. See:
  212. See:
  213. Santos 2011, p. 29.
  214. Macaulay 1986, p. 293.
  215. Sousa 1972, Vol 3, p. 287.
  216. See:
  217. Macaulay 1986, p. 290.
  218. Macaulay 1986, pp. 295, 297–298.
  219. Sousa 1972, Vol 3, pp. 291, 293–294.
  220. Lustosa 2006, pp. 72–73.
  221. Macaulay 1986, p. 302.
  222. Macaulay 1986, p. 304.
  223. Sousa 1972, Vol 3, p. 302.
  224. Jorge 1972, pp. 198–199.
  225. See:
  226. 226.0 226.1 226.2 Macaulay 1986, p. 305.
  227. Sousa 1972, Vol 3, p. 309.
  228. Barman 1999, p. 433.
  229. Macaulay 1986, p. 299.
  230. 230.0 230.1 Calmon 1975, p. 81.
  231. Barman 1988, p. 178.
  232. Jorge 1972, p. 204.
  233. Sousa 1972, Vol 3, pp. 309, 312.
  234. Armitage 1836, Vol 2, pp. 139–140.
  235. Calmon 1975, p. 900.
  236. Macaulay 1986, p. x.
  237. Rodrigues 1863, p. 71.
  238. Palácio de Queluz 1986, p. 24.
  239. Barman 1999, p. 438.
  240. Morato 1835, p. 17.
  241. Morato 1835, pp. 33–34.
  242. Barman 1999, p. 42.
  243. Morato 1835, pp. 17–18.
  244. Morato 1835, pp. 18–19, 34.
  245. Morato 1835, pp. 31–32, 35–36.
  246. 246.0 246.1 Sousa 1972, Vol 2, p. 229.
  247. Viana 1968, p. 204.
  248. 248.0 248.1 248.2 248.3 Rangel 1928, p. 447.
  249. Rodrigues 1975, Vol 4, p. 22.
  250. Lira 1977, Vol 1, p. 276.
  251. 251.0 251.1 Viana 1968, p. 206.
  252. 252.0 252.1 Viana 1968, p. 205.
  253. Barman 1999, p. 148.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Armitage, John (1836). The History of Brazil, from the period of the arrival of the Braganza family in 1808, to the abdication of Don Pedro The First in 1831. Vol. 2. London: Smith, Elder & Co.
  • Barman, Roderick J. (1988). Brazil: The Forging of a Nation, 1798–1852. Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-1437-2.
  • Barman, Roderick J. (1999). Citizen Emperor: Pedro II and the Making of Brazil, 1825–1891. Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-3510-0.
  • Besouchet, Lídia (1993). Pedro II e o Século XIX (ภาษาโปรตุเกส) (2nd ed.). Rio de Janeiro: Nova Fronteira. ISBN 978-85-209-0494-7.
  • Branco, João Carlos Feo Cardoso de Castello (1838). Resenha das familias titulares do reino de Portugal: Acompanhada das notícias biográphicas de alguns indivíduos da mesmas famílias (ภาษาโปรตุเกส). Lisbon: Imprensa Nacional.
  • Calmon, Pedro (1950). O Rei Cavaleiro (ภาษาโปรตุเกส) (6 ed.). São Paulo: Edição Saraiva.
  • Calmon, Pedro (1975). História de D. Pedro II (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 1–5. Rio de Janeiro: José Olímpio.
  • Carvalho, J. Mesquita de (1968). Dicionário prático da língua nacional ilustrado. Vol. 1 (12 ed.). São Paulo: Egéria.
  • Costa, Horácio Rodrigues da (1972). "Os Testemunhos do Grito do Ipiranga". Revista do Instituto Histórico e Geográfico Brasileiro (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Imprensa Nacional. 295.
  • Costa, Sérgio Corrêa da (1972) [1950]. Every Inch a King: A Biography of Dom Pedro I First Emperor of Brazil. Translated by Samuel Putnam. London: Robert Hale. ISBN 978-0-7091-2974-5.
  • Costa, Sérgio Corrêa da (1995). As quatro coroas de D. Pedro I. Rio de Janeiro: Paz e Terra. ISBN 978-85-219-0129-7.
  • Dicionários Editora (1997). Dicionário de Sinônimos (2 ed.). Porto: Porto Editora.
  • Freira, Laudelino (1946). Grande e novíssimo dicionário da língua portuguesa. Vol. 2. Rio de Janeiro: A Noite.
