ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดกระบี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดกระบี่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Krabi
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง: ชายหาดเกาะปอดะ ตำบลอ่าวนาง หมู่เกาะพีพี หาดอ่าวมาหยา ป่าชายเลนอำเภออ่าวลึก ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่
คำขวัญ: 
กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก[1]
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกระบี่เน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกระบี่เน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกระบี่เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ อังกูร ศีลาเทวากูล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด4,708.512 ตร.กม. (1,817.967 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 45
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด483,221 คน
 • อันดับอันดับที่ 56
 • ความหนาแน่น102.39 คน/ตร.กม. (265.2 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 50
รหัส ISO 3166TH-81
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ทุ้งฟ้า
 • ดอกไม้ทุ้งฟ้า
 • สัตว์น้ำหอยชักตีน
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนอุตรกิจ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 81000
 • โทรศัพท์0 7561 1144
 • โทรสาร0 7562 2138
เว็บไซต์http://www.krabi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการัง ถ้ำ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ และเป็นที่ตั้งของเรือนรับรองที่ประทับแหลมหางนาค

ประวัติ

[แก้]

จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่า บริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ดินแดนนี้เดิมคือ บันไทยสมอ มีสภาพเป็นชุมชนเล็ก ๆ ขึ้นอยู่กับอาณาจักรนครศรีธรรมราช เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้มอบหมายให้ปลัดเมืองไปตั้งเพนียดคล้องช้างที่กระบี่ ทำให้ผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ต่อมายกฐานะเป็น แขวงเมืองกาสัย หรือ ปกาสัย[4] ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช

ประมาณปี พ.ศ. 2415 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาสัย และพระราชทานนามว่า เมืองกระบี่ เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่ (บ้านตลาดเก่า) ในท้องที่อำเภอเมืองกระบี่ปัจจุบัน มีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองกระบี่คนแรก จนในปี พ.ศ. 2418 เมืองกระบี่ได้แยกออกจากการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพ และ ในปี พ.ศ. 2443 สมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้ย้ายที่ตั้งเมืองไปอยู่ตำบลปากน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้ปากอ่าวเป็นร่องน้ำลึก ให้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้[5]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้]
ต้นทุ้งฟ้า

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งช่องแคบมะละกา อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 814 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) มีเนื้อที่ 4,708 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขา ที่ดอน ที่ราบ หมู่เกาะน้อยใหญ่ กว่า 154 เกาะ อุดมไปด้วยป่าชายเลน ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ช่องแคบมะละกา ที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เขาพนมเบญจา

สภาพภูมิประเทศ

[แก้]

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดกระบี่ ทางตอนเหนือประกอบด้วยเทือกเขายาวทอดตัวไปในแนวเหนือใต้ สลับกับสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด และลอนชัน มีที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก บริเวณทางใต้ มีสภาพภูมิอากาศเป็นภูเขากระจัดกระจาย สลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น ส่วนบริเวณทางตอนใต้สุดและตะวันตกเฉียงใต้ มีสภาพพื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงค่อนข้างเรียบ และมีภูเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป บริเวณด้านตะวันตกมีลักษณะ เป็นชายฝั่งติดกับช่องแคบมะละกายาวประมาณ 160 กิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ประมาณ 130 เกาะ แต่เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 13 เกาะ เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตา เป็นที่ตั้งของอำเภอเกาะลันตา และเกาะพีพี ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองกระบี่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามติดอันดับของโลก บริเวณตัวเมืองมีแม่น้ำกระบี่ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ช่องแคบมะละกาที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย ซึ่งมี่ต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาพนมเบญจา เทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่

สภาพภูมิอากาศ

[แก้]

จังหวัดกระบี่ มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู คือ

  1. ฤดูร้อน มี 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม
  2. ฤดูฝน มี 8 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ไปจนถึงเดือนตุลาคม

อาณาเขต

[แก้]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 389 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองกระบี่
  2. อำเภอเขาพนม
  3. อำเภอเกาะลันตา
  4. อำเภอคลองท่อม
  5. อำเภออ่าวลึก
  6. อำเภอปลายพระยา
  7. อำเภอลำทับ
  8. อำเภอเหนือคลอง
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

