ธงชาติลีชเทินชไตน์
การใช้ | ธงพลเรือน และ ธงราชการ |
---|---|
สัดส่วนธง | 3:5 |
ประกาศใช้ | ตุลาคม ค.ศ. 1921 (แก้ไขเพิ่มเติม 24 มิถุนายน ค.ศ. 1937) |
ลักษณะ | ธงสองสี พื้นสีน้ำเงินและสีแดง แบ่งครึ่งตามแนวนอน มุมบนด้านคันธงมีรูปมงกุฎ |
ธงชาติลีชเทินชไตน์ เป็นธงสองสี คือสีน้ำเงินและสีแดง แบ่งครึ่งตามแนวนอน มุมบนด้านคันธงมีรูปมงกุฎ สีน้ำเงินแทนท้องฟ้า สีแดงแทน "ไฟในตอนเย็น" ที่มีการจุดทั่วไปในบ้านเรือน[1] ส่วนมงกุฎแทน "ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของประชาชนและองค์พระประมุข" สีของมงกุฎยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดย เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก และรอยเตอร์สระบุว่าเป็นสีทอง[2][3] ในขณะที่แหล่งอื่น เช่น สารานุกรมบริตานิการะบุว่าเป็นสีเหลือง[1][4]
ลีชเทินชไตน์ได้รับการสถาปนาในปี ค.ศ. 1719 ในฐานะราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1866[5] ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเลือกสีน้ำเงินและสีแดงมาประกอบธง ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1921 รัฐธรรมนูญของลีชเทินชไตน์ประกาศใช้ธงนี้อย่างเป็นทางการ[1] ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปีนั้น รัฐบาลลีชเทินชไตน์พบว่าธงชาติของตนคล้ายกับธงชาติเฮติ จึงเสนอให้มีการเพิ่มรูปมงกุฎที่มุมบนด้านคันธง[1][2][3] ธงรูปแบบดังกล่าวประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1937[4]
ธงในอดีต
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Smith, Whitney (July 17, 2013). "Flag of Liechtenstein". Encyclopedia Britannica. Encyclopedia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "Liechtenstein". The World Factbook. CIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-01. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
- ↑ 3.0 3.1 Rainey, Venetia (July 24, 2012). "Flag bearing: a potted history". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-05. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
- ↑ 4.0 4.1 Kindersley, Dorling (November 3, 2008). Complete Flags of the World. Dorling Kindersley Ltd. p. 148. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
- ↑ "Liechtenstein profile". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ธงชาติลีชเทินชไตน์