บูโควีนา
บูโควีนา บูกอวีนา, บูกอวือนา บูเคินลันท์, บูโกวินอ | |
---|---|
ภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ | |
ทิวทัศน์นครซูชาวาในบูโควีนาตอนใต้ | |
ที่ตั้งของบูโควีนาในโรมาเนียและยูเครน | |
ประเทศ | |
บูโควีนา | 1774 |
ผู้ก่อตั้ง | ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค |
นครใหญ่สุด |
|
เดมะนิม |
|
เขตเวลา | UTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก) |
บูโควีนา (อังกฤษ: Bukovina; เยอรมัน: Bukowina), บูกอวีนา (โรมาเนีย: Bucovina; โปแลนด์: Bukowina), บูกอวือนา (ยูเครน: Букови́на), บูเคินลันท์ (Buchenland) หรือ บูโกวินอ (ฮังการี: Bukovina) เป็นภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ที่มีการบรรยายไว้ว่าอยู่ในยุโรปกลางหรือยุโรปตะวันออก หรือทั้งคู่[1][2][3] ภูมิภาคนี้กินพื้นที่ชายเขาด้านเหนือของคาร์เพเทียนตะวันออกตอนกลาง ปัจจุบัน บูโควีนาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน
บูโควีนามีการตั้งรกรากจากผู้คนและวัฒนธรรมที่หลากหลายมายาวนานตั้งแต่ยุคหินเก่า เริ่มจากชาววลาค ตามด้วยชาวรูทีเนียในศตวรรษที่ 11[4] บูโควีนาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของรุสกือยิว และเปเชเนกในศตวรรษที่ 10 ที่ซึ่งวัฒนธรรมของรุสแพร่ขยายไปทั่วภูมิภาค ต่อมาในสมัยอนารยชนทองคำในศตวรรษที่ 14 บูโควีนากลายมาเป็นส่วนหนึ่งของมอลเดเวียภายใต้ปกครองฮังการี และมีประชากรโยกย้ายเข้ามาใหม่จากมารามูเรช ซึ่งรวมถึงชาวแซกซันและชาวฮังการี อาณาเขตที่ยอมรับในปัจจุบันว่าเป็นบูโควีนานั้นมีขึ้นในปี 1775 ถึง 1918 ในฐานะเขตการปกครองบูโควีนาภายใต้ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค, จักรวรรดิออสเตรีย และออสเตรีย-ฮังการีตามลำดับ ในปี 1940 บูโควีนาตอนเหนือได้ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตหลังการฉีกกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ[5] ต่อมาถูกโรมาเนียกู้คืนได้เป็นเวลาสั้น ๆ ในฐานะพันธมิตรของนาซีเยอรมนีหลังนาซีบุกรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 ก่อนจะถูกสหภาพโซเวียตยึดคืนในปี 1944[4] ประชากรของบูโควีนามีความหลากหลายมาตั้งแต่ในประวัติศาสตร์ ปัจจุบัน อาณาเขตครึ่งบนของบูโควีนาเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นแชร์นิวต์ซีในประเทศยูเครน และอาณาเขตตอนล่างเป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑลซูชาวาในประเทศโรมาเนีย[4]
บ้างเรียกขานให้บูโควีนาเป็น "สวิตเซอร์แลนด์แห่งตะวันออก" จากกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย และภูมิประเทศที่เป็นภูเขาที่หนาแน่นไปด้วยป่าไม้[6][7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Klaus Peter Berger, The Creeping Codification of the New Lex Mercatoria, Kluwer Law International, 2010, p. 132
- ↑ Steven Tötösy de Zepetnek (January 2002). Comparative Central European Culture. Purdue University Press. pp. 53–. ISBN 978-1-55753-240-4.
- ↑ "Bukovina | region, Europe". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-10.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Bukovina". Britannica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2021. สืบค้นเมื่อ 22 June 2021.
- ↑ Brackman, Roman The Secret File of Joseph Stalin: A Hidden Life (2001) p. 341
- ↑ Sophie A. Welsch (March 1986). "The Bukovina-Germans During the Habsburg Period: Settlement, Ethnic Interaction, Contributions" (PDF). สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
- ↑ Gaëlle Fisher (2019). "Looking Forwards through the Past: Bukovina's "Return to Europe" after 1989–1991". Lean Library. 33: 196–217. doi:10.1177/0888325418780479. S2CID 149895103.
- ↑ David Rechter (16 October 2008). "Geography is destiny: Region, nation and empire in Habsburg Jewish Bukovina". Journal of Modern Jewish Studies. 7 (3): 325–337. doi:10.1080/14725880802405027. S2CID 142797383. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.