ตัวเลขซีริลลิก
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
ระบบเลข |
---|
รายชื่อระบบเลข |
ตัวเลขซีริลลิก คือระบบเลขอย่างหนึ่งซึ่งถ่ายทอดมาจากอักษรซีริลลิก ใช้โดยชาวสลาวิกใต้และตะวันออก ระบบเลขนี้เคยมีการใช้ในดินแดนรัสเซีย แต่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงแทนที่ตัวเลขซีริลลิกด้วยตัวเลขอาหรับ
ตัวเลขซีริลลิกเป็นระบบเลขคล้ายทศนิยม (quasi-decimal) มีพื้นฐานมาจากตัวเลขกรีก แต่เขียนโดยใช้หน่วยอักขระ (grapheme) ของอักษรซีริลลิก นั่นคือการเรียงลำดับนั้นเรียงตามอักษรกรีก แต่ไม่เป็นไปตามลำดับอักษรซีริลลิกปัจจุบัน อักษรแต่ละตัวจะถูกกำหนดให้แทนค่าของตัวเลขหลักหน่วย (1, 2, ... 9) หลักสิบ (10, 20, ... 90) และหลักร้อย (100, 200, ... 900) ตามลำดับ
|
จำนวนตัวเลขจะเขียนไปตามลำดับที่อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะอ่านจากซ้ายไปขวา เว้นแต่จำนวน 11 ถึง 19 ที่อ่านจากขวาไปซ้าย ตัวอย่างเช่น 17 อ่านว่า sem-na-dzat (เทียบกับ seventeen ในภาษาอังกฤษ) เป็นต้น ในการแปลงเลขซีริลลิกให้เป็นเลขอาหรับ ทำได้โดยการบวกค่าประจำอักษรเข้าด้วยกัน และเพื่อการแยกแยะจำนวนออกจากข้อความรอบข้างซึ่งเขียนด้วยอักษรเดียวกัน จะมีการเติม ติโตล (titlo: ҃ U+0483) ลงไปเหนือจำนวน (เวลาเขียนเดี่ยวๆ อาจไม่จำเป็นก็ได้) และถ้าหากจำนวนนั้นมีค่าเกิน 1,000 จะมีการเติมสัญลักษณ์หลักพัน (҂ U+0482) ลงไปข้างหน้าตัวเลขนั้นๆ ตัวอย่างเช่น
สำหรับตัวเลขกลาโกลิติกก็มีลักษณะคล้ายกันนี้ เพียงแต่การเรียงลำดับอักษรเปลี่ยนไปตามอักษรกลาโกลิติก ทำให้ค่าตัวเลขเปลี่ยนตามไปด้วย แทนที่จะใช้ตามลำดับอักษรกรีก