เทศบาลเมือง

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่

[แก้]
  1. หลวงเทพเสนา 
  2. พระยาอิศราธิชัย
  3. พระพนธิพยุหสงคราม (กลิ่น ณ นคร) 
  4. พระบริรักษ์ภูธร 
  5. พระเทพ (กระต่าย ณ นคร) 
  6. นายกลับ ณ นคร (ผู้รั้ง) 
  7. พระยาอุตรกิจวิจารณ์ 
  8. พระพนธิพยุหสงคราม (พลอย ณ นคร) 
  9. พระยาอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง) 
  10. พระระนองบุรีศรีสมุทรเขต (คลองอยู่โหย ณ ระนอง) 1 มี.ค. 2468 - 16 พ.ค. 2473
  11. พระทวีธุระประศาสตร์ (จอน พรหมบุตร) 17 พ.ค. 2473 - 18 มิ.ย. 2476
  12. พระบรรหารวรพจน์  (บุญนาค คตเดชะ) 19 มิ.ย. 2476 - 30 พ.ย. 2478
  13. ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี พิจิตรนรการ) 20 ธ.ค. 2478 - 2 พ.ย. 2484
  14. นายออม ธีญะระ 1 มิ.ย. 2484 - 11 ก.ค. 2485
  15. นายวิจารณ์ วิจารณ์นิกรกิจ 9 ก.ย. 2485 - 24 ก.ค. 2487
  16. นายสมบูรณ์ จันทร์ประทับ 2 มี.ค. 2487 - 1 ก.ค. 2489
  17. นายจันทร์ สมบูรณ์กุล 7 ต.ค. 2489 - 6 ธ.ค. 2490
  18. นายวิเวก จันทโรจวงศ์ 6 ธ.ค. 2490 - 10 มิ.ย. 2497
  19. นายเฉลิม ยูปานนท์ 15 มิ.ย. 2497 - 18 พค. 2498
  20. นายอ้วน สุรกุล 2 ก.ย. 2498 - 20 พ.ค. 2501
  21. นายประจักษ์ วัชรปาณ 20 พ.ค. 2501 - 1 ก.ค. 2503
  22. นายเคลื่อน จิตรสำเริง 2 ก.ค. 2503 - 27 ต.ค. 2506
  23. นายพุก ฤกษ์เกษม 28 ต.ค. 2506 - 30 ก.ย. 2511
  24. นายเหรียญ สร้อยสนธิ์ 2 ต.ค. 2511 - 30 ก.ย. 2513
  25. นายเฉลิม สุวรรณเนตร 1 ต.ค. 2513 - 30 ก.ย. 2515
  26. นายวัชระ สิงคิวิบูลย์ 2 ต.ค. 2515 - 5 ต.ค. 2516
  27. นายฉลอง กัลยาณมิตร 8 ต.ค. 2516 - 3 ต.ค. 2518
  28. นายกระจ่าง คีรินทรนนท์ 9 ต.ค. 2518 - 30 ก.ย. 2520
  29. นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา 1 ต.ค. 2520 - 30 ก.ย. 2521
  30. นายดิเรก ดิเรกวัฒนะ 1 ต.ค. 2521 - 21 ก.ย. 2522
  31. นายเชิด ดิฐานนท์ 1 ต.ค. 2522 - 30 ก.ย. 2523
  32. เรือตรี สุกรี รักษ์ศรีทอง 1 ต.ค. 2523 - 30 เม.ย. 2526
  33. นายบุญช่วย หุตะชาต 1 พ.ค. 2526 - 30 ก.ย. 2529
  34. นายมังกร กองสุวรรณ 1 ต.ค. 2529 - 30 ก.ย. 2531
  35. นายกนก ยะสารวรรณ 1 ต.ค. 2531 - 30 ก.ย. 2533
  36. พันตรี ประโยชน์ สุดจินดา 1 ต.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2535
  37. นายวีระ รอดเรือง 1 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2537
  38. นายศิระ ชวนะวิรัช 1 ต.ค. 2537 - 30 ก.ย. 2538
  39. นายสถิตย์ แสงศรี 1 ต.ค. 2538 - 30 เม.ย. 2540
  40. นายสมบูรณ์ สุขสำราญ 1 พ.ค. 2540 - 11 ม.ค. 2541
  41. นายศิระ ชวนะวิรัช 12 ม.ค. 2541 - 30 กย. 2544
  42. นายสมาน กลิ่นเกษร 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
  43. นายอำนวย สงวนนาม 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547 
  44. นายอานนท์ พรหมนารท  1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548 
  45. นายสนธิ เตชานันท์ 1 ต.ค. 2548 - 12 พ.ย. 2549     
  46. นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์  13 พ.ย. 2549 - 30 ก.ย. 2552 
  47. นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ 1 ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2557
  48. นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม 2 พ.ย. 2557 - 30 ก.ย. 2558
  49. นายพินิจ บุญเลิศ 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2560
  50. พันตำรวจโท หม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร 1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2564
  51. นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ 1 ต.ค. 2564 - 2 ธ.ค. 2565
  52. นายภาสกร บุญญลักษม์ 2 ธ.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566
  53. นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา 17 ธ.ค. 2566 - 30 ก.ย. 2567
  54. นายอังกูร ศีลาเทวากูล 17 พ.ย. 2567 - ปัจจุบัน

