ภาษามอลโดวา
ภาษามอลโดวา | |
---|---|
| |
ออกเสียง | [ˈlimba moldoveˈne̯askə] |
ตระกูลภาษา | ชื่อพ้องของภาษาโรมาเนีย |
ระบบการเขียน | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | ไม่มี (mis ) |
ภาษามอลโดวา (อักษรโรมัน: limba moldovenească; อักษรซีริลลิก: лимба молдовеняскэ) หรือที่ในอดีตรู้จักกันในชื่อ ภาษามอลเดเวีย เป็นหนึ่งในชื่อท้องถิ่นสองชื่อที่ใช้เรียกภาษาโรมาเนียในประเทศมอลโดวา[1][2]
มีการเรียกชื่อภาษาของชาวมอลโดวาปะปนกันระหว่าง ภาษามอลโดวา กับ ภาษาโรมาเนีย มานานนับศตวรรษ แต่ในสมัยสหภาพโซเวียต ภาษามอลโดวา (หรือที่ในสมัยนั้นเรียกว่า ภาษามอลเดเวีย) เป็นเพียงชื่อเดียวที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ นโยบายของสหภาพโซเวียตเน้นย้ำการจำแนกชาวมอลโดวาออกจากกลุ่มชนโรมาเนียเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยอ้างว่าชนทั้งสองกลุ่มมีกระบวนการสร้างชาติแตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของการกำหนดให้ภาษามอลโดวาเป็นภาษาโรมานซ์แยกต่างหากจากภาษาโรมาเนีย
เมื่อประเทศมอลโดวาได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต ภาษามอลโดวา ได้รับการประกาศให้เป็นภาษาแห่งรัฐตามมาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ใน ค.ศ. 1994[3] ในขณะที่คำประกาศอิสรภาพมอลโดวาใน ค.ศ. 1991 ระบุชื่อภาษาแห่งรัฐว่า ภาษาโรมาเนีย ต่อมาใน ค.ศ. 2003 รัฐสภามอลโดวามีมติเห็นชอบร่างกฎหมายที่นิยามว่าวลี ภาษามอลโดวา และวลี ภาษาโรมาเนีย นั้นสื่อถึงภาษาเดียวกัน[4] จากนั้นใน ค.ศ. 2013 ศาลรัฐธรรมนูญมอลโดวาตีความว่ามาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญมีศักดิ์ต่ำกว่าคำประกาศอิสรภาพ[5] ส่งผลให้วลี ภาษาโรมาเนีย มีสถานะเป็นทางการ[6][7] อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคทรานส์นีสเตรียซึ่งประกาศแยกตัวจากประเทศมอลโดวายังคงถือว่า ภาษามอลโดวา เป็นหนึ่งในภาษาราชการของตนร่วมกับภาษารัสเซียและภาษายูเครน[8] ในประเทศยูเครนมีการจำแนกความต่างระหว่าง ภาษามอลโดวา กับ ภาษาโรมาเนีย เช่นกัน โดยหมู่บ้านบางแห่งประกาศว่าภาษาทางการระดับหมู่บ้านคือภาษาโรมาเนีย ในขณะที่บางแห่งประกาศว่าภาษาทางการระดับหมู่บ้านคือภาษามอลโดวา แต่ทางการยูเครนได้ประกาศเจตจำนงว่าจะดำเนินการยกเลิกสถานะทางกฎหมายของ ภาษามอลโดวา ต่อไป[9] เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2023 รัฐสภามอลโดวามีมติเห็นชอบร่างกฎหมายที่กำหนดให้แก้ไขวลี ภาษามอลโดวา เป็นวลี ภาษาโรมาเนีย ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายทุกฉบับ และเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ประธานาธิบดีมายา ซันดู ก็ได้ประกาศใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว[10]
ชาวมอลโดวาส่วนใหญ่ที่มีการศึกษาสูง[11] รวมทั้งประชากรส่วนใหญ่ในกรุงคีชีเนา เมืองหลวงของประเทศมอลโดวา[12] มักเรียกภาษาของพวกเขาว่า ภาษาโรมาเนีย ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ชนบทระบุว่า ภาษามอลโดวา เป็นภาษาแม่ของพวกเขาในการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2004[12] โรงเรียนต่าง ๆ ในมอลโดวาเรียกภาษานี้ว่า ภาษาโรมาเนีย มาตั้งแต่มอลโดวาได้รับเอกราช[13]
วิธภาษาของภาษาโรมาเนียที่ใช้พูดในประเทศมอลโดวาคือภาษาถิ่นย่อยมอลเดเวียซึ่งแพร่หลายภายในอาณาเขตของอดีตราชรัฐมอลเดเวียโดยประมาณ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศมอลโดวา ประเทศโรมาเนีย และประเทศยูเครน) ภาษาถิ่นมอลเดเวียถือเป็นหนึ่งในวิธภาษาพูดหลักทั้งห้าของภาษาโรมาเนีย อย่างไรก็ตาม วิธภาษาพูดทั้งห้าเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือได้ตรงกัน และประเทศมอลโดวาและประเทศโรมาเนียใช้อักขรวิธีแบบเดียวกัน[14]
ชุดตัวอักษรมาตรฐานที่ใช้ในประเทศมอลโดวาสอดคล้องกับชุดตัวอักษรโรมาเนียซึ่งใช้อักษรโรมัน ในอดีตมีการใช้ชุดตัวอักษรซีริลลิกโรมาเนียหลากหลายรูปแบบมาจนกระทั่ง ค.ศ. 1918 จากนั้น ชุดตัวอักษรซีริลลิกมอลโดวา (ซึ่งแปลงมาจากชุดตัวอักษรรัสเซีย) ได้รับการกำหนดมาตรฐานและใช้อย่างเป็นทางการในสหภาพโซเวียตระหว่าง ค.ศ. 1924–1932 และระหว่าง ค.ศ. 1938–1989 และทุกวันนี้ก็ยังคงใช้กันอยู่ในทรานส์นีสเตรีย[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kogan Page 2004, p. 242 .
