น้ำอสุจิ
น้ำอสุจิ (อังกฤษ: semen, seminal fluid) เป็นสารประกอบอินทรีย์เหลวที่อาจมีตัวอสุจิอยู่ ในภาษาบาลี อะ แปลว่าไม่ สุจิ หรือสุจี แปลว่าสะอาด น้ำอสุจิ จึงแปลว่า น้ำที่ไม่สะอาด เป็นน้ำที่หลั่งออกจากอัณฑะ อวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และจากอวัยวะทางเพศอื่น ๆ ของชาย และสามารถทำการผสมพันธุ์กับไข่ของเพศหญิงได้ ในมนุษย์ น้ำอสุจิมีองค์ประกอบอื่น ๆ นอกจากตัวอสุจิ คือมีเอนไซม์ต่าง ๆ และน้ำตาลประเภทฟรักโทส ที่ช่วยเลี้ยงตัวอสุจิให้ดำรงรอดอยู่ได้ และเป็นสื่อเพื่อที่ตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ หรือ "ว่ายน้ำ" ไปได้
น้ำอสุจิโดยมากเกิดจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ[1] (หรือมีชื่ออื่นว่า ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ[1]) ซึ่งเป็นอวัยวะอยู่ที่เชิงกราน แต่ว่าตัวอสุจิเองสร้างจากอัณฑะ ส่วนกระบวนการที่นำไปสู่การปล่อยน้ำอสุจิเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิ
ในมนุษย์ น้ำอสุจิเป็นของเหลวสีขาวข้นที่หลั่งออกโดยผู้ชาย เมื่อถึงจุดสุดยอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ เมื่อมีการสำเร็จความใคร่ หรือเมื่อขับออกตามธรรมชาติที่เรียกว่าฝันเปียก โดยจะมีการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ซีซี มีจำนวนตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว[2]
มุมมองทางกายภาพ
[แก้]การผสมพันธุ์ภายนอกหรือภายใน
[แก้]ขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละสปีชีส์ ตัวอสุจิอาจจะผสมพันธุ์กับไข่ภายนอกหรือภายใน ในการผสมพันธุ์ภายนอก ตัวอสุจิจะผสมพันธุ์กับไข่ข้างนอกอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมีย ตัวอย่างเช่น ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกตัวเมียวางไข่ภายในสิ่งแวดล้อมในน้ำ และจะได้รับการผสมพันธุ์กับน้ำอสุจิของตัวผู้ในที่นั้น
ส่วนการผสมพันธุ์ภายในเกิดขึ้นภายในอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมีย ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ตัวผู้ฉีดน้ำอสุจิเข้าในช่องคลอดของตัวเมียในระหว่างการร่วมเพศ ในสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนมาก รวมทั้ง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก ปลาที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาหางนกยูง หรือฉลาม และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับโมโนทรีม การร่วมเพศเกิดที่ทวารร่วม (cloaca[3]) ของทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่ในสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องและในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก การร่วมเพศจะเกิดขึ้นผ่านช่องคลอด
การผลิตและตัวอสุจิในมนุษย์
[แก้]เพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิ ที่ผลิตภายในอัณฑะ ซึ่งอยู่ในถุงหุ้มอัณฑะภายนอกร่างกาย เพื่อรักษาอุณหภูมิให้ต่ำที่ 32 องศาเซลเซียส เพื่อมิให้อสุจิตาย ถุงหุ้มอัณฑะจำขยายเมื่อุณหภูมิสูงทำให้ห้อยยานลงเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวในการระบายความร้อน และหดตัวเล็กเมื่ออากาศหนาว ในท่อที่เรียกว่าหลอดสร้างตัวอสุจิ[4] (seminiferous tubule) เมื่ออายุประมาณ 12 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต
ตัวอสุจิหรือสเปิร์ม ที่มีลักษณะคล้ายลูกอ๊อด ซึ่งเป็นตัวไปเจาะไข่ของเพศหญิงในกระบวนการปฏิสนธิ แบ่งโดยลักษณะออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ส่วนหัวเป็นส่วนที่บรรจุนิวเคลียส โดยมี 2/3 ส่วนภายในหัวของอสุจิที่เรียกว่า Acrosome ซึ่งเป็นที่เก็บเอนไซม์ 2 ชนิดที่มีความสำคัญในการเจาะไข่ของตัวเมีย ได้แก่ Hyaluronidase และ Power proteolytic enzyme
- ส่วนหางมี 3 ส่วนหลัก ๆ แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ ส่วนที่ติดกับส่วนหัว ภายในจะมี Mitochondria ซึ่งเป็นที่ให้พลังงานแก่ตัวอสุจิในการเคลื่อนที่
องค์ประกอบของน้ำอสุจิในมนุษย์
[แก้]
เมื่อผู้ชายผ่านการเร้าอารมณ์ทางเพศมาในระดับที่สมควร การหลั่งน้ำอสุจิก็จะเริ่มขึ้น ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติก[5] คือ ตัวอสุจิจะวิ่งออกจากอัณฑะ (scrotum ดูรูป) ผ่านหลอดน้ำอสุจิ (vas deferens) เข้าผสมกับของเหลวจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) และต่อมลูกหมาก (prostate gland) หลังจากนั้นจะวิ่งผ่านท่อฉีดอสุจิ (ejaculatory duct) ผสมน้ำหล่อลื่นจากต่อม bulbourethral gland (หรือต่อมคาวเปอร์) ประกอบกันเป็นน้ำอสุจิ พุ่งผ่านท่อปัสสาวะ ออกนอกกายทางปลายท่อปัสสาวะ (urethral openning) ขับออกโดยกล้ามเนื้อที่หดเกร็งเป็นจังหวะ[6] 6-8 ระรอกซึ่งมักพบว่า 8 ระรอกตามระยะบีบตัวของกล้ามเนื้อที่เกิดการกระตุ้นของกระแสประสาทและใช้เวลาในการพัก (action potential) ทำให้น้ำอสุจิหลั่งออกมา 8 ระรอก ซึ่งระรอกหลัง ๆ จะมีปริมาณน้อยลง
ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิเป็นตัวผลิตของเหลวข้น สีขาวนวล ซึ่งสมบูรณ์ไปด้วยฟรักโทสและองค์ประกอบอื่น ๆ รวมกันเป็นส่วนถึง 70% ของน้ำอสุจิทั้งหมด[7] ส่วนต่อมลูกหมาก ซึ่งอาศัยฮอร์โมนเพศชาย dihydrotestosterone ก็จะหลั่งน้ำ (ไม่เหนียว) ออกมาเป็นสีขาวหรือบางครั้งใส มีเอนไซม์ย่อยโปรตีน (proteolytic enzyme) กรดซิตริก (citric acid) เอนไซม์ phosphatase และลิพิด (ไขมัน) เป็นองค์ประกอบ[7] ส่วนต่อม bulbourethral glands หลั่งน้ำหล่อลื่นมีลักษณะใสออกมาในท่อปัสสาวะโดยตรง[8] โดยไม่เหมือนน้ำส่วนอื่นที่กล่าวมาแล้วซึ่งต้องอาศัยท่อผ่านต่อมลูกหมากเพื่อจะออกมาสู่ท่อปัสสาวะ (ดูรูป)
ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำอสุจิ อยู่ที่ประมาณ 7.5 คือเป็นด่างเล็กน้อย หากมากกว่านี้ จะทำให้ตัวอสุจิตาย และเมื่อมีอุณหภูมิสูง จะทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น ภายในมี Metabolic rate สูงขึ้น แต่ก็ทำให้ตัวอสุจิมีอายุน้อยลงด้วยเช่นกัน
การขับเคลื่อนตัวอสุจิออกจากอัณฑะเริ่มที่เซลล์ Sertoli ซึ่งพยาบาลรักษา spermatocyte อันเป็นชื่อของตัวอสุจิช่วงพัฒนา โดยเซลล์จะหลั่งน้ำออกมาภายในหลอดสร้างตัวอสุจิ (seminiferous tubule) ซึ่งช่วยนำพาตัวอสุจิไปในท่อส่งตัวอสุจิ ส่วนท่อ Efferent ducts ซึ่งมีเซลล์ลูกบาศก์ที่มี microvilli[9] และไลโซโซม ก็จะเปลี่ยนน้ำในท่อโดยดูดซึมน้ำกลับเป็นบางส่วน เมื่อน้ำอสุจิไปถึงหลอดเก็บตัวอสุจิ (epididymis) เซลล์หลักในที่นั้น ซึ่งมีถุงพิโนไซโทซิส (pinocytotic vesicles[10]) อันแสดงถึงกระบวนการดูดซึมน้ำกลับ ก็จะหลั่งสารประกอบ glycerophosphocholine ซึ่งน่าจะมีหน้าที่ห้ามไม่ให้ capacitation[11] เกิดก่อนเวลา ส่วนต่อมอื่น ๆ เช่นต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ต่อมลูกหมาก และ bulbourethral gland เป็นอวัยวะที่ผลิดองค์ประกอบของน้ำอสุจิที่มีปริมาณมากที่สุด
พลาสมาของน้ำอสุจิ (Seminal plasma) ซึ่งหมายถึงน้ำอสุจิที่เหลือนอกจากตัวอสุจิ มีองค์ประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์ที่ซับซ้อน มีหน้าที่ให้สารอาหารและเป็นสื่อป้องกันสำหรับตัวอสุจิ ที่กำลังเดินทางไปในช่องสืบพันธุ์ของหญิง สิ่งแวดล้อมโดยปกติของช่องคลอดจะเป็นปรปักษ์กับตัวอสุจิ เพราะว่า มีฤทธิ์เป็นกรด (เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่ผลิดกรดแล็กติก) มีความเหนียว และมีการดูแลโดยเซลล์ภูมิคุ้มกัน องค์ประกอบต่าง ๆ ของพลาสมาน้ำอสุจิเป็นส่วนที่ช่วยแก้ไขความเป็นปรปักษ์ คือ สารประกอบอินทรีย์ (amine) มีฤทธิ์ด่างต่าง ๆ เช่น putrescine[12], spermidine[13] และ cadaverine[14] ทำให้น้ำอสุจิมีกลิ่นและมีรสชาติเช่นที่มันเป็น สารมีสภาพด่างเหล่านี้ เข้าไปแก้ความเป็นกรดในช่องคลอด และป้องกันดีเอ็นเอของตัวอสุจิจากการกัดกร่อนจากกรด
น้ำอสุจิมีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์จากอวัยวะต่าง ๆ คือ
ต่อม | % (โดยประมาณ) | รายละเอียด |
อัณฑะ | 2–5% | ตัวอสุจิประมาณ 200-500 ล้านตัวเกิดที่ลูกอัณฑะ มีการปล่อยออกเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิ แต่ถ้าชายคนนั้นได้ผ่านการตัดหลอดน้ำอสุจิ (vasectomy) ออกแล้ว (เพื่อประโยชน์ในการทำหมันเป็นต้น) น้ำอสุจิก็จะไม่มีตัวอสุจิ |
ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ | 65–75% | กรดอะมิโน, กรด citrate, เอนไซม์ต่าง ๆ, สารประกอบ flavins, น้ำตาลฟรักโทส (2–5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร[15] ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของตัวอสุจิ ที่ต้องอาศัยน้ำตาลจากพลาสมาเพื่อพลังงานเพียงแหล่งเดียว), phosphorylcholine[16], โพรสตาแกลนดิน (มีหน้าที่ระงับการตอบโต้ของภูมิต้านทานผู้หญิงต่อน้ำอสุจิที่เป็นสิ่งแปลกปลอม), โปรตีน, และวิตามินซี |
ต่อมลูกหมาก | 25–30% | เอนไซม์ acid phosphatase, กรด citric, เอนไซม์ fibrinolysin, เอนไซม์ prostate specific antigen[17], เอนไซม์ย่อยโปรตีน (proteolytic enzyme) ต่าง ๆ, ธาตุสังกะสี (มีระดับประมาณ 135±40 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรสำหรับชายมีสุขภาพดี[18] มีหน้าที่ช่วยดำรงเสถียรภาพให้กับโครมาตินซึ่งมีตัวดีเอ็นเอในเซลล์ตัวอสุจิ การขาดธาตุสังกะสี อาจจะทำให้ความเจริญพันธุ์เสื่อมลงเพราะตัวอสุจิจะอ่อนแอ และสามารถมีผลลบต่อการสร้างสเปิร์ม) |
bulbourethral glands | < 1% | น้ำตาลกาแลกโตส, เมือก (มีหน้าที่เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิในช่องคลอดและในปากมดลูก โดยทำทางของตัวอสุจิให้เหนียวน้อยลง และป้องกันการแพร่ของตัวอสุจิออกจากน้ำอสุจิ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่น้ำอสุจิเมื่อหลั่งออกใหม่ ๆ มีลักษณะเหมือนวุ้น), น้ำหล่อลื่น, และกรด sialic |
ในปี พ.ศ. 2535 มีรายงานขององค์การอนามัยโลกว่า น้ำอสุจิมนุษย์โดยปกติจะมีปริมาตร 2 มิลลิลิตรหรือมากกว่านั้น มีค่าพีเอชระหว่าง 7.2-8.0 มีความเข้มข้นของตัวอสุจิที่ 20 ล้านตัวต่อมิลลิลิตรหรือยิ่งกว่านั้น มีตัวอสุจิถึง 40 ล้านตัวต่อการหลั่งน้ำอสุจิหรือยิ่งกว่านั้น 50% ของตัวอสุจิหรือยิ่งกว่านั้น (ประเภท a และ b) มีการเคลื่อนไหวไปข้างหน้า และ 25% หรือยิ่งกว่านั้น (ประเภท a) มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วภายใน 60 นาทีหลังการหลั่งน้ำอสุจิ[19]
บทความปริทัศน์งานวิจัยต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2548 พบค่าเฉลี่ยต่าง ๆ ของน้ำอสุจิในมนุษย์ดังนี้[20]
