ดีวีดี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ดีวีดี (DVD) ย่อมาจาก แผ่นดิจิทัลอเนกประสงค์ (Digital Versatile Disc) หรือ แผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล (Digital VideoDisc) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสงที่ใช้บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนแผ่นซีดี โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า
เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด
ความเร็วในการเขียนแผ่นดีวีดี 1x มีค่าเท่ากับ 10.5 Mb/s หรือราวๆ 1.32 MB/s
เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี (DVD Writer) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี
คุณสมบัติของดีวีดี
[แก้]- สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 120 นาที
- การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
- สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
- มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
- ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
- ทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
- ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
- มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)
ประเภทของแผ่นดีวีดี
[แก้]ชนิดของแผ่นดีวีดีที่ใช้บันทึกนั้นมีอยู่ 7 ชนิด คือ
- DVD-R
- DVD+R
- DVD-RW
- DVD+RW
- DVD-R DL
- DVD+R DL และ
- DVD-RAM
ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW คือ สามารถนำกลับมาบันทึกใหม่ ได้กว่า 100,000 ครั้ง แต่ดีวีดีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันนี้คือ DVD-R
ในการบันทึก DVD แต่ละชนิดนั้นไม่สามารถใช้งานข้ามชนิดได้ คือ ไม่สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟได้ เช่น DVD-RW ไม่สามารถใช้งานในเครื่องบันทึก DVD+RW ได้ ต้องเขียนกับเครื่องบันทึก DVD-RW เท่านั้น ส่วนการอ่านข้อมูลใน DVD นั้น สามารถอ่านกับเครื่องไหนก็ได้ เช่น DVD+RW สามารถอ่านกับเครื่องเล่น DVD-RW ได้ ส่วน DVD-RAM เดี๋ยวนี้ไม่นิยมใช้แล้ว
ราคาแผ่นดีวีดี (สำหรับบันทึกข้อมูล) ในแต่ละประเภท (เรียงจากถูกไปหาแพง) แผ่นดีวีดี "-" กับ "+" ถ้ายี่ห้อเดียวกันจะราคาไม่แตกต่างกัน (อ้างอิงราคาจาก DVDR2U [1])
- DVD-R, DVD+R
- DVD-RW, DVD+RW
- DVD+R DL
- DVD-R DL
- DVD-RAM
โซนของแผ่นดีวีดี
[แก้]แผ่นดีวีดีที่ใช้บรรจุภาพยนตร์นั้น จะมีการบรรจุรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes) หรือ โซน (Zone) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ในแต่ละแผ่นจะบรรจุรหัสไว้อย่างน้อย 1 โซน สำหรับแผ่นที่สามารถใช้ได้กับทุกโซน (All Zone) นั้น จะบรรจุรหัสเป็น 1,2,3,4,5,6 นั่นเอง แผ่นพวกนี้ในบางครั้งนิยมเรียกว่าแผ่นโซน 0
โดยปกติเครื่องเล่นดีวีดี รวมถึงดีวีดีรอม ที่ผลิตในแต่ละประเทศ จะสามารถเล่นได้เฉพาะแผ่นที่ผลิตสำหรับโซนนั้น ๆ และแผ่นที่ระบุเป็น All Zone เท่านั้น [2]
โซน | พื้นที่ |
---|---|
1 | สหรัฐอเมริกา, แคนาดา |
2 | ยุโรป, ญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้, ตะวันออกกลาง รวมถึง อียิปต์ |
3 | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง ประเทศไทย, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ฮ่องกง และ มาเก๊า |
4 | อเมริกากลาง, อเมริกาใต้, โอเชียเนีย |
5 | ยุโรปตะวันออก รวมถึง รัสเซีย, เอเชียใต้, แอฟริกา, เกาหลีเหนือ, มองโกเลีย |
6 | จีน |
7 | สำรอง |
8 | ยานพาหนะระหว่างประเทศ เช่น เรือ, เครื่องบิน |
สำหรับโซน 2 (ยุโรป) อาจจะมีรหัสย่อยตั้งแต่ D1 จนถึง D4 โดย D1 คือจำหน่ายเฉพาะประเทศอังกฤษ, D2 และ D3 กำหนดว่าไม่จำหน่ายในอังกฤษและไอร์แลนด์ ส่วน D4 หมายถึงจำหน่ายได้ทั่วทั้งยุโรป
ในหนึ่งแผ่นดีวีดีสามารถใส่รหัสโซนรวมกันได้หลายโซน โดยอาจมีรหัสโซน 3/6 เพื่อให้สามารถใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับจีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "DVDR2U". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-07. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23.
- ↑ "รหัสโซนของแผ่นดีวีดี(DVD region code) คืออะไร? | Sony TH". www.sony.co.th. สืบค้นเมื่อ 8 April 2023.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Bennett, Hugh (April 2004). "Understanding Recordable and Rewritable DVD". Optical Storage Technology Association. สืบค้นเมื่อ 2006-12-17.
- Labarge, Ralph (2001). DVD Authoring and Production. Gilroy, California: CMP Books. ISBN 1-57820-082-2.
- Taylor, Jim (2000). DVD Demystified (2nd ed.). New York: McGraw-Hill Professional. ISBN 0-07-135026-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- DVD at the Open Directory Project
- Dual Layer Explained เก็บถาวร 2010-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Informational Guide to the Dual Layer Recording Process
- DVD Frequently Asked Questions (and Answers) เก็บถาวร 2018-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- DVD Burning and Ripping: A Primer, A Glossary เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- YouTube: Segment from 1997 Toshiba DVD demo disc – Technical information about the then-new DVD format, from "DVD Gallery," an in-store demonstration disc from Toshiba.
ออปติคอลดิสก์ (ดิสก์แสง) |
เลเซอร์ดิสก์ (ค.ศ. 1978) - เลเซอร์ฟิล์ม (ค.ศ. 1984) - ซีดี - วีซีดี (ค.ศ. 1993) - ดีวีดี (ค.ศ. 1996) - DVD-Video (ค.ศ. 1996) - มินิดีวีดี - ซีวีดี (1998) - เอสวีซีดี (1998) - เอฟเอ็มดี (2000) - EVD (2003) - FVD (2005) - UMD (2005) - VMD (2006) - HD DVD (2006) - Blu-ray Disc (BD) (2006) - เอวีซีเอชดี (2006) - Tapestry Media (2007) - Ultra HD Blu-ray (2010) - เอชวีดี (TBA) - PH-DVD (TBA) - Protein-coated disc (TBA) - Two-Photon 3-D (TBA) |