ธงชาติลิเบีย
การใช้ | ธงชาติ |
---|---|
สัดส่วนธง | 1:2 |
ประกาศใช้ | 24 ธันวาคม 1951 3 สิงหาคม 2011 (นำกลับมาใช้ใหม่) |
Relinquished | 1 กันยายน 1969 |
ลักษณะ | ลักษณะเป็นธงสามแถบแนวนอนสีแดง สีดำ และสีเขียว ที่แถบดำซึ่งกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีแดงและสีเขียวนั้นมีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวห้าแฉกสีขาว |
ออกแบบโดย | โอมาร์ ฟาเยก เชนนิบ |
การใช้ | ธงนาวี |
ลักษณะ | ธงสีฟ้าที่มีธงชาติลิเบียอยู่บริเวณบนซ้าย และมีตราสมอสีขาวอยู่ด้านล่างขวา |
ธงชาติลิเบีย (อาหรับ: علم ليبيا) ในปัจจุบันเป็นธงชาติเดิมในสมัยสหราชอาณาจักรลิเบีย ระหว่าง พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2512 ซึ่งได้ถูกฟื้นฟูเป็นสัญลักษณ์ของชาติลิเบียอีกครั้งเมื่อเริ่มเกิดการต่อต้านรัฐบาลของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 จนกระทั่งบานปลายไปสู่สงครามกลางเมือง ต่อมาเมื่อกองทัพของสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติสามารถยึดกรุงตริโปลีและโค่นล้มรัฐบาลของกัดดาฟีลงได้ จึงได้มีการประกาศฟื้นฟูฐานะธงชาติแบบเดิมขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน
ประวัติ
[แก้]ประเทศลิเบียเริ่มมีธงชาติในฐานะรัฐเอกราชครั้งแรกเมื่อลิเบียได้รับเอกราชจากอิตาลีในปี พ.ศ. 2494 ภายใต้ชื่อประเทศสหราชอาณาจักรลิเบีย (อังกฤษ: United Kingdom of Libya, ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) มีลักษณะเป็นธงสามแถบแนวนอนสีแดง สีดำ และสีเขียว ที่แถบดำซึ่งกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีแดงและสีเขียวนั้นมีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวห้าแฉกสีขาว
ต่อมาเมื่อพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟีทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลระบอบกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2512 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐอาหรับลิเบีย ธงชาติลิเบียจึงเปลี่ยนไปใช้ธงสามสีสามแถบแนวนอนสีแดง-ขาว-ดำ ตามอย่างธงซึ่งได้รับอิทธิพลจากธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2515 ลิเบียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐอาหรับ (มีอียิปต์และซีเรียเป็นสมาชิกร่วมด้วย) ลิเบียจึงรับเอาธงของสหพันธ์ดังกล่าวมาใช้เป็นธงชาติ ซึ่งมีลักษณะคล้ายธงชาติลิเบียในปี พ.ศ. 2512 แต่ได้เพิ่มรูปเหยี่ยวแห่งกูเรช (Hawk of Qureish) สยายปีกสีทองยืนจับม้วนแพรแถบจารึกนามของสหพันธ์ไว้ด้วย[1]
ภายหลังลิเบียได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบียเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2520 และประกาศเปลี่ยนธงชาติใหม่เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เพื่อเป็นการตอบโต้การเยือนอิสราเอลของนายอันวาร์ ซาดัต ประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ เนื่องจากลิเบียถือว่าอิสราเอลเป็นศัตรูของชนชาติอาหรับทั้งมวล ธงนี้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีเขียวเกลี้ยง ในยุคสมัยของกัดดาฟีนั้น กล่าวได้ว่าธงนี้เป็นธงชาติเพียงธงเดียวในโลกที่ใช้สีเพียงสีเดียว และไม่มีสัญลักษณ์หรือตัวอักษรใดๆ ประกอบในธงทั้งสิ้น[2] สีเขียวในธงนี้ หมายถึงศาสนาอิสลาม อันเป็นศาสนาประจำชาติ และเป็นสัญลักษณ์ของ "การปฏิวัติเขียว" (The Green Revolution) โดยมูอัมมาร์ กัดดาฟี[3]
ในเหตุการณ์สงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554 ได้ปรากฏว่าฝ่ายค้านและกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลเผด็จการของพันเอกกัดดาฟีได้ใช้ธงชาติในยุคราชอาณาจักรเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้อย่างกว้างขวาง ทั้งในบริเวณเขตยึดครองของฝ่ายต่อต้านและโดยกลุ่มผู้คัดค้านรัฐบาลกัดดาฟีที่ชุมนุมประท้วง ณ สถานทูตลิเบียประจำประเทศต่างๆ อีกหลายแห่ง ธงนี้บางครั้งอาจพบว่าไม่มีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวสีขาวเพื่อให้สามารถทำธงสัญลักษณ์ของตนได้ง่ายขึ้น [4][5] [6] [7] [8]
การออกแบบ
[แก้]การอธิบายเกี่ยวกับธงชาติลิเบียในมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญลงวันที่ 7 ตุลาคม 1951 และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1951 โดยมีใจความจากรัฐธรรมนูญว่า:
หมวด 1 ข้อ 7: ธงชาติต้องมีรูปแบบดังต่อไปนี้ ความยาวเป็นสองเท่าของความกว้าง แบ่งออกเป็นแถบสีขนานกัน 3 แถบ แถบสีบนสุดเป็นสีแดง แถบสีดำตรงกลางและแถบสีเขียวล่างสุด แถบสีดำจะต้องมีพื้นที่ต่างกันกับแถบอีกสองแถบรวมกัน และต้องมีรูปพระจันทร์เสี้ยวสีขาวตรงกลาง และปลายพระจันทร์เสี่ยวนั้นจะต้องมีดาวห้าแฉกสีขาว
ทั้งเฉดสีธงที่แม่นยำและโครงสร้างธงชาติทางกฎหมายมีอธิบายไว้ในหนังสือเล่มเล็กที่ออกโดยกระทรวงสารสนเทศแห่งราชอาณาจักรลิเบียในปี 1951[9]
ธงในอดีต
[แก้]-
พ.ศ. 2494 – 2512
-
พ.ศ. 2512 – 2515
-
พ.ศ. 2515 – 2520
-
ธงสีที่ใช้ในการต่อต้านรัฐบาลกัดดาฟีในปี พ.ศ. 2554 (ปรากฏควบคู่กับธงชาติเดิมยุคราชอาณาจักรในเหตุการณ์ต่อต้านรัฐบาล)
-
พ.ศ. 2520 – 2554
-
พ.ศ. 2520 – 2554 (ธงนาวี)
-
2554 - ปัจจุบัน (ธงนาวี)
-
พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Smith, Whitney (1975). Flags Through the Ages and Across the World. New York, New York: McGraw-Hill Book Co. p. 361. ISBN 978-0-07-059093-7.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: checksum (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "Libya Flag". สืบค้นเมื่อ 2008-06-16.
- ↑ "Libya". Flags of the World. 2006-09-23. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
- ↑ http://www.google.com/hostednews/canadianpress/article/ALeqM5gpm_i4gCtyuAXtsDYQrIX8zrJKHQ?docId=6029350
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
- ↑ http://english.aljazeera.net/indepth/spotlight/libya/2011/02/2011224123588553.html
- ↑ Janathan S. Landay, Warren P. Strobel and Arwa Ibrahim (18 February 2011). "Violent repression of protests rocks Libya, Bahrain, Yemen". The Kansas City Star. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
- ↑ Mark Tran (17 February 2011). "Bahrain in crisis and Middle East protests – live blog". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
- ↑ [English translation based on The Libyan Flag & The National Anthem, a booklet issued by the Ministry of Information and Guidance of the Kingdom of Libya, cited after Jos Poels at FOTW, 27 January 1997]
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ธงชาติลิเบีย ที่ Flags of the World (อังกฤษ)