องค์ประกอบ | ค่าต่อ 100 mL | ค่ารวมที่ปริมาณเฉลี่ยที่ 3.4 mL |
---|---|---|
แคลเซียม (mg) | 27.6 | 0.938 |
ไอออนคลอไรด์ (mg) | 142 | 4.83 |
กรด Citrate (mg) | 528 | 18.0 |
ฟรักโทส (mg) | 272 | 9.25 |
กลูโคส (mg) | 102 | 3.47 |
กรด Lactic (g) | 62 | 2.11 |
แมกนีเซียม (mg) | 11 | 0.374 |
โพแทสเซียม (mg) | 109 | 3.71 |
โปรตีน (g) | 5.04 | 0.171 |
โซเดียม (mg) | 300 | 10.2 |
Urea (g) | 45 | 1.53 |
สังกะสี (mg) | 16.5 | 0.561 |
ความสามารถในการบัฟเฟอร์ (β) | 25 | |
Osmolarity (mOsm) | 354 | |
ค่าพีเอช | 7.7 | |
ความหนืด (Centipoise) | 3–7 | |
ปริมาตร (mL) | 3.4 | |
• ค่ารวมต่าง ๆ สำหรับปริมาตรเฉลี่ยเป็นค่าโดยคำนวณที่ปัดเศษให้เป็น 3 จุด ค่าอื่น ๆ เป็นค่าที่มาในบทความปริทัศน์ |
ลักษณะปรากฏของน้ำอสุจิของมนุษย์
[แก้]น้ำอสุจิมักจะดูขุ่น ๆ ออกทางสีขาว ๆ หรือแม้แต่เหลือง ๆ ถ้ามีเลือดก็จะมีสีชมพูหรืออกแดง ๆ เป็นภาวะที่เรียกว่า hematospermia ซึ่งอาจจะชี้ว่ามีปัญหาสุขภาพและควรจะปรึกษาหมอถ้าไม่หายเอง[21]
หลังจากการหลั่งน้ำอสุจิ ส่วนสุดท้าย ๆ ที่หลั่งจะเกาะกันเป็นก้อนทันที[22] โดยออกเป็นก้อนกลม ๆ[23] แม้ว่า ส่วนที่หลั่งออกมาก่อนมักจะไม่เป็นเช่นนั้น[24] และจากนั้นอีกสักระยะหนึ่งประมาณ 15-30 นาที แอนติเจน[25]ต่อมลูกหมาก (prostate-specific antigen[17] หรือ PSA) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของน้ำอสุจิก็จะทำให้เกิดการละลายกลายเป็นน้ำ[26] สันนิษฐานกันว่า การจับเป็นก้อนเช่นนั้นช่วยรักษาน้ำอสุจิไว้ในช่องคลอด[22] ในขณะที่การละลายช่วยตัวอสุจิให้ว่ายเข้าไปหาไข่ได้[22]
งานปริทัศน์ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าความหนืดโดยเฉลี่ยของน้ำอสุจิที่พบในงานวิจัยต่าง ๆ อยู่ที่ 3-7 Centipoise[20]
คุณภาพของตัวอสุจิ
[แก้]คุณภาพของน้ำอสุจิเป็นค่าที่วัดความสามารถของน้ำอสุจิในการผสมพันธุ์ ดังนั้น จึงเป็นค่าวัดภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ชาย ตัวอสุจิในน้ำอสุจิเป็นองค์ประกอบหลักในการผสมพันธุ์ และดังนั้น คุณภาพของน้ำอสุจิจึงหมายถึงทั้งจำนวนทั้งคุณภาพของตัวอสุจิ
ปริมาณ
[แก้]ปริมาณของน้ำอสุจิที่หลั่งออกมามีความแตกต่างกันไป งานปริทัศน์ต่องานวิจัย 30 งานพบว่า ปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 3.4 มิลลิลิตร โดยมีงานวิจัยบางงานพบมากถึง 4.99 มิลลิลิตร และบางงานพบน้อยถึง 2.3 มิลลิลิตร[20] ในงานวิจัยในคนสวีเดนและคนเดนมาร์ก ความมีระยะที่ห่างระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิทำให้ตัวอสุจิมีจำนวนสูงขึ้น แต่ไม่ได้ทำปริมาณน้ำอสุจิให้เพิ่มขึ้น[27]
การเพิ่มปริมาณน้ำอสุจิ
[แก้]มีบริษัทบางบริษัทที่โฆษณาอาหารเสริมที่เพิ่มปริมาณน้ำอสุจิ แต่ก็เหมือนกับอาหารเสริมประเภทอื่น ๆ อาหารเสริมพวกนี้ไม่ได้มีการอนุมัติหรือการควบคุมดูแลจากองค์กรควบคุมยาและอาหาร (เหมือนกับยาแผนปัจจุบันมี) และคำโฆษณาเหล่านั้นก็ไม่ได้มีการยืนยันโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีคำโฆษณาคล้าย ๆ กันอย่างนี้เกี่ยวกับพวกอาหารเสริมที่เป็นยาเร้าความกำหนัดอีกด้วย ซึ่งก็ขาดการยืนยันทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน
การเก็บน้ำอสุจิ
[แก้]น้ำอสุจิสามารถเก็บไว้ได้ในสารละลายบางอย่างเช่น Illini Variable Temperature (ตัวย่อ IVT) ซึ่งประกอบด้วยเกลือหลายชนิด น้ำตาลหลายชนิด ยาฆ่าเชื้อโรค และอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์[28] และมีรายงานว่าสามารถรักษาคุณภาพของน้ำอสุจิโดยวิธีนี้เป็นเวลาถึง 7 วัน[28]
สำหรับการเก็บระษาไว้ในระยะยาว สามารถใช้วิธีแช่แข็ง (Semen cryopreservation) สำหรับอสุจิมนุษย์ รายงานระยะการเก็บรักษาที่ยาวที่สุดที่ใช้การได้ด้วยวิธีนี้ก็คือ 21 ปี[29]
ผลต่อสุขภาพ
[แก้]นอกจากหน้าที่ทางการผสมพันธุ์แล้ว งานวิจัยบางงานอ้างว่า น้ำอสุจิมีผลดีอื่น ๆ ต่อสุขภาพอีกด้วย คือ
- ยาต้านความซึมเศร้า - งานวิจัยหนึ่งพบว่า การดูดซึมน้ำอสุจิทางช่องคลอดสามารถมีฤทธิ์เป็นยาต้านความซึมเศร้า งานวิจัยนี้เปรียบเทียบหญิงสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งร่วมเพศโดยใช้ถุงยางอนามัยและอีกกลุ่มหนึ่งไม่ใช้[30][31][32]
- การป้องกันมะเร็ง - งานวิจัยหลายงานบอกเป็นนัยว่า พลาสมาของน้ำอสุจิอาจลดระดับมะเร็งเต้านม "ไม่ต่ำกว่า 50%"[33][34] โดยมีสันนิษฐานว่า มีเหตุจากองค์ประกอบคือไกลโคโปรตีนและธาตุซีลีเนียม โดยมีการตายของเซลล์มะเร็งที่เริ่มโดยโปรตีน TGF-Beta ดังนั้น จึงมีตำนานพื้นบ้านที่กล่าวตลกถึงผลงานวิจัยเหล่านี้ว่า การให้ออรัลเซ็กซ์อย่างน้อยอาทิตย์ละสามครั้งสามารถลดอัตราความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม[35]
- การป้องกันโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (หรือความดันโลหิตสูงร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะซ้อนทับ) - มีสันนิษฐานว่า มีสารบางอย่างในน้ำอสุจิที่ปรับระบบภูมิคุ้มกันมารดา ให้สามารถรับโปรตีนแปลกปลอมที่พบทั้งในน้ำอสุจิทั้งในทารกและรก จึงรักษาความดันเลือดให้อยู่ในระดับต่ำและดังนั้นจึงลดอัตราเสี่ยงต่อโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก งานวิจัยหนึ่งพบว่า การให้ออรัลเซ็กซ์และการกลืนน้ำอสุจิ อาจช่วยทำให้การตั้งครรภ์ปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะว่า เธอจะได้รับแอนติเจน[25] จากคู่ครอง[36]
