ข้ามไปเนื้อหา

บัวหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บัวหลวง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
อันดับ: อันดับเหมือดคน
Proteales
วงศ์: วงศ์บัวหลวง
Nelumbonaceae
สกุล: สกุลบัวหลวง
Nelumbo
Gaertn.
สปีชีส์: Nelumbo nucifera
ชื่อทวินาม
Nelumbo nucifera
Gaertn.
ชื่อพ้อง
  • Nelumbium speciosum Willd.
  • Nelumbo komarovii Grossh.
  • Nymphaea nelumbo

บัวหลวง หรือ บัวหลวงอินเดีย (อังกฤษ: Indian Lotus, Sacred Lotus, Bean of India) เป็นพืชน้ำในสกุลบัวหลวง (Nelumbo) วงศ์บัว[1] (NELUMBONACEAE)[2][3]

สายพันธุ์ดอกบัวหลวง

[แก้]

1. บัวหลวงพันธุ์ดอกสีชมพู (บัวแหลมชมพู) มีชื่อว่า ปทุม ปัทมา โกกระนต หรือโกกนุต ดอกขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ ปลายเรียวสีชมพู กลีบดอกชั้นนอกมี 4-5 กลีบ รูปไข่มีขนาดเล็ดเรียงตัวกัน 2 ชั้น ส่วนกลางของกลีบมีรูปร่างโค้งป่อง ตรงกลางสีชมพูอมเขียว ส่วนกลีบดอกชั้นกลางและชั้นในสีชมพูเข้ม โคนกลีบดอกสีขาวนวล มีประมาณ 13-14 กลีบ เรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น อยู่โดยรอบฐานดอก กลีบชั้นนอกและชั้นในมีสีและรูปร่างคล้ายชั้นกลางแต่เล็กกว่ากลีบในชั้นกลาง[4]

2. บัวหลวงพันธุ์ดอกสีขาว (บัวแหลมขาว) มีชื่อว่า บุณฑริกหรือปุณฑริก ดอกขนาดใหญ่เป็นรูปไข่ ปลายเรียว คล้ายบัวพันธุ์ปทุม ดอกมีสีขาวประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอกสีขาวอมเขียว ส่วนกลีบในชั้นกลางและชั้นในสีขาวปลายกลีบดอกสีชมพูเรื่อ ๆ รูปร่างของกลีบและการเรียงตัวของกลีบดอกคล้ายดอกบัวพันธุ์ปทุม[4]

3. บัวหลวงพันธุ์ดอกสีชมพูซ้อน (บัวฉัตรชมพู) มีชื่อว่า สัตตบงกช ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม สีชมพู ประกอบด้วยกลีบนอกเป็นรูปรี มี 4-7 กลีบ กลีบเล็กเรียนซ้อนกันเป็นชั้น 2-3 ชั้น สีเขียวอมชมพู กลีบในสีชมพูตลอด ส่วนโคนกลีบที่ติดกับฐานรองดอกมีสีขาวอมเหลือง กลีบในมีประมาณ 12-16 กลีบ กลีบในชั้นนอกและชั้นในมีขนาดเล็กกว่าชั้นกลาง เป็นรูปไข่ที่มีส่วนกว้างอยู่ด้านบน เกสรตัวผู้ชั้นนอก ๆ เป็นหมัน โดยมีก้านชูที่เป็นเกสรตัวผู้ที่เป็นแผ่นบาง ๆ สีชมพูคล้ายกลีบในแต่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีอับเรณู แต่ปลายกลีบมีส่วนยื่นออกมาที่มีฐานเรียวเล็ก ส่วนปลายพองใหญ่ มีสีขาวนวล[4]

4. บัวหลวงพันธุ์ดอกสีขาวซ้อน (บัวฉัตรขาว) มีชื่อว่า สัตตบุตย์ ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม คล้ายบัวพันธุ์สัตตบงกช ดอกมีสีขาว ซ้อนกันหลายชั้น ดอกประกอบด้วยกลีบดอกสีเขียวอมขาว ส่วนกลีบชั้นในสีขาวตลอด ส่วนรูปทรงและการเรียงตัวของกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายกับบัวพันธุ์สัตตบงกช[4]

ดอกไม้ประจำจังหวัด

[แก้]

ดอกบัวหลวงเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี พิจิตร สุโขทัย และหนองบัวลำภู[5][6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://pattize.wordpress.com/พิพิธภัณฑ์บัว/ชนิดของดอกบัว/
  2. http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1611
  3. https://www.thairath.co.th/content/476839
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 https://medthai.com/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87/
  5. http://www.panmai.com/PvFlower/fl_22.shtml
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]