ข้ามไปเนื้อหา

บารุค สปิโนซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บารุค สปิโนซา
(Benedictus de Spinoza)
เกิด24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1632(1632-11-24)
อัมสเตอร์ดัม, สาธารณรัฐดัตช์
เสียชีวิต21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1677(1677-02-21) (44 ปี)
เดอะเฮก, สาธารณรัฐดัตช์
การศึกษาTalmud Torah แห่งอัมสเตอร์ดัม[1]
(ถอนตัว)[2]
มหาวิทยาลัยไลเดิน
(ไม่ได้ใบปริญญา)[3]
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
มีอิทธิพลต่อยุคเรืองปัญญา, อาร์ทัวร์ โชเพินเฮาเออร์, ฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆส, เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกิล, ฌ็อง-ฌัก รูโซ, ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม โยเซ็ฟ เช็ลลิง, Næss, คาร์ล มาคส์,[4] G. Wagner, โดนัลด์ เดวิดสัน, Deleuze, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, จอร์จ อีเลียต, โยฮัน ก็อทลีพ ฟิชเทอ, โยฮัน ก็อทฟรีท แฮร์เดอร์, โนวาลิส, ก็อทฟรีท วิลเฮ็ล์ม ไลบ์นิทซ์, โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ,[4] Renouvier, ฟรีดริช นีทเชอ, เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์, ลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์, ซีคมุนท์ ฟร็อยท์, Unamuno, Althusser, Balibar, ไมเคิล ฮาร์ดต์, Ilyenkov, อันโตนีโอ เนกรี, Santayana, แซมมวล เทย์เลอร์ คอเลริดจ์, Gotthold Ephraim Lessing, ลีโอ สเตราส์, Kołakowski, Yalom, เลฟ วีกอตสกี
ได้รับอิทธิพลจากเรอเน เดการ์ต, ลัทธิสโตอิก, Maimonides, อับราฮัม อิบน์ เอสรา, อิบน์ ซีนา, อิบน์ รุชด์,[5] แอริสตอเติล, ดิมอคริตัส, Lucretius, Epicurus, นิกโกเลาะ มาเกียเวลลี, โทมัส ฮอบส์, จอร์ดาโน บรูโน, Franciscus van den Enden, Menasseh Ben Israel

เบเนดิคตัส เดอ สปิโนซา หรือ บารุค สปิโนซา หรือชื่อในภาษาลาตินของเขาคือ เบเนดิก (24 พ.ย. ค.ศ. 1632 (พ.ศ. 2175) - 21 ก.พ. ค.ศ. 1677 (พ.ศ. 2220) จากผู้อาวุโสชาวยิว และเป็นที่รู้จักในชื่อ เบนโต เดอ สปิโนซา หรือ เบนโต เอสปิโนซา ในชุมชนที่เขาได้เติบโตขึ้น   เรอเน เดส์การตส์ กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ และสปิโนซา เป็นนักเหตุผลนิยมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปรัชญาคริสต์ศตวรรษที่ 17   เขาได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ริเริ่มการวิพากษ์เกี่ยวกับไบเบิล ผลงานชิ้นสำคัญของเขาคือหนังสือ จริยศาสตร์

ประวัติ

[แก้]

สปิโนซา เกิดที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ในปี 1632 พ่อแม่เป็นชาวฮอลแลนด์ที่มีเชื้อสายยิว เข้าเรียนที่โรงเรียนของชาวยิวที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ที่ซึ่งท่านได้เรียนรู้ข้อคำสอนต่าง ๆ ของชาวยิว รวมไปถึงปรัชญาของชาวยิวอีกด้วย การที่ท่านได้เรียนปรัชญาของชาวยิวนี้เอง ทำให้ท่านปฏิเสธความคิดของกลุ่มชาวยิว ท่านได้เรียนและให้ความสนใจกับลัทธิเหตุผลนิยมและวิธีการทางคณิตศาสตร์มากเป็นพิเศษ ทำให้ความคิดของท่านแตกต่างไปจากนักเรียนชาวยิวคนอื่น ๆ และในที่สุดท่านก็ไม่ได้รับการยอมรับจากบรรดาชาวยิว และถูกขับไล่ในจากศาลาธรรมของชาวยิวในปี 1665 โดยข้อหาสอนคำสอนที่ผิดไปจากศาสนายิว

หลังจากที่ถูกขับไล่ ท่านได้ย้ายไปอยู่ทางตอนใต้ของฮอลแลนด์ ที่นั่นเองที่ท่านได้ตั้งระบบความคิดของท่าน และในที่สุดท่านก็สิ้นชีวิตที่เมืองแห่งนี้เอง ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1677 อย่างสงบและเรียบง่าย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nadler 1999, p. 64.
  2. Nadler 1999, p. 65.
  3. Steven Nadler, Spinoza and Medieval Jewish Philosophy, Cambridge University Press, 2014, p. 27: "Spinoza attended lectures and anatomical dissections at the University of Leiden..."
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tws908
  5. Scruton 2002, "Through the works of Moses Maimonides and the commentaries of the Arab Averroës, Spinoza would have become acquainted with Aristotle".
  6. James Kreines, Reason in the World: Hegel's Metaphysics and Its Philosophical Appeal, Oxford University Press, 2015, p. 25: "Spinoza's foundationalism (Hegel argues) threatens to eliminate all determinate reality, leaving only one indeterminate substance."
  7. Stefano Di Bella, Tad M. Schmaltz (eds.), The Problem of Universals in Early Modern Philosophy, Oxford University Press, 2017, p. 64 "there is a strong case to be made that Spinoza was a conceptualist about universals..."
  8. Michael Della Rocca (ed.), The Oxford Handbook of Spinoza, Oxford University Press, 2017, p. 288.
  9. The Correspondence Theory of Truth (Stanford Encyclopedia of Philosophy)