- การมีอารมณ์เพศที่สูงขึ้น - มีสมมุติฐานหนึ่งว่า การดูดซึมฮอร์โมนเพศชายในน้ำอสุจิผ่านผนังช่องคลอดในขณะมีเพศสัมพันธ์ (หรือผ่านการกลืนน้ำอสุจิ) อาจทำให้ผู้หญิงมีอารมณ์เพศสูงขึ้น
แต่มีงานวิจัยอื่นที่แสดงผลเสีย
- ทำมะเร็งให้แย่ลง - พลาสมาของน้ำอสุจิมีโพรสตาแกลนดินซึ่งอาจจะเป็นตัวเร่งโรคมะเร็งปากมดลูกที่มีอยู่แล้ว[37]
การเป็นสื่อของโรค
[แก้]น้ำอสุจิเป็นสื่อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากมายหลายอย่างรวมทั้งเอชไอวี ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์
มีงานวิจัยอื่น ที่แสดงว่ามีการสร้างแอนติบอดีที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อตอบสนองต่อน้ำอสุจิ และแอนติบอดีเหล่านี้จะระบุเซลล์เม็ดเลือดขาวแบบ T ที่มีอยู่ในร่างกายว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นเซลล์ T ก็จะถูกทำลายโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวอีกแบบหนึ่งคือแบบ B[38]
น้ำอสุจิมีโปรตีนหลายชนิดที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา และเชื้อไวรัส แต่กลับไม่มีผลต่อเชื้อโกโนเรีย ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามัญ
เลือดในน้ำอสุจิ (hematospermia)
[แก้]เลือดในน้ำอสุจิหรือภาวะ hematospermia อาจจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (คือต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์) หรืออาจจะมองเห็นได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะการอักเสบ การติดเชื้อ การอุดตัน หรือความบาดเจ็บในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ หรือมีปัญหาในท่อปัสสาวะ อัณฑะ หลอดเก็บตัวอสุจิ หรือต่อมลูกหมาก เป็นภาวะที่หายเองโดยไม่ต้องทำอะไร หรือสามารถบำบัดได้โดยยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าไม่หายเอง อาจจะต้องตรวจโดยการวิเคราะห์น้ำอสุจิ หรือทำการตรวจอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ เพื่อหาสาเหตุ
ภูมิแพ้ต่อน้ำอสุจิ
[แก้]ในกรณีที่มีน้อย บางคนอาจจะแพ้น้ำอสุจิ (ที่เรียกว่า human seminal plasma hypersensitivity)[39] อาการอาจจะจำกัดเป็นที่ ๆ หรืออาจเกิดขึ้นทั้งตัว อาการอาจเกิดขึ้นที่ช่องคลอดเช่นคัน แดงผิดปกติ บวม หรือเกิดการพองภายใน 30 นาทีที่กระทบสัมผัส หรืออาจจะเกิดอาการคันทั้งตัว ลมพิษ และแม้แต่การหายใจลำบาก
วิธีพิสูจน์ก็คือให้ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ถ้าอาการลดลง แสดงว่าอาจจะแพ้น้ำอสุจิ กรณีที่มีอาการเบา สามารถบำบัดให้หายได้โดยให้ถูกกับน้ำอสุจิซ้ำ ๆ กัน[40] แต่ถ้ามีอาการรุนแรง ควรจะปรึกษาหมอ โดยเฉพาะถ้ากำลังพยายามเพื่อตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะทำได้โดยใช้วิธีผสมเทียม
นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยยูเทรกต์ในเมืองยูเทรกต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ กำลังทำการศึกษาเกี่ยวกับภาวะอย่างหนึ่ง ที่ชายบางคน "เกิดอาการคล้ายหวัดเช่น ตัวร้อน น้ำมูกไหล ล้าจัด และคันตาทันทีหลังจากหลั่งน้ำอสุจิ และอาการสามารถดำเนินต่อไปเป็นอาทิตย์"[41] ภาวะนี้เรียกว่า Postorgasmic illness syndrome (แปลว่ากลุ่มอาการเจ็บป่วยหลังการถึงจุดสุดยอด) นักวิจัยพบว่า เกิดจากการแพ้น้ำอสุจิของตนเอง และสามารถรักษาได้โดยวิธีที่ใช้รักษาภูมิแพ้ (allergen immunotherapy)[41]
มุมมองทางจิตใจ
[แก้]งานวิจัยเร็ว ๆ นี้งานหนึ่งบอกเป็นนัยว่า น้ำอสุจิมีฤทธิ์เป็นยาต้านความซึมเศร้าสำหรับผู้หญิง คือ หญิงที่ได้รับน้ำอสุจิผ่านช่องคลอดมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าที่น้อยกว่า สันนิษฐานกันว่า ผลทางใจอย่างนี้เป็นเพราะองค์ประกอบซับซ้อนทางเคมีของน้ำอสุจิ รวมทั้งฮอร์โมนที่เปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึก (เช่นฮอร์โมนเพศชาย, oestrogen, ฮอร์โมนที่ทำให้เกิดขน, luteinizing hormone, prolactin, และโพรสตาแกลนดินหลายประเภท) คือ ในงานสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในนักศึกษามหาวิทยาลัยหญิง 293 คน พบว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย มีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นผู้เริ่มเพศสัมพันธ์ และหาคู่ขาใหม่เมื่อแยกจากคนเดิม ซึ่งบอกเป็นนัยว่า เกิดภาวะพึ่งพิงองค์ประกอบเคมี (chemical dependency) ของน้ำอสุจิ แต่ว่า ผลของน้ำอสุจิต่อคู่ขาที่เป็นชายยังไม่ปรากฏ[31][42][43]
มุมมองทางวัฒนธรรมและปรัชญา
[แก้]พุทธศาสนาเถรวาท
[แก้]สำหรับพระภิกษุของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท การจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นอาบัติหนักคืออาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งในพระพุทธพจน์ทรงเจาะจงไว้ว่าเป็น การ "ทำให้เคลื่อน"[44] ซึ่งอธิบายเพิ่มขึ้นว่าเป็น "กิริยาที่ทำให้เคลื่อนจากฐาน" ส่วนในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาสรุปว่า "กายทั้งสิ้น"[45] เป็น "ฐาน" (คือเป็นที่อยู่ของน้ำอสุจิ) แล้วอ้างว่า
