ข้ามไปเนื้อหา

ซุคฮอย ซู-11

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซู-11
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเครื่องบินสกัดกั้น
ชาติกำเนิด สหภาพโซเวียต
บริษัทผู้ผลิตซุคฮอย
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศโซเวียต
จำนวนที่ผลิต108 ลำ
ประวัติ
สร้างเมื่อพ.ศ. 2505-2508
เริ่มใช้งานพ.ศ. 2507
เที่ยวบินแรก25 ธันวาคม พ.ศ. 2501
ปลดประจำการพ.ศ. 2513
พัฒนาจากซุคฮอย ซู-9

ซุคฮอย ซู-11 (อังกฤษ: Sukhoi Su-7) (นาโต้ใช้รหัสเรียกว่าฟิชพอท-ซี) ซู-11 เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อจาก ซุคฮอย ซู-9 โดยมีการติดตั้งเครื่องยนต์ที่ให้แรงขับสูงขึ้น ซึ่งทั้ง ซู-9 และ ซู-11 มีลักษณะคล้ายมิก-21 มาก เพียงแต่ มิก-21 ใหญ่กว่าเท่านั้น ทั้ง ซู-9 และ ซู-11 มีรุ่นฝึก 2 ที่นั่งเรียงกันซึ่งองค์การนาโตกำหนดรหัสเป็นไมเดน (Maiden)

การออกแบบและการพัฒนา

[แก้]

ซู-11 เป็นการพัฒนาของเครื่องบินสกัดกั้นแบบซุคฮอย ซู-9 ซึ่งได้ถูกพัฒนาในการขับเคลื่อนพร้อมกับปืกลู่ของเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดซู-7 ด้วยความมีข้อจำกัดอันเป็นรากฐานของซู-9 ซุคฮอยจึงเริ่มทำงานพัฒนาซู-11 ซึ่งได้การบินครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2504 โดยใช้ชื่อว่าต้นแบบที-47

ซู-11 มีปีกสามเหลี่ยมแบบเดียวกับซู-9 ส่วนหางที่ลู่ และลำตัวที่คล้ายซิการ์ เช่นเดียวกับส่วนรับลมที่ปลายจมูก แต่มันมีส่วนจมูกที่ยาวกว่าเพื่อทำงานร่วมกับเรดาร์'ออร์ยอล' (Oryol) ที่ทรงพลัง เครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบไลยูก้าเอแอล-7เอฟ-1 ถูกติดตั้งลงไปโดยที่มันให้กำลัง 2,210 ปอนด์เพื่อเพิ่มอัตราไต่ระดับและการทำงานในระดับสูง ซู-11 สามารถถูกแยกแยะจากซู-9 ได้โดยสังเกตที่ท่อเชื้อเพลิงด้านนอกที่ส่วนบนของลำตัว ทางด้านท้ายของห้องกันบิน

ขีปนาวุธเค-5 ถูกแทนที่โดยอาร์-98 เอแนบสองลูก โดยปกติหนึ่งลูกจะเป็นแบบกุ่งเรดาร์และอีกหนึ่งลูกเป็นระบบนำวิถีด้วยอินฟราเรด เช่นเดียวกับเครื่องบินสกัดกั้นในเวลานั้นคือมันไม่มีปืนใหญ่

การผลิตซู-11-8เอ็มเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2505 สิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2508 หลังจากที่ผลิตออกมา 108 ลำ แม้ว่ามันจะถูกเชื่อว่ามีซู-9 บางลำที่ถูกดัดแปลงเป็นซู-11

รุ่นสำหรับฝึกซู-11ยู ไมเดนได้ถูกสร้างขึ้นมา มันคล้ายคลึงกับซู-9ยู มันมีอาวุธและเรดาร์สำหรับการฝึก เพราะว่าการมีสองที่นั่งได้ลดความจุเชื้อเพลิง มันจึงไม่ถูกใช้ในการต่อสู้

ประวัติการใช้งาน

[แก้]

ปัญหาในการพัฒนาและอุบัติเหตุทำให้ฝูงบินสำหรับกองทัพอากาศและกองกำลังป้องกันทางอากาศของโซเวียตนั้นล่าช้าจนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2507 และมีเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่ส่งถึงมือ

ถึงแม้ว่าจะมีเรดาร์ที่เหนือชั้นซู-11 ยังคงต้องพึ่งการควบคุมการสกัดกั้นบนพื้นดินอยู่ดีเพื่อหาเป้าให้กับนักบิน มันไม่มีความสามารถในการเข้าต่อสู้กับเครื่องบินที่บินต่ำเช่นกันและซุคฮอย โฮบีเค มองว่าซู-11 ไม่ประสบความสำเร็จและด้อยกว่าซุคฮอย ซู-15 อย่างมาก ถึงกระนั้นมันก็ยังคงประจำการอยู่จนถึงทศวรรษที่ 1980 ซู-11 ลำสุดท้ายในแนวหน้าอยู่ในประจำการจนถึงปีพ.ศ. 2527

ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
  • กองกำลังป้องกันทางอากาศของโซเวียต

รายละเอียด ซุคฮอย ซู-11

[แก้]
  • ลูกเรือ 1 นาย
  • เครื่องยนต์ เครื่องยนต์ไลยูก้าเอแอล-7 เอฟ-1 ให้แรงขับเมื่อสันดาปท้าย 10,009 กิโลกรัม จำนวน 1 เครื่อง
  • กางปีก 8.23 เมตร
  • ยาว 17.37 เมตร
  • สูง 4.88 เมตร
  • พื้นที่ปีก 39.48 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 9,072 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติ 12,247 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด13,608 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูงสุด 1.8 มัค ที่ระยะสูง 11000 เมตร และ 0.95 มัค ที่ระยะสูง 305 เมตร
  • อัตราไต่ขั้นต้น 137 เมตร/วินาที
  • เพดานบินใช้งาน 17,000 เมตร
  • อาวุธ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยรังสีอินฟราเรดอาร์-98 เอแนบ 2 นัด

[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]