ชะญะรุดดุรร์
ชะญะรุดดุรร์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
เหรียญดินาร์ของชะญะรุดดุรร์ | |||||
สุลต่านหญิงแห่งอียิปต์ | |||||
ครองราชย์ | 2 พฤษภาคม – กรกฎาคม ค.ศ. 1250 | ||||
ก่อนหน้า | อัลมุอัซซิม ตูรอนชาฮ์ | ||||
ถัดไป | อิซซุดดีน อัยบัก | ||||
อุปราชแห่งอียิปต์ | |||||
ครองราชย์ | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1249 – 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1250[1] | ||||
สวรรคต | 28 เมษายน พ.ศ. 1257 ไคโร | ||||
ฝังพระศพ | ไคโร | ||||
คู่อภิเษก | อัศศอเลียะห์ อัยยูบ (เสียชีวิต 1249) อิซซุดดีน อัยบัก (สมรส 1250; เสียชีวิต 1257) | ||||
พระราชบุตร | เคาะลีล | ||||
| |||||
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี |
ชะญะรุดดุรร์ (อาหรับ: شجر الدر, แปลตรงตัว 'ต้นไม้ไข่มุก') หรือ ชะญะเราะตุดดุรร์ (شجرة الدر)[a] มีพระนามาภิไธยว่า อัลมะลิกะฮ์ อัศมะตุดดีน อุมม์ เคาะลีล ชะญะรุดดุรร์ (الملكة عصمة الدين أم خليل شجر الدر; จากพระนามลำลองว่า أم خليل อุมม์ เคาะลีล 'มารดาของเคาะลีล';[b] ? – 28 เมษายน ค.ศ. 1257) เป็นผู้นำของอียิปต์ โดยเป็นพระมเหสีของอัศศอเลียะห์ อัยยูบ สุลต่านอียิปต์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อัยยูบิด และต่อมาคืออิซซุดดีน อัยบัก สุลต่านองค์แรกแห่งราชวงศ์บะห์รีของมัมลูก ก่อนที่จะเป็นพระมเหสีของอัยยูบ พระองค์เคยเป็นทาสเด็กและนางสนมของสุลต่านอัยยูบมาก่อน[4]
ในด้านการเมือง หลังพระราชสวามีองค์แรกสวรรคต ชะญะรุดดุรร์มีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 7 ตอนโจมตีอียิปต์ (ค.ศ. 1249–1250) พระองค์กลายเป็นซุลฏอนะฮ์แห่งอียิปต์ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1250 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์อัยยูบิดและเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยมัมลูก[5][6][7][8] มีทฤษฎีบางประการเกี่ยวกับเชื้อสายของชะญะเราะตุดดุรร์ โดยนักประวัติศาสตร์มุสลิมหลายคนเชื่อว่าพระองค์อาจเป็นต้นกำเนิดเป็นชาวเบดูอิน, ซีร์แคสเซีย, กรีก หรือเติร์ก และบางส่วนเชื่อว่าพระองค์มีต้นกำเนิดเป็นชาวอาร์มีเนีย[9][10]
ชื่อ
[แก้]ข้อมูลบางส่วนยืนยันว่า ชะญะตุดดุรร์นำตำแหน่งซุลฏอนะฮ์ (سلطانة) รูปเพศหญิงของสุลต่าน มาใช้งาน[11] อย่างไรก็ตาม ในข้อมูลทางประวัติศาสตร์ (โดยเฉพาะอิบน์ วาศิล) และบนเหรียญเท่าที่มีอยู่ของชะญะเราะตุดดุรร์ พระองค์มีคำนำหน้าว่า “สุลต่าน”[12]
เหรียญ
[แก้]พระนามและพระยศที่มีบนเหรียญของชะญะรุดดุรร์ มีดังนี้: อัลมุสตะอ์ซิมียะฮ์ อัศศอลิฮียะฮ์ มะลิกะตุลมุสลิมีน วาลิดะตุลมะลิก อัลมันศูร เคาะลีล อะมีรุลมุอ์มินีน (มุสตะอ์ซิมียะฮ์ อัศศอลิฮียะฮ์ ราชินีของมุสลิมทั้งปวง มารดาของกษัตริย์อัลมันศูร เคาะลีล อะมีรผู้ซื่อสัตย์) และชะญะเราะตุดดุรร์ ส่วนพระนามเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ที่อยู่บนเหรียญของพระองค์ คือ: อับดุลลอฮ์ บิน อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stewart, John (1989). African States and Rulers. London: McFarland. p. 8. ISBN 0-89950-390-X.
- ↑ Abu Al-Fida, pp.66-87/Year 648H.
- ↑ Al-Maqrizi,p.459/vol.1.
- ↑ Ruggles, D. Fairchild (2020). Tree of pearls : the extraordinary architectural patronage of the 13th-century Egyptian slave-queen Shajar al-Durr. New York, NY. p. 98. ISBN 978-0-19-087322-6. OCLC 1155808731.
{{cite book}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - ↑ Some historians regard Shajar al-Durr as the first of the Mamluk sultans. – (Shayyal, p.115/vol.2)
- ↑ Al-Maqrizi described Shajar al-Durr as the first of the Mamluk sultans of Turkic origin. " This woman, Shajar al-Durr, was the first of the Turkish Mamluk kings who ruled Egypt " – (Al-Maqrizi, p.459/ vol.1)
- ↑ Ibn Iyas regarded Shajar al-Durr as an Ayyubid. – (Ibn Iyas, p.89)
- ↑ According to J. D. Fage " it is difficult to decide whether this queen (Shajar al-Durr) was the last of the Ayyubids or the first of the Mamluks as she was connected with both the vanishing and the oncoming dynasty". Fage, p.37
- ↑ Al-Maqrizi, Ibn Taghri and Abu Al-Fida regarded Shajar al-Durr as Turkic. Al-Maqrizi and Abu Al-Fida, however, mentioned that some believed she was of Armenian origin. (Al-Maqrizi, p. 459/vol.1) – (Ibn Taghri,p.102-273/vol.6)- (Abu Al-Fida, pp.68-87/Year 655H)
- ↑ Dr. Yürekli, Tülay (2011), The Pursuit of History (International Periodical Research Series of Adnan Menderes University), Issue 6, Page 335, The Female Members of the Ayyubid Dynasty, Online reference: "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 December 2011. สืบค้นเมื่อ 17 December 2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Meri, Josef W., บ.ก. (2006). Medieval Islamic Civilization: An Encyclopedia. Vol. Volume 2: L–Z, index. New York: Routledge. p. 730. ISBN 978-0-415-96692-4. OCLC 314792003. สืบค้นเมื่อ 1 March 2010.
... Shajar al-Durr was proclaimed sultana (the feminine form of sultan) of the Ayyubid dominions, although this was not recognized by the Syrian Ayyubid princes.
{{cite book}}
:|volume=
has extra text (help) - ↑ Ruggles, D. F. (19 May 2020). Tree of Pearls. Oxford University Press. pp. 60–62. ISBN 978-0190873202.
- ↑ Mahdi,pp. 68–69
- หมายเหตุ
- ↑ บนเหรียญมีพระนามของพระองค์ว่า ชะญะเราะตุดดุรร์ ดูข้างล่าง
- ↑ แล้วก็ วาลิดะฮ์ เคาะลีล (والدة خليل) ซึ่งมีความหมายเดียวกัน เคาะลีลเป็นพระราชโอรสที่สวรรคตของสุลต่านอัศศอเลียะห์ อัยยูบ พระองค์ใช้พระนามนี้เพื่อเป็นทายาทและผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายและรวมเข้าด้วยกัน พระองค์ลงนามในเอกสารทางการและพระราชกฤษฎีกาด้วยพระนาม วาลิดะฮ์ เคาะลีล[2][3]
บรรณานุกรม
[แก้]- Abu al-Fida, The Concise History of Humanity.
