ซอฟต์แวร์เน้นปริมาณ
ซอฟต์แวร์เน้นปริมาณ หรือ โชเวลแวร์ (อังกฤษ: Shovelware) คือวิดีโอเกมหรือชุดของซอฟต์แวร์ ที่เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพหรือประโยชน์ [1]
เกมเน้นปริมาณ
[แก้]วิดีโอเกมที่ผลิดแบบถูกๆ คุณภาพต่ำ ปล่อยออกมาโดยหวังว่าลูกค้าไร้เดียงสาจะซื้อไป มักเรียกกันว่า "เกมเน้นปริมาณ" ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหา เมื่อแพลตฟอร์มไม่มีการควบคุมคุณภาพ[2]
นักพัฒนาและผู้เผยแพร่เกมบางรายเป็นที่ฉาวโฉ่ในฐานะผู้สร้างเกมเน้นปริมาณ เช่น Blast! Entertainment เป็นผู้พัฒนาและผู้เผยแพร่เกมที่เลิกกิจการไปแล้ว เจ้านี้เป็นที่ฉาวโฉ่จากการเปิดตัวเกมเน้นปริมาณที่ได้รับลิขสิทธิ์ จากภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และหนังสือ เช่น An American Tail, Beverly Hills Cop, จูแมนจี้ เกมดูดโลกมหัศจรรย์ และ Lassie[3]
ผู้ใช้นินเทนโด จะรู้กันว่ามีเกมเน้นปริมาณจำนวนมากสำหรับเครื่องเล่นเกมวี รวมไปถึงพอร์ตของเกมจาก เพลย์สเตชัน 2 ซึ่งก่อนหน้านี้วางจำหน่ายในยุโรปเท่านั้น Data Design Interactive เป็นที่ฉาวโฉ่จากการสร้างเกใเน้นปริมาณสำหรับเครื่องวี เกมของพวกเขาอย่าง เขา Ninjabread Man, Anubis II, Rock 'n' Roll Adventures และ Myth Makers: Trixie in Toyland ใช้รูปแบบการเล่นและเลย์เอาต์ของด่านแบบเดียวกันเป๊ะทุกประการ แต่เปลี่ยนงานศิลปะและการออกแบบตัวละครเพื่อให้ดูเหมือนว่าแต่ละเกมมีคุณสมบัติเฉพาะตัว [4] [5]นินเท็นโด อีช็อป บนคอนโซลรุ่นใหม่ของนินเทนโด อย่าง นินเท็นโด สวิตช์ ก็มีชื่อเสียในด้านเกมและซอฟต์แวร์คุณภาพต่ำมากมาย [6] [7]
Asset Flips เป็นเกมเน้นปริมาณที่เน้นใช้ asset ที่สร้างไว้แล้วสำเร็จรูป แทนที่จะลงแรงสร้างเอง เพื่อลดต้นทุนในการเผยแพร่เกมจำนวนมาก วาล์วคอร์ปอเรชัน ด่าเกมพวกนี้ว่าเป็นเกม "จอมปลอม" โดยในปี พ.ศ. 2560 วาล์วได้นำเกม 173 รายการออกจากสตีม [8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Definition of: Shovelware". PC Magazine Encyclopedia. PC Magazine. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
- ↑ Wallace, Chris (5 August 2020). "Why indies are struggling to be seen on the Switch eShop". MCV UK.
- ↑ "Blast! Entertainment catalog from IGN". IGN. สืบค้นเมื่อ 6 September 2022.
- ↑ Millsap, Zack (2021-03-26). "How One Developer Sold Gamers The Same Game Four Times". CBR (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-28.
- ↑ Lyon, James (October 16, 2007). "Popcorn Arcade Roundup". EuroGamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2009. สืบค้นเมื่อ September 27, 2022.
- ↑ Vjestica, Adam (May 15, 2021). "The Nintendo Switch calculator app sums up everything that's wrong with the eShop". TechRadar. สืบค้นเมื่อ September 23, 2023.
- ↑ Lane, Gavin (August 12, 2023). "The Rise Of 'Scam Games' And 'Keyword Bingo' Firms Flooding Switch eShop". Nintendo Life (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ September 23, 2023.
- ↑ Frank, Allegra (2017-09-26). "Valve removes nearly 200 cheap, 'fake' games from Steam (update)". Polygon (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.