  • Houaiss, Antônio; Villar, Mauro de Salles (2009). Dicionário Houaiss da língua portuguesa. Rio de Janeiro: Objetiva. ISBN 978-85-7302-963-5.
  • Jorge, Fernando (1972). Os 150 anos da nossa independendência (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Mundo Musical.
  • Lustosa, Isabel (2006). D. Pedro I: um herói sem nenhum caráter (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Companhia das Letras. ISBN 978-85-359-0807-7.
  • Macaulay, Neill (1986). Dom Pedro: The Struggle for Liberty in Brazil and Portugal, 1798–1834. Durham, North Carolina: Duke University Press. ISBN 978-0-8223-0681-8.
  • Lima, Manuel de Oliveira (1997). O movimento da Independência (ภาษาโปรตุเกส) (6th ed.). Rio de Janeiro: Topbooks.
  • Lira, Heitor (1977). História de Dom Pedro II (1825–1891): Ascenção (1825–1870) (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 1. Belo Horizonte: Itatiaia.
  • Morato, Francisco de Aragão (1835). Memória sobre a soccessão da coroa de Portugal, no caso de não haver descendentes de Sua Magestade Fidelíssima a rainha D. Maria II (ภาษาโปรตุเกส). Lisbon: Typographia de Firmin Didot.
  • Needell, Jeffrey D. (2006). The Party of Order: the Conservatives, the State, and Slavery in the Brazilian Monarchy, 1831–1871. Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-5369-2.
  • Rangel, Alberto (1928). Dom Pedro Primeiro e a Marquesa de Santos (ภาษาโปรตุเกส) (2 ed.). Tours, Indre-et-Loire: Arrault.
  • Rezzutti, Paulo (2015). D. Pedro, a história não contada (ภาษาโปรตุเกส) (1 ed.). São Paulo: LeYa. ISBN 978-85-7734-583-0.
  • Palácio de Queluz (1986). D. Pedro d'Alcântara de Bragança, 1798–1834 (ภาษาโปรตุเกส). Lisbon: Secretária de Estado.
  • Rodrigues, José Carlos (1863). A Constituição política do Império do Brasil (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Typographia Universal de Laemmert.
  • Rodrigues, José Honório (1975). Independência: revolução e contra-revolução (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 4. Rio de Janeiro: Livraria Francisco Alves Editora.
  • Santos, Eugénio Francisco dos (2011). "Fruta fina em casca grossa". Revista de História da Biblioteca Nacional (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: SABIN. 74. ISSN 1808-4001.
  • Saraiva, António José (2001) [1969]. The Marrano Factory. The Portuguese Inquisition and Its new Christians 1536–1765. Translated by H.P. Solomon and I.S.D. Sasson. Leiden, South Holland: Brill. ISBN 90-04-12080-7.
  • Sousa, Otávio Tarquínio de (1972). A vida de D. Pedro I (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 1. Rio de Janeiro: José Olímpio.
  • Sousa, Otávio Tarquínio de (1972). A vida de D. Pedro I (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 2. Rio de Janeiro: José Olímpio.
  • Sousa, Otávio Tarquínio de (1972). A vida de D. Pedro I (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 3. Rio de Janeiro: José Olímpio.
  • Tavares, Ingrid (3 April 2013). "Infecção, e não briga, causou aborto e morte de mulher de Dom Pedro 1º" [Infection, and not a fight, caused the abortion and death of the wife of Dom Pedro the First]. UOL. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013.
  • Viana, Hélio (1966). D. Pedro I e D. Pedro II. Acréscimos às suas biografias (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Companhia Editora Nacional.
  • Viana, Hélio (1968). Vultos do Império (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Companhia Editora Nacional.
  • Viana, Hélio (1994). História do Brasil: período colonial, monarquia e república (ภาษาโปรตุเกส) (15th ed.). São Paulo: Melhoramentos. ISBN 978-85-06-01999-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล

ก่อนหน้า จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล ถัดไป
สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิบราซิล
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งบราซิล
(12 ตุลาคม พ.ศ. 2365 - 7 เมษายน พ.ศ. 2374)
สมเด็จพระจักรพรรดิเปดรูที่ 2
สมเด็จพระเจ้าฌูเอาที่ 6
พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
(10 มีนาคม พ.ศ. 2369 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2369)
สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2