ภาวะหลอดเลือดแข็ง
ภาวะหลอดเลือดแข็ง | |
---|---|
ชื่ออื่น | Arteriosclerotic vascular disease (ASVD) |
ระดับขั้นการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว | |
สาขาวิชา | หทัยวิทยา, Angiology |
อาการ | ไม่มี[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | หลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดสมองตีบ, ปัญหาเกี่ยวกับไต[1] |
การตั้งต้น | เยาวชน (จะแย่ลงตามอายุ)[2] |
สาเหตุ | ไม่ทราบ[1] |
ปัจจัยเสี่ยง | ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ, ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, การสูบบุหรี่, โรคอ้วน, ประวัติของครอบครัว, อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ[3] |
การป้องกัน | กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, ออกกำลังกาย, ไม่สูบบุหรี่, ทำให้มีน้ำหนักปกติ[4] |
ยา | Statin, ยาความดันโลหิตสูง, แอสไพริน[5] |
ความชุก | ~100% (>65 ปี)[6] |
ภาวะหลอดเลือดแข็ง (อังกฤษ: Atherosclerosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการที่ภายในของหลอดเลือดแดงแคบลงเนื่องจากมีการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ (อังกฤษ: plaque)[7] ในขั้นต้นมักจะไม่มีอาการ[1] เมื่อรุนแรงขึ้นอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือปัญหาเกี่ยวกับไต ขึ้นอยู่กับหลอดเลือดแดงที่ได้รับผลกระทบ อาการที่เกิดขึ้นนี้มักไม่ปรากฏจนกว่าจะถึงวัยกลางคน
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ได้แก่ ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ, ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, การสูบบุหรี่, โรคอ้วน, ประวัติของครอบครัว, และอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ[3] คราบจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นประกอบด้วยไขมัน, คอเลสเตอรอล, แคลเซียม, และสารอื่น ๆ ที่พบในเลือด การหดตัวของเส้นเลือดจะ จำกัดการไหลเวียนของเลือดที่ประกอบด้วยด้วยออกซิเจน ไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย[8]
การป้องกันโดยปกติจะทำโดยกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, ออกกำลังกาย, ไม่สูบบุหรี่, รักษาน้ำหนักตัวให้ปกติ[4] การรักษาโรคอาจรวมถึงการใช้ยาสำหรับลดคอเลสเตอรอลเช่น statins ยาความดันโลหิตสูง หรือยาที่ลดการแข็งตัวเช่น แอสไพริน ในบางขั้นตอนอาจจะต้องดำเนินการเช่น การสวนสายเข้าหลอดเลือดหัวใจ, การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, หรือการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง[5]
ภาวะหลอดเลือดแข็งมักจะเริ่มต้นเมื่อเป็นหนุ่มสาวและกำเริบขึ้นตามอายุ[2] เกือบทุกคนจะได้รับผลกระทบเมื่ออายุ 65[6] ภาวะหลอดเลือดแข็งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการในประเทศพัฒนาแล้ว ภาวะหลอดเลือดแข็งมีการอธิบายเป็นครั้งแรกว้ใน 1575 อย่างไรก็ตามมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นกับคนมาแล้วมากกว่า 5,000 ปีก่อน[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "What Are the Signs and Symptoms of Atherosclerosis? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 5 November 2017.
- ↑ 2.0 2.1 "What Causes Atherosclerosis? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
- ↑ 3.0 3.1 "Who Is at Risk for Atherosclerosis?". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 5 November 2017.
- ↑ 4.0 4.1 "How Can Atherosclerosis Be Prevented or Delayed? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
- ↑ 5.0 5.1 "How Is Atherosclerosis Treated? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
- ↑ 6.0 6.1 Aronow WS, Fleg JL, Rich MW (2013). Tresch and Aronow's Cardiovascular Disease in the Elderly, Fifth Edition (ภาษาอังกฤษ). CRC Press. p. 171. ISBN 9781842145449.
- ↑ "What Is Atherosclerosis? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
- ↑ "How Is Atherosclerosis Diagnosed? - NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). 22 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 November 2017.
- ↑ Shor A (2008). Chlamydia Atherosclerosis Lesion: Discovery, Diagnosis and Treatment (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 8. ISBN 9781846288104.
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- Aterosklerosis ใน Curlie (จาก DMOZ)