- Al-Maqrizi, Al Selouk Leme'refatt Dewall al-Melouk, Dar al-kotob, 1997.
- Idem in English: Bohn, Henry G., The Road to Knowledge of the Return of Kings, Chronicles of the Crusades, AMS Press, 1969.
- Al-Maqrizi, al-Mawaiz wa al-'i'tibar bi dhikr al-khitat wa al-'athar,Matabat aladab,Cairo 1996, ISBN 977-241-175-X.
- Idem in French: Bouriant, Urbain, Description topographique et historique de l'Egypte,Paris 1895
- Ibn Iyas, Badai Alzuhur Fi Wakayi Alduhur, abridged and edited by Dr. M. Aljayar, Almisriya Lilkitab, Cairo 2007, ISBN 977-419-623-6
- Ibn Taghri, al-Nujum al-Zahirah Fi Milook Misr wa al-Qahirah, al-Hay'ah al-Misreyah 1968
- History of Egypt, 1382–1469 A.D. by Yusef. William Popper, translator Abu L-Mahasin ibn Taghri Birdi, University of California Press 1954
- Asly, B., al-Zahir Baibars, Dar An-Nafaes Publishing, Beirut 1992
- Goldstone, Nancy (2009). Four Queens: The Provençal Sisters Who Ruled Europe. Phoenix Paperbacks, London.
- Sadawi. H, Al-Mamalik, Maruf Ikhwan, Alexandria.
- Mahdi,Dr. Shafik, Mamalik Misr wa Alsham ( Mamluks of Egypt and the Levant), Aldar Alarabiya, Beirut 2008
- Shayyal, Jamal, Prof. of Islamic history, Tarikh Misr al-Islamiyah (History of Islamic Egypt), dar al-Maref, Cairo 1266, ISBN 977-02-5975-6
- Sirat al-Zahir Baibars, Printed by Mustafa al-Saba, Cairo 1923. Repulished in 5 volumes by Alhay'ah Almisriyah, Editor Gamal El-Ghitani, Cairo 1996, ISBN 977-01-4642-0
- Sirat al-Zahir Baibars, assembled H. Johar, M. Braniq, A. Atar, Dar Marif, Cairo 1986, ISBN 977-02-1747-6
- The chronicles of Matthew Paris ( Matthew Paris: Chronica Majora ) translated by Helen Nicholson 1989
- The Memoirs of the Lord of Joinville, translated by Ethel Wedgwood 1906
- The New Encyclopædia Britannica, Macropædia,H.H. Berton Publisher,1973–1974
- Meri, Josef W. (Editor). Medieval Islamic Civilization: An Encyclopedia. Routledge, 2006. web page
- Perry, Glenn Earl. The History of Egypt – The Mamluk Sultanate. Greenwood Press, 2004. page 49
- Qasim, Abdu Qasim Dr., Asr Salatin AlMamlik ( era of the Mamluk Sultans ), Eye for human and social studies, Cairo 2007
- Irwin, Robert. The Middle East in the Middle Ages: The Early Mamluk Sultanate, 1250–1382. Routledge, 1986. web page
- Ruggles, D. F. Tree of Pearls: The Extraordinary Architectural Patronage of the 13th Century Egyptian Slave-Queen Shajar al-Durr (Oxford University Press, 2020)
- Ruggles, D. F. “The Geographic and Social Mobility of Slaves: The Rise of Shajar al-Durr, a Slave-Concubine in 13th-century Egypt,” The Medieval Globe, vol. 2.1 (2016): 41–55
- Ruggles, D. F. “Visible and Invisible Bodies: The Architectural Patronage of Shajar al-Durr,” Muqarnas 32 (2015): 63–78
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Encyclopædia Britannica Online – Growth of Mamluk armies
- Women in World History – Female Heroes from the Time of the Crusades: Shagrat al-Durr