- ↑ Directorate-General for Translation of the European Commission (2008). "A Field Guide to the Main Languages of Europe – Spot That Language and How to Tell Them Apart" (PDF) (3rd ed.). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 November 2015. สืบค้นเมื่อ 7 April 2020.
- ↑ "Constitution of the Republic of Moldova" (PDF). Article 13, line 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 February 2008.
- ↑ "Politics of National Conception of Moldova". Law No. 546/12-19-2003 (ภาษาโรมาเนีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2014. สืบค้นเมื่อ 10 March 2014.
- ↑ "Hotărâre Nr. 36 din 05.12.2013 privind interpretarea articolului 13 alin. (1) din Constituție în corelație cu Preambulul Constituției și Declarația de Independență a Republicii Moldova (Sesizările nr. 8b/2013 și 41b/2013)" (ภาษาโรมาเนีย). Constitutional Court of Moldova. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 December 2013.
124. ... Prin urmare, Curtea consideră că prevederea conținută în Declarația de Independență referitoare la limba română ca limbă de stat a Republicii Moldova prevalează asupra prevederii referitoare la limba moldovenească conținute în articolul 13 al Constituției.
- ↑ "Moldovan court rules official language is 'Romanian', replacing Soviet-flavored 'Moldovan'". Fox News. Associated Press. 2013-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-09. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.
- ↑ "Chisinau Recognizes Romanian As Official Language". Radio Free Europe/Radio Liberty. 5 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2016. สืบค้นเมื่อ 11 March 2014.
- ↑ "Article 12 of the Constitution of Pridnestrovskaia Moldavskaia Respublika". kspmr.idknet.com. 24 December 1995. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2018. สืบค้นเมื่อ 14 July 2016.
- ↑ "Ministerul de Externe: Bogdan Aurescu cere Ucrainei să recunoască oficial inexistența 'limbii moldovenești'". Digi24 (ภาษาโรมาเนีย). 19 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2021. สืบค้นเมื่อ 13 September 2021.
- ↑ "Președinta Maia Sandu a promulgat Legea care confirmă că limba de stat a Republicii Moldova este cea română" (ภาษาโรมาเนีย). Presidency of the Republic of Moldova.
Astăzi am promulgat Legea care confirmă un adevăr istoric și incontestabil: limba de stat a Republicii Moldova este cea română.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ "CBS AXA/IPP nov. 2012" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 December 2013.
- ↑ 12.0 12.1 "Population by main nationalities, mother tongue and language usually spoken, 2004" (XLS). National Bureau of Statistics of the Republic of Moldova. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2013. สืบค้นเมื่อ 14 July 2016.
- ↑ "Ministerul Educatiei a Republicii Moldova : Acte Normative și Publicații : Acte normative și legislative : Domeniul învațămîntului preuniversitar". www.edu.md (ภาษาโรมาเนีย). 2004-10-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
- ↑ * Minahan, James (1989). Miniature Empires: A Historical Dictionary of the Newly Independent States. Greenwood. p. 276.
- "Moldova, Country Study". Washington, DC: Library of Congress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2012. สืบค้นเมื่อ 3 June 2008.
- Encyclopædia Britannia (online ed.), quoted in "Descriptive Cataloging: Romanian Language Codes – Moldavian or Romanian?". Slavic Cataloging Manual. Indiana University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 3 June 2008.
- "A country-by-country update on constitutional politics in Eastern Europe and the ex-USSR". NYU LAW. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2007. สืบค้นเมื่อ 3 June 2008.
- "The Sovietization of Moldova". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2008. สืบค้นเมื่อ 3 June 2008.
- "Moldova". Ethnologue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2008. สืบค้นเมื่อ 3 June 2008.
- "Disillusionment with Democracy: Notes from the Field in Moldova" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 September 2006. สืบค้นเมื่อ 3 June 2008.
- "Languages across Europe: Moldovan". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2021. สืบค้นเมื่อ 23 December 2019.
- ↑ Denis Deletant, Slavonic Letters in Moldova, Wallachia & Transylvania from the Tenth to the Seventeenth Centuries, Ed. Enciclopedicӑ, Bucharest, 1991.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Chase Faucheux, "Language classification and manipulation in Romania and Moldova", thesis, 2006, Louisiana State University
- Eleonora Rusnac, "Translation of Russian loans and irregularities of the spoken language in the Republic of Moldova", Association of Professional Translators of Moldova
- "Moldova", Ethnologue report
- Academy of Sciences of Moldova
- Cărăuș, Tamara (April–May 2002). "Republica Moldova: identităţi false, adevărate sau naţionale?" [Republic of Moldova: False, true or national identities?]. Contrafort (ภาษาโรมาเนีย). Chişinău, Moldova. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2006. (โรมาเนีย)