ฟุตบอลทีมชาติเอกวาดอร์
ฉายา | La Tri (The Tri) La Tricolor (The Tricolors) ทีมแร้ง (ฉายาในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลเอกวาดอร์ (FEF) | ||
สมาพันธ์ | คอนเมบอล (อเมริกาใต้) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | กุสตาโบ อัลฟาโร | ||
กัปตัน | เอ็นเนร์ บาเล็นซีอา | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | อีบัน อูร์ตาโด (168) | ||
ทำประตูสูงสุด | เอ็นเนร์ บาเล็นซีอา (35) | ||
สนามเหย้า | Estadio Rodrigo Paz Delgado | ||
รหัสฟีฟ่า | ECU | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 30 1 (20 มิถุนายน 2024)[1] | ||
อันดับสูงสุด | 10 (มิถุนายน ค.ศ. 2013) | ||
อันดับต่ำสุด | 71 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2017) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
โบลิเวีย 1–1 เอกวาดอร์ (โบโกตา ประเทศโคลอมเบีย; 8 สิงหาคม ค.ศ. 1938) | |||
ชนะสูงสุด | |||
เอกวาดอร์ 6–0 เปรู (กีโต ประเทศเอกวาดอร์; 22 มิถุนายน ค.ศ. 1975) | |||
แพ้สูงสุด | |||
อาร์เจนตินา 12–0 เอกวาดอร์ (มอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย; 22 มกราคม ค.ศ. 1942) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 4 (ครั้งแรกใน 2002) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบ 16 ทีม (2006) | ||
โกปาอาเมริกา | |||
เข้าร่วม | 29 (ครั้งแรกใน 1939) | ||
ผลงานดีที่สุด | อันดับที่ 4 1959, 1993) | ||
คอนคาแคฟโกลด์คัพ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2002) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแบ่งกลุ่ม (2002) |
ฟุตบอลทีมชาติเอกวาดอร์ (สเปน: Selección de fútbol de Ecuador) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศเอกวาดอร์ อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอลเอกวาดอร์ โดยเข้าร่วมกับฟีฟ่าใน ค.ศ. 1926 และในคอนเมบอลในปีถัดมา
หลังจากที่ปฏิเสธการเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกที่อุรุกวัย เอกวาดอร์ก็ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเลยจนกระทั่งในปี 2002 โดยผ่านรอบคัดเลือกด้วยการจบอันดับเหนือกว่าบราซิลและอุรุกวัย การแข่งขันรอบคัดเลือกครั้งนั้นทำให้ผู้เล่นทีมชาติหลายคนมีชื่อเสียงขึ้นมา อาทิ Agustín Delgado, Álex Aguinaga, Iván Hurtado, Ulises de la Cruz และ Iván Kaviedes ซึ่งผู้เล่นเหล่านี้มีส่วนช่วยให้ทีมชาติประสบความสำเร็จในช่วงทศวรรษนั้น[2] โดยพวกเขาเคยเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 2006[3] และถูกตั้งความคาดหวังที่จะประสบความสำเร็จในโกปาอาเมริกา 2007 แต่พวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่มของรายการ[4] เอกวาดอร์เป็นหนึ่งในสองชาติของอเมริกาใต้ร่วมกับเวเนซุเอลาที่ยังไม่เคยชนะเลิศโกปาอาเมริกา ผลงานที่ดีที่สุดของทีมชาติในการแข่งขันระดับทวีปนี้คืออันดับที่สี่ในปี 1959 และ 1993 ซึ่งทั้งสองครั้งจัดขึ้นในเอกวาดอร์
เอกวาดอร์เคยลงเล่นเกมเหย้าที่ Estadio Olímpico Atahualpa ในกรุงกีโต สนามแห่งนี้มีแผนทุบทำลายเพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ที่ทันสมัยกว่า[5]
สถิติการแข่งขัน
[แก้]ฟุตบอลโลก
[แก้]สถิติในฟุตบอลโลก | สถิติในรอบคัดเลือก | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ผู้เล่น | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ||
1930 | ไม่ได้เข้าร่วม | ปฏิเสธการเข้าร่วม | |||||||||||||||
1934 | |||||||||||||||||
1938 | |||||||||||||||||
1950 | ถอนตัว | ถอนตัว | |||||||||||||||
1954 | ไม่ได้เข้าร่วม | ปฏิเสธการเข้าร่วม | |||||||||||||||
1958 | |||||||||||||||||
1962 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 2 | 0 | 0 | 2 | 3 | 11 | ||||||||||
1966 | 5 | 2 | 1 | 2 | 7 | 7 | |||||||||||
1970 | 4 | 0 | 1 | 3 | 2 | 8 | |||||||||||
1974 | 4 | 0 | 2 | 2 | 3 | 8 | |||||||||||
1978 | 4 | 0 | 1 | 3 | 1 | 9 | |||||||||||
1982 | 4 | 1 | 1 | 2 | 2 | 5 | |||||||||||
1986 | 4 | 0 | 1 | 3 | 2 | 8 | |||||||||||
1990 | 4 | 1 | 1 | 2 | 4 | 5 | |||||||||||
1994 | 8 | 1 | 3 | 4 | 7 | 7 | |||||||||||
1998 | 16 | 6 | 3 | 7 | 22 | 21 | |||||||||||
2002 | รอบแบ่งกลุ่ม | อันดับที่ 24 | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 4 | ผู้เล่น | 18 | 9 | 4 | 5 | 23 | 20 | ||
2006 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | อันดับที่ 12 | 4 | 2 | 0 | 2 | 5 | 4 | ผู้เล่น | 18 | 8 | 4 | 6 | 23 | 19 | ||
2010 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 18 | 6 | 5 | 7 | 22 | 26 | ||||||||||
2014 | รอบแบ่งกลุ่ม | อันดับที่ 17 | 3 | 1 | 1 | 1 | 3 | 3 | ผู้เล่น | 16 | 7 | 4 | 5 | 20 | 16 | ||
2018 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | 18 | 6 | 2 | 10 | 26 | 29 | ||||||||||
2022 | รอบแบ่งกลุ่ม | อันดับที่ 18 | 3 | 1 | 1 | 1 | 4 | 3 | ผู้เล่น | 18 | 7 | 5 | 6 | 27 | 19 | ||
2026 | รอแข่งขัน | รอแข่งขัน | |||||||||||||||
รวมทั้งหมด | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | 4/22 | 13 | 5 | 2 | 6 | 14 | 14 | — | 161 | 54 | 38 | 69 | 194 | 218 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ El Universo (7 November 2019). "Hace 18 años Ecuador clasificó a su primer mundial de fútbol" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
- ↑ The New York Times (15 June 2006). "Ecuador Breathes the Thick Air of Victory". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
- ↑ Raúl Chávez (6 July 2007). "Falta de puntería silencia a seleccionados ecuatorianos". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2007. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
- ↑ "El estadio Olímpico Atahualpa será demolido a finales del 2020 y se levantará otro estadio con mayor capacidad" (ภาษาสเปน). 13 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาสเปน)
- futbolecuador.com (ในภาษาสเปน)
- Ecuador FIFA profile