จริงอย่างนั้น น้ำสมภพ (น้ำอสุจิ) ย่อมไหลออกทางหมวกหู (ขอบหูตอนบน) ทั้งสองของช้างทั้งหลาย ที่ถูกความกลัดกลุ้มด้วยราคะครอบงำแล้ว, และพระเจ้ามหาเสนะผู้ทรงกลัดกลุ้มด้วยราคะ ไม่ทรงสามารถจะอดทนกำลังน้ำสมภพได้ จึงรับสั่งให้ผ่าต้นพระพาหุ (แขน) ด้วยมีด ทรงแสดงน้ำสมภพซึ่งไหลออกทางปากแผล ฉะนั้นแล[45]
ดังนั้น คัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทชั้นอรรถกถาจึงบอกเป็นนัยว่า น้ำอสุจิอาจจะไหลออกจากส่วนใดของร่างกายก็ได้ เพราะกายทั้งสิ้นเป็น "ฐาน" ของน้ำอสุจิ
นอกจากนั้นแล้ว ในพระพุทธพจน์ยังกำหนดสีของน้ำอสุจิไว้อีกด้วยว่า
น้ำอสุจิมี 10 ชนิด คือ (1) อสุจิสีเขียว (2) อสุจิสีเหลือง (3) อสุจิสีแดง (4) อสุจิสีขาว (5) อสุจิสีเหมือนเปรียง (6) อสุจิสีเหมือนน้ำท่า (น้ำในแม่น้ำลำคลอง) (7) อสุจิสีเหมือนน้ำมัน (8) อสุจิสีเหมือนนมสด (9) อสุจิสีเหมือนนมส้ม (10) อสุจิสีเหมือนเนยใส[44]
ชี่กง
[แก้]ชี่กงและแพทย์แผนจีนเน้นพลังอย่างหนึ่งที่เรียกว่า 精 (ภาษาจีน: jīng, หยิน ซึ่งหมายถึง "แก่นสาร" หรือ "วิญญาณ")[46][47] ซึ่งบุคคลหนึ่งต้องพยายามสะสม หยิน เป็นพลังทางเพศ ที่ถือว่า ถูกปล่อยออกไปเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิ ดังนั้น การช่วยตัวเองจึงถือว่า เป็นการทำลายพลังสำหรับคนที่ฝึกวิชานี้ ทฤษฎีชี่กงบอกว่า พลังลมปราณจะส่งไปทางอวัยวะเพศเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ การถึงจุดสุดยอดและการหลั่งน้ำอสุจิจะเป็นการปล่อยพลังเหล่านั้นไปจากร่างกาย สุภาษิตจีนว่า 一滴精,十滴血 (ภาษาจีน: yì dī jīng, shí dī xuè, แปลโดยบทว่า: น้ำอสุจิหยดหนึ่งมีค่าเท่ากับเลือดสิบหยด) แสดงให้เห็นถึงความคิดแนวนี้
คำวิทยาศาสตร์จีนของน้ำอสุจิก็คือ 精液 (ภาษาจีน: jīng yè, แปลโดยบทว่า: หยดแก่นสาร/หยดหยิน) และคำของตัวอสุจิก็คือ 精子 (ภาษาจีน: jīng zǐ, แปลโดยบทว่า: ธาตุของแก่นสาร/ธาตุของหยิน) ซึ่งเป็นคำศัพท์ปัจจุบันที่มีการเท้าความเดิม
ปรัชญากรีก
[แก้]ในสมัยกรีกโบราณ อาริสโตเติลได้ให้ความสำคัญของน้ำอสุจิ นักเขียนคนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า "สำหรับอาริสโตเติลแล้ว น้ำอสุจิเป็นสิ่งที่มาจากอาหาร มาจากเลือด และมีการปรุงให้เป็นสารที่ยอดเยี่ยม อยู่ที่อุณหภูมิที่ยอดเยี่ยม ซึ่งผู้ชายเท่านั้นหลั่งออกได้ เป็นผลจากธรรมชาติของผู้ชาย ที่มีระดับไฟธาตุที่ขาดไม่ได้ในการเปลี่ยนเลือดให้เป็นน้ำอสุจิ"[48] อาริสโตเติลคิดว่า มีความสัมพันธ์กันโดยตรงระหว่างอาหารและน้ำอสุจิ คือ "น้ำอสุจิเป็นการขับสารอาหารออก หรือจะพูดให้ชัดกว่านี้ก็คือ เป็นการขับส่วนที่สมบูรณ์ที่สุดของอาหารออก"[49]
ความสัมพันธ์ของอาหารเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตของร่างกายในทางหนึ่ง และความสัมพันธ์ของอาหารกับน้ำอสุจิในอีกทิศทางหนึ่ง ทำให้อาริสโตเติลเตือนไม่ให้ "มีกิจกรรมทางเพศเมื่ออายุน้อย... เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย คือ อาหารที่ใช้ในการเจริญเติบโตของร่างกาย จะถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตน้ำอสุจิ... อาริสโตเติลกล่าวว่า นี้หมายถึงช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต ดังนั้น ช่วงอายุที่ดีที่สุดเพื่อเริ่มกิจกรรมทางเพศก็คือเมื่อไม่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว เพราะว่า เมื่อร่างกายเติบโตถึงระดับที่สูงที่สุดแล้ว การเปลี่ยนสารอาหารไปเป็นน้ำอสุจิไม่ได้ทำให้ร่างกายขาดวัสดุที่ใช้เพื่อการเติบโต"[50]
นอกจากนั้นแล้ว "อาริสโตเติลยังบอกเราว่า เขตรอบ ๆ ตา เป็นเขตที่อุดมสูงสุดของ 'พืช' ในศีรษะ เป็นทฤษฎีที่อธิบายผลที่เกิดขึ้นต่อตาเมื่อมีเพศสัมพันธ์มากเกินไป และระบุถึงความคิดที่บอกว่า ตัวอสุจิมาจากน้ำที่อยู่รอบ ๆ ตา"[51] นี่อาจจะอธิบายความคิดลัทธิของพิทาโกรัสว่า "น้ำอสุจิเป็นหยดหนึ่งของสมอง (τὸ δε σπέρμα εἶναι σταγόνα ἐγκέφαλου)."[52]
เชื่อกันว่า ผู้หญิงก็มีน้ำอสุจิแบบของตนเองเช่นกัน ซึ่งมีอยู่ในมดลูกและเกิดการปล่อยเมื่อถึงจุดสุดยอด การมีน้ำอสุจิค้าง (คือไม่มีการปล่อย) เชื่อว่าเป็นเหตุของโรคฮิสทีเรียในหญิง (female hysteria)[53]
น้ำอสุจิศักดิ์สิทธิ์
[แก้]ในสังคมก่อนอุตสาหกรรมบางสังคม มีการถือว่าน้ำอสุจิและน้ำของร่างกายอย่างอื่น ๆ เป็นของศักดิ์สิทธิ์ (หรือขลัง) โลหิตก็เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อนั้น และก็มีความเชื่อว่า น้ำอสุจิเกิดขึ้นจากสิ่งเหนือธรรมชาติ และดังนั้น จึงเป็นของศักดิ์สิทธิ์
น้ำค้างครั้งหนึ่งเชื่อกันว่า เป็นฝนประเภทที่ทำให้โลกอุดมสมบูรณ์ และจึงกลายมาเป็นตัวอุปมาของน้ำอสุจิ
มีการเชื่อกันอย่างกว้างขวางในยุคโบราณว่า แก้วมณีเป็นหยดน้ำอสุจิจากสวรรค์ซึ่งเกิดการแข็งตัวหลังจากทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่โลกแล้ว มีความเชื่อโบราณของคนจีนว่า หยกเป็นน้ำอสุจิของมังกรสวรรค์ที่แห้งแล้ว
ในตำนานเก่า ๆ รอบโลก น้ำอสุจิมักจะเปรียบเหมือนกับนมแม่ ในวัฒนธรรมของคนบาหลีบางเผ่า การให้น้ำอสุจิเป็นเป็นการทดแทนนมแม่โดยเป็นอุปมาเกี่ยวเนื่องกับอาหาร คือ ภรรยาทำอาหารให้กับสามี ผู้ทำการทดแทนโดยให้น้ำอสุจิ ซึ่งเป็น "น้ำนมแห่งความเมตตา"[54]
ในปรัชญาทางการแพทย์บางอย่าง เช่นการแพทย์แผนโบราณของคนรัสเซีย น้ำอสุจิเชื่อกันว่าเป็นผลจากปฏิกิริยาทางกายที่ซับซ้อนระหว่างหญิงชาย ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ผลิตภัณฑ์ของระบบสืบพันธุ์ในชาย[ต้องการอ้างอิง]
น้ำอสุจิในงานจารกรรม
[แก้]เมื่อหน่วยจารกรรม SIS ของประเทศอังกฤษพบว่า น้ำอสุจิสามารถใช้เป็นหมึกที่มองไม่เห็นอย่างดี ผู้อำนวยการคนแรกของหน่วย SIS จึงได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับจารบุรุษของเขาว่า "ทุกคนเป็นปากกาของตนเอง"[55]
การกินน้ำอสุจิ
[แก้]เหตุผลของการกินน้ำอสุจิของมนุษย์หรือของสัตว์อื่น ก็เพื่อความพึงพอใจทางเพศ และเพื่อประโยชน์ทางร่างกายและจิตใจอื่น ๆ
ความเสี่ยงต่อสุขภาพ
[แก้]ไม่มีความเสี่ยงต่อการกินน้ำอสุจิของชายที่มีสุขภาพดี คือ การกลืนน้ำอสุจิไม่ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกจากการมีออรัลเซ็กซ์ ซึ่งปกติก็เสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่นเอชไอวีหรือเริมอยู่แล้ว โดยเฉพาะในบุคคลที่มีเลือดออกที่เหงือก มีโรคเหงือกอักเสบ หรือมีแผลที่ยังเปิดอยู่ในปาก[56]
แม้ว่า น้ำอสุจิอาจจะเย็นหมดแล้วก่อนที่จะกินเข้าไป แต่เชื้อไวรัสก็สามารถรอดอยู่ได้เป็นระยะเวลานานแม้ว่าจะออกมานอกร่างกายแล้ว
งานวิจัยยังบอกเป็นนัยด้วยว่า การมีออรัลเซ็กส์โดยไม่มีการป้องกันกับบุคคลที่มีเชื้อ human papillomavirus (HPV) อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งปากหรือมะเร็งคอ งานวิจัยพบว่า 36% ของคนไข้มะเร็งปากและคอมีเชื้อ HPV เทียบกับกลุ่มควบคุม เชื่อกันว่า มะเร็งของคนไข้เหล่านั้นเป็นผลของการติดเชื้อ HPV เพราะว่า เชื้อไวรัสนี้เป็นเหตุของมะเร็งปากมดลูกโดยมาก[57]
ประโยชน์ทางกาย
[แก้]น้ำอสุจิที่หลั่งออกโดยเฉลี่ย (3.4 มิลลิลิตร) จะมีสารอาหารเช่นธาตุสังกะสี แคลเซียม และโพแทสเซียม และวิตามินบี 12 อยู่เล็กน้อย[58] งานวิจัยที่มีตัวอย่างน้อยส่วนหนึ่งพบประโยชน์ต่อสุขภาพในการกินน้ำอสุจิ
ความเป็นหมันของหญิงบางชนิด โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก และการแท้ง สามารถเกิดจากแอนติบอดีที่เข้าไปทำลายโปรตีนหรือแอนติเจน[25]ในน้ำอสุจิของผู้ชาย แต่เมื่อทำออรัลเซ็กซ์แล้วกลืนน้ำอสุจิของคู่ขาเข้าไป อาจทำการมีครรภ์ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น[59]
ยังไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เช็คดูว่าการกลืนน้ำอสุจิมีผลต้านความซึมเศร้าหรือไม่ (แต่มีจากการดูดซึมผ่านช่องคลอด) แต่ว่า น้ำอสุจิมีสารประกอบที่สามารถเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกได้เช่น เอ็นดอร์ฟิน, estrone, prolactin, oxytocin, thyrotropin-releasing hormone, และเซโรโทนิน ประโยชน์ที่พบที่เกิดจากสารประกอบเหล่านี้ พบแต่ในงานวิจัยเกี่ยวกับการดูดซึมผ่านช่องคลอดเท่านั้น[60][61]
พฤติกรรมในวัฒนธรรมต่าง ๆ
[แก้]ในบางวัฒนธรรม น้ำอสุจิมีคุณสมบัติบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชาย เช่น คนหลายเผ่าจากปาปัวนิวกินีรวมทั้งคนแซมเบียและคน Etoro เชื่อว่า น้ำอสุจิช่วยบูรณาการความเป็นชายให้สมบูรณ์ในเยาวชนชาย คือ น้ำอสุจิของผู้อาวุโสของเผ่า มีธรรมชาติของความเป็นชาย และเพื่อที่จะสืบช่วงต่อจากผู้อาวุโสเหล่านั้น ชายที่อายุน้อยกว่าซึ่งเป็นคนรุ่นต่อไปต้องให้ออรัลเซ็กซ์กับผู้อาวุโสและกินน้ำอสุจิ เยาวชนทั้งก่อนวัยรุ่นและหลังวัยรุ่นต้องผ่านพิธีการเช่นนี้[62][63] ประเพณีเช่นนี้สัมพันธ์กับความนิยมในความรักร่วมเพศที่พบในคนเผ่าเหล่านี้และอื่น ๆ[64]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ seminal vesicle ว่า "ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ"
- ↑ "คลินิกรัก". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ April 12, 2014.
- ↑ ทวารร่วม (cloaca) เป็นทวารด้านหลังที่เป็นทวารออกช่องเดียวของระบบลำไส้ ระบบสืบพันธุ์ และระบบปัสสาวะของสัตว์สปีชีส์นั้น ๆ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับโมโนทรีม ล้วนแต่มีทวารเช่นนี้ ซึ่งใช้ทั้งในการปัสสาวะ ในการอุจจาระ และในการมีเพศสัมพันธ์ ไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก ซึ่งมักจะมีทวาร 2-3 ทางเพื่อทำกิจดังกล่าวเหล่านั้น
- ↑ "พจนานุกรมคำศัพท์ (หมวด S)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ December 12, 2013.
- ↑ Bruce M. Koeppen, Bruce A. Stanton, (2008). Berne & Levy Physiology. Philadelphia, PA: Elsevier/Mosby. ISBN 978-0-323-04582-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Walter F. Boron, Emile L. Boulpaep, (2005). Medical Physiology: A Cellular and Molecular Approach. Philadelphia, PA: Elsevier/Saunders. ISBN 1-4160-2328-3.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 Mann, T (1954). "The Biochemistry of Semen". London: Methuen & Co; New York: John Wiley & Sons. สืบค้นเมื่อ 2013-11-09.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Guyton, Arthur C. (1991). Textbook of Medical Physiology (8th ed.). Philadelphia: W.B. Saunders. pp. 890–891. ISBN 0-7216-3994-1.