การคมนาคม

[แก้]

ทางหลวง

[แก้]

สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ

  1. จากกรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) ผ่าน จ.สมุทรสาคร จ.นครปฐม จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร จ.ระนอง จ.พังงา จนถึง จ.กระบี่ ระยะทาง 946 กิโลเมตร
  2. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) ถึง จ.ชุมพร แล้วต่อด้วยเส้นทางหลวงหมายเลข 41 ผ่าน อ.หลังสวน จ.ชุมพร เข้าสู่ อ.ไชยา อ.เวียงสระ จ.สุราษฏร์ธานี จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4035 ถึง อ.อ่าวลึก แล้ววกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้ง เข้าสู่ จ.กระบี่ ระยะทาง 814 กิโลเมตร
  3. จากจังหวัดภูเก็ต ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 402 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง อ.ทับปุด จ.พังงา เข้าสู่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ระยะทาง 185 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน บริษัท ลิกไนท์ ทัวร์ สายกรุงเทพฯ-กระบี่ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11–12 ชั่วโมง

รถไฟ

[แก้]

จากสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ลงได้ 3 สถานี คือ

เครื่องบิน

[แก้]

ปัจจุบันมีสายการบินภายในประเทศ คือ การบินไทย แอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์ ไทยเวียดเจ็ท ไทยสไมล์

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ภาคเอกชน

[แก้]

นักร้อง นักแสดง

[แก้]

นักกีฬา

[แก้]

บุคคลทั่วไป

[แก้]
  • ประสิทธิ์ เจียวก๊ก - ประธานโครงการ "คืนคุณแผ่นดิน" ถูกดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชนกว่า 1 พันราย[6][7] ร่วมกับพวกประกอบด้วย พ.ท.พญ.อมราภรณ์ วิเศษสุข ประธานโครงการ "เที่ยวเพื่อชาติ", น.ส.ณัฐวรรณ อุตตมะปรากรม, น.ส.สิริมา เนาวรัตน์, นายกิตติวัฒน์ อ่วมอารีย์ และ นายกิตติศักดิ์ เย็นนานนท์ รองประธานกรรมการบริหารบริษัทในเครือของผู้ต้องหาดังกล่าว มูลค่าความเสียหายรวมแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท โดยทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว[7]

ข้าราชการพลเรือน

[แก้]
  • สิปป์บวร แก้วงาม - อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อดีตผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษามหาเถรสมาคม[8][9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดกระบี่. "ข้อมูลจังหวัดกระบี่: สัญลักษณ์จังหวัด." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.krabi.go.th/men/logo.htm เก็บถาวร 2007-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 21 เมษายน 2553.
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 13 มีนาคม 2565.
  4. "บันทึกประเทศไทย ฉบับที่ 101 - จังหวัดกระบี่".
  5. "ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดกระบี่" (PDF). กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
  6. วิศรุต สินพงพร. (2564).สรุปโพสต์เดียวจบ ‘ประสิทธิ์ เจียวก๊ก’ คนดีโดนคดีฉ้อโกงพันล้าน. workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2564
  7. 7.0 7.1 แนวหน้า. (2564). กองปราบทลายแก๊งตุ๋นพันล้าน มี‘พ.ท.’เอี่ยวเร่งสอบขยายผล. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2564
  8. "การบรรยายหัวข้อ "ปรัชญาการเป็นข้าราชการที่ดี" โดยนายสิปป์บวร แก้วงาม". hr.onab.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. chanhena, Bandit. "มส.ตั้ง "สิปป์บวร" เป็นที่ปรึกษา หลังเกษียณฯจากผอ.พศ". เดลินิวส์.

ดูเพิ่ม

[แก้]