ข้ามไปเนื้อหา

บัวเผื่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัวเผื่อน
บัวเผื่อน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
อันดับ: Nymphaeales
วงศ์: Nymphaeaceae
สกุล: Nymphaea
สปีชีส์: N.  nouchali
ชื่อทวินาม
Nymphaea nouchali
Burm. f.
ชื่อพ้อง
Castalia acutiloba (DC.) Hand.-Mazz.
Castalia stellaris Salisb.
Castalia stellata (Willd.) Blume
Leuconymphaea stellata (Willd.) Kuntze
Nymphaea acutiloba DC.
Nymphaea cahlara Donn, nom. inval.
Nymphaea cyanea Roxb.
Nymphaea edgeworthii Lehm.
Nymphaea henkeliana Rehnelt
Nymphaea hookeriana Lehm.
Nymphaea malabarica Poir.
Nymphaea membranacea Wall. ex Casp., nom. inval.
Nymphaea minima F.M.Bailey nom. illeg.
Nymphaea punctata Edgew.
Nymphaea rhodantha Lehm.
Nymphaea stellata Willd.
Nymphaea stellata var. albiflora F. Henkel & al.
Nymphaea stellata var. cyanea (Roxb.) Hook. f. & Thomson
Nymphaea stellata var. parviflora Hook. f. & Thomson
Nymphaea stellata var. versicolor (Sims) Hook. f. & Thomson
Nymphaea tetragona var. acutiloba (DC.) F. Henkel & al.
Nymphaea versicolor Sims
Nymphaea voalefoka Lat.-Marl. ex W. Watson, nom. nud.

บัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย อายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน และส่งใบดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ บัวเผื่อนมีดอกให้ชมเกือบตลอดทั้งปี เริ่มบานตอนสายและหุบตอนบ่าย ออกดอกตลอดปี บัวเผื่อนมีชื่อพื้นเมืองอื่นว่า นิลุบล นิโลบล (กรุงเทพฯ) บัวผัน บัวขาบ (ภาคกลาง) ป้านสังก่อน (เชียงใหม่) และปาลีโป๊ะ (มลายู นราธิวาส)[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ใบเป็นใบเดียวออกแบบเรียงสลับเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยบนผิวน้ำ ใบรูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 10-25 ซม. กว้าง 8-18 ซม. ผิวใบเกลี้ยงหน้าใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนถึงสีม่วงจาง ปลายใบทู่ถึงกลมมน โคนใบเว้าลึก ฃอบใบเรียงถึงหยักตื้นๆ เส้นใบ 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ก้านใบสั้นยาวไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำ ปกติยาว 0.5-2 เมตร

ดอกเป็นดอกเดี่ยว อยู่เหนือน้ำ มีสีขาวแกมชมพู ถึงอ่อนคราม กลิ่นหอมอ่อนๆ หากมีสีขาวแกมชมพูจะเรียกว่า “บัวเผื่อน” ส่วนดอกสีครามอ่อนและมีขนาดใหญ่เรียกว่า “บัวผัน” บางครั้งนักวิทยาศาสตร์แยกเป็น 2 ชนิด บางครั้งว่าเป็นชนิดเดียวกันแต่มี 2 พันธุ์ แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-18 กลีบ มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นจำนวนมาก รังไข่มี 10-20 ช่อง ฝังตัวแน่นอยู่ใต้แผ่นรองรับเกสรตัวเมียรูปถ้วย ก้านดอกคล้ายก้านใบ และยาวไล่เลียกัน ผลจมอยู่ใต้น้ำหลังจากผสมเกสรแล้ว

การปลูกเลี้ยง

[แก้]

บัวเผื่อนพบขึ้นตามหนอง บึง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อนและขอบพรุ มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขยายพันธุ์โดยการใช้หน่อหรือเหง้า

ประโยชน์ทางยา

[แก้]
  • ดอก รสฝาดหอมเย็น บำรุงหัวใจให้แช่มชื่น บำรุงกำลัง แก้ไขตัวร้อน แก้ไข้
  • บำรุงครรภ์
  • เมล็ด เมื่อฝักแก่ดอกร่วงหมดแล้วเรียกว่า”โตนดบัว” มีเมล็ดเล็กๆ คล้ายเมล็ดฝิ่น คั่วรับประทานเป็นอาหารได้ รสหอมมัน บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
  • หัว ลักษณะเป็นหัวตะปุ่มตะป่ำ เหมือนโกฐหัวบัว รสหอมมัน เผ็ดเล็กน้อย บำรุงร่างกาย ชูกำลัง บำรุงครรภ์รักษา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ

ในตำรายาไทย บัวเผื่อนอยู่ในพิกัดบัวพิเศษ มี 6 อย่างคือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดง บัวสัตตบงกชขาว บัวเผื่อน และบัวขม ใช้แก้ไข้ แก้ลม เสมหะ และโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้แช่มชื่น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ตัวร้อน บำรุงครรภ์ นอกจากนั้น ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในตำรับยาหอมเทพจิตร มีดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนผสมร่วมกับสมุนไพรอื่นๆอีกหลายชนิดในตำรับ มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น [2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  2. บัวเผื่อน-ฐานข้อมูลเครื่องยา
  • สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่3 พรรณไม้หอม. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,มปป.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]