- ↑ microvilli ส่วนยื่นจากเยื่อหุ้มเซลล์ที่เพิ่มขนาดพื้นที่ผิวของเซลล์ มีหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งการดูดซึม การหลั่งออก การยึดติดกันของเซลล์ และการถ่ายโอนแรงกล
- ↑ ในกระบวนการระดับเซลล์ เซลล์สามารถนำวัตถุจากภายนอกเซลล์เข้ามาภายในเซลล์ โดยใช้เยื่อหุ้มเซลล์ห่อหุ้มวัตถุที่อยู่ภายนอกนั้นเป็นถุง เมื่อเยื่อหุ้มเซลล์ส่วนที่ปากถุงเชื่อมต่อกันแล้ว ถุงนั้นก็จะหลุดเป็นอิสระจากเยื่อหุ้มเซลล์เข้ามาในเซลล์ ถุงนั้นเรียกว่า ถุงพิโนไซโทซิส (pinocytotic vesicles)
- ↑ capacitation เป็นระยะก่อนสุดท้ายของการสร้างตัวอสุจิ ซึ่งจำเป็นเพื่อที่จะให้ตัวอสุจิสามารถทำการผสมพันธุ์ได้ เป็นการพัฒนาแบบชีวเคมี เพราะว่า ก่อนจะถึงระยะนี้ ตัวอสุจิก็ดูเหมือนปกติและสามารถเคลื่อนไหวได้แบบปกติแล้ว
- ↑ putrescine หรือ tetramethylenediamine เป็นสารประกอบอินทรีย์มีกลิ่นเหม็นมีสูตรเคมีเป็น NH2 (CH2)4NH2 เกิดจากการแตกตัวของกรดอะมิโนทั้งในสิ่งมีชีวิตทั้งที่ยังเป็นอยู่ทั้งที่ตายแล้ว เป็นพิษถ้าเกิดมีเป็นจำนวนมาก
- ↑ spermidine เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับเมแทบอลิซึมของเซลล์ สังเคราะห์ได้จาก putrescine เป็นสารตั้งต้นของ cadaverine
- ↑ cadaverine เป็นสารประกอบอินทรีย์มีกลิ่นเหม็นเกิดจากการแยกสลายโปรตีนด้วยน้ำ (protein hydrolysis) ที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อเกิดการเน่า
- ↑ Harvey, Clare (1948). "Relation between the Volume and Fructose Content of Human Semen". Nature. 162 (4125): 812. doi:10.1038/162812a0. ISSN 0028-0836. PMID 18121921.
- ↑ phosphorylcholine เป็นกลุ่มอะตอมมีขั้วของกลุ่มฟอสโฟลิพิดที่ถูกกับน้ำ
- ↑ 17.0 17.1 prostate specific antigen เป็นเอนไซม์ไกลโคโปรตีนซึ่งมีการเข้ารหัสในยีน KLK3 เป็นเอนไซม์ที่หลั่งออกโดยเซลล์เยื่อบุผิวของต่อมลูกหมาก ผลิตเพื่อการหลั่งน้ำอสุจิ ทำหน้าที่ละลายน้ำอสุจิที่เกาะติดกันคล้ายวุ้นเพื่อให้ตัวอสุจิเคลื่อนไหวไปได้อย่างอิสระ และเชื่อกันว่าทำหน้าที่ละลายเมือกที่ปากมดลูก เพื่อให้ตัวอสุจิสามารถเข้าไปในมดลูกด้วย
- ↑ Canale, D.; Bartelloni, M.; Negroni, A.; Meschini, P.; Izzo, P. L.; Bianchi, B.; Menchini-Fabris, G. F. (1986). "Zinc in human semen". International Journal of Andrology. 9 (6): 477–80. doi:10.1111/j.1365-2605.1986.tb00909.x. PMID 3570537.
- ↑ World Health Organization (2003). Laboratory Manual for the Examination of Human Semen and Semen–Cervical Mucus Interaction, 4th edition. Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 60. ISBN 0-521-64599-9. สืบค้นเมื่อ 2013-11-09.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Owen, D. H.; Katz, DF (2005). "A Review of the Physical and Chemical Properties of Human Semen and the Formulation of a Semen Simulant". Journal of Andrology. 26 (4): 459–69. doi:10.2164/jandrol.04104. PMID 15955884.
- ↑ Blood in Semen – What could cause blood in my semen?
- ↑ 22.0 22.1 22.2 Gallup, Gordon G; Burch, Rebecca L (2004). "[Semen Displacement as a Sperm Competition Strategy in Humans]". Evolutionary Psychology. 2 (5): 12–23. สืบค้นเมื่อ 10 January 2012.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Dean, Dr. John. "Semen and sperm quality". สืบค้นเมื่อ 2006-12-07.
- ↑ Baker, R (1993). "Human sperm competition: Ejaculate adjustment by males and the function of masturbation". Animal Behaviour. 46 (5): 861. doi:10.1006/anbe.1993.1271.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 แอนติเจน (antigen) เป็นสารที่ทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดี เป็นสารที่อาจจะมาจากภายในร่างกายหรือภายนอกร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะพยายามทำลายแอนติเจนที่มันคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอกที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
- ↑ Balk, S. P.; Ko, YJ; Bubley, GJ (2003). "Biology of Prostate-Specific Antigen". Journal of Clinical Oncology. 21 (2): 383–91. doi:10.1200/JCO.2003.02.083. PMID 12525533.
- ↑ Richthoff, J.; Rylander, L; Hagmar, L; Malm, J; Giwercman, A (2002). "Higher sperm counts in Southern Sweden compared with Denmark". Human Reproduction. 17 (9): 2468–73. doi:10.1093/humrep/17.9.2468. PMID 12202443.
- ↑ 28.0 28.1 Watson, PF (1993). "The potential impact of sperm encapsulation technology on the importance of timing of artificial insemination: A perspective in the light of published work". Reproduction, Fertility and Development. 5 (6): 691–9. doi:10.1071/RD9930691. PMID 9627729.
- ↑ "Child born after 21 year semen storage using Planer controlled rate freezer" (Press release). Planer. สืบค้นเมื่อ August 23, 2013.
- ↑ Jesse Bering (2010). "An ode to the many evolved virtues of human semen". Scientific American.
- ↑ 31.0 31.1 Gallup, Gordon G.; Burch, Rebecca L.; Platek, Steven M. (2002). "Does semen have antidepressant properties?". Archives of Sexual Behavior. 31 (3): 289–93. doi:10.1023/A:1015257004839. PMID 12049024.
