ธันเดอร์บอลล์ 007
ธันเดอร์บอลล์ 007 | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ วาดโดย รอเบิร์ต อี. แมกกินนิสและแฟรงก์ แมกคาร์ที | |
กำกับ | เทอเรนซ์ ยัง |
บทภาพยนตร์ | ริชาร์ด เมบอม จอห์น ฮอปกินส์ |
สร้างจาก | บทภาพยนตร์โดย แจ็ก วิตทิงแฮม เนื้อเรื่องโดย เควิน แมกคลอรี แจ็ก วิตทิงแฮม เอียน เฟลมมิง |
อำนวยการสร้าง | เควิน แมกคลอรี |
นักแสดงนำ | ฌอน คอนเนอรี คลอดีน ออเกอร์ อะดอลโฟ เซลี ลูเซียนา พอลูซี ริก ฟาน นัตเตอร์ |
กำกับภาพ | เท็ด มัวร์ |
ตัดต่อ | ปีเตอร์ ฮันต์ เออร์เนสต์ ฮอสเลอร์ |
ดนตรีประกอบ | จอห์น แบร์รี |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | ยูไนเต็ดอาร์ตติสต์ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 130 นาที |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ทำเงิน | 141.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ธันเดอร์บอลล์ 007 (อังกฤษ: Thunderball) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับฉายเมื่อปี ค.ศ. 1965 เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สี่ใน ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ที่สร้างโดย อีออนโปรดักชันส์ แสดงนำโดย ฌอน คอนเนอรี เป็น เจมส์ บอนด์ สายลับเอ็มไอ6 ภาพยนตร์ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของเอียน เฟลมมิง ซึ่งนำเค้าโครงมาจากเนื้อเรื่องต้นฉบับโดย เควิน แมกคลอรี, แจ็ก วิตทิงแฮมและเฟลมมิง กำกับโดย เทอเรนซ์ ยัง ซึ่งเป็นการกำกับภาพยนตร์บอนด์เรื่องที่สามและเรื่องสุดท้ายของเขาและเขียนบทโดย ริชาร์ด เมบอมและจอห์น ฮอปกินส์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ควรจะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ถ้าไม่ใช่เพราะมีข้อพิพาททางกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาลิขสิทธิ์[1]
ภาพยนตร์เล่าเรื่องภารกิจของบอนด์ที่ต้องตามหาระเบิดปรมาณูเนโทจำนวนสองลูก ซึ่งถูกขโมยไปโดยสเปกเตอร์ โดยเรียกค่าไถ่มูลค่า 100 ล้านปอนด์ เพื่อแลกกับการไม่ทำลายเมืองใหญ่ที่ไม่ระบุว่าที่ไหนทั้งในสหราชอาณาจักรหรือสหรัฐ (ต่อมาเปิดเผยว่าเป็น ไมแอมี) การค้นหาของบอนด์พาเขาไป บาฮามาส ซึ่งเขาได้เผชิญหน้า เอมิลิโอ ลาร์โก นักเล่นไพ่, สวมที่ปิดตาและเป็นหมายเลขสองของสเปกเตอร์ บอนด์ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ซีไอเอ เฟลิกซ์ ไลเทอร์ และผู้หญิงของลาร์โก โดมิโน เดอวัล ในที่สุดก็นำไปสู่การต่อสู้ใต้น้ำระหว่างบอนด์กับลูกสมุนของลาร์โก ภาพยนตร์มีการสร้างที่ซับซ้อนด้วยมีกองถ่ายถึงสี่กองและประมาณหนึ่งในสี่ของภาพยนตร์นั้นเป็นฉากใต้น้ำ[2] ธันเดอร์บอลล์ 007 เป็นภาพยนตร์บอนด์เรื่องแรกที่ถ่ายทำโดยใช้อัตราส่วนจอกว้างของพานาวิชันและเป็นเรื่องแรกที่ความยาวเกินสองชั่วโมง
ธันเดอร์บอลล์ 007 มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อพิพาททางกฎหมายในปี ค.ศ. 1961 เมื่อเควิน แมกคลอรีและแจ็ก วิตทิงแฮม อดีตผู้ร่วมงานของเอียน เฟลมมิง ฟ้องร้องเขาหลังการตีพิมพ์ของนวนิยายไม่นานนัก อ้างว่าเขานำเค้าโครงมาจากบทภาพยนตร์ที่ทั้งสามคนร่วมกันเขียนให้กับภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ซึ่งไม่ได้สร้าง[3] ศาลตัดสินคดีนี้อนุญาตให้แมกคลอรีรักษาสิทธิ์ในการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์จากเนื้อเรื่องของนวนิยาย, โครงเรื่องและตัวละครและแมกคลอรีมีชื่อเป็นผู้อำนวยการสร้างคนเดียวในภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้อำนวยการสร้างของภาพยนตร์ชุดบอนด์ อัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลีและแฮรรี ซอลต์ซแมน กลัวภาพยนตร์คู่แข่งของแมกคลอรีจะอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของพวกเขา บรอคโคลีและซอลต์ซแมนจึงทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหารแทน[4]
ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จโดยทำเงินทั้งหมด 141.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ทำเงินมากกว่าภาพยนตร์บอนด์สามเรื่องก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ. 1966 จอห์น สเตียร์ส ชนะเลิศรางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม[5] และ เคน แอดัม ผู้ออกแบบงานสร้าง ยังได้เข้าชิงรางวัลแบฟตา[6] ธันเดอร์บอลล์ 007 เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในด้านการเงินมากที่สุดของภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ในอเมริกาเหนือ เมื่อปรับอัตราเงินเฟ้อของราคาตั๋ว[7] นักวิจารณ์และผู้ชมบางคนชื่นชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ในขณะที่คนอื่น ๆ พบว่าฉากโลดโผนในน้ำนั้นซ้ำซากและความยาวของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ยาวเกินไป ในปี ค.ศ. 1983 วอร์เนอร์บราเธอส์ ฉายภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่องที่สอง ใช้ชื่อว่า พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ มีแมกคลอรีเป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร
เรื่องย่อ
[แก้]องค์กร SPECTRE ศัตรูตลอดกาลของบอนด์ หลังจากโดนบอนด์ขัดขวางแผนการหลายครั้ง ทำให้ศักดิ์ศรีและเงินรายได้จากธุรกิจชั่วๆของพวกมันตกลงไปมาก จนในที่สุดพวกมันก็ได้วางแผนการครั้งใหญ่ คือ ขโมยหัวรบนิวเคลียร์ไปและขู่ว่าจะระเบิดสถานที่สำคัญ เว้นแต่ทางการจะยอมจ่ายค่าไถ่มา แต่มีหรือที่ทางการจะยอมจ่ายค่าไถ่ง่ายๆ เพราะยังมีสายลับพระกาฬ เจมส์ บอนด์ (Sean Connery) อยู่ทั้งคน
ตัวละครหลัก
[แก้]นักแสดง | รับบทเป็น |
ฌอน คอนเนอรี่ (Sean Connery) | เจมส์ บอนด์ (James Bond) |
เบอร์นาร์ด ลี (Bernard Lee) | เอ็ม (M) เจ้านายของบอนด์ |
เดสมอนด์ เลเวลีน (Desmond Llewelyn) | คิว (Q) นักประดิษฐ์สิงของไฮเท็คให้บอนด์ใช้ |
ลอยส์ แม๊กส์เวลล์ (Lois Maxwell) | มันนี่เพ็นนี (Lois Maxwell) เลขาของเอ็ม |
คลอดีน ออเกอร์ (Claudine Auger) | โดมิโน วิตาลี (Domino Vitali) ผู้หญิงของบอนด์ประจำตอน |
อดอลโฟ เซลี (Adolfo Celi) | เอมิลิโอ ลาร์โก (Emilio Largo) ศัตรูประจำตอน |
ริค แวน นัตเตอร์ (Rik Van Nutter) | เฟลิกซ์ ไลเทอร์ (Felix Leiter) เพื่อนสายลับจาก CIA |
แอนโทนี ดาวสัน (Anthony Dawson) | เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ (Ernst Stavro Blofeld) ศัตรูหลักประจำตอน |
อีริค พอลแมน (Eric Pohlmann) | เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ (เป็นคนพากย์เสียง) (Ernst Stavro Blofeld) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Johnson, Ted (15 พฤศจิกายน 2013). "MGM, 'James Bond' Producer End Decades-Long War Over 007". variety.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อmaking of
- ↑ "McClory, Sony and Bond: A History Lesson". Universal Exports.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ธันวาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2007.
- ↑ Culhane, John (9 กรกฎาคม 1989). "'Broccoli . . . Cubby Broccoli' : How a Long Island vegetable farmer became the man who produced all of the real James Bond movies". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2015.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อacademy
- ↑ "BAFTA Awards 1965". British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
- ↑ "James Bond Movies at the Box Office". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ธันเดอร์บอลล์ 007
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ ธันเดอร์บอลล์ 007
- ธันเดอร์บอลล์ 007 ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส