ฝ่ายบริหารกลางทิเบต
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ฝ่ายบริหารกลาง བོད་མིའི་སྒྲིག་འཛུགས་ Bod mi'i sgrig 'dzugs / Bömi Drikdzuk | |
---|---|
คำขวัญ: བོད་གཞུང་དགའ་ལྡན་ཕོ་བྲང་ཕྱོགས་ལས་རྣམ་རྒྱལ Tibetan Government, Ganden Palace, victorious in all directions | |
ทิเบตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนการผนวกของจีนใน ค.ศ. 1951 และก่อตั้งเขตปกครองตนเอง | |
สถานะ | รัฐบาลพลัดถิ่น |
สำนักงานใหญ่ | 176215, ธรรมศาลา, Kangra district, รัฐหิมาจัลประเทศ, ประเทศอินเดีย |
ภาษาทางการ | ทิเบต |
ศาสนา | พุทธแบบทิเบต |
ประเภท | รัฐบาลพลัดถิ่น |
รัฐบาล | |
• Sikyong | Penpa Tsering |
• ประธาน | Pema Jungney |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาพลัดถิ่น |
สถาปนา | 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 |
สกุลเงิน | รูปีอินเดีย (โดยพฤตินัย) (INR) |
เว็บไซต์ tibet |
ฝ่ายบริหารกลางทิเบต (อังกฤษ: Central Tibetan Administration, CTA; ทิเบต: བོད་མིའི་སྒྲིག་འཛུགས་, ไวลี: bod mi'i sgrig 'dzugs, THL: Bömi Drikdzuk, [ˈpʰỳmìː ˈʈìʔt͡sùʔ], แปลว่า องค์กรพลัดถิ่นของประชาชนทิเบต)[1] หรือ ฝ่ายบริหารกลางทิเบตขององค์ทะไลลามะ (Central Tibetan Administration of His Holiness the Dalai Lama) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่น นำโดย "แต็นจิน กยาโช" ทะไลลามะองค์ที่ 14 จุดยืนขององค์กรนี้คือ ทิเบตเป็นชาติอิสระที่มีเอกราชมายาวนาน มิใช่ส่วนหนึ่งของจีน ปัจจุบันแม้ว่าทิเบตจะยังไม่ได้รับเอกราช แต่ก็ได้สิทธิปกครองตนเองเช่นเดียวกับฮ่องกง
กองบัญชาการใหญ่ของรัฐบาลพลัดถิ่นนี้อยู่ที่ธรรมศาลาในอินเดีย ที่ทะไลลามะจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 หลังจากการจลาจลเพื่อต่อต้านจีนล้มเหลว ดินแดนทิเบตในความหมายของรัฐบาลพลัดถิ่นนี้ ได้แก่เขตปกครองตนเองทิเบต มณฑลชิงไห่ และบางส่วนของมณฑลใกล้เคียงคือ กานซู่ เสฉวน และยูนนาน ซึ่งถือเป็นดินแดนของทิเบตในประวัติศาสตร์ รัฐบาลพลัดถิ่นนี้ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอินเดียให้เข้ามาดูแลชุมชนชาวทิเบตราว 100,000 คนที่ลี้ภัยอยู่ในอินเดียภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศใดยอมรับว่ารัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตเป็นรัฐบาล
ใน พ.ศ. 2544 ชุมชนชาวทิเบตทั่วโลกได้มีการเลือกตั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ทิเบต: བཀའ་བློན་ཁྲི་པའ་, Kalon Tripa) โดยผู้ที่ได้รับเลือกตั้งคือ "โลซัง แต็นจิน" พระภิกษุวัย 62 ปี ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทิเบต
ใน พ.ศ. 2555 ได้มีการปรับปรุงกฎหมายของฝ่ายบริหารกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการยกเลิกอำนาจในการบริหารของทะไล ลามะ และแต่งตั้งให้ "โลซัง เซ็งเค" เป็น ประธานคณะกรรมการบริหารทิเบตกลางให้เป็นผู้มีอำนาจบริหารเต็ม (ทิเบต: སྲིད་སྐྱོང , Sikyong หมายถึง ผู้แทน หรือ ผู้ปกครอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Central Tibetan Administration". [Central Tibetan Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2010. สืบค้นเมื่อ 28 August 2010.
บรรณานุกรม
[แก้]- Roemer, Stephanie (2008). The Tibetan Government-in-Exile. Routledge Advances in South Asian Studies. Abingdon, Oxon: Routledge. ISBN 9780415586122.