ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิทรรศน์อีกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Green and red apples ("non-black non-ravens")
ไม่ใช่สีดำ
ไม่ใช่อีกา
ปฏิทรรศน์อีกาแสดงถึง สอง ภาพที่เป็นหลักฐานว่าอีกาทุกตัวสีดำ

ปฏิทรรศน์อีกา (อังกฤษ: Raven paradox) หรือเคยเป็นที่รู้จักในชื่อ ปฏิทรรศน์ของเฮมเพล หรือ อีกาของเฮมเพล เป็นปฏิทรรศน์ที่ถูกเสนอโดย คาร์ล กุสตาฟ เฮมเพล นักปรัชญาวิทยาศาสตร์และตรรกศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ. 2483 ปฏิทรรศน์นี้ค่อนไปทางปรัชญาและมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันในหมู่นักคิด

ปฏิทรรศน์

[แก้]

เฮมเพลได้บรรยายเกี่ยวกับปฏิทรรศน์ในสมมติฐานที่ว่า:[1][2]

(1) อีกาทุกตัวมีสีดำ

ถ้าพิจารณาในเชิงตรรกะและการสลับตำแหน่ง ประโยคนี้จะมีค่าเท่ากับ

(2) ทุก ๆ อย่างที่ไม่ใช่สีดำก็ไม่ใช่อีกา

มันควรที่จะแน่ชัดแล้วว่าเมื่อ (2) เป็นจริง (1) ก็จะเป็นจริงด้วย และตรงข้ามกัน เมื่อ (2) เป็นเท็จ (เช่น ถ้าโลกที่เราอยู่อาศัยถูกคิดว่าไม่มีอะไรที่เป็นสีดำเลยแม้กระทั่งอีกา) (1) ก็ต้องเป็นเท็จด้วยเช่นเดียวกัน สองประโยคนี้จะสร้างความเท่ากันเชิงตรรกะ

(3) ไม่เลย อีกาของฉัน มีสีดำ

หลักฐานชิ้นนี้ช่วยสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า อีกาทุกตัวมีสีดำ ความขัดแย้งของปฏิทรรศน์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเรานำกระบวนการนี้ไปใช้กับสภาวะใน (2) คน ๆ หนึ่งกำลังดูแอปเปิลเขียว เขาเห็นว่า:

(4) สิ่งสีเขียว ๆ นี้ (แน่นอนว่าไม่ใช่สีดำ) คือแอปเปิล (และแน่นอนว่าไม่ใช่อีกา)

โดยการให้เหตุผลเดียวกัน หลักฐานชี้นนี้สนับสนุน (2) ทุก ๆ อย่างที่ไม่ใช่สีดำก็ไม่ใช่อีกา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hempel, C. G. (1945). "Studies in the Logic of Confirmation I" (PDF). Mind. 54 (213): 1–26. doi:10.1093/mind/LIV.213.1. JSTOR 2250886. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 January 2015.
  2. Hempel, C. G. (1945). "Studies in the Logic of Confirmation II" (PDF). Mind. 54 (214): 97–121. doi:10.1093/mind/LIV.214.97. JSTOR 2250948. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 March 2018.

บรรณานุกรม

[แก้]