- ↑ Sex อาหารเสริมเพิ่มพลังกายและพลังใจ (ตีพิมพ์ในนิตยสารHealthToday ฉบับเดือนสิงหาคม 48) (2005-08-04) ประโยชน์ของ sex ข้อ 5
- ↑ Lê, Monique G.; Bachelot, Annie; Hill, Catherine (1989). "Characteristics of reproductive life and risk of breast cancer in a case-control study of young nulliparous women". Journal of Clinical Epidemiology. 42 (12): 1227–33. doi:10.1016/0895-4356 (89) 90121-2. PMID 2585013.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help) - ↑ Gjorgov, Arne N. (1978). "Barrier contraceptive practice and male infertility as related factors to breast cancer in married women". Medical Hypotheses. 4 (2): 79–88. doi:10.1016/0306-9877 (78) 90051-8. PMID 642850.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help) - ↑ "Fellatio Breast Cancer Reduction". Also at about.com Study: Fellatio May Significantly Decrease the Risk of Breast Cancer in Women
- ↑ Koelman, Carin A; Coumans, Audrey B.C; Nijman, Hans W; Doxiadis, Ilias I.N; Dekker, Gustaaf A; Claas, Frans H.J (2000). "Correlation between oral sex and a low incidence of preeclampsia: A role for soluble HLA in seminal fluid?". Journal of Reproductive Immunology. 46 (2): 155–66. doi:10.1016/S0165-0378 (99) 00062-5. PMID 10706945.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help) - ↑ Muller, M.; Sales, KJ; Katz, AA; Jabbour, HN (2006). "Seminal Plasma Promotes the Expression of Tumorigenic and Angiogenic Genes in Cervical Adenocarcinoma Cells via the E-Series Prostanoid 4 Receptor". Endocrinology. 147 (7): 3356–65. doi:10.1210/en.2005-1429. PMID 16574793.
- ↑ Mathur, Subbi; Goust, Jean-Michel; Williamson, H. Oliver; Fudenberg, H. Hugh (1981). "Cross-Reactivity of Sperm and T Lymphocyte Antigens". American Journal of Reproductive Immunology. 1 (3): 113–8. doi:10.1111/j.1600-0897.1981.tb00142.x. PMID 6175235.
- ↑ Guillet, G.; Dagregorio, G.; Guillet, M.-H. (2005). "Vulvite d'hypersensibilité aux protéines séminales : 3 cas" [Vulvar contact dermatitis due to seminal allergy: 3 cases]. Annales de Dermatologie et de Vénéréologie (ภาษาฝรั่งเศส). 132 (2): 123–5. doi:10.1016/S0151-9638 (05) 79221-8. PMID 15798560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help) - ↑ Weidinger, Stephan; Ring, J.; Köhn, F.M. (2005). "IgE-Mediated Allergy against Human Seminal Plasma". Immunology of Gametes and Embryo Implantation. Chemical Immunology and Allergy, 2005. pp. 128–38. doi:10.1159/000087830. ISBN 3-8055-7951-9. PMID 6129942.
- ↑ 41.0 41.1 Kate Kelland (Jan 17, 2011). "Semen allergy suspected in rare post-orgasm illness". LONDON: Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-09. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.
- ↑ Tiffany Kary (2002). "Crying Over Spilled Semen". Psychology Today. สืบค้นเมื่อ 2013-11-09.
- ↑ Raj Persaud (26 June 2002). "Semen acts as an anti-depressant". New Scientist.
- ↑ 44.0 44.1 E-Tipitaka 2.1.2 อ้างอิงพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา (ภาษาไทย) เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1 หน้าที่ 252 ข้อ 237
- ↑ 45.0 45.1 E-Tipitaka 2.1.2 อ้างอิงพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏ (ภาษาไทย) เล่มที่ 3 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 1 ภาค 3 มหาวิภังค์ ปฐมภาค หน้าที่ 100-101
- ↑ Qigong Bible, Chapter #8, by Gary J. Clyman. Contribution To Clyman's Book by Frank Ranz, January 1989
- ↑ "Home". hunyuantaijiacademy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2012-02-05.
- ↑ Salmon, J.B.; L. Foxhall (1998). Thinking Men: Masculinity and Its Self-representation in the Classical Tradition. Routledge. p. 158.
- ↑ Sumathipala, A. (2004). "Culture-bound syndromes: The story of dhat syndrome". The British Journal of Psychiatry. 184 (3): 200. doi:10.1192/bjp.184.3.200. PMID 14990517.
- ↑ Aristotle; Richard Kraut (trans.) (1997). Politics. Oxford UP. p. 152. ISBN 978-0-19-875114-4. สืบค้นเมื่อ 2013-11-09.
- ↑ Onians, R. B. (1951). The Origins of European Thought. Cambridge. p. 203. ISBN 0-405-04853-X.
- ↑ Diogenes Laertius, Life of Pythagoras, 19. เก็บถาวร 2016-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Smith, Justin E. H. (2006). The Problem of Animal Generation in Early Modern Philosophy. Montreal: Concordia University. p. 5. ISBN 978-0-511-21763-0.
- ↑ Roach, Mary (2009). Bonk : the curious coupling of science and sex. New York: W.W. Norton & Co. p. 214. ISBN 9780393334791.
- ↑ Bellows, Laura J. (2003). Personhood, procreative fluids, and power: re-thinking hierarchy in Bali. OCLC 224223971.[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ The Independent review of The Quest for C: Mansfield Cumming and the founding of the British Secret Service by Alan Judd
- ↑ Rosenthal, Sara. The Gynecological Sourcebook, McGraw-Hill Professional, 2003, ISBN 0-07-140279-9 p151
- ↑ "Oral Sex Linked To Mouth Cancer Risk ( One of the studies conducted at the Joh...)". Bio-medicine.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-11. สืบค้นเมื่อ 2012-02-05.
- ↑ Swallowing Semenแม่แบบ:Full
- ↑ Koelman, CA; Coumans, AB; Nijman, HW; Doxiadis, II; Dekker, GA; Claas, FH (2000). "Correlation between oral sex and a low incidence of preeclampsia: A role for soluble HLA in seminal fluid?". Journal of reproductive immunology. 46 (2): 155–66. doi:10.1016/S0165-0378 (99) 00062-5. PMID 10706945.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help) - ↑ Attention, Ladies: Semen Is An Antidepressantแม่แบบ:Full
- ↑ Bering, Jesse (Sep 22, 2010). "An Ode to the Many Evolved Virtues of Human Semen". Scientific American.
- ↑ Robert T. Francoeur, Raymond J. Noonan (2004) The Continuum Complete International Encyclopedia of Sexuality p.819
- ↑ Semen Warriors Of New Guinea, Hank Hyena, September 16, 1999
- ↑ Herdt, Gilbert (editor) (January 28, 1993). Ritualized Homosexuality in Melanesia. University of California Press. ISBN 0-520-08096-3.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Human sperm under a microscope [ตัวอสุจิมนุษย์ใต้กล้องจุลทรรศน์]] (flv). YouTube. สืบค้นเมื่อ May 14, 2014.
ตัวอสุจิมนุษย์ใต้กล้องจุลทรรศน์ ขยาย 400 เท่า แสดงการเคลื่อนไหวและรูปร่างสัณฐาน สามารถเห็นตัวอสุจิที่ไม่เคลื่อนที่และเคลื่อนที่
- น้ำอสุจิ teenpath.net
- Grizard, G; Sion, B; Bauchart, D; Boucher, D (2000). "Separation and quantification of cholesterol and major phospholipid classes in human semen by high-performance liquid chromatography and light-scattering detection". Journal of Chromatography B: Biomedical Sciences and Applications. 740 (1): 101–7. doi:10.1016/S0378-4347 (00) 00039-6. PMID 10798299.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help) - SUNY Podcast – Semen study results
- Hyena, Hank (August 21, 2000). "The quest for sweet semen". Salon.com. Salon Media Group, Inc.