ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาปาทาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาปาทาน
پښتو
คำว่า ปาทาน (ปัชโต) เขียนด้วยอักษรปาทาน
ออกเสียง[pəʂˈto, pʊxˈto, pəʃˈto, pəçˈto]
ประเทศที่มีการพูดอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน
ชาติพันธุ์ชาวปาทาน
จำนวนผู้พูด40–60 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รูปแบบมาตรฐาน
ภาษาถิ่นภาษาปาทานถิ่น
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ (ชุดตัวอักษรปาทาน)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการเอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน[1]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ปากีสถาน[2]
ผู้วางระเบียบ บัณฑิตยสถานปาทาน เควตตา
รหัสภาษา
ISO 639-1ps
ISO 639-2pus
ISO 639-3pusรหัสรวม – Pashto, Pushto
รหัสเอกเทศ:
pst – ปาทานถิ่นกลาง
pbu – ปาทานถิ่นเหนือ
pbt – ปาทานถิ่นใต้
wne – Wanetsi
Linguasphere58-ABD-a
A map of Pashto-speaking areas
พื้นที่ประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานที่ใช้ภาษาปาทาน:
  เป็นภาษาหลัก
  เป็นภาษารอง
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาปาทาน (ฮินดูสตานี: Paṭhānī)[3] หรือ ภาษาปัชโต (ปาทาน: پښتو, ออกเสียง: [pəʂˈto, pʊxˈto, pəʃˈto, pəçˈto]) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ในวรรณกรรมเปอร์เซียรู้จักกันในชื่อ ภาษาอัฟกัน (افغانی, Afghāni)[4]

ชาวปาทานพูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ โดยเป็นหนึ่งในสองภาษาทางการของประเทศอัฟกานิสถาน[5][1][6] และเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศปากีสถาน โดยเฉพาะในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควาและอำเภอทางเหนือของแคว้นบาโลชิสถาน[7] และยังเป็นภาษาหลักของชาวปาทานพลัดถิ่นทั่วโลก มีจำนวนผู้พูดภาษาปาทานอย่างน้อย 40 ล้านคน[8] ถึงแม้ว่าบางส่วนประมาณการว่าจำนวนนี้อาจสูงถึง 60 ล้านคน[9] ภาษาปาทานยังเป็น "หนึ่งในเครื่องหมายเอกลักษณ์หลักทางชาติพันธุ์" ของชาวปาทาน[10]

ไวยากรณ์

[แก้]

ภาษาปาทานเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม นามและคำคุณศัพท์ผันตามเพศ (ชาย/หญิง) จำนวน (เอกพจน์/พหูพจน์) และการก (กรรมตรง/กรรมรอง) การกกรรมตรงใช้กับประธาน และกรรมที่ถูกกระทำโดยตรงในปัจจุบัน การกกรรมรองมักใช้ตามหลังบุพบทและใชในอดีตสำหรับประธานของสกรรมกิริยา ไม่มีคำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะ แต่แทนที่ด้วยคำว่า นี่/นั่น ระบบของคำกริยาซับซ้อนมาก มีกาลต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ปัจจุบันกาลธรรมดา มีเงื่อนไขหรือสมมติ อดีตกาลธรรมดา อดีตกาลกำลังกระทำ ปัจจุบันกาลสมบูรณ์ ภาษาปาทานเป็นภาษาประเภทสัมพันธการก

ภาษาปาทานเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน คำศัพท์ส่วนใหญ่จึงมีกำเนิดเกี่ยวข้องกับภาษาใกล้เคียง หลังจากศาสนาอิสลามเข้ามาสู่อัฟกานิสถาน ทำให้ภาษาปาทานได้รับอิทธิพลรวมทั้งคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย

หลังจากเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ภาษาปาทานเขียนด้วยอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในอินเทอร์เน็ต มีการใช้อักษรละตินเขียนภาษาปาทานมากขึ้น ภาษาปาทานมีอักษรหลายตัวที่ไม่มีในภาษาเปอร์เซีย เช่นเสียงม้วนลิ้นของ t, d, r, n จะใช้อักษรอาหรับรวมกับพันดัก (panḍak) คือวงกลมเล็ก ๆ อยู่ข้างใต้ ټ ډ ړ และ ڼ และยังมีอักษร ge และ xin ซึ่งใช้อักษรอาหรับเติมจุดทั้งข้างบนและข้างล่าง ږ และ ښ

ระบบการเขียน

[แก้]

ภาษาปาทานใช้ชุดตัวอักษรปาทาน ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดตัวอักษรเปอร์เซีย-อาหรับหรือชุดตัวอักษรอาหรับดัดแปลง[11] ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 Bayazid Pir Roshan ได้เพิ่มตัวอักษรใหม่ 13 ตัวในอักษรปาทาน ตัวอักษรได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

