ฟุตบอลโลก 2010
2010 FIFA World Cup South Africa FIFA Sokker-Wêreldbekertoernooi in 2010 | |
---|---|
สัญลักษณ์ฟุตบอลโลก 2010 อย่างเป็นทางการ | |
รายละเอียดการแข่งขัน | |
ประเทศเจ้าภาพ | แอฟริกาใต้ |
วันที่ | 11 มิถุนายน - 11 กรกฎาคม |
ทีม | 32 (จาก 6 สมาพันธ์) |
สถานที่ | 10 (ใน 9 เมืองเจ้าภาพ) |
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน | |
ชนะเลิศ | สเปน (สมัยที่ 1) |
รองชนะเลิศ | เนเธอร์แลนด์ |
อันดับที่ 3 | เยอรมนี |
อันดับที่ 4 | อุรุกวัย |
สถิติการแข่งขัน | |
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 64 |
จำนวนประตู | 145 (2.27 ประตูต่อนัด) |
ผู้ชม | 3,178,856 (49,670 คนต่อนัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด | โทมัส มึลเลอร์ ดาบิด บียา เวสลีย์ สไนเดอร์ เดียโก ฟอร์ลัน (5 ประตู) |
ผู้เล่นยอดเยี่ยม | เดียโก ฟอร์ลัน[1] |
ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยม | อิเกร์ กาซิยัส |
ผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยม | โทมัส มึลเลอร์ |
รางวัลแฟร์เพลย์ | สเปน |
ฟุตบอลโลก ฟีฟ่า 2010 เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 19 ที่เป็นรายการแข่งขันฟุตบอลนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศแอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยเริ่มการคัดเลือกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีฟุตบอลทีมชาติสมาชิกฟีฟ่า เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 204 จาก 208 ทีม ฟุตบอลโลกครั้งนี้จึงเป็นการแข่งขันซึ่งมีประเทศเข้าร่วมแข่งขันจำนวนมากที่สุด เทียบเท่ากับจำนวนประเทศในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และยังเป็นฟุตบอลโลกครั้งแรกที่ชาติจากทวีปแอฟริกาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หลังจากที่แอฟริกาใต้ประมูลชนะโมร็อกโกและอียิปต์ในการเสนอชื่อ ทั้งนี้ ทีมชาติอิตาลีจะลงแข่งขันเพื่อป้องกันตำแหน่งชนะเลิศที่ได้มาในฟุตบอลโลก 2006 ซึ่งจัดขึ้นในประเทศเยอรมนี
ทีมชาติสเปนซึ่งชนะเลิศมาจากการแข่งขันชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2551 ชนะเลิศในการแข่งขันกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ 1 ต่อ 0 ประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษ โดยอันเดรส อีเนียสตาทำประตูให้กับสเปน และทำให้ทีมสเปนชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นสมัยแรก, ผู้ชนะเลิศครั้งก่อนอย่างอิตาลี รวมถึงฝรั่งเศสซึ่งเป็นทีมรองชนะเลิศครั้งก่อน ล้วนแต่ตกรอบแรก โดยที่อาร์เจนตินา (รอบ 8 ทีม), บราซิล (รอบ 8 ทีม) และเยอรมนี (รอบรองชนะเลิศ) ส่วนเจ้าภาพตกรอบแรก โดยมี 4 คะแนน ได้อันดับ 3 ของกลุ่ม A
การคัดเลือกเจ้าภาพ
[แก้]แอฟริกาใต้ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2010 ตามนโยบายการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในแต่ละสมาพันธ์ฟุตบอลต่าง ๆ (ตามมติในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550) มีทีมจากทวีปแอฟริกาเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2010:
- อียิปต์
- ลิเบีย / ตูนิเซีย (เจ้าภาพร่วม)
- โมร็อกโก
- แอฟริกาใต้(เจ้าภาพบอลโลก)
ต่อมาคณะกรรมการบริหารของฟีฟ่าไม่อนุญาตให้มีเจ้าภาพร่วมในการจัดการแข่งขัน ตูนิเซียถอนตัวออกจากการคัดเลือก คณะกรรมการตัดสิทธิลิเบียออกจากการคัดเลือกเนื่องจากมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ
หลังจากการลงคะแนนเสียง ผู้ชนะการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพถูกประกาศโดยเซปป์ แบลตเตอร์ ประธานฟีฟ่า ต่อหน้าสื่อมวลชนในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ณ เมืองซูริกว่าประเทศแอฟริกาใต้ได้รับสิทธิ์ให้เป็นผู้จัดการแข่งขันอย่างถูกต้อง เอาชนะโมร็อกโกและอียิปต์[2]
ผลการลงคะแนน | |
---|---|
ประเทศ | คะแนนเสียง |
แอฟริกาใต้ | 14 |
โมร็อกโก | 10 |
อียิปต์ | 0 |
- ตูนิเซีย ถอนตัวในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 หลังไม่อนุญาตให้มีเจ้าภาพร่วมจัดการแข่งขัน
- ลิเบีย การเสนอตัวถูกปฏิเสธ: เนื่องจากคุณสมบัติไม่เพียงพอ
ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2550 ได้เกิดกระแสข่าวลือขึ้นในแหล่งข่าวหลายแห่งว่าการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 อาจย้ายไปจัดในประเทศอื่น[3][4] มีรายงานว่าผู้บริหารฟีฟ่าบางคนแสดงว่ากังวลต่อการวางแผน การจัดการ และความคืบหน้าของการเตรียมการของแอฟริกาใต้[3][5] อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าได้แสดงความเชื่อมั่นว่าแอฟริกาใต้จะสามารถเป็นเจ้าภาพได้ โดยกล่าวว่าแผนฉุกเฉินจะเกิดขึ้นเฉพาะเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในการแข่งขันฟุตบอลโลกในอดีต[6]
รายชื่อประเทศที่เข้ารอบ
[แก้]
|
|
|
|
ทีมที่ร่วมแข่งขัน
[แก้]ในครั้งนี้มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 32 ทีม โดยทีมจากแอฟริกาใต้ผ่านรอบคัดเลือกในฐานะทีมเจ้าภาพ และสำหรับทีมอื่นจะทำการแข่งขันดังนี้
- ยุโรป - 13 ทีม เริ่มแข่งขันรอบคัดเลือกเมื่อ กันยายน 2551
- แอฟริกา - 6 ทีม
- อเมริกาใต้ - 4.5 ทีม โดยแข่งเพลย์ออฟกับอเมริกาเหนือ
- อเมริกาเหนือ - 3.5 ทีม แข่งเพลย์ออฟกับอเมริกาใต้
- เอเชีย - 4.5 ทีม แข่งเพลย์ออฟกับโอเชียเนีย
- โอเชียเนีย - 0.5 ทีม แข่งเพลย์ออฟกับเอเชีย
ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
[แก้]ผลการจับสลากแบ่งกลุ่มในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย
กลุ่ม A | กลุ่ม B | กลุ่ม C | กลุ่ม D |
กลุ่ม E | กลุ่ม F
|
กลุ่ม G | กลุ่ม H |
สัญลักษณ์และเพลงประจำการแข่งขัน
[แก้]แมสคอท
[แก้]แมสคอทอย่างเป็นทางการในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ชื่อ ซากูมี (Zakumi) เกิดเมื่อ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1994 เป็นมนุษย์ครึ่งเสือดาวผมสีเขียว ชื่อซากูมีมีที่มาจาก "ZA" ซึ่งเป็นรหัสประเทศของประเทศแอฟริกาใต้ และ "kumi" ซึ่งมีความหมายว่า "สิบ" ซึ่งเป็นจำนวนภาษาที่หลากหลายในแอฟริกา[7] สีของตัวนำโชคนี้บ่งบอกถึงชุดที่ทีมเจ้าภาพใช้ทำการแข่งขัน คือ สีเหลืองและสีเขียว
วันเกิดของซากูมีใช้วันเดียวกับวันเด็กในประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งเป็นวันที่ทีมชาติแอฟริกาใต้จะทำการแข่งขันนัดที่ 2 ในรอบแบ่งกลุ่ม นอกจากนี้วันเกิดของซากูมิยังหมายถึงวันแรกของแอฟริกาใต้ที่มีการเลือกตั้งแบบไม่จำกัดสีผิวและเชื้อชาติ[8]
คำขวัญของซากูมี คือ "Zakumi's game is Fair Play." แปลว่า "เกมของซากูมีคือเกมที่ขาวสะอาด" โดยคำขวัญนี้ได้แสดงในป้ายโฆษณาดิจิทัลระหว่างการแข่งขันคอนเฟเดอเรชันคัพ 2009 และจะปรากฏอีกในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010[8]
เพลงประกอบการแข่งขัน
[แก้]- Sign of a Victory โดยอาร์. เคลลี ร่วมด้วยกลุ่มนักร้อง Soweto Spiritual เป็นเพลงสรรเสริญของการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2010
- Waka Waka (This Time For Africa) โดยชากีรา ร่วมด้วยเฟรชลีกราวนด์ โดย "Waka Waka" เป็นวลีในภาษาผสมแก้ขัด (พิดจิน) ที่มีพื้นฐานจากภาษาฟาง (Fang) ในภูมิภาคแอฟริกากลาง แปลความหมายได้ว่า "(ได้เวลาแล้ว) ทำเลย/ลุยเลย"[9]
- Game On โดย Pitbull, TKZee และ Dario G เป็นเพลงประจำตัวซากูมีในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2010
- เวฟวิงแฟลก โดยเคนาน บริษัทโคคา-โคล่า ได้ตัดสินใจเลือกเพลงนี้ เพื่อใช้ในการโปรโมทเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 ครั้งนี้ สำหรับเวอร์ชันภาษาอังกฤษจะถูกวางจำหน่ายโดยใช้ชื่อว่า "เวฟวิงแฟลก (เดอะเซเลเบรชันมิกซ์)" โดยเคนานเอง ร่วมกับเวอร์ชันภาษาอื่น ๆ ในการวางจำหน่าย เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่ใช้ชื่อเพลงว่า "โอ๊ โอ่ โอ โอ๊ โอ่" ขับร้องโดยแทททู คัลเล่อร์
- Oh Africa โดยเอคอน ร่วมด้วยเคอรี ฮิลสัน เพลงประชาสัมพันธ์ฟุตบอลโลกโดยเป๊ปซี่ โดยในเพลงนี้ นิภาภรณ์ ฐิติธนการ (ซานิ) ผู้ชนะเลิศทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 6 ร่วมร้องในท่อนคอรัสและร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอด้วย
สถานที่แข่งขัน
[แก้]ในปี พ.ศ. 2548, ผู้จัดการแข่งขันได้เปิดเผยรายชื่อสถานที่ใช้ทำการแข่งขันฟุตบอลโลกทั้ง 13 ที่เมืองบลูมฟอนเทน, เคปทาวน์, เดอร์บัน, โจฮันเนสเบิร์ก (2 สถานที่), คิมเบอร์ลีย์, เนลสไปรต์, ออร์กนีย์, โพโลเควน, พอร์ตเอลิซาเบท, พริทอเรีย และรุสเทนเบิร์ก โดย 10 สนาม[10] ที่แสดงอยู่ด้านล่าง เป็นสนามที่ได้รับการรับรองจากฟีฟ่าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549
โจฮันเนสเบิร์ก | เคปทาวน์ | เดอร์บัน | โจฮันเนสเบิร์ก |
---|---|---|---|
ซอกเกอร์ซิตี | เคปทาวน์ | โมเสสมาบีดา | เอลลิสปาร์ก |
26°14′5.27″S 27°58′56.47″E / 26.2347972°S 27.9823528°E | 33°54′12.46″S 18°24′40.15″E / 33.9034611°S 18.4111528°E | 29°49′46″S 31°01′49″E / 29.82944°S 31.03028°E | 26°11′51.07″S 28°3′38.76″E / 26.1975194°S 28.0607667°E |
ความจุ: 84,490 | ความจุ: 64,100 | ความจุ: 62,760 | ความจุ: 55,686 |
พริทอเรีย | ฟุตบอลโลก 2010 (ประเทศแอฟริกาใต้) |
พอร์ตเอลิซาเบท | |
ลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ | เนลสันมันเดลาเบย์ | ||
25°45′12″S 28°13′22″E / 25.75333°S 28.22278°E | 33°56′16″S 25°35′56″E / 33.93778°S 25.59889°E | ||
ความจุ: 42,858 | ความจุ: 42,486 | ||
โพโลเควน | เนลสไปรต์ | บลูมฟอนเทน | รุสเทนเบิร์ก |
23°55′29″S 29°28′08″E / 23.924689°S 29.468765°E | 25°27′42″S 30°55′47″E / 25.46172°S 30.929689°E | 29°07′02.25″S 26°12′31.85″E / 29.1172917°S 26.2088472°E | 25°34′43″S 27°09′39″E / 25.5786°S 27.1607°E |
ปีเตอร์โมกาบา | อึมบอมเบลา | ฟรีสเตต | รอยัลบาโฟเกง |
ความจุ: 41,733 | ความจุ: 40,929 | ความจุ: 40,911 | ความจุ: 38,646 |
ผู้ตัดสิน
[แก้]ฟีฟ่าได้เลือกผู้ตัดสินตามรายชื่อต่อไปนี้เพื่อทำหน้าที่ในฟุตบอลโลก:[11]
ผลการแข่งขัน
[แก้]รอบแรก (แบ่งกลุ่ม)
[แก้]กลุ่ม A
[แก้]
|
11 มิถุนายน | |||
แอฟริกาใต้ ซีพีเว ชาบาลาลา (น.55) |
1–1 | เม็กซิโก ราฟาเอล มาร์เกซ (น.79) |
ซอกเกอร์ซิตี โจฮันเนสเบิร์ก |
อุรุกวัย | 0–0 | ฝรั่งเศส | สนามกีฬากรีนพอยต์ เคปทาวน์ |
16 มิถุนายน | |||
แอฟริกาใต้ | 0–3 | อุรุกวัย เดียโก ฟอร์ลัน (น.24, จุดโทษ น.80), อัลบาโร เปเรย์รา (น.95) |
สนามกีฬาลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ พริทอเรีย |
17 มิถุนายน | |||
ฝรั่งเศส | 0-2 | เม็กซิโก คาเบียร์ เอร์นันเดซ บัลกาซาร์ (น.64), เกวาเตมอก บลังโก (จุดโทษ, น.79) |
สนามกีฬาปีเตอร์โมกาบา โพโลเควน |
22 มิถุนายน | |||
เม็กซิโก | 0-1 | อุรุกวัย ลุยส์ อัลเบร์โต ซัวเรซ (น.43) |
สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง รุสเทนเบิร์ก |
ฝรั่งเศส ฟลอรอง มาลูดา (น.70) |
1-2 | แอฟริกาใต้ บองกานี คูมาโล (น.20), คัตเลโก อึมเพลา (น.37) |
สนามกีฬาฟรีสเตต บลูมฟอนเทน |
กลุ่ม B
[แก้]
|
12 มิถุนายน | |||
เกาหลีใต้ ลี จุง-ซู (น.7), ปาร์ก จี-ซอง (น.52) |
2–0 | กรีซ |
สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์ พอร์ตเอลิซาเบท |
อาร์เจนตินา กาเบรียล เอย์นเซ (น.5) |
1–0 | ไนจีเรีย | สนามกีฬาเอลลิสพาร์ก โจฮันเนสเบิร์ก |
17 มิถุนายน | |||
อาร์เจนตินา ปาร์ก ชู-ยอน (เข้าประตูตัวเอง; น.16), กอนซาโล อีกวาอิน (น.32, 76, 80) |
4-1 | เกาหลีใต้ ลี ชุง-ยอง (น.46) |
ซอกเกอร์ซิตี โจฮันเนสเบิร์ก |
กรีซ ดีมีทริส ซัลพีกีดิส (น.44), วาซีริส โทโรซีดิส (น.71) |
2-1 | ไนจีเรีย คาลู อูเช (น.16) |
สนามกีฬาฟรีสเตต โจฮันเนสเบิร์ก |
22 มิถุนายน | |||
ไนจีเรีย คาลู อูเช (น.12), ยาคูบู ไอเยกเบนี (จุดโทษ น.69) |
2-2 | เกาหลีใต้ ลี จุง-ซู (น.38), ปาร์ก ชู-ยอง (น.49) |
สนามกีฬาโมเสสมาบีดา เดอร์บัน |
กรีซ | 0-2 | อาร์เจนตินา มาร์ติน เดมีเชลิส (น.77), มาร์ติน ปาเลร์โม (น.89) |
สนามกีฬาปีเตอร์โมกาบา, โพโลเควน |
กลุ่ม C
[แก้]
|
12 มิถุนายน | |||
อังกฤษ สตีเฟน เจอร์ราร์ด (น.4) |
1–1 | สหรัฐ คลินต์ เดมป์ซีย์ (น.40) |
สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง รุสเทนเบิร์ก |
13 มิถุนายน | |||
แอลจีเรีย | 0–1 | สโลวีเนีย โรเบิร์ต โคเรน (น.79) |
สนามกีฬาปีเตอร์โมกาบา โพโลเควน |
18 มิถุนายน | |||
สโลวีเนีย วัลเตอร์ บีร์ซา (น.13), ซลาตัน ลูบียันคิช (น.42) |
2-2 | สหรัฐ แลนดอน ดอโนแวน (น.48), ไมเคิล แบรดลีย์ (น.82) |
สนามกีฬาเอลลิสพาร์ก โจฮันเนสเบิร์ก |
อังกฤษ | 0-0 | แอลจีเรีย | สนามกีฬากรีนพอยต์ เคปทาวน์ |
23 มิถุนายน | |||
สโลวีเนีย | 0-1 | อังกฤษ เจอร์เมน เดโฟ (น.23) |
สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์ พอร์ตเอลิซาเบท |
สหรัฐ แลนดอน ดอโนแวน (น.90+1) |
1-0 | แอลจีเรีย | สนามกีฬาลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ พริทอเรีย |
กลุ่ม D
[แก้]
|
13 มิถุนายน | |||
เซอร์เบีย | 0-1 | กานา อซาโมอาห์ กียาน (จุดโทษ น.85) |
สนามกีฬาลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ พริทอเรีย |
เยอรมนี ลูคัส โพโดลสกี (น.8), มิโรสลาฟ โคลเซ (น.27), โทมัส มึลเลอร์ (น.68), คาเคา (น.70) |
4–0 | ออสเตรเลีย | สนามกีฬาโมเสสมาบีดา เดอร์บัน |
18 มิถุนายน | |||
เยอรมนี | 0-1 | เซอร์เบีย มิลาน โยวาโนวิช (น.38) |
สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์ พอร์ตเอลิซาเบท |
19 มิถุนายน | |||
กานา อซาโมอาห์ กียาน (จุดโทษ น.25) |
1-1 | ออสเตรเลีย เบรตต์ โฮลแมน (น.11) |
สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง รุสเทนเบิร์ก |
23 มิถุนายน | |||
กานา | 0-1 | เยอรมนี เมซุท เอิทซิล (น.60) |
ซอกเกอร์ซิตี โจฮันเนสเบิร์ก |
ออสเตรเลีย ทิม เคฮิลล์ (น.69), เบรตต์ โฮลแมน (น.73) |
2-1 | เซอร์เบีย มาร์โก พานเตลิช (น.84) |
สนามกีฬาอึมบอมเบลา เนลสไปรต์ |
กลุ่ม E
[แก้]
|
14 มิถุนายน | |||
เนเธอร์แลนด์ ดาเนียล แอกเกอร์ (เข้าประตูตัวเอง) (น.46), ดีร์ก เกยต์ (น.85) |
2-0 | เดนมาร์ก | ซอกเกอร์ซิตี โจฮันเนสเบิร์ก |
ญี่ปุ่น เคซุเกะ ฮนดะ (น.39) |
1–0 | แคเมอรูน | สนามกีฬาฟรีสเตต บลูมฟอนเทน |
19 มิถุนายน | |||
เนเธอร์แลนด์ เวสลีย์ สไนเดอร์ (น.53) |
1-0 | ญี่ปุ่น | สนามกีฬาโมเสสมาบีดา เดอร์บัน |
แคเมอรูน ซามูเอล เอโต (น.10) |
1-2 | เดนมาร์ก นิคลาส เบนท์เนอร์ (น.33), เดนนิส รอมเมดาห์ล (น.61) |
ลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ พริทอเรีย |
24 มิถุนายน | |||
เดนมาร์ก ยอน ดาห์ล โทมัสสัน (น.81) |
1-3 | ญี่ปุ่น เคซุเกะ ฮนดะ (น.17), ยะซุฮิโตะ เอ็นโด (น.30), ชินจิ โอะกะซะกิ (น.87) |
สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง รุสเทนเบิร์ก |
แคเมอรูน ซามูเอล เอโต (จุดโทษ น.65) |
1-2 | เนเธอร์แลนด์ โรบิน ฟัน แปร์ซี (น.36), กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์ (น.83) |
สนามกีฬาเคปทาวน์ เคปทาวน์ |
กลุ่ม F
[แก้]
|
14 มิถุนายน | |||
อิตาลี ดานีเอเล เด รอสซี (น.63) |
1-1 | ปารากวัย อันโตลิน อัลการัซ (น. 39) |
สนามกีฬากรีนพอยต์ เคปทาวน์ |
15 มิถุนายน | |||
นิวซีแลนด์ วินสตัน รีด (น.93) |
1-1 | สโลวาเกีย รอเบิร์ต วิตเตก (น.50) |
สนามกีฬารอยัลบาโฟเกง รุสเทนเบิร์ก |
20 มิถุนายน | |||
สโลวาเกีย | 0-2 | ปารากวัย เอนรีเก เบรา (น.27), กริสเตียน รีเบโรส (น.86) |
สนามกีฬาฟรีสเตต บลูมฟอนเทน |
อิตาลี วินเชนโซ ยากวินตา (น.29) |
1-1 | นิวซีแลนด์' เชน สเมลตซ์ (น.7) |
สนามกีฬาอึมบอมเบลา เนลสไปรต์ |
24 มิถุนายน | |||
สโลวาเกีย รอเบิร์ต วิตเตก (น.25,73), คามิล โคปูเนก (น.89) |
3-2 | อิตาลี อันโตนีโอ ดี นาตาเล (น.81), ฟาบีโอ กวัลยาเรลลา (น.90+2) |
สนามกีฬาเอลลิสพาร์ก โจฮันเนสเบิร์ก |
ปารากวัย | 0-0 | นิวซีแลนด์ | สนามกีฬาปีเตอร์โมกาบา โพโลเควน |
กลุ่ม G
[แก้]
|
15 มิถุนายน | |||
โกตดิวัวร์ | 0-0 | โปรตุเกส | สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์ พอร์ตเอลิซาเบท |
บราซิล ไมคอน (น.55), เอลานู (น.72) |
2-1 | เกาหลีเหนือ จี ยุน-นัม (น.89) |
สนามกีฬาเอลลิสพาร์ก โจฮันเนสเบิร์ก |
20 มิถุนายน | |||
บราซิล ลูอีส ฟาเบียนู (น.25, 50), เอลานู (น.62) |
3-1 | โกตดิวัวร์ ดีดีเย ดร็อกบา (น.79) |
ซอกเกอร์ซิตี โจฮันเนสเบิร์ก |
21 มิถุนายน | |||
โปรตุเกส ราอูล ไมเรลิช (น.29), ซีเมา ซาบรอซา (น.53), อูกู อาลไมดา (น.56), เตียกู เมงดิช (น.60, 89), ลีเอดซง (น.81), คริสเตียโน โรนัลโด (น.87) |
7-0 | เกาหลีเหนือ | สนามกีฬากรีนพอยต์ เคปทาวน์ |
25 มิถุนายน | |||
โปรตุเกส | 0-0 | บราซิล | สนามกีฬาโมเสสมาบีดา เดอร์บัน |
เกาหลีเหนือ | 0-3 | โกตดิวัวร์ ยาย่า ตูเร (น.14), กอฟี อึนดรี รอมาริก (น.20), ซาโลมง กาลู (น.82) |
สนามกีฬาอึมบอมเบลา เนลสไปรต์ |
กลุ่ม H
[แก้]
|
16 มิถุนายน | |||
ฮอนดูรัส | 0–1 | ชิลี ชอง โบเซชูร์ (น.34) |
สนามกีฬาอึมบอมเบลา เนลสไปรต์ |
สเปน | 0–1 | สวิตเซอร์แลนด์ เกลสัน เฟอร์นันเดส (น.52) |
สนามกีฬาโมเสสมาบีดา เดอร์บัน |
21 มิถุนายน | |||
ชิลี มาร์ก กอนซาเลซ (น.75) |
1-0 | สวิตเซอร์แลนด์ | สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์, พอร์ทเอลิซาเบท |
สเปน ดาบิด บียา (น.17, 51) |
2-0 | ฮอนดูรัส | สนามกีฬาเอลลิสพาร์ก โจฮันเนสเบิร์ก |
25 มิถุนายน | |||
ชิลี โรดรีโก มียาร์ (น.47) |
1-2 | สเปน ดาบิด บียา (น.24), อันเดรส อีเนียสตา (น.37) |
สนามกีฬาลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ พริทอเรีย |
สวิตเซอร์แลนด์ | 0-0 | ฮอนดูรัส | สนามกีฬาฟรีสเตต บลูมฟอนเทน |
รอบแพ้คัดออก
[แก้]รอบ 16 ทีม | รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบรองชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศ | |||||||||||
26 มิ.ย. – พอร์ตเอลิซาเบท | ||||||||||||||
อุรุกวัย | 2 | |||||||||||||
2 ก.ค. – ซอกเกอร์ซิตี | ||||||||||||||
เกาหลีใต้ | 1 | |||||||||||||
อุรุกวัย | 1 (4) | |||||||||||||
26 มิ.ย. – รุสเทนเบิร์ก | ||||||||||||||
กานา | 1 (2) | |||||||||||||
สหรัฐ | 1 | |||||||||||||
6 ก.ค. – เคปทาวน์ | ||||||||||||||
กานา | 2 | |||||||||||||
อุรุกวัย | 2 | |||||||||||||
28 มิ.ย. – เดอร์บัน | ||||||||||||||
เนเธอร์แลนด์ | 3 | |||||||||||||
เนเธอร์แลนด์ | 2 | |||||||||||||
2 ก.ค. – พอร์ตเอลิซาเบท | ||||||||||||||
สโลวาเกีย | 1 | |||||||||||||
เนเธอร์แลนด์ | 2 | |||||||||||||
28 มิ.ย. – เอลลิสพาร์ก | ||||||||||||||
บราซิล | 1 | |||||||||||||
บราซิล | 3 | |||||||||||||
11 ก.ค. – ซอกเกอร์ซิตี | ||||||||||||||
ชิลี | 0 | |||||||||||||
เนเธอร์แลนด์ | 0 | |||||||||||||
27 มิ.ย. – ซอกเกอร์ซิตี | ||||||||||||||
สเปน | 1 | |||||||||||||
อาร์เจนตินา | 3 | |||||||||||||
3 ก.ค. – เคปทาวน์ | ||||||||||||||
เม็กซิโก | 1 | |||||||||||||
อาร์เจนตินา | 0 | |||||||||||||
27 มิ.ย. – บลูมฟอนเทน | ||||||||||||||
เยอรมนี | 4 | |||||||||||||
เยอรมนี | 4 | |||||||||||||
7 ก.ค. – เดอร์บัน | ||||||||||||||
อังกฤษ | 1 | |||||||||||||
เยอรมนี | 0 | |||||||||||||
29 มิ.ย. – พริทอเรีย | ||||||||||||||
สเปน | 1 | อันดับที่ 3 | ||||||||||||
ปารากวัย | 0 (5) | |||||||||||||
3 ก.ค. – เอลลิสพาร์ก | 10 ก.ค. – เนลสันมันเดลาเบย์ | |||||||||||||
ญี่ปุ่น | 0 (3) | |||||||||||||
ปารากวัย | 0 | อุรุกวัย | 2 | |||||||||||
29 มิ.ย. – เคปทาวน์ | ||||||||||||||
สเปน | 1 | เยอรมนี | 3 | |||||||||||
สเปน | 1 | |||||||||||||
โปรตุเกส | 0 | |||||||||||||
รอบ 16 ทีมสุดท้าย
[แก้]เวลามาตรฐานแอฟริกาใต้ (UTC+02) ตามด้วยเวลาประเทศไทย (UTC+07) ในวงเล็บ
อุรุกวัย | 2 – 1 | เกาหลีใต้ |
---|---|---|
ลุยส์ อัลเบร์โต ซัวเรซ 8', 80' | รายงาน | ลี ชุง-ยอง 68' |
สหรัฐ | 1 – 2 (ต่อเวลาพิเศษ) | กานา |
---|---|---|
แลนดอน ดอโนแวน 62' (ลูกโทษ) | รายงาน | เควิน-พรินซ์ โบอาเทง 5' อซาโมอาห์ กียาน 93' |
เยอรมนี | 4 – 1 | อังกฤษ |
---|---|---|
มิโรสลาฟ โคลเซ 20' ลูคัส โพโดลสกี 32' โทมัส มึลเลอร์ 67', 70' |
รายงาน | แมตทิว อัปสัน 37' |
อาร์เจนตินา | 3 – 1 | เม็กซิโก |
---|---|---|
การ์โลส เตเบซ 26', 52' กอนซาโล อีกวาอิน 33' |
รายงาน | คาเบียร์ เอร์นันเดซ บัลกาซาร์ 71' |
เนเธอร์แลนด์ | 2 – 1 | สโลวาเกีย |
---|---|---|
อาร์เยิน โรบเบิน 18' เวสลีย์ สไนเดอร์ 84' |
รายงาน | รอเบิร์ต วิตเตก 90+4' (ลูกโทษ) |
ปารากวัย | 5 – 3 (ลูกโทษตัดสิน | ญี่ปุ่น |
---|---|---|
(เอดการ์ บาร์เรโต ลูกัส บาร์รีโอส กริสเตียน รีเบโรส เนลซอน บัลเดซ โอสการ์ การ์โดโซ ) |
หลังต่อเวลาพิเศษ 0 – 0) รายงาน |
(ยะซุฮิโตะ เอ็นโด มะโกะโตะ ฮะเซะเบะ ยูอิจิ โคะมะโนะ (x) เคซุเกะ ฮนดะ ) |
รอบ 8 ทีมสุดท้าย
[แก้]เนเธอร์แลนด์ | 2 – 1 | บราซิล |
---|---|---|
เฟลีเป เมลู 53' ทำเข้าประตูตัวเอง ต่อมาฟีฟ่าเปลี่ยนผู้ทำประตูเป็นเวสลีย์ สไนเดอร์[12] เวสลีย์ สไนเดอร์ 68' |
รายงาน | โรบินยู 10' |
อุรุกวัย | 4 – 2 (ลูกโทษ 1 – 1) | กานา |
---|---|---|
เดียโก ฟอร์ลัน 55' (เดียโก ฟอร์ลัน เมารีเซียว บิกโตรีโน อันเดรส สกอตตี มักซีมีเลียโน เปเรย์รา (x) เซบัสเตียน อาเบรว ) |
รายงาน | ซุลลี มุนตารี 45+2' (อซาโมอาห์ กียาน สตีเฟน อัปเปียห์ จอห์น เมนซาห์ (x) ดอมินิก เอดิเยียห์ (x) ) |
อาร์เจนตินา | 0 – 4 | เยอรมนี |
---|---|---|
รายงาน | โทมัส มึลเลอร์ 3' มิโรสลาฟ โคลเซ 67', 89' อาร์เน ฟรีดริช 74' |
รอบรองชนะเลิศ
[แก้]อุรุกวัย | 2 – 3 | เนเธอร์แลนด์ |
---|---|---|
เดียโก ฟอร์ลัน 41' มักซีมีเลียโน เปเรย์รา 90+2' |
รายงาน | โจฟันนี ฟัน โบรงก์ฮอสต์ 18' เวสลีย์ สไนเดอร์ 70' อาร์เยิน โรบเบิน 73' |
นัดชิงอันดับที่สาม
[แก้]อุรุกวัย | 2 – 3 | เยอรมนี |
---|---|---|
อดินสัน คาวานี 28' เดียโก ฟอร์ลัน 51' |
รายงาน | โทมัส มึลเลอร์ 19' มาร์เซลล์ ยันเซิน 56' ซามี เคดีรา 82' |
นัดชิงชนะเลิศ
[แก้]นัดชิงชนะเลิศมีขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม ที่สนามซอกเกอร์ซิตี เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ผลคือทีมชาติสเปนชนะทีมชาติเนเธอร์แลนด์ 1 ต่อ 0 ประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษ โดยอันเดรส อีเนียสตาเป็นผู้ทำประตูให้กับสเปน[13] ส่งผลให้ทีมสเปนเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยแรก[14] ในการแข่งขันมีการทำฟาวล์อยู่หลายครั้ง รวมถึงลูกที่ไนเจล เด ย็องถีบยอดอกชาบี อลอนโซ่ ที่ยังถูกล้อเลียนและพูดถึงจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะจากทีมชาติเนเธอร์แลนด์[14] มีการให้ใบเหลืองทั้งหมด 14 ครั้ง และจอห์น ไฮทิงกาจากเนเธอร์แลนด์ต้องออกจากสนามเพราะได้รับใบเหลืองที่สอง แต่เนเธอร์แลนด์ก็มีโอกาสทำประตูหลายครั้ง โดยเฉพาะในนาทีที่ 60 ที่อาร์เยน ร็อบเบนได้บอลจากเวสลีย์ สไนเดอร์ จากนั้นก็เข้าชิงประตูแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับอีเกร์ กาซียัส ผู้รักษาประตูของสเปน แต่กาซียัสใช้ขาสกัดออกไปได้ ในที่สุด อันเดรส อีเนียสตา กองกลางของสเปนก็ทำประตูได้ในนาทีที่ 116 ของช่วงต่อเวลาพิเศษด้วยการยิงกึ่งวอลเลย์ หลังจากแซ็สก์ ฟาบรากัสผ่านบอลมาให้[15]
เนเธอร์แลนด์ | 0 – 1 (ต่อเวลาพิเศษ) | สเปน |
---|---|---|
รายงาน | อันเดรส อีเนียสตา 116' |
ผู้ทำประตู
[แก้]- 5ประตู
- 4ประตู
- 3ประตู
|
|
- 2ประตู
|
|
- 1ประตู
|
|
เงินรางวัลและการจ่ายเงิน
[แก้]เงินรางวัลตลอดทั้งการแข่งขันที่ได้รับการยืนยันจากฟีฟ่าคือ 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มจากในการแข่งขันในปี 2006 ร้อยละ 60 [16] ก่อนการแข่งขัน ทุกทีมที่เข้าแข่งขันจะได้รับเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ และเมื่อถึงการแข่งขันรอบแบ่งทีม จะได้รับเงิน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นแต่ละทีมจะได้รับเงินดังต่อไปนี้
- 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – 16 ทีมสุดท้าย
- 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – 8 ทีมสุดท้าย
- 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – 4 ทีมสุดท้าย
- 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – รองชนะเลิศ
- 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – ผู้ชนะเลิศ
สิทธิการออกอากาศ
[แก้]ฟีฟ่าได้ตกลงการซื้อขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดแก่สถานีโทรทัศน์จากทั่วโลก อาทิ บีบีซี, ซีซีทีวี, อัลญาซีรา, เอบีซี เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต จำกัด (อาร์เอสบีเอส) ในเครืออาร์เอส เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว โดยถือลิขสิทธิ์ตั้งแต่ปี 2006 และต่อเนื่องไปถึงปี 2014 อาร์เอสบีเอสมอบหมายให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ดำเนินการถ่ายทอดสดในระบบโทรทัศน์ปกติสลับหมุนเวียนครบทุกนัดโดยไม่มีโฆษณาคั่นระหว่างการแข่งขัน นับเป็นประเทศที่มีจำนวนสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีร่วมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งนี้มากเป็นอันดับสองของโลก รองจากญี่ปุ่นที่มี 6 สถานี นอกจากนี้อาร์เอสบีเอสยังมอบลิขสิทธิ์ให้ทรูวิชั่นส์ดำเนินการถ่ายทอดสดในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง ผ่านช่องทรูสปอร์ต เอชดี นับเป็นการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาในระบบนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Golden Ball". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-15. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2010.
- ↑ "Host nation of 2010 FIFA World Cup - South Africa". FIFA. 15 May 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-05-28. สืบค้นเมื่อ 8 January 2006.
- ↑ 3.0 3.1 Luke Harding (12 June 2006). "Doubt over South Africa 2010". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 29 August 2006.
- ↑ Jermaine Craig (3 July 2006). "Fifa denies SA may lose 2010 World Cup". The Star. สืบค้นเมื่อ 30 August 2006.
- ↑ "Beckenbauer issues 2010 warning". BBC Sport. 20 September 2006. สืบค้นเมื่อ 19 October 2006.
- ↑ Sean Yoong (8 May 2007). "FIFA says South Africa 'definitely' will host 2010 World Cup". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-09. สืบค้นเมื่อ 15 May 2007.
- ↑ "Leopard takes World Cup spotlight". BBC Sport. 22 September 2008. สืบค้นเมื่อ 23 September 2008.
- ↑ 8.0 8.1 "Meet Zakumi, the face of 2010". IOL. 2008-09-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-31. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23.
- ↑ Waka Waka แปลว่าอะไร ? เก็บถาวร 2010-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากพันทิป
- ↑ "locations 2010 in Google Earth". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-02. สืบค้นเมื่อ 11 July 2007.
- ↑ "Referees". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-10. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ "สไนเดอร์"ขึ้นนำดาวซัลโวร่วม หลังฟีฟ่าเปลี่ยนให้เป็นคนยิงประตูแทน "เมโล" จากมติชนออนไลน์
- ↑ Stevenson, Jonathan (11 July 2010). "Netherlands 0–1 Spain". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010.
- ↑ 14.0 14.1 Dall, James (11 July 2010). "World domination for Spain". Sky Sports. BSkyB. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010.
- ↑ "Spain beat Holland 1–0 to win World Cup". AFP. 11 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-14. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010.
- ↑ "Record prize money on offer at World Cup finals only increases pain for Irish". London: The Times. 4 December 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-09. สืบค้นเมื่อ 9 December 2009.
- ↑ ทรูวิชั่นส์เปิดช่องไฮเดฟิเนชัน สัมผัสฟุตบอลโลกแบบเอชดีครั้งแรกในโลก[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการจากฟีฟ่า เก็บถาวร 2013-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของแอฟริกาใต้
- รอบคัดเลือก เก็บถาวร 2009-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 2010 FIFA World Cup South Africa Infomation เก็บถาวร 2010-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน