ฟาโรห์ในคัมภีร์ไบเบิล
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงฟาโรห์ (ฮีบรู: פַּרְעֹה, Parʿō) แห่งอียิปต์พระองค์ต่าง ๆ รวมถึงฟาโรห์ที่ไม่ระบุพระนามในเหตุการณ์ที่เล่าในคัมภีร์โทราห์ เช่นเดียวกับฟาโรห์ที่ระบุพระนามในภายหลังอีกหลายพระองค์ ซึ่งบางส่วนมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์หรือสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นฟาโรห์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์
ฟาโรห์ที่ไม่ปรากฏพระนาม
[แก้]ในหนังสือปฐมกาล
[แก้]ปฐมกาล 12:10 -20 เล่าเรื่องที่อับรามย้ายไปไปอียิปต์เพื่อหนีช่วงกันดารอาหารในคานาอัน อับรามกังวลว่าฟาโรห์ (ที่ไม่ปราฏพระนาม) จะสังหารตนและชิงซารายภรรยาของตนไป อับรามจึงบอกซารายให้บอกว่าเธอเป็นน้องสาวของอับราม ในที่สุดทั้งคู่ก็ถูกเรียกตัวไปเข้าเฝ้าฟาโรห์ แต่พระเจ้าทรงทำให้เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ แก่ฟาโรห์เพราะฟาโรห์ตั้งใจจะอภิเษกสมรสกับซาราย เมื่อฟาโรห์ทรงทราบความจริงว่าซารายเป็นภรรยาของอับราม จึงทรงปล่อยตัวซารายและมีรับสั่งให้อับรามพาภรรยาและเก็บข้าวของกลับไปคานาอัน
ในบทท้าย ๆ ของหนังสือปฐมกาล (ปฐมกาล 37-50) เล่าเรื่องที่โยเซฟบุตรชายของยาโคบถูกเหล่าพี่ชายของตัวเองขายให้ไปเป็นทาสในอียิปต์ แต่ภายหลังโยเซฟได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากฟาโรห์ (ที่ไม่ปรากฏพระนาม) ให้เป็นผู้ดูแลราชสำนักแห่งอียิปต์ และภายหลังได้รับอนุญาตให้พาบิดา เหล่าพี่ชาย และครอบครัวมาอาศัยที่ดินแดนโกเชน (ทางตะวันออกของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ อยู่บริเวณนคร Faqus ในปัจจุบัน) ในอียิปต์ นักเขียน Ahmed Osman ให้ความเห็นว่าฟาโรห์พระองค์นี้คือฟาโรห์ทุตโมสที่ 4 และโยเซฟคือบุคคลชาวอียิปต์ที่ชื่อ Yuya[1] นักวิชาการคนอื่น ๆ ส่วนใหญ่ปฏิเสธคำกล่าวอ้างของ Osman[2]
ในหนังสืออพยพ
[แก้]ในหนังสืออพยพ ชาวอิสราเอลที่เป็นผู้สืบเชื้อสายของบุตรชายยาโคบที่อาศัยในดินแดนโกเชนอยู่ภายใต้การปกครองของฟาโรห์พระองค์ใหม่ผู้ทรงกดขี่ชาวฮีบรู พระองค์บังคับให้ชาวฮีบรูให้ทำงานอย่างหนักเป็นเวลานาน รวมไปถึงการสร้างเมืองปิธมและราเมเสส การทำปูนสอและอิฐ พระองค์ยังมีรับสั่งให้สังหารเด็กชายชาวฮีบรูที่เกิดใหม่เพื่อลดจำนวนชาวฮีบรู เนื่องจากพระองค์ทรงกังวลเกี่ยวกับจำนวนประชากรชาวฮีบรูที่เพิ่มมากขึ้น (ชิฟราห์และปูอาห์พยายามจะยับยั้งเรื่องนี้ในช่วงสั้น ๆ แต่ไม่เป็นผล) โมเสสชาวเผ่าเลวีได้รับการช่วยชีวิตโดยแม่ของโมเสสที่สั่งให้มิเรียมพี่สาวของโมเสสคอยจับตาดูโมเสสหลังจากที่ทารกโมเสสถูกวางลงในตะกร้าต้นกกในแม่น้ำไนล์ พระราชธิดาของฟาโรห์พบโมเสสในตะกร้าจึงทรงรับเลี้ยงโมเสสเป็นโอรสบุญธรรม มิเรียมทูลถามพระราชธิดาของฟาโรห์ว่าจะให้หาหญิงชาวอิสราเอลมาช่วยเป็นแม่นมดูแลเด็กหรือไม่ จากนั้นจึงพามารดาของโมเสสเองมาเข้าเฝ้า มารดาของโมเสสจึงได้เลี้ยงดูโมเสสภายใต้การคุ้มครองของราชวงศ์ ภายหลังโมเสสกลับไปอยู่กับพระราชธิดาของฟาโรห์และเติบโตในฐานะสมาชิกของราชวงศ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Osman, Ahmed (1987). Stranger in the Valley of the Kings. New York: Harper & Row. pp. 14–15. ISBN 9780062506740. สืบค้นเมื่อ July 28, 2022.
- ↑ Sweeney, Deborah (1992). "Review of The Stranger in the Valley of the Kings". The Jewish Quarterly Review. 82 (3/4): 575–579. doi:10.2307/1454900. JSTOR 1454900 – โดยทาง JSTOR.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bennett, Chris (1996). "Temporal Fugues". Journal of Ancient and Medieval Studies XIII. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-16. สืบค้นเมื่อ 2011-11-03.
- Patterson, Richard D. (2003). "The Divided Monarchy: Sources, Approaches, and Historicity". ใน Grisanti, Michael A.; Howard, David M. (บ.ก.). Giving the sense: understanding and using Old Testament historical texts. Kregel. ISBN 978-0-8254-2892-0.
- Rohl, David (1995). A Test of Time. Arrow. ISBN 0-09-941656-5.
- Geraty, Lawrence T. (2015). "Exodus Dates and Theories". ใน Levy, Thomas E.; Schneider, Thomas; Propp, William H. C. (บ.ก.). Israel's Exodus in Transdisciplinary Perspective: Text, Archaeology, Culture, and Geoscience. Springer. pp. 55–64. ISBN 978-3-319-04768-3.