อักษรปาทานมีพยัญชนะ 45 ถึง 46 ตัว[12] และเครื่องหมายเสริมสัทอักษร 4 เครื่องหมาย นอกจากนี้ยังมีการเขียนภาษาปาทานโดยใช้อักษรละตินด้วย[13][14][15] โดยแสดงการเน้นพยางค์ด้วยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรเหนือสระ: ә́, á, ā́, ú, ó, í และ é ตารางข้างล่าง (อ่านจากซ้ายไปขวา) แบ่งเป็นตัวอักษรรูปเดี่ยว เทียบเคียงกับอักษรละตินและสัทอักษรสากล:

ا
ā
/ɑ, a/
ب
b
/b/
پ
p
/p/
ت
t
/t/
ټ

/ʈ/
ث
(s)
/s/
ج
ǧ
/d͡ʒ/
ځ
g, dz
/d͡z/
چ
č
/t͡ʃ/
څ
c, ts
/t͡s/
ح
(h)
/h/
خ
x
/x/
د
d
/d/
ډ

/ɖ/

(z)
/z/

r
/r/
ړ

/ɺ,ɻ, ɽ/

z
/z/
ژ
ž
/ʒ/
ږ
ǵ (หรือ ẓ̌)
/ʐ, ʝ, ɡ, ʒ/
س
s
/s/
ش
š
/ʃ/
ښ
x̌ (หรือ ṣ̌)
/ʂ, ç, x, ʃ/
ص
(s)
/s/
ض
(z)
/z/
ط
(t)
/t/
ظ
(z)
/z/
ع
(ā)
/ɑ/
غ
ğ
/ɣ/
ف
f
/f/
ق
q
/q/
ک
k
/k/
ګ
ģ
/ɡ/
ل
l
/l/
م
m
/m/
ن
n
/n/
ڼ

/ɳ/
ں
̃ , ń
/◌̃/
و
w, u, o
/w, u, o/
ه
h, a
/h, a/
ۀ
ə
/ə/
ي
y, i
/j, i/
ې
e
/e/
ی
ay, y
/ai, j/
ۍ
əi
/əi/
ئ
əi, y
/əi, j/

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Constitution of AfghanistanChapter 1 The State, Article 16 (Languages) and Article 20 (Anthem)
  2. Concise Encyclopedia of Languages of the World. Elsevier. 6 April 2010. pp. 845–. ISBN 978-0-08-087775-4.
  3. India. Office of the Registrar General (1961). Census of India, 1961: Gujarat. Manager of Publications. pp. 142, 166, 177.
  4. John Leyden, Esq. M.D.; William Erskine, Esq., บ.ก. (1921). "Events Of The Year 910 (1525)". Memoirs of Babur. Packard Humanities Institute. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2012. สืบค้นเมื่อ 10 January 2012. To the south is Afghanistān. There are ten or eleven different languages spoken in Kābul: Arabic, Persian, Tūrki, Moghuli, Afghani, Pashāi, Parāchi, Geberi, Bereki, Dari and Lamghāni.
  5. "Article Sixteen of the 2004 Constitution of Afghanistan". 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-06. สืบค้นเมื่อ 13 June 2012. From among the languages of Pashto, Dari, Uzbeki, Turkmani, Baluchi, Pashai, Nuristani, Pamiri (alsana), Arab and other languages spoken in the country, Pashto and Dari are the official languages of the state.
  6. Banting, Erinn (2003). Afghanistan: The land. Crabtree Publishing Company. p. 4. ISBN 0-7787-9335-4. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
  7. Population by Mother Tongue เก็บถาวร 2014-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Population Census – Pakistan Bureau of Statistics, Government of Pakistan
  8. Pashto (2005). Keith Brown (บ.ก.). Encyclopedia of Language and Linguistics (2 ed.). Elsevier. ISBN 0-08-044299-4. (40 million)
  9. Penzl, Herbert; Ismail Sloan (2009). A Grammar of Pashto a Descriptive Study of the Dialect of Kandahar, Afghanistan. Ishi Press International. p. 210. ISBN 978-0-923891-72-5. Estimates of the number of Pashto speakers range from 40 million to 60 million...
  10. Hakala, Walter (2011-12-09). Language Policy and Language Conflict in Afghanistan and Its Neighbors: The Changing Politics of Language Choice (ภาษาอังกฤษ). Brill. p. 55. ISBN 978-90-04-21765-2. As is well known, the Pashtun people place a great deal of pride upon their language as an identifier of their distinct ethnic and historical identity. While it is clear that not all those who self-identify as ethnically Pashtun themselves use Pashto as their primary language, language does seem to be one of the primary markers of ethnic identity in contemporary Afghanistan.
  11. Hladczuk, John (1992). International Handbook of Reading Education. Greenwood Publishing Group. p. 148. ISBN 9780313262531.
  12. Ullah, Noor (2011). Pashto Grammar. AuthorHouse. p. 5. ISBN 978-1-4567-8007-4.
  13. BGN/PCGN romanization
  14. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  15. "NGA: Standardization Policies". nga.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-13.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Morgenstierne, Georg. "The Place of Pashto among the Iranic Languages and the Problem of the Constitution of Pashtun Linguistic and Ethnic Unity." Paṣto Quarterly 1.4 (